TU LIBS
นาง ศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ

การสัมมนา เรื่อง STKS Talk ครั้งที่ 1/2554 : การจัดการความรู้บริษัท ที.โอ.ที


บริษัททีโอทีมีการวางแผนการดำเนินการและการพัฒนาการทำ KM โดยการทำ TOT KM Roadmap เพื่อเป็นการวางแผนการดำเนินงานว่าในแต่ละช่วงปีกิจกรรม KM ของบริษัทจะพัฒนาและเติบโตไปในลักษณะและทิศทางใด ซึ่งจะช่วยให้การทำ KM มีแบบแผนและเกิดเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น โดย TOT KM Roadmap มี 5 ระยะ

                วันที่ 15 ธันวาคม 2553 นางสาวประวีณา ปานทอง และนางสาวภัทรรัตนา วายุบุตร เข้าร่วมการสัมมนา เรื่อง STKS Talk  ครั้งที่ 1/2554 : การจัดการความรู้บริษัท ที.โอ.ที ณ ห้องประชุม 113 ชั้น 1 อาคารสำนักงานกลาง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  สรุปได้ ดังนี้

                บริษัททีโอทีมีการวางแผนการดำเนินการและการพัฒนาการทำ KM โดยการทำ TOT KM Roadmap เพื่อเป็นการวางแผนการดำเนินงานว่าในแต่ละช่วงปีกิจกรรม KM ของบริษัทจะพัฒนาและเติบโตไปในลักษณะและทิศทางใด ซึ่งจะช่วยให้การทำ KM มีแบบแผนและเกิดเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น โดย TOT KM Roadmap มี 5 ระยะ ดังนี้

กราฟแสดงการจัดการความรู้ของบริษัท ทีโอที หรือ TOT KM Roadmap

 1. Get Started เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 

                วัตถุประสงค์     1. เพื่อคัดเลือกแนวทางที่เหมาะสมสำหรับ KM ใน TOT 

                เป็นระยะเริ่มต้นของการเริ่มทำ KM จึงต้องศึกษาข้อมูลและรวบรวมข้อมูล เช่น การเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนา KM ต่างๆ การศึกษาจากเอกสาร หนังสือ หรือแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับ KM ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ขององค์กร การศึกษาดูงานตามองค์กรและหน่วยงานภายนอก เริ่มทำ KM โดยใช้แนวคิด Cop (Community of Practice ซึ่งหมายถึง ชุมชนนักปฏิบัติ หรือ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่รวบรวมกลุ่มคนที่มีความรู้ความสนใจในเรื่องเดียวกัน มาร่วมแลกเปลี่ยน แบ่งปัน เรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ ร่วมกัน เพื่อได้มาซึ่ง Knowledge Assets : KA หรือ ขุมความรู้ ในเรื่องนั้น ๆ เพื่อไปทดลองใช้ แล้วนำผลที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิก อันส่งผลให้ความรู้นั้น ๆ ถูกยกระดับขึ้นเรื่อย ๆ ผ่านการปฏิบัติ ประยุกต์ และปรับใช้ตามแต่สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่หลากหลาย อันทำให้งานบรรลุผลดีขึ้นเรื่อย ๆ และการออกแบบระบบจัดเก็บความรู้กลางที่เข้าถึงได้ผ่านระบบอินทราเน็ต

2. Design CMS/Portal เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547

            วัตถุประสงค์        1. เพื่อให้มีระบบเก็บความรู้กลางของ TOT

            ระยะนี้เริ่มจากการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ TOT KBS (Knowledge-Based Society) ให้เป็นเว็บไซต์เพื่อการจัดการความรู้ และสามารถรองรับสังคมแห่งความรู้ได้หลากหลายกลุ่ม เป็นแหล่งรวบรวมบทความทางวิชาการ แบ่งแยกงานโดยกำหนดทีมงานผู้ดูแลระบบและการใช้งาน ผลิตบทเรียน อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการศึกษาด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ TOT KBS ออกแบบ Mascot และ Logo สำหรับเว็บไซต์ โดยรูปแบบของ Mascot ได้เลือกใช้นกฮูกชื่อตาโตกับตาแป๋ว

 

3. Build Knowledge Awareness เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548

            ระยะของการจัดเก็บและรวบรวมความรู้ต่างๆ สร้างเว็บไซต์ขึ้นมา บันทึกหลักสูตรการอบรมในรูปแบบ PowerPoint และ VDO คัดเลือกโปรแกรมต่างๆมาผลิตสื่อในรูปแบบ Open source เช่น โปรแกรม  MS producer  โปรแกรม  Adobe captivate เป็นต้น วิธีการสร้างความรู้แบ่งออกเป็น

                1. จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ แนะนำในห้องเรียน รวมทั้งเข้าพบส่วนงานต่างๆ มีการออกบูธ การแจกโบว์ชัวร์ ทำแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์
                2. จัดเก็บความรู้จากพนักงานที่เกษียณอายุประจำปี เช่น การสัมภาษณ์บุคคลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน  และรวบรวมเอกสารที่มีความสำคัญเพื่อเผยแพร่
                3. จัดการแข่งขันสุดยอดทักษะฝีมือ TOT ประจำปีโดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 มีการแข่งขันทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เช่น การติดตั้งตู้ Deslam โดยกิจกรรมจะเปลี่ยนแปลงทุกปี แต่ยังคงกิจกรรมที่มีผู้สนใจจำนวนมากไว้ และสำหรับบุคคลที่เคยได้รับรางวัลอันดับ 1 จะเชิญมาสัมภาษณ์และสอบถามเรื่องความสามารถและเทคนิคที่ใช้ และจัดเก็บข้อมูลเป็นความรู้ โดยมีรางวัลเป็นเงิน วุฒิบัตรและโล่

4. Create and Share Knowledge เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550

          วัตถุประสงค์   1. เพื่อสนับสนุนการสร้างและแบ่งปันความรู้ของพนักงาน

                             2. เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางการทำ KM กับองค์กรอื่น

                ในระยะนี้เป็นระยะที่มุ่งกระตุ้นให้บุคลากรในองค์กรเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น โดยจะจัดกิจกรมต่าง ๆ เพื่อให้บุคลากรเข้าร่วม เช่น การประกวดผลงานและสิ่งประดิษฐ์  (โดยผลงานหรือสิ่งประดิษฐ์ที่มีการผลิตออกมาจะมีการนำไปจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และผลงานทั้งหมดจะถือเป็นสมบัติของบริษัท) การนำเสนอโครงการปรับปรุงคุณภาพประจำปี  (ในแต่ละปีทุกส่วนงานจะต้องมีการนำเสนอโครงการของส่วนงานของตนว่าได้ทำกิจกรรมใดเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการทำงาน)  จัดให้มีการไปศึกษาดูงานในเรื่องของ KM ในองค์กรต่าง ๆ เป็นต้น

                นอกจากนั้นในระยะนี้ยังเน้นการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดประสบการณ์การทำ KM ของบริษัทให้แก่องค์กรอื่น ๆ ด้วย มีทั้งการไปบรรยายให้แก่องค์กรอื่น และเปิดให้องค์กรอื่นเข้ามาศึกษาดูงานที่บริษัท

 5. Build Learning Organization เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553

          วัตถุประสงค์   1. เพื่อเสริมสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของบริษัท

                            2. เพื่อสนับสนุนให้บริษัทได้รับรางวัลต่าง ๆ

            เป็นระยะที่จะใช้การทำ KM ทำให้เกิดนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัท และสามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่บริษัทด้วยการคว้ารางวัลต่าง ๆ จากองค์กรภายนอก เพราะรางวัลที่จะได้รับนั้นแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและทำให้ได้รับการยอมรับจากบุคคลทั่วไป

 

แนวคิดที่น่าสนใจที่ได้รับจากการฟังบรรยายในครั้งนี้ คือ

                1. บริษัททีโอทีมีการสนับสนุนให้เกิดการทำ KM ภายในองค์กรอย่างเข้มข้น โดยจะเห็นได้จากการที่ทางบริษัทมีการตั้งส่วนงานและบุคลากรขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ในการสนับสนุนและผลักดันการทำ KM โดยเฉพาะ

                2. การทำ KM ของบริษัทเน้นความสมัครใจของบุคลากรในการเข้าร่วม ไม่ได้มีการบังคับ และยังมีการจูงใจบุคลากรด้วยการใช้รางวัลเป็นตัวกระตุ้น นอกจากนี้วิธีการที่บริษัทใช้ในการดึงดูดบุคลากรเข้าร่วมก็คือจะพยายามให้บุคลากรคิดว่าการทำ KM ไม่ใช่การเพิ่มภาระงานแก่บุคลากร แต่เป็นการแบ่งปันความรู้ที่บุคลากรในบริษัทก็มีการแบ่งปันกันอยู่แล้ว เพียงแต่การแบ่งปันนั้นทำอยู่เสมอจนเป็นเรื่องปกติ ซึ่งการทำ KM ก็เป็นเพียงการตั้งชื่อให้กับการแบ่งปันความรู้ของบุคลากรที่ทำอยู่เป็นประจำเท่านั้น และกระบวนการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะทำขึ้นก็เป็นการทำให้การแบ่งปันความรู้เป็นไปอย่างมีระบบและน่าสนใจยิ่งขึ้น ถือว่าวิธีการเช่นนี้เป็นการสร้างทัศนคติที่ดีให้แก่บุคลากรในบริษัทที่จะมีต่อการทำ KM ได้เป็นอย่างดี

                3. การที่บริษัทเปิดโอกาสให้องค์กรอื่น ๆ เข้ามาศึกษาดูงานการทำ KM ของบริษัท และการที่บริษัทส่งวิทยากรออกไปบรรยายในเรื่องการทำ KM ให้กับองค์กรอื่นนั้น ทำให้บริษัทได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้กับองค์กรอื่น ซึ่งสามารถนำสิ่งที่ได้รับมานั้นมาพัฒนาและปรับปรุงการทำ KM ของบริษัทให้ดียิ่งขึ้นได้

หมายเลขบันทึก: 414619เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2010 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท