ความแตกต่าง..เรื่องธรรมดาๆที่ถูกลืม


" .... ถ้าเราเข้าใจและยอมรับในความแตกต่างของคนแต่ละคน เราก็จะเข้าใจและให้อภัยต่อผู้อ่านได้มากขึ้น และอยู่ร่วมกับผู้อื่น ท่ามกลางความแตกต่างและความขัดแย้งได้อย่างมีความสุขขึ้น...."

 ยังจำคำพูดของคนไข้คนหนึ่งได้จนขึ้นใจ

" จงอย่าเอาความคิดและความต้องการของตนเอง ไปตัดสินความต้องการของคนอื่น"

 

จริงอยู่... สมัยเรียนอาจารย์สอนเสมอว่า เราต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา  นั่นคือเอาความรู้สึกของเขา มาใส่ความรู้สึกของเรา ว่าถ้าหากเรากำลังป่วย กำลังเจ็บ กำลังเสียใจ  เราต้องการอะไร เราอยากได้อะไร  เราอยากจะให้คนอื่นมาปฏิบัติอย่างไรกับเรา

แต่อาจารย์คงลืมสอนไป.. (อาจจะสอน แต่ไม่ได้เน้น..หรือเราลืมเอง) ว่าคนแต่ละคนมีความต้องการแตกต่างกัน  เราเองก็เป็นคนหนึ่งที่อาจจะแตกต่างจากคนอื่น

ความต้องการของเรา อาจจะไม่ใช่ความต้องการของเขาก็ได้

ในขณะที่เราปวด เราอยากได้ยาแก้ปวด อยากให้มีคนมาบีบนวดเบาให้กำลังใจเรา  แต่..บางคนอาจจะอยู่เงียบๆ ไม่อยากให้ใครแตะเนื้อต้องตัวก็ได้

บางครั้งเราก็ลืมนึกถึงสิ่งที่แตกต่าง ..  ทำให้เรามักเอาประสบการณ์ของเรามาตัดสินความต้องการของคนอื่น แล้วเราก็คิดว่า นั่นคือสิ่งที่ "น่าจะ" ถูกต้อง

เราเห็นคนไข้อ่อนเพลีย มีบาดแผล หากขยับลุกจากเตียง อาจจะได้รับอันตราย  แต่เราลืมไปว่า คนไข้เขาก็รักชีวิต เขาก็ไม่อยากจะเกิดอันตราย  ตราบใดที่เขายังมีสติ เขาย่อมรู้ว่าอะไรคืออะไร และประเมินความสามารถของตนเองได้   เราเข้าเพื่อไปช่วยเหลือเขา ด้วยความห่วงใย แต่สิ่งนี้อาจจะทำให้เขาไม่พอใจ หาว่าเราไปละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของเขา

อันที่จริง.. สิ่งที่เราควรทำ คือ  ระมัดระวังอันตรายให้เขาอยู่ข้างๆ ก็พอ  ถ้าเขาไม่ต้องการ ก็ไม่ต้องเข้าไปวุ่นวายกับเขา  เพราะชีวิตเป็นของเขา เขามีสิทธิ์ในชีวิตของตนเอง

นั่นคือ.. การเอาใจเขามาใส่ใจเรา เป็นเพียงการคาดเดาว่า เราน่าจะทำอะไรให้เขา แต่เราควรจะทำอะไรต่อเขา เราต้องพิจารณาดูที่ความต้องการของเขาด้วย

เหตุผลเพราะ.. คนแต่ละคน มีความต้องการแตกต่างกัน

และเพราะมันแตกต่างเรา  บางทีเราจึงไม่เข้าใจว่า ทำไมเขาคิดอย่างนั้น ทำไมเขาต้องการอย่างนั้น

 
" .... ถ้าเราเข้าใจและยอมรับในความแตกต่างของคนแต่ละคน  เราก็จะเข้าใจและให้อภัยต่อผู้อื่นได้มากขึ้น และอยู่ร่วมกับผู้อื่น ท่ามกลางความแตกต่างและความขัดแย้งได้อย่างมีความสุขขึ้น...."

 

คำสำคัญ (Tags): #ความแตกต่าง
หมายเลขบันทึก: 41419เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2006 06:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
     ประเด็นจะอยู่ที่ไม่ค่อยรู้ตัวครับว่ากำลังไปครอบงำคนอื่น เชื่อว่ารู้ ๆ กันอยู่ว่าไม่ควร รู้กันอยู่ว่า "แตกต่างจากเรา" แต่ประเด็นอยู่ที่ทำอย่างไร? หากได้เผลอไปแล้วถอยกลับให้เร็วที่สุดมากกว่าครับ
     อันนี้ผมกล่าวได้จากประสบการณ์การทำงานในชุมชนที่เรามีเผลอครับ แต่ต้องมีทักษะการถอยกลับออกมาให้เร็วที่สุด

เหมือนปลงตกกับความไม่เที่ยงของชีวิต แต่มันยาก ตรงที่คนเรามักอยากจัดการชีวิตคนอื่น มากกว่าการจัดการกับตัวเอง ปล่อยวางเสียบ้างคงจะดี วันนี้เหนื่อยมาทั้งวัน ใช้สมองใช้ปัญญาไปมาก ให้เวลากับตัวเองบ้าง มองสิ่งรอบข้าง ชีวติเป็นของเรา จัดการมันเถิด จะได้พบกับความสุขที่แท้จริงเสียที เห็นต้นไม้ที่พลิ้วไหวเอนยามต้องลมไหม ใบที่สีสดใส นกร้องเพลง กลิ่นหอมของดอกไม้ที่บ่นยามเย็น ธรรมชาติที่สงบสุขในท้องท่งที่เขียวขจีไปด้วยต้นข้าวในนา ยามอทิตย์ใกล้ลับขอบฟ้า ลำธารน้ำใสไหลเอื่อย ๆ มีปลาน้อยใหญ่ แหวกว่าย คุณเคยคิดถึงภาพเหล่านี้บ้างไหม มองธรรมชาติเหล่านี้อย่างไร ทำใจได้มากน้อยแค่ไหนกับความสุขที่ไม้ต้องซื้อหาด้วยเงินทอง ร่างกายคุณได้รับความสุขจากการหลังของสาร endirphin มาบ้างหรือยังวันนี้ ลองซิ ลองหลับตานึกถึงภาพที่ผมว่า คุณเห็นอะไรบ้าง หรือนึกไม่ออกเพราะชิวิตหมกมุ่นอยู่แต่กับงาน เพื่ออะไร เพื่อไคร หรือถูกคนอื่นรอบข้างจัดการให้ตลอด เปลี่ยนบรรยากาศไปกางเต้นนอนในสนามดูบ้าง นุ่งผ้าขาวม้าอาบน้ำในลำธารใส ๆ น้ำไหลเอื่อย ๆ แล้วแช่อยู่ซักพักก่อนขึ้นมาล้อมวงกับเพื่อน ๆ หรือครอบรัว ที่มีเด็ก ๆ ช่วยเผาเผือกเผามันร้อน ๆ กินแทนข้าวเย็น

ทำได้อะเป่า  

  • การรักษาที่เน้นคนไข้เป็นศูนย์กลางน่าสนใจนะครับ
  • คนเราควรอยู่กับธรรมชาติครับคุณครูสุธี

ใส่ใจกับบันทึกมากเลยครับ

บันทึกเลยออกมาดูดี น่ารัก อ่านง่าย สำนวนเยี่ยม

มาเยี่ยมครับ...
มาแม่ฮ่องสอน จะชวนไปจิบกาแฟสดดวงดี แถมบราวนี่ให้ ๒ ชิ้น

 

เออ...สัญญารัก...หาซื้อได้ที่ไหน ครับ???

จะมีคำถามชิงรางวัลอีกมั้ยครับ??

 

  • ทุกคนมีปทัสถานที่แตกต่าง
  • ผู้คนล้วนแตกต่าง
  • สังคมก็มิได้อยู่เหนือกฏเกณฑ์นี้
  • เข้าใจความแตกต่าง
  • เพื่อต่อยอด เติมเต็ม
  • มิใช่เพื่อควบคุม หรือให้คล้อยตาม
  • ขอบพระคุณมากครับ
  • เข้าใจความแตกต่าง
  • เพื่อต่อยอด เติมเต็ม
  • มิใช่เพื่อควบคุม หรือให้คล้อยตาม
  • เติมเต็มบันทึกนี้ได้อย่างดียิ่ง ขอบคุณผู้เขียนบันทึก และ ผอ.บวร เจ้าของความเห็นมากค่ะ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท