Applied ICT for Executive Librarians


ICT

 

                                                               

  

แนวโน้มของห้องสมุดอุดมศึกษา เสวนาโดย อาจารย์สุวคนธ์ ศิริวงศ์วรวัฒน์   อาจารย์ศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ  

ดร.อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ ดำเนินรายการโดยคุณสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ ได้กล่าวถึงการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาห้องสมุดต้องคำนึงถึง ทิศทางของมหาวิทยาลัย นโยบาย ที่จะพัฒนาในอนาคตต้องสอดคล้องกัน

                แนวโน้มของห้องสมุดอุดมศึกษาในด้านต่างๆ

  1. ทรัพยากรสารสนเทศ  รวบรวมผลงานวิชาการ ผลงานวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย และผลงานที่มีคุณค่าเช่น เอกสารจดหมายเหตุนำมาแปลงเป็นรูปแบบดิจิทัลฉบับเต็มเพื่อการเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว มีระบบการใช้ข้อมูลร่วมกัน เป็นห้องสมุดไร้หิ้งหนังสือ เป็นต้น
  2. งบประมาณ หาทุน บรรณารักษ์ประสานหน่วยงานภายในหรือภายนอกเพื่อหาทุนมาสนับสนุนกิจกรรม
  3. เทคโนโลยี เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว บุคลากรห้องสมุดต้องเปลี่ยนแปลงให้ทันเทคโนโลยี และโปรแกรมการเรียนวิชาบรรณารักษศาสตร์ต้องมีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร มีวิชาใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ
  4. โครงการ Digitization ทำให้หนังสือที่ไม่มีผู้ใช้จะถูกนำมาอยู่บนระบบเครือข่ายที่นักวิจัย นักวิชาการมีโอกาสใช้กันทั่วโลก
  5. ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดเช่น ภายในสถาบันความร่วมมือกับหลักสูตรการเรียนการสอน หน่วยบริการนักศึกษา ภายนอกสถาบันความร่วมมือกับบรรณารักษ์สถาบันอื่นๆ
  6. บทบาทห้องสมุดกับกฎหมายลิขสิทธิ์ ห้องสมุดต้องให้ความรู้กับผู้ใช้บริการในเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์ และควรมีบรรณารักษ์ชำนาญการด้านการสื่อสารหรือนักกฎหมายลิขสิทธิ์
  7. ห้องสมุดจะกลายเป็น Hab สำหรับการบริการพิเศษ เช่น ศูนย์การติว ศูนย์การฝึกการเขียน ห้องศึกษาเป็นกลุ่ม ห้องการศึกษาทางไกล ห้องบริการกาแฟและอาหารว่าง เป็นต้น
  8. Commons จะกลายเป็นหัวใจและวิญญาณของห้องสมุดอุดมศึกษาเป็นการผสมผสานของการบริการเทคโนโลยี บริการข้อมูล ผู้ใช้บริการมาพบกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จัดกิจกรรมร่วมกัน ร่วมมือและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่จัดไว้บริการ
  9. การออกแบบห้องสมุดอุดมศึกษา จะมีการเปลี่ยนแปลง โดยคำนึงถึงพื้นที่สำหรับการบริการด้านข้อมูลดิจิทัล การบริการพิเศษ เช่น ห้องเรียนทางไกล ศูนย์การติว
  10. คำจำกัดความของห้องสมุดจะเปลี่ยนไป เนื่องจากการบริหารจัดการภายในห้องสมุดเปลี่ยนแปลงรูปแบบไป จำนวนหนังสือลดน้อยลง มีการให้บริการแหล่งข้อมูลออนไลน์มากขึ้น เช่นสถาบันวิทยบริการ

นโยบายเพื่อการเก็บข้อมูล ในประเด็น Taxonomy & Ontology และ Data Mining โดย คุณสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์ และ อาจารย์รังสิมา เพ็ชรเม็ดใหญ่ ได้กล่าวถึงเทคโนโลยี Text Mining/Data Mining โดยห้องสมุดหาข้อมูลที่มีประโยชน์ออกมาจาก OPAC เพื่อ Mining เช่น ผู้ใช้บริการมาใช้บริการห้องสมุดช่วงเวลาไหนมากที่สุด

หนังสือหมวดหมู่เท่าไรได้รับการใช้บริการมากที่สุดในแต่ละปีการศึกษา เป็นการจัดเก็บข้อมูล ตัวเลข เพื่อนำมาวิเคราะห์ในการเพิ่มคุณภาพการให้บริการ การบริหารจัดการงานห้องสมุด

ส่วน Taxonomy และ Ontology เป็นการรวบรวมคำที่มีความสำคัญจัดกลุ่มออกมาให้เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดทำรายงานประเภทการจัดเตรียมข้อมูล ( ดิบ) เพื่อการ Mining

 

 นโยบายเกี่ยวกับ Digital content & Website โดยอาจารย์บุญเลิศ อรุณพิบูลย์กล่าวถึงสิ่งที่ควรคำนึงและควรศึกษาหาข้อมูล วางระบบแบบแผนให้ชัดเจน ถูกต้อง

  1. งบประมาณ / กำลังคนที่จำกัดควรบริหารจัดการสอดคล้องกับนโยบายขององค์กรภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวย
  2. ความต้องการที่หลากหลายของผู้ใช้ เช่นสิทธิ์อันชอบธรรมในกลุ่มผู้ด้อยโอกาส
  3. ลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา
  4. ความหลากหลายของระบบ
  5. ข้อกำหนดมีการปรับเปลี่ยน
  6. ตอบรับเทคโนโลยีอุบัติใหม่
  7. การบริหารองค์กรยุคใหม่ / ภาพลักษณ์องค์กร

               

 

แหล่งอ้างอิง:- ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ศวท.)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับศูนย์สนเทศและหอสมุดมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

 

หมายเหตุ:- จากโครงการสัมมนา เรื่อง Applied ICT for Executive Librarians
วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม 2553 ณ ห้องประชุม 5-2 อาคารสำนักอธิการบดี 2 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

หมายเลขบันทึก: 413813เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2010 02:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท