สสว. กับเส้นทางสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้


ในวันที่ 29 ธันวาคม 2553 มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศจัดการอบรมเรื่อง สสว. กับเส้นทางสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ณ ห้องประชุมชั้น 18 สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

 

คำสำคัญ (Tags): #สสว.
หมายเลขบันทึก: 416995เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2010 19:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 13:05 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

สรุปหลักสูตร สสว. กับเส้นทางสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization Development)

ในวันที่ 29 ธันวาคม 2553

 

Learning Forum & Workshop หัวข้อ “สสว. กับเส้นทางสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้” โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

 

  • สสว.ต้องทำเรื่องเกี่ยวกับความรู้ที่มองไม่เห็นให้มากขึ้น
  • ถ้าอ่าน KM แล้วคิดข้ามศาสตร์ ก็ไปอ่านเพิ่ม
  • วัฒนธรรมการเรียนรู้+KM = future knowledge+ old knowledge (Best Practices) จะมีคุณค่าต่อธุรกิจมาก เพราะเราต้องทำธุรกิจแบบใหม่
  • SMEs ต้องเก่ง creativity, innovation และลดต้นทุน
  • Value จาก LO มีมาก
  • สสว.ควรอ่านบทความแล้วจัดเวทีแบ่งปันความรู้กัน
  • การรู้กับเรียนรู้ไม่เหมือนกัน เรียนรู้คือการรู้แล้วนำไปคิดวิเคราะห์
  • ต้องนำการเรียนรู้ไปแก้ปัญหาองค์กรแล้วเข้าไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้สสว.
  • สสว.ต้องสร้างโอกาสให้คนรอดในยุคโลกาภิวัตน์
  • KM ไม่ใช่ LO
  • ต้องมี LC (Learning Culture)
  • ต้องค้นหาพฤติกรรมของแต่ละคนในการใฝ่รู้
  • ปัญหาของคนไทยคือคิดว่าได้ปริญญาดีกว่าปัญญา
  • กรณีศึกษา LO ของกฟภ.เป็นตัวอย่างที่ได้ไปทำมาแล้ว มีการทำแบบสอบถามพฤติกรรมการการเรียนรู้หลังเรียนอย่างไร
  • ความรู้ใหม่ของสสว.ที่สามารถนำไปช่วย SMEs มาจากที่ไหน ควรจะอ่านบทความทั้งไทยและอังกฤษ เพราะจะได้แนะนำธุรกิจ SMEs ได้ ควรจะพัฒนาภาษาอังกฤษให้ดี
  • ถ้าจะลดต้นทุน SMEs ถ้าอยากให้เขาเก่งการตลาด การเงิน เขาจะต้องเก่งองค์กรการเรียนรู้ แต่จะทำได้อย่างไรในเมื่อสสว.ก็ยังไม่เป็นองค์กรการเรียนรู้เลย
  • กรณีศึกษา LO ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้คะแนนองค์กรการเรียนรู้แค่ 2 จากคะแนนเต็ม 10
  • กรณีศึกษา LO ของกลุ่มบริษัทไทยซัมมิท ธุรกิจชิ้นส่วนรถยนต์เป็น SMEs มากมาย และก็เป็น subcontract ของบริษัทนี้ แต่ตอนนี้จะเปลี่ยนเป็นอีโค่คาร์ก็จะมีปัญหา

 

  • การเป็นองค์กรการเรียนรู้ช่วยให้สสว.ช่วยให้ลูกค้าที่เป็น SMEs อยู่ในโลกแห่งการแข่งขันได้
  • ทำให้สสว.เป็นองค์กรที่มีผลประกอบการเป็นที่ยอมรับ
  • อย่าพอใจกับการที่จะอยู่ไปวันๆ
  • ทำให้พนักงานทำงานแบบมีความภาคภูมิใจและรู้เท่าทันเหตุการณ์
  • และทำงานอย่างยั่งยืน
  • Training ไม่ใช่เน้นเรื่อง job แต่เป็นพฤติกรรมที่ใฝ่รู้ นำไปสู่ความเป็นเลิศ
  • Training ต้องสร้างแรงบันดาลใจ สนุกกับการเรียนและเกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ
  • Training ต้องสร้างมูลค่าเพิ่ม
  • Training ต้องกระจายไปทุกกลุ่ม โดยเฉพาะเจ้านายต้องใฝ่รู้ด้วย
  • แล้ว Training ก็จะมี Learning
  • สสว.ไม่ขาดงบประมาณ แต่ยังไม่มีวิธีสร้างแรงบันดาลใจ
  • สสว.ต้องรอบรู้ ต้องมองอนาคตด้วย ไม่ใช่มองแค่อดีต
  • ควรทำงานตามหลักการทรงงานของในหลวง
  • SMEs ต้องมองโลกาภิวัตน์ มองอาเซียนไปสู่อินโดจีน
  • ทำงานเป็นขั้นตอน
  • SMEs จะดี สสว.ต้องใฝ่รู้ก่อนให้คำแนะนำแก่ SMEs
  • ควรทำตามกฎ Peter Senge
  • รู้ให้จริง แต่โดยการพึ่งตนเอง
  • อย่าติดกับกรอบความคิดเดิมๆ มันต้องเป็นไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น อย่าคิดว่าไม่มีทุนแล้วไม่ทำ ทุนมันอยู่ที่ความคิด อย่าลอกคนอื่น  SMEs เกิดที่ไหนก็ได้ และ sector ไหนก็ได้
  • ต้องมีเป้าหมายคล้ายๆ กัน
  • เรียนหนังสือเป็นทีม
  • มีระบบความคิดที่มีเหตุผล
  • ทำตามหลัก 7 Habits ของ Covey ต้องแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต อย่าประมาทเรื่องสุขภาพ
  • Edward De Bono เน้น Lateral Thinking คือ ศาสตร์ในการผสมความคิด
  • SMEs ต้องรู้ทุกศาสตร์ สสว.ต้องเข้าไปรู้เรื่องวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมากขึ้นจะได้แนะนำ SMEs ได้
  • อย่าเชื่อมั่นในสมมติฐานที่เห็น เราต้องท้าทายมันตลอดเวลา ผู้บริหาร SMEs มักคิดว่า SMEs สู้บริษัทใหญ่ๆไม่ได้ ซึ่งมันไม่เป็นความจริง ธุรกิจเล็กอาจจะดีก็ได้ คนเก่งก็อาจจะมาทำงาน SMEs ก็ได้ถ้าเถ้าแก่ไม่เอาเปรียบลูกน้อง
  • ต้องมี Critical Thinking
  • ต้องมี Creative Thinking คือคิดให้แตกต่างจากคนอื่น
  • Democracy of ideas and information ของ Grid เน้นให้มีเสรีภาพในการกระจายความรู้
  • ทำตามหลัก 4L’s
  • วิธีการเรียนรู้
  • บรรยากาศการเรียน
  • การเรียนรู้ที่ดีมีการปะทะกันทางปัญญา
  • สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้
  • ทำตามหลัก 3L’s
  • เรียนรู้จากประสบการณ์
  • เรียนรู้จากความเจ็บปวด
  • เรียนรู้จากการฟังคนอื่น
  • 2R’s
  • รู้ว่าเราอยู่ไหน
  • สิ่งที่เรียนมีผลต่อองค์กรของเราหรือไม่
  • 2I’s
  • เรียนแล้วเกิดแรงบันดาลใจ
  • ต้องวิเคราะห์ข้อมูลแล้วนำเสนอ สสว.และ SMEs ต้องมีจินตนาการ
  • ปัจจัยที่จะช่วยสสว.ให้เป็นองค์กรการเรียนรู้
  • ผู้นำต้องเอาใจใส่เรื่องทรัพยากรมนุษย์อย่างแท้จริง มันจะกระทบไปถึงผู้นำ SMEs ถ้าเขาสนแต่เรื่องเงิน ไม่เอาใจใส่พนักงาน ก็จะไม่ยั่งยืน จากหนังสือ Good to Great ผู้นำต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต และจัดการกับการเปลี่ยนแปลง Leader ต้องเป็น Learner
  • บรรยากาศในการเรียนรู้ในองค์กร ต้องสร้างเป็นวัฒนธรรมในองค์การ
  • สร้าง facility สนับสนุน
  • ต้องมี KPI ถ้าประสบความสำเร็จในการใฝ่รู้แล้วคนได้อะไร
  • ต้องมี Learning Coach และ Mentor
  • โยงไปสู่การทำงานอย่างมีความสุข ทำให้ SMEs ไปค้นหาธุรกิจและลูกค้าใหม่ๆ

 

Workshop 1

กลุ่มซ้าย

1.ถ้าจะให้คะแนน 0-10 Individual LC และ LC ใน สสว. ได้เท่าไหร่ เพราะอะไร

  • Individual LC 5.14 คะแนน
  • LC ใน สสว. 3.95 คะแนน เพราะขาดการแลกเปลี่ยนความรู้

2.ถ้าจะพัฒนาตัวเองให้มี LC ต้องทำอะไรเพิ่มขึ้น

  • มาทำงานก่อนเวลาจับกลุ่มแลกเปลี่ยนความเห็นในรูปโต๊ะกาแฟ
  • สร้างเฟซบุ๊ค
  • สร้างแรงกระตุ้น จัดรายการประกวดหาความรู้

3.อุปสรรคที่จะทำให้ สสว. ไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้มีอะไร 3 เรื่อง

  • ขาดแนวทางที่ชัดในการปฏิบัติ
  • ขาดแรงจูงใจ
  • ขาดเครื่องมือและสิ่งแวดล้อม

4.เสนอแนะโครงการที่ปฏิบัติได้ 2 โครงการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

  • สร้างกิจกรรมสันทนาการต่างจังหวัดไตรมาสละ 1ครั้งเพ่อให้พนักงานพัฒนาการเรียนรู้และมนุษยสัมพันธ์
  • จัดประกวดตอบคำถามความรู้ชิงรางวัล

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • ขอชมเชยการนำเสนอครั้งแรก
  • แต่ข้อ 2 ต้องมี individual habits ก่อน เพราะองค์กรการเรียนรู้มาจาก Learning Culture
  • ต่างประเทศเน้นให้ถามคำถามที่ไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง
  • ควรสำรวจว่า ที่บ้านมีคอมพิวเตอร์ ใช้เวลา search ข้อมูลเพื่อเรียนรู้เท่าไหร่
  • ขอให้ไปทบทวนทฤษฎีที่เรียนมา
  • ควรจัดสัมมนาในลักษณะที่มีการ debate กัน
  • คะแนนองค์กรกับคะแนนส่วนบุคคลมีความแตกต่างกันมาก

กลุ่มขวา

1.ถ้าจะให้คะแนน 0-10 Individual LC และ LC ใน สสว. ได้เท่าไหร่ เพราะอะไร

  • Individual LC 6 คะแนน อ่านข่าวจริงแต่เฉพาะข่าวที่ตนสนใจ บางทีอ่านข้อมูลผ่านๆแบบไม่ลึก
  • LC ใน สสว. 5.1 คะแนน สสว.มีหน่วยงานวิจัย เรามองว่าข้อมูลมากมี KM แต่ขาดแรงกระตุ้นให้แต่ละคนอ่านข้อมูล ไม่มีการกระจายความรู้ให้ทั่วทั้งองค์กร

2.ถ้าจะพัฒนาตัวเองให้มี LC ต้องทำอะไรเพิ่มขึ้น

  • ปรับทัศนคติของแต่ละคน พอเข้าทำงานก็เป็นความถนัดเฉพาะด้าน มองว่าตัวเองรู้หมดแล้ว ไม่ยอมรับความคิดใหม่ๆ
  • เปิดรับความคิดใหม่ๆของเพื่อนร่วมงาน
  • ปรุงแต่งพฤติกรรมให้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆตลอดเวลา

3.อุปสรรคที่จะทำให้ สสว. ไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้มีอะไร 3 เรื่อง

  • ความทะนงตัวของแต่ละคน ต้องมีการละลายพฤติกรรม
  • นโยบายขององค์กร บางคนต้องไปทำงานการเมือง ไม่มีเวลาไปหาความรู้เพิ่ม
  • มองเรื่องการบริหารจัดการภายในองค์กรเราเอง เช่าตึกแบบชั้นไม่ต่อกัน แต่ละสำนักอยู่กระจายกัน สื่อสารไม่ทั่วถึงกัน

4.เสนอแนะโครงการที่ปฏิบัติได้ 2 โครงการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

  • โครงการพี่สอนน้อง จัดตั้งเว็บบอร์ดคนที่มีความสนใจร่วมกัน เน้นเรื่องวิชาการและองค์ความรู้ต่างๆ
  • โครงการสร้างองค์ความรู้ ออกเอกสารรายเดือนหรือ ราย 6 เดือนแล้วนำขึ้นเว็บไซต์
  • E-office เป็นศูนย์เรียนรู้ให้ทุกคนที่ใช้อินเตอร์เน็ตเข้าถึงข้อมูลได้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • จับประเด็นการเรียนรู้ระดับองค์กรได้ดี แต่ share แบบมีมูลค่าเพิ่มน้อย
  • ควรใช้ 4L’s แล้วปะทะกันทางปัญญา
  • ต้องคิดเป็นระบบและคิดสร้างสรรค์
  • Reality เป็นตัวกำหนด
  • กระบวนการทำองค์กรการเรียนรู้ ต้องจัดเรื่อง Awareness 2 วัน Audit ตรวจสอบประเมิน Research วิจัยแล้วนำมาวิจารณ์กัน
  • ต้องแนะนำให้ SMEs อยู่รอด
  • อยากให้ share ความรู้กัน

อาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

  • งานวิจัยที่ทำ ได้ทำเรื่องการเรียนรู้ของคนในองค์กร SMEs ได้มีการสัมภาษณ์คนทุกระดับเรื่องการเรียนรู้
  • สิ่งที่พูดมาเป็นอุปสรรค
  • หน่วยงานเราต้อง Awakening ให้เป็นองค์กรการเรียนรู้

คุณวราพร ชูภักดี

  • อาจารย์ทำให้มีวัฒนธรรมการเรียนรู้มากขึ้น
  • อาจารย์ให้คิดเรื่องใหม่ๆ ขึ้นมา และหาข้อมูลคิดและเขียนขึ้นมา
  • อยากให้ทุกคนลองกลับไปดูทฤษฎีการเรียนรู้ของอาจารย์แล้วนำมาทำ ก็จะทำให้เป็นองค์กรการเรียนรู้ได้จริงๆ

 

นางดวงจิตร อ่อนสุวรรณ

เขียนเรื่องที่ประทับใจในการเรียนรู้เส้นทางสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้

* เรื่องที่ประทับใจในการอบรมครั้งนี้คือเรื่องของการทำให้ตัวเราเป็นคนที่ใฝ่รู้ อยากรู้ในเรื่องต่างๆมากขึ้นเพราะถ้านับดูแล้ววันหนึ่งเราอาจจะได้ความรู้ที่แท้จริงสัก 1 เรื่องจริงๆ

ประทับใจกับวิธีการสอนของอาจารย์โดยเฉพาะการแสดง Chart Mind Mapping หัวข้อการจะวิเคราะห์ Knowledge ที่ชัดคืออะไร อาจารย์แสดงภาพให้เห็นชัดเจนว่า เราจะขุดค้นศักยภาพในการเรียนรู้ในตัวเราออกมาได้อย่างไร จะปรับใช้ในองค์กรของสสว.อย่างไร และรวมทั้งเราจะถ่ายทอดให้กับ SMEs ได้อย่างไรในฐานะที่เป็นหน่วยงานส่งเสริม SMEs นอกจากนี้ยังสามารถปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดเป็น Habit ของตัวเราให้มีศักยภาพพัฒนาตัวเองตลอดเวลา ท้ายที่สุดทำให้เราเติบโตในสังคมไทยและโลกนี้ได้อย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน

สรุป Learning Forum & Workshop หัวข้อLO in Action” กับงานของสสว. โดย อาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

  • การบริหารทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ต้องใช้ Competency Base
  • ปี 1970 มีแค่การสอบทางทักษะในการคัดเลือกคน
  • ต่อมาให้ McClelland คัดเลือก โดยเลือกคนที่ superior performer โดยถามว่า ทำงานประสบความสำเร็จด้วยวิธีใด จะทำให้ทราบคุณลักษณะของแต่ละคน superior performer ต้อง Competency (สมรรถนะ) คือ มีทักษะ ความรู้ ทัศนคติ ค่านิยม คุณลักษณะ แรงจูงใจ
  • ต้องพัฒนาสมรรถนะพิเศษเพราะจะทำให้ก้าวหน้าขึ้น
  • Core Competency คือความสามารถหลักที่ทุกคนในหน่วยงานต้องมี ซึ่งสะท้อนวัฒนธรรมองค์กร เช่น นวัตกรรม คิดใหม่ นำสิ่งหนึ่งมาใช้ประโยชน์หนึ่งได้ 3M เป็นบริษัทที่มีนวัตกรรมตลอดเวลา ควรจะเปลี่ยนจากการประชุมกลุ่มใหญ่เป็นการประชุมกลุ่มย่อยสำหรับคนที่เกี่ยวข้องจะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ทั่วถึงเกิด Learning
  • จากวิจัยของดิฉันพบว่า คนในองค์กรร้อยละ 90 เรียนรู้จาก classroom training
  • อยากให้มี Self-directed learning บังคับตัวเองให้เรียนรู้ให้ได้
  • การสอนให้คนเรียนรู้ต้องสอนให้คนคิด ทำงานแล้ว Outcome คืออะไร จะทำงานให้สำเร็จต้องมีทักษะ ความรู้และทัศนคติอย่างไร และพัฒนาตนให้ช่วยคนอื่นได้
  • Competency นำไปใช้ในการสัมภาษณ์ ควรถามแบบ Behavior base ถามเพื่อดูพฤติกรรม
  • Competency นำไปใช้ในการพัฒนาพนักงานได้
  • ควรหาหนังสือแนวบริหารฉบับแปลไทยแล้วเล่มบางที่เขียนไม่ใช่เชิงวิชาการมากเกินไปมาอ่าน
  • เห็นด้วยกับการสร้าง learning corner
  • ในการหาความรู้ต้อง หามาแล้วใช้ไปเป็นวงจรเรื่อยๆไป
  • ต้องทำให้พนักงานรายบุคคลมีความรู้สึกอยากเรียนรู้ แล้วมีการถ่ายทอดผสมผสานความรู้รายทีม
  • การเรียนรู้เกิดขึ้นทุกเวลา อย่าเกรงใจเกินไป ควรจะมีการสื่อสารที่ดี 
  • จากวิจัยของดิฉันพบว่า จากการสัมภาษณ์พนักงาน ถ้านำเสนองานต่อผู้บริหาร แล้วถูกตีกลับ พนักงานคนนั้นจะไม่พูดในที่ประชุมเมื่อเข้าประชุมครั้งต่อไป และจะทำให้งานไม่เดิน
  • ถ้าไม่อยากให้เจ้านายเสียหน้า ควรจะบอกก่อนเข้าห้องประชุม

แนวทางการสร้างองค์กรการเรียนรู้

  • ประเมินวัฒนธรรมการเรียนรู้ขององค์กรในปัจจุบัน
  • กำหนดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน
  • นำวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติ
  • ส่งเสริมให้พนักงานมีทัศนคติและพฤติกรรมเชิงบวก
  • ทำให้พนักงานรู้สึกปลอดภัยในการคิดและพูดในสถานที่ทำงาน
  • ต้องเรียนรู้จาก on the job ควรจะมีสมุดจดภาษาอังกฤษที่สละสลวยไว้ใช้
  • ควรทำ Induction โดยมี list ว่า คนที่เข้ามาทำงานใหม่ต้องทำอะไรบ้างและติดต่อใคร ทำให้เข้าใจระบบการทำงาน
  • ต้องมีการพูดคุยกับผู้จัดการให้มากๆ ทุกไตรมาสจะมีวัน Culture Day ให้พนักงานเดินไปแปะสติ๊กเกอร์บนตัวคนมีวัฒนธรรมด้านนั้น
  • ปัญหาคือ รางวัลผูกกับผลงาน จึงมุ่งแต่ทำงานแต่ไม่พัฒนาตนเอง ต้องชี้ให้เห็นว่า ทำงานดีต้องมีการเรียนรู้ อย่าแยกระหว่างงานกับการเรียนรู้ แล้วพัฒนาระบบงานให้ทันสมัย
  • ผู้นำต้องส่งเสริมลูกน้องเรียนรู้

สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้คนเรียนรู้

  1. คนต้อง proactive คือ ทำสม่ำเสมอ
  2. เรียนรู้จากวิกฤติ จะกดดันให้คนแก้ปัญหา
  3. เจ้านายต้องโค้ชลูกน้อง สนทนากับลูกน้องแบบมีเป้าหมาย ร่วมกันแก้ปัญหา
  4. ระบบการให้รางวัลต้องดี
  • ควรมี informal learning คือ มีการพูดคุยกันเพื่อแก้ปัญหาตัดสินใจ โดยผู้บริหารองค์กรต้องมีวิสัยทัศน์ หาโอกาสให้บุคลากรได้มีเวทีแลกเปลี่ยนความเห็น
  • วิสัยทัศน์ในการสร้างองค์กรการเรียนรู้ต้องไปพร้อมกับพฤติกรรม
  • พนักงานมักขาดแรงบันดาลใจในการเรียนรู้
  • องค์กรที่เรียนรู้ต้องเริ่มตั้งแต่การรับคนเข้ามา ถ้ารับคนมีความสามารถก็จะเรียนรู้ได้เร็วขึ้น

 

การบ้าน

จากการฟังบรรยายมา จะนำประเด็นไหนไปพัฒนาตนเอง

 

คนที่ 1

อ่านข้อมูลต่างๆให้มากขึ้น ส่งข้อมูลที่มีประโยชน์ให้คนอื่นอ่านด้วย

 

คนที่ 2

ศึกษาหาความรู้ในงานที่ทำให้รู้ลึก รู้จริง

 

คนที่ 3

การที่องค์กรจะเติบโตได้ ทุกคนต้องร่วมมือกันและเริ่มที่ตัวเราก่อน

 

คนที่ 4

คิดนอกกรอบและศึกษาหาความรู้รอบด้านแล้วนำมาปรับใช้ ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และมีมูลค่าเพิ่ม

 

คนที่ 5

รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น แล้วนำมาปรับใช้

 

คนที่ 6

Share ข้อมูลกัน update ข้อมูลกัน

 

คนที่ 7

ค้นพบตัวเองให้เจอ ชอบสิ่งไหน ถนัดสิ่งไหน แล้วรู้ลึก รู้จริง ก็จะเป็นที่หนึ่ง

 

คนที่ 8

การเรียนรู้มีโอกาสอยู่ทุกที่ เราจะมีแรงจูงใจในการเรียนรู้มากขึ้น

 

คนที่ 9

ทุกคนต้องหาความรู้ในหลายๆศาสตร์นำความรู้มาเชื่อมโยงกันพัฒนาสิ่งใหม่ๆ

 

คนที่ 10

องค์กรจะไม่สามารถเป็นองค์กรการเรียนรู้ได้ ถ้าไม่เริ่มจากที่ตัวเรา

 

คนที่ 11

ที่ผ่านมา เราปล่อยเวลาให้ผ่านไปจนลืมการเพิ่มพูนความรู้ให้ตนเอง

 

คนที่ 12

ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่า จะเริ่มเรียนรู้อย่างไร เริ่มจากเรื่องที่ชอบของแต่ละคนก่อน

 

คนที่ 13

การหาความรู้ขึ้นอยู่กับตัวเรา

 

คนที่ 14

วันนี้กระตุ้นให้เรียนรู้มากขึ้น

 

คนที่ 15

ต้อง Action ด้วย LO กับ LC จึงจะเกิด

 

กระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความสนใจในการเรียนรู้ เช่น ตนเองเป็นคนที่สนใจในทฤษฎีของในหลวง "เศรษฐกิจพอเพียง" ที่ผ่านมาจะมีเว็บไซต์ที่เข้าไปศึกษาหาความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้คือ www.kaseatporpeang.com (เกษตรพอเพียงดอทดอม) แต่คิดว่ายังศึกษาไม่ถ่องแท้ ยังขาดความเพียร แต่ได้แรงกระตุ้นจากอาจารย์จีระ ว่าการศึกษาให้รอบด้าน จึงคิดว่า ต่อจากนี้ คงต้องให้เวลาในการหาความรู้ต่างๆเพิ่มมากขึ้น และลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นค่ะ

นายผดุงศักดิ์ สุวรรณเวก

ประทับใจ การสรุปประเด็นของอาจารย์ (ผู้อบรม) ในหัวข้อการจัด workshop ของแต่ละกลุ่ม (มี 2 กลุ่ม) พร้อมเสนอแนะหัวข้อเพิ่มเติม

ความประทับใจ

ท่านอาจารย์ให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้ เน้นให้ทุกคนได้เรียนรู้ตลอดชีวิต พยายามให้คิดวิเคราะห์ให้พวกเราไม่หยุดยั้ง ทุกอย่างเริ่มต้นที่ตัวเรา

สุภาพร เที่ยงจันทึก

ประทับใจอาจารย์จีระเรื่องการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ ให้อยากศึกษาหาความรู้เรื่องใหม่ๆคือ อยากจะเป็นคนที่มีความรู้ในหลายๆด้าน

ดวงใจ เหลืองอนุรักษ์

ชอบวิธีการสอนที่ตรง, แรง,จี้จุด

สิ่งที่ประทับใจ

เทคนิคและวิธีการสอนของอาจารย์ค่ะ

ธัญลักษณ์ ธนศิริรักษ์

ประทับใจสุดๆๆ คือ "วิธีการสอน ที่ดุดัน พูดตรงไปตรงมา" แต่พอเรียนไปสักพัก ก็ทำให้รู้ว่าเป็นการสอนโดยการใช้จิตวิทยาเพื่อให้ผู้เข้าร่วมฟังคำบรรยายนั้นสนใจและตื่นตาตื่นใจในการบรรยาย

"แนววิธีการคิด ทำให้เกิดความอยากเรียนรู้มากขึ้น อยากที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆตามแนวทฤษฎี LC"

 

นายธนพันธุ์ วงศ์วินัยพร้อม

ผมประทับใจในการสอนที่จริงใจตรงไปตรงมา หลายคนบอกว่า การพัฒนาชาติไทยคือการให้ความรู้ การศึกษาและคุณธรรม ซึ่งถ้าฟังไปแล้วพูดอีกก็ถูกอีก แต่ในความเป็นจริง การนำไปใช้หรือสร้างความตระหนักผมว่าเป็นเรื่องยาก ผมยอมรับว่า มีคนน้อยนักที่ให้ความสำคัญอย่างจริงจังในเรื่องนี้ แต่การให้ความรู้ในครั้งนี้ยังมีเวลาน้อยเกินไป ซึ่งผมว่าไม่ค่อยได้อะไรมาก

ประทับใจการร่วมกัน Brainstorm ภายในกลุ่ม ทุกคนให้ความช่วยเหลือในงานที่ได้รับมอบหมายดีมาก ที่สำคัญทำให้ได้รับทราบมุมมองและความคิดของเพื่อนทุกคน

กนกวรรณ วาจาสิทธิ์

ประทับใจในวิธีการสอนที่ไม่เหมือนใคร ให้มีการโต้ตอบกันในการอบรมมากกว่าการอบรมครั้งอื่นๆ

  • เรื่องของการกระตุ้นให้เกิดการสร้างความตระหนักในเรื่องการเรียนรู้ทำให้สามารถทำให้เราเกิดความต้องการที่จะให้องค์กร (สสว.) เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
น.ส.จารุณี ภูมิอ่อน

ความประทับใจ การกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจในการอยากเรียนรู้มากขึ้น

จักรวาล ช่วยสำเร็จ

ประทับใจในการเรียนวันนี้

ได้ฝึกวิธีการเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้อย่างจริงจังและพัฒนาไปสู่การเผยแพร่ความคิด ความรู้ต่างๆให้บุคลากรในสสว. เพื่อสสว.

อาจารย์ มีวิธีการกระตุ้น/จูงใจให้ผู้ฟังอยากเรียนรู้ พร้อมให้ตัวอย่าง (จากคุณเอ) ว่าทุกคนปรับตัวได้จริง/ทุกคนเปลี่ยนแปลงได้จริง เพราะทุกอย่างจะต้องเริ่มเปลี่ยนจากตัวเราก่อน จึงเปลี่ยนสังคมได้ในอนาคต

ประทับใจวิธีการสอนของอาจารย์คือ "อาจารย์ติเพื่อก่อ"...ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการเรียนรู้ภายในใจของตนเองได้

นายเชาวลิช รอดบัวทอง (กล้วย)

ความประทับใจในการสอนวิธีการสอนที่กระตุ้นให้ผู้ฟังคิดออกมาจากตัวเองแล้วแสดงความคิดเห็น เป็นวิธีการเรียนที่ดี สร้างความมั่นใจให้กับผู้ที่พูด

ติรณะ ภราดร์นุวัฒน์

วิธีสอนที่ประทับใจ

  • วิธีสอนแบบชาวต่างชาติ พูดให้ตรงจุด ตรงประเด็น กระชับ เน้นเฉพาะจุดสำคัญที่เป็นใจหลัก
  • หลักสูตร LOD เป็นหลักสูตรที่ดี ควรใส่ในหลักสูตร Training ของ HR สำหรับพนักงานใหม่เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของคนรุ่นใหม่ (น้องใหม่) ก่อนจะโดน Corporate Culture ที่ไม่ดีกลืน
น.ส.ดวงฤทัย มณีโชติ

ประทับใจในการเรียนคือ วิธีการสอน การอธิบาย ยกตัวอย่างเรื่องต่างๆ ทำให้เรารู้สึกได้ว่าต่อไปนี้ เราควรจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง การกระตุ้นตัวเองให้หาความรู้รอบตัวหรือการอ่านมากขึ้น เพื่อที่เราจะได้คิดเป็น คิดนอกกรอบ มีระบบการคิดมากขึ้น มีความถนัดในหลายด้านมากขึ้น ไม่ใช่แค่ถนัดด้านเดียว ทำให้อยากให้สสว.เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เร็วๆค่ะ

สิ่งที่ประทับใจในการเข้าร่วมในการรับฟังครั้งนี้คือ

Process of thinking ที่จะให้คิดในส่วนของ Concept ออกมาก่อน ก่อนที่จะแตกประเด็น เพราะฉะนั้นแล้ว เราจะไม่มีจุดยืนทางความคิด นอกจากนี้แล้ว ยังชอบในเรื่องของการกระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียน เป็นบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท