ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาเพื่อชุมชน...เชื่อมสายใยชีวิต และการเรียนรู้


เราถือว่า การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการด้านการศึกษาของท้องถิ่นนั้น เป็นทั้งวิธีการ (Means) ที่นำไปสู่การจัดการด้านการศึกษาที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ เท่าเทียม และตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น และยังเป็นเป้าหมาย (end) ของการพัฒนาระบบการจัดการด้านการศึกษาที่มีความต่อเนื่อง ยั่งยืน ตรวจสอบได้
มีน้องสาวคนหนึ่งอยู่จังหวัดหนองคาย E-mail ผ่านGotoknow มาคุยกับผมเรื่อง ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาเพื่อชุมชน  ว่าให้ผมช่วยเสนอแนะกระบวนการหน่อยเพราะเริ่มต้นไม่ถูก...มองไม่ออก ว่าจะเริ่มต้นพัฒนาอย่างไร

 

ผมถามไปว่า...รายละเอียด ที่จะจัดทำยุทธศาสตร์ (ที่คิดไว้) เป็นอย่างไร จะจัดการศึกษาระดับใด...

ตอนแรกเข้าใจว่าเป็นหลักสูตรท้องถิ่นที่มีE-mail เข้ามาคุยหลายๆฉบับ...

ซึ่งหลักสูตรท้องถิ่นก็เป็นยุทธศาสตร์หนึ่ง

เป็นส่วนประกอบ ของการจัดการศึกษาเพื่อชุมชน

 

น้องให้รายละเอียดว่า เป็นศูนย์เลี้ยงเด็กปฐมวัย ในพื้นที่ รับผิดชอบของ อปท.แห่งหนึ่ง ในจังหวัดหนองคาย และยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร?

         

ผมลองนั่งคิดๆอ่านๆดูและจากประสบการณ์ที่เราพยายามผลักดันเรื่อง กระบวนการพัฒนาเด็กที่อำเภอปางมะผ้า(แม่ฮ่องสอน) น่าจะเป็นประสบการณ์หนึ่ง เอามาเล่าสู่กันฟัง

 

ที่ปางมะผ้า ผู้เริ่มคิดเป็นองค์กรพัฒนาเอกชน และเริ่มกระบวนการพัฒนาเด็กในพื้นที่ ด้วยความเป็นคนนอก ก็พยายามที่จะประสานหน่วยงานองค์กรเพื่อการบูรณาการงาน..ให้เกิดการมีส่วนร่วม  ก็น่าเห็นใจอย่างหนึ่งว่า   การที่จะเชื่อมกับ อปท. ต้องใช้วิทยายุทธ์มากพอสมควร ภาพของงานจึงดูไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าใดนัก...หากต่างฝ่ายต่างจ้องมองกันไปมา...คุยกันน้อยไปหน่อย...กระบวนการเลยติดขัดไปหมด

         

แต่น้องคนที่ E-mail มาคุย เป็นนักวิชาการศึกษา ทำงานอยู่ใน อบต.อยู่แล้ว ให้ข้อมูลว่า นายก อบต.ท่านให้ความสนใจ เกี่ยวกับการศึกษาของชุมชน เป็นพิเศษ….ผมบอกน้องว่า ...ตรงนี้หละเป็นจุดแข็ง(มาก) หากผู้บริหารที่มีวิธีคิดแบบนี้ วิสัยทัศน์แบบนี้ ทำอะไรก็เป็นเรื่องง่าย 

ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาเพื่อชุมชน  ชื่อบอกแล้วว่าเพื่อใคร? ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้อง แบ่งเป็น ๓ กลุ่มใหญ่ๆคือ

  • ชุมชน
  • องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
  • สถาบันการศึกษา 

ตั้งคำถามใหญ่ๆกับกลุ่มทั้ง ๓ กลุ่ม ว่า

  • เราจะมียุทธศาสตร์ในการจัดการศึกษาเพื่อชุมชนอย่างไร?
  • กระบวนการที่เหมาะสมในการจัดการ การศึกษาเพื่อชุมชนน่าจะเป็นอย่างไร? 

 

กระบวนการเริ่มต้นอปท.เองเป็นเจ้าภาพในการ จัดประชาคม ระดมความคิดในการพัฒนาระบบการศึกษาชุมชน

  

  • มองอนาคตร่วมกัน ...ทำกระบวนการให้ชัดว่า
  • เราจะก้าวสู่สิ่งที่คาดหวังได้อย่างไร
  • ใคร องค์กรใด น่าจะแบ่งบทบาทอย่างไร
  • เสร็จแล้ววางแผนการทำงานร่วมกัน..เป็นแผนชุมชน        

จุดเริ่มของงานพัฒนา กระบวนการมีส่วนร่วมจึงสำคัญมาก หากมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ จะก้าวไปสู่ความยั่งยืน            องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น นอกจากจะดำรงบทบาทที่กล่าวมาแล้ว ยังเป็นบทบาทในการให้งบประมาณในการพัฒนา           เป็นเรื่องที่ถูกต้อง...หากการพัฒนานั้น อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลชุมชน และการมีส่วนร่วม

เราถือว่าการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการด้านการศึกษาของท้องถิ่นนั้น เป็นทั้งวิธีการ (Means) ที่นำไปสู่การจัดการด้านการศึกษาที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ เท่าเทียม และตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น และยังเป็นเป้าหมาย (end) ของการพัฒนาระบบการจัดการด้านการศึกษาที่มีความต่อเนื่อง ยั่งยืน ตรวจสอบได้          

หัวใจก็คือ การมีส่วนร่วม ของชุมชน กระบวนการจะเริ่มจากตรงนี้ครับ!!! 

กระบวนการต่อไป....ก็ไม่ยาก อีกต่อไปครับ  เริ่มต้นดี สำเร็จไปกว่าครึ่งครับ

หมายเลขบันทึก: 41708เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2006 15:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • น่าสนใจดีครับ ถ้ามีการร่วมมือกับทุกฝ่าย เชิญเข้ามาร่วมกันได้ก็ดี เคยได้ยินโครงการบวรไหมครับ
  • ไม่ใช่ผอ นะครับ เป็นโครงการที่ร่วมกันระหว่าง
  • บ คือบ้าน ว คือวัด ร คือโรงเรียน ถ้าได้ อบต ด้วยจะดีมากผู้นำในชุมชนเป็นส่วนสำคัญมากครับที่จะขับเคลื่อนการศึกษาไปให้มีผลดี
  • ขอบคุณมากครับ

อ.ดร.ขจิต

อบต.ถูกคาดหวังมากขึ้น แต่ก็ถูกต้องแล้วครับ เพราะในที่สุดแล้ว การบริหารจัดการท้องถิ่น ต้องขึ้ยอยู่กับ อบต.ทั้ง เรื่องสุขภาพ การศึกษา และเรื่องอื่นๆ

เป็นเรื่องของ งบประมาณด้วย และ อบต.น่าจะรู้ปัญหาตนเองได้ดี เพราะชุมชนบริหารกันเองครับ

ตกใจคิดว่า บวร คือ ท่าน ผอ.บวร 

  ยืมมายิ้ม ครับ

เรียน คุณจตุพร เกี่ยวกับข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำที่คุณให้มานั้น ถือว่า เป็นประโยชน์ต่อการทำงานมาก ตอนนี้การทำงานค่อนข้างจะเข้าสู่ระบบมากขึ้น คือทำให้มองเห็นขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจนมากขึ้น และก็หวังว่างานที่ดำเนินการคงจะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ตอนนี้ก็เลยต้องเปลี่ยนชื่อจาก "แผนยุทธศาสตรการศึกษา" เปลี่ยนเป็น "แผนยุทธศาสตร์การศึกษาชุมชนตำบล...." อาทิตย์หน้าจะจัดประชุมเพื่อพิจารณา ร่างแผนฯที่จัดทำขึ้นว่าจะมีอะไรที่ต้องเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงบ้าง จากนั้นก้จะแต่งตั้งกรรมการทำหน้าที่แต่ละส่วนไป ขอบคุณอีกครั้งค่ะสำหรับคำแนะนำที่เสนอแนะมา ขอบคุณมากๆๆค่ะ

ยินดีกับคุณ เปียโน ครับ

ให้กำลังใจคนทำดี ทำคุณประโยชน์ให้ชุมชนครับ ความตั้งใจดีๆแต่บางครั้งกระบวนการเราไม่ดี หรือ วางแผนกันไม่ดี ...ก็อาจจะประสบความสำเร็จช้า หรือ เหนื่อยมาก...แต่ไม่ยั่งยืน

ความยั่งยืน นี่เป็นคำตอบเลยนะครับ

เหมือนอย่างที่เราคุยกันเมื่อคืน

เราไม่ได้ทำงานคนเดียวในชุมชน เรามีหลายหน่วยงาน องค์กร หลายๆบุคคล เรามาร่วมกันทำ ร่วมกันคิด และสุดท้ายร่วมกันรับผิดชอบ

เป็นการมีส่วนร่วม ที่มีความสุขในการทำงานร่วมกัน ได้งาน ได้ใจ ไปสู่ "ยั่งยืน" ได้ครับ

ให้กำลังใจนะครับ

ขอบคุณนายก อบต.ของคุณเปียด้วย ที่สร้างสรรค์งานเพื่อชุมชนโดยแท้จริง....

ยินดีมากครับ

- - - - - - - - - - -

....หนังสือที่ผมแนะนำไป หากหาไม่ได้บอกผมนะครับ ผมจะสำเนาส่งไปให้ถึงมือเลยครับ

ปริวัตร เขื่อนแก้ว

ผมเสนอว่า นอกจากให้ชุมชนมีส่วนร่วมแล้วควรมีการบูรณาการความรู้จากองค์กรสู่ชมชนและชุมชนสู่องค์กร เพื่อได้นำ, ดึง, เค้นเอาศักยภาพของทั้งชุมชนและองค์กรมาใช้ได้อย่างลงตัว  และสอดคล้องกับความต้องการของทั้ง 2 ฝ่าย   สร้างปราชญ์ชาวบ้านที่จะนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสืบทอดให้เด็กตั้งแต่เล็ก จะช่วยเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งและก่อให้เกิดความหวงแหนในวัฒนธรรมและมีการสืบทอดความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนต่อไป

สวัสดีครับ คุณปริวัตร

กระับวนการต่อไป หากได้แผนยุทธศาสตร์ แผนชุมชน แล้ว ...จะเป็นการรักษาผดุงความมีส่วนร่วมไว้ ด้วยข้อคิดเห็นที่คุณปริวัตรเสนอมาครับ

ประเด็นนี้ไม่ใช่ "ประเด็นโรแมนติค" แต่อย่างใด  บางทีชุมชนก็ต้องพึ่งบทบาทของพี่เลี้ยงค่อนข้างเยอะครับ

 

แผนที่ศักยภาพมนุษย์ (human mapping) น่าจะนำมาใช้ สำรวจดูว่าในพื้นที่นี้ใครเก่งเรื่องไหน ชำนาญเรื่องใด เก็บไว้เป็นฐานข้อมูล...และเป็นทุนต่อในการพัฒนาต่างๆที่จะเกิดขึ้น

ขอบคุณครับ...ที่ให้ข้อคิดเห็น

ขอให้คุณปริวัตร ร่วมด้วย ช่วยสร้างลูกช้างเชือกใหม่ๆออกมารับใช้สังคมบ้านเราที่มีคุณภาพนะครับ

หากผมได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนกับทางมหาวิทยาลัย ก็ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ 

 

 

เรียนคุณจตุพร

เมื่อวานมีโอกาสได้คุยกับ  ผอ.โรงเรียน  เกี่ยวกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์  ซึ่งก็ได้รับคำแนะนำมาเป็นอย่างดี  ให้แง่คิดและข้อเสนอแนะมา ประกอบกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของ อบต. ที่พัฒนาด้านการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม  ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่กว้าง  ทำให้การจัดทำยุทธศาสตร์ทางการศึกษาสามารถทำได้ง่ายขึ้น   ขอบคุณคุณปริวัตร  เขื่อนแก้ว  ที่ให้คำแนะนำมา  ในเรื่องที่เกี่ยวกับภูมิปัญาท้องถิ่นนั้น  ก็มีอยู่ในยุทธศาสตร์การพัฒนาเหมือนกัน  เพราะวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้คือ "พัฒนาการเรียนรู้ เชิดชูวัฒนธรรม  หนุนนำประเพณี"นี่คือวิสัยทัศน์ที่คิดไว้  ก็พยายามทำให้วิสัยทัศน์กว้างไว้เพื่อที่จะใด้ครอบคลุมโครงการต่างๆมากขึ้น  ขอบคุณ  คุณจตุพรมากๆๆค่ะ

คุณเปีย

ผมติดตามการทำแผนยุทธศาสตร์ครั้งนี้...อย่างต่อเนื่องครับ ยินดีมากครับที่แจ้งข่าวให้ผมฟังอย่างต่อเนื่อง...

เห็นมั้ยครับ...เรามีหน่วยงาน บุคคล ที่มีคุณภาพ และพร้อมที่จะช่วยกันพัฒนาบ้านเรา เพียงแต่เรา ใช้ยุทธศาสตร์เชิงรุก หน่อย คือ รุกที่จะเข้าไปขายความคิด เชื่อว่า เรื่องดีๆ ทุกคนพร้อมที่จะช่วยกันครับ

มีเวลา เขียนบันทึกของตัวเองผ่านGotoknow ดีมั้ยครับ  จะได้เรียนรู้ร่วมกัน.....

อยากให้คนท้องถิ่น...(อปท.) มาเขียนบันทึกบ้างครับ

ชื่นชมและให้กำลังใจครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท