"...วิถี AI.. วิถี เซิ้ง..." (ห้องเรียนกระบวนกร AI ตอนที่ 281)


Appreciative Inquiry

Appreciative Inquiry อยู่ด้วยตัวมันเองไม่ได้ครับ อันนี้ผมไม่ได้พูดคนเดียว...

AI คือศิลปะการถามคำถามเชิงบวก โดยมากจากสมมติฐานของ AI คือ ในทุกระบบ ทุกชีวิต มีอะไรดีๆ ซ่อนอยู่เสมอครับ...

เราจะเน้นที่การถามเอาเรื่องราวดีๆ ออกมา แล้วเอามาต่อยอด...สูตรก็เริ่มจาก Discovery ค้นหาว่าสิ่งที่ดีที่สุดในขณะนั้นคืออะไร พอได้ก็เอามาวาดฝัน หรือน่าจะเอาไปทำอะไรให้มันดีกว่านี้ (Dream) คราวนี้ก็จะมาทำความฝันให้มันเป็นจริง ก็จะเริ่มมาวางแผน (Design) สุดท้ายก็จะต้องให้เกิดจริง (Deliver หรือ Destiny) ครับ....

เท่าที่ผมทำมา 100 กว่าโครงการ เราไม่ได้ใช้ AI อย่างเดียวครับ...เราเอาอะไรมาเสริมให้มันแสดงพลังขึ้นอีกครับ..เพราะทำตามตำราแบบฝรั่งเป๊ะๆ ตอนแรก ไม่ออกเลยครับ ท่าทางวัฒนธรรมจะต่างกัน เราเลยต้องอาศัยตัวช่วย.

ขั้น Discovery 

เราประยุกต์ Field Research เข้ามาโดยใช้ Observation ร่วมด้วย แทนที่จะถามอย่างเดียว เพระคนไทยบางครั้งไม่สะดวกที่จะคุยกันตรงๆ

เราประยุกต์กรอบในวิชาเฉพะาทางเช่น BSC, Marketing, HRD, Positive Psychology KM และ LO เพื่อสร้างโจทย์ หาความลึกลับที่ "Work" ตามกรอบวิชาต่างๆ

เราเอาการสุ่มแบบ The Tipping Point เข้ามาเพื่อคัดกรองคนที่ีเป็น The Maven, The Connector และ Salesman แล้วเข้าไปค้นหาความลับกัน...คนกลุ่มนี้เป็นต้นเหตุของการแพร่กระจายสินค้า และความนิยมครับ

ที่สำคัญขั้นนี้เราเอาแนวคิด KM มาช่วยครับโดยเฉพาะการทำ AI กับกลุ่มใหญ่ๆ เช่นทั้งองค์กร เพื่อนำความรู้กลับมาใช้ซ้ำอีกครับ...

ขั้น Dream

เอาแนวคิดแบบ Visualization จินตภาพถึงอนาคตมาช่วย เพื่อความชัดเจน...

เอาเรื่องเล่าการทำ Vision ขององค์ชั้นนำเช่น NTT DoCoMo มาช่วย เพราะคนทำขั้นนี้ไม่เป็น ประมาณว่าเอากระบวนการ KM มาช่วย

ขั้น Design

เอาหลายเทคนิคมาช่วยเช่น Balanced Scorecard, Blue Ocean Strategy มาช่วยครับ อันนี้แล้วแต่คน บางที่ก็เอาแค่หลักคิด รุก รับ ถอย ใส่ไปซื่อๆ เน้นหลักความเรียบง่ายไปเลย (Simplicity)

 

ขั้น Destiny หรือ Delivery 

ถ้าสอนเป็นกลุ่ม เน้นทำแล้วนัดมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน (KM) ครับ

วัดผล นำเอาแนวคิด BSC หรือแบบง่ายๆก็ Model ของท่าน Kirkpatrik คือ OD's Evaluation วัดที่ Reaction-->Learning--->Behavioral Change-->Organizational performance 

การมอบอำนาจ เราใช้ ทฤษฎี The Tipping Point ครับ

ส่วนการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เราจะใช้ให้แต่ละคนนั่งทำ Discovery กันอีกรอบ เพื่อหากลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงที่เหมาะกับตัวเองอีกครั้งครับ...

และสำหรับคนที่ทำ AI เป็น Research Methodology จะคุยเรื่อง Validity และ Reflection ประมาณ AI ซ้อน AI อีกรอบ ทำนองเป็น Double Loop Learning ครับ

ตัวช่วยนอกตำรานี่ผมเรียกของผมเองว่าการ "Dance" ภาษาอิสานคือการ "เซิ้ง" นั่นเอง..

......

พูดง่ายๆ ฝรั่งมี 4 D คือ Discovery Dream Design Destiny เจอ AI Pracititioner ลูกอีสาน ของแท้อย่างผม จึงอดไม่ได้ที่จะเพิ่ม Dance หรือ เซิ้งเข้าไป เพิ่มสีสัน และทำให้มัน work มาขึ้นครับ... เราจึงมี 5 D ครับ...

......

คุณล่ะ คิดอย่างไร...

 

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry
หมายเลขบันทึก: 413654เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2010 10:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท