การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและลำใส้เล็กส่วนต้น


การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและลำใส้เล็กส่วนต้น

การส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น

บทความเรื่องการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและลำใส้เล็กส่วนต้นนี้ได้รับการสนับสนุนจากห้องส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลอุดรธานี ในช่วงที่นำนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี ไปดูงาน เห็นว่าเป็นประโยชน์จึงได้นำวิดีโอ และบทความนี้เผยแพร่เพื่อเป็นบริการวิชาการให้แก่ประชาชนทั่วไป ที่ต้องการทราบกรณีมีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคกระเพราะอาหารหรืออื่นๆที่จำเป็นต้องตรวจด้วยการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและลำใส้เล็กส่วนต้น ท่านสามารถ download file นำไปศึกษาได้ หากมีข้อสงสัยใดๆ สอบถามมาได้ครับที่ [email protected] ขอให้มีความสุขครับ

การส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น

ความหมาย

การส่องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น เป็นการส่องกล้องเข้าไปทางปาก  กล้องที่มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก ปรับโค้งงอได้มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 cm  ที่ปลายกล้องจะมีเลนส์ขยายภาพปลายอีกข้างหนึ่งต่อเข้ากับเครื่องกำเนิดแสงและส่งภาพมายังจอรับภาพ ส่องเข้าไปในปาก ผ่านหลอดอาหารลงไปในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ทำให้แพทย์สามารถมองเข้าไปตรวจดูหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนตัวได้ โดยอาจจะดูผ่านจอทีวีหรือผ่านทางกล้อง เพื่อดูว่าอะไรเป็นสาเหตุของอาการปวดท้อง กล้องส่องตรวจกระเพาะอาหารเป็นท่อเล็กบางที่สามารถงอได้ มีให้กล้องขยาย แสงสว่างที่ปลายท่อ ซึ่งสามารถใส่ผ่านจากปากเข้าไปในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นได้

ซึ่งเป็นวิธีที่จำเป็นต้องทำในโรงพยาบาล ก่อนส่องกล้องผู้ป่วยจะได้รับการพ่นยาชาเฉพาะที่ในลำคอการส่องกล้องตรวจจะทำในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการดังนี้

1. กลืนอาหารลำบาก

2. อาเจียนเป็นเลือดหรืออาเจียนโดยไม่ทราบสาเหตุ

3. ปวดท้องจุกแน่นลิ้นปี่

4. เลือดออกทางเดินอาหาร

การใช้กล่องส่องจะทำให้เห็นเยื่อบุกระเพาะเพื่อดูการอักเสบ  เป็นแผล มีเนื้องอก หรือมีการตีบตันของกระเพาะอาหารและลำไส้หรือไม่ นอกจากนั้นยังสามารถตัดเนื้อเพื่อนำชิ้นเนื้อไปตรวจหาเซลล์มะเร็ง เพาะเชื้อเพื่อหาเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนั้นยังใช้การส่องกล้องเพื่อรักษาเลือดออกทางเดินอาหาร โดยการใส่เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางกล้องส่องตรวจ เช่น อุปกรณ์ฉีดยาที่ตำแหน่งแผล หรือรัดหลอดเลือดโป่งพองของหลอดอาหาร หรือใส่เครื่องมือขยายหลอดอาหารก็ได้

 

การปฏิบัติตัวภายหลังการส่องกล้องตรวจ

1. นอนพัก เพื่อสังเกตอาการผิดปกติ ประมาณ 1-2 ชั่วโมง 

2. ห้ามดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหารจนกว่าคอจะหายชา เมื่อคอหายชาแล้ว ให้ทดลองจิบน้ำ ถ้าไม่สำลักจึงดื่มได้                                                                                                                         

3. ให้สังเกตน้ำลายที่บ้วนออกมา อาจมีเลือดปนบ้างเล็กน้อย แต่ถ้ามีเลือดออกมากผิดปกติให้รายงานแพทย์

ภายหลังการตรวจ อาจมีอาการเจ็บคอ

4. ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำ หรืออาหารร้อนๆ

5. ควรรับประทานอาหารเหลว หรืออาหารอ่อน   รสไม่จัด 2-3 วัน

6. ออกกำลังกาย หรือทำงานได้ตามปกติ

7. ในรายที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำ (ไม่รู้สึกตัวขณะตรวจ ) ห้ามขับรถหรือทำงาน

8. สำหรับผู้ป่วยที่กลับบ้านได้ เมื่อกลับบ้านแล้วควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ รับประทานอาหารและยาให้ครบตามที่แพทย์สั่ง

9. ควรมารับการตรวจรักษาตามที่แพทย์นัดทุกครั้ง เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง

10. ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น มีอาการปวดมาก บริเวณลำคอ  หน้าอก ท้อง หายใจลำบาก มีไข้สูง

ควรรีบมาพบแพทย์  และ มาพบแพทย์ ตามวันและเวลานัด

 

การเตรียมตัวก่อนตรวจส่องกล้องตรวจ

1. ให้นอนพักผ่อนให้เพียงในคืนก่อนมารับการตรวจ

 2. ห้ามรับประทานอาหาร และดื่มน้ำทุกชนิดก่อนมารับการตรวจ อย่างน้อย 6-8 ชม. ก่อนการตรวจทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่ากระเพาะอาหารว่างเปล่า เพื่อให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นจากการสำลักอาหาร และน้ำเข้าไปในหลอดลมขณะที่กลืนกล้องลงสู่ลำคอ

3. ผู้ป่วยควรมาถึงโรงพยาบาลก่อนเวลานัดประมาณ 30 นาที่เพื่อจะได้มีเวลาเตรียมตัวให้พร้อม

4. ในรายที่มีฟันปลอมถอดได้ ต้องถอดออก หรือมีฟันโยกต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ

5. ถ้ามีโรคประจำตัว หรือแพ้ยาต่างๆ ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ หากต้องได้รับยาปฏิชีวนะก่อนการส่องกล้องต้องบอกแพทย์

6. ถ้าต้องการใบรับรองแพทย์ หรือ ใบเบิกใดๆต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ

7. ไม่ใส่เครื่องประดับติดตัวมา

8. แต่งกายให้หลวมสบายๆสะดวกในการผลัดเปลี่ยน

9. ควรนำญาติมาด้วย ถ้าผู้ป่วยกลัวและวิตกกังวล

ขั้นตอนในการตรวจ

1. ผู้ป่วยจะได้รับยาชาเฉพาะที่บริเวณลำคอและได้รับยาคลายความวิตกกังวลทางหลอดเลือดดำ

2. จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้าย

3. แพทย์จะใส่กล้องตรวจเข้าทางปาก โดยให้ผู้ป่วยช่วยกลืนซึ่งจะทำให้การใส่กล้องง่ายขึ้น

ขณะตรวจ อาจมีน้ำลายไหลออกมา

4.  เมื่อถึงห้องตรวจผู้ป่วยจะได้พบกับพยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการฝึกมาโดยเฉพาะที่จะดูแลท่านตลอดเวลาที่ท่านได้รับการตรวจ

5. ในห้องตรวจ ท่านจะได้รับการพ่นยาชาเฉพาะที่ลงในลำคอ

6. พยาบาลวิชาชีพจะจัดให้ท่านนอนตะแคงซ้าย และใส่ท่อยางนิ่มเพื่อกันการกัดในปาก ซึ่งจะมีรูเปิดไว้สำหรับให้กล้องผ่านลงไปได้ หลังจากนั้นแพทย์จะทำการส่องกล้อง โดยจะผ่านจากปากเข้าไปในลำคอ กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น โดยไม่เจ็บ ซึ่งปกติจะใช้เวลาในการตรวจ ประมาณ 10-20 นาที ในระหว่างทำการตรวจ แพทย์ผู้ตรวจจะใส่ลมเล็กน้อย เข้าไปในกระเพาะอาหาร เพื่อให้กระเพาะขยาย และสามารถมองเห็นสิ่งผิดปกติภายในได้ ซึ่งจะไม่เจ็บเพียงแต่บางท่านอาจจะรู้สึกรำคาญบ้าง และบางท่านอาจมีน้ำลายมาก ควรปล่อยให้นำลายไหลออกมา พยาบาลจะทำการดูดน้ำลายให้เป็นระยะๆ

7. ให้ท่านหายใจตามปกติ ไม่ควรหายใจทางปาก

 

วิธีการปฏิบัติตัว

1. หายใจช้าๆ สูดลมหายใจเข้า-ออก ลึกๆ ยาวๆ

2.ปล่อยตัวตามสบาย ไม่เกร็ง

3.เบี่ยงเบนความสนใจ โดยมองภาพการตรวจบนจอภาพ

หมายเหตุ  ในรายที่มีการตัดชิ้นเนื้ออาจมีภาวะแทรกซ้อนได้คือมีเลือดออกโดยเฉพาะบริเวณที่ตัดชิ้นเนื้อ

มักจะหายได้เอง และ หลังการตรวจหากมีไข้ เจ็บคอ กลืนอาหารลำบาก เจ็บหน้าอก หรือเจ็บท้องต้องรีบแจ้งแพทย์

 

 

หมายเลขบันทึก: 417048เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2010 22:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 18:06 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท