เสาวณีย์
นางสาว เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์

การเพิ่มอำนาจทางเศรษฐกิจ


การรวมกลุ่มการลงทุนและพัฒนเศรษฐกิจ

           หลังจากบทความฉบับที่แล้วที่ได้พูดถึงความร่วมมือทางเศรษฐกิจของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้โครงการที่มีชื่อว่า (ACMECS)   ซึ่งบทความฉบับที่แล้วก็ได้พูดถึงประวัติความเป็นมาและวัตถุประสงค์อย่างย่อๆไปแล้ว 

          เพราะฉะนั้นในวันนี้ผู้เขียนก็จะขอวิเคราะห์ในประเด็นที่ว่า ทำไมเราจะต้องรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจภายใต้กรอบความร่วม(ACMECS)?        

          คำตอบคือ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงทางเศรษฐกิจทางเศรษฐกิจร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน

          แล้วถ้าถามต่อมาว่าแล้วความร่วมมือภายใต้กรอบที่ชื่อว่า(ACMECS) นั้นมันต่างจากความร่วมมือภายใต้โครงการที่ชื่อว่า ASIAN  ตรงไหน เพราะเท่าที่รู้ๆมา ASIAN ก็เป็นโครงการที่มีการรวมตัวกันเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจด้วยไม่ใช่หรือ    

          คำตอบคือ ใช่ทั้ง 2  ก็มีลักษณะเป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจเหมือนกัน      อ้าวแล้วอย่างนี้มันจะต่างกันอย่างไรหละ?     

           เอาหละถ้าอย่างนั้น ณ บัดนี้ผู้เขียนจะเสนอ ถึงความแตกต่างในด้านต่างๆระหว่าง ACMECS และ ASIAN     

           1   ASIAN  หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้( Assoiation of   Southeast  Asian Nations)         

            ACMECS หรือยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี เจ้าพระยา แม่น้ำโขง( Ayeyawady- Chao Phraya- Mekong Economic Cooperation Strategy)    

       2    ASIAN เกิดขึ้นเมื่อ ปี 2510 ในยุคแห่งการเผชิญหน้าด้านการเมืองในเอเชีย   ตะวันออกเฉียงใต้ บนความแตกต่างทางเชื้อชาติ, ศาสนา,วัฒนธรรม,และประวัติศาสตร์               ACMECS เป็นแนวคิดที่ นายกทักษิณ ชินวัตร ได้หยิบขึ้นมาหารือกับผู้นำ  กัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเชี่ยนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค sars เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพและได้รับการสนับสนุนในหลักการจากประเทศเพือ่น บ้าน ทั้ง 3 และต่อมาเวียดนามก็ได้เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 10 พฤษภาคม 2547     

      3   ASIAN ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศคือ กัมพูชา ไทย พม่า ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และบรูไน       

          ACMECS ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 5 ประเทศ กัมพูชา ลาว พม่า ไทยและเวียดนาม

     4     ASIAN ยุทธศาสตร์ความร่วมมือ   - เร่งรัดความเจริญก้านหน้า เศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมในระดับภูมิภาคโดยอาศัยความร่วมมือระหว่างกัน -  ส่งเสริมความร่วมมือและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านต่างๆ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม  วัฒนธรรม วิชาการ   การช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปแบบการฝึกอบรม วิจัยในด้านการศึกษาวิชาชีพ เทคนิคและการบริหารความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม  

          - การยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาขน      

          - ส่งเสริมการศึกษาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้     

         - รักษาความร่วมมือที่ใกล้ชิดและเป็นประโยชน์กับองค์การระหว่างประเทศ              ACMECS ยุทศาสตร์ความร่วมมือ

        -    ส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันและก่อให้เกิดความเจริญเติบโตมากขึ้นตามแนวเขตชายแดน

             เพื่ออำนวยความสะดวกให้มีการเคลื่อนย้ายอุตสาหกรรม เกษตรกรรมและการผลิตไปยังบริเวณที่มีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ

 -          เพื่อสร้างโอกาสการจ้างงานและลดความแตกต่างของรายได้ในหมู่ประเทศทั้ง 5 -          เพื่อส่งเสริมความมั่นคง สันติภาพ  เสถียรภาพร่วมกันสำหรับทุกฝ่ายในลักษณะที่ยั่งยืน  

         และนี้หละคะคือความแตกต่างกันระหว่าง ASIAN และ  ACMECS เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่า ACMECS จะเน้นพัฒนาในกลุ่มให้มีความเข้มแข็งโดยรวมกลุ่มพัฒนาร่วมกับประเทศตามแนวเขตชายแดนซึ่งเป็นการพัฒนาในลักษณะช่วยเหลือซึ่งกันและกันและลดช่องว่างทางเศรษฐกิจระหว่างกัน ส่วนASIAN นั้น จะเน้นพัฒนาในระดับที่ใหญ่กว่าคือระดับภูมิภาค ซึ่งตัวผู้เขียนมีความเห็นการพัฒนาร่วมกันในระดับภูมิภาคนั้นก็เป็นเรื่องที่ดีแต่ถ้าเราสามารถทำจุดเล็กๆให้เข้มแข็งในด้านต่างๆก่อน แล้วค่อยไปรวมกลุ่มพัฒนาที่ใหญ่ขึ้นซึ่ง มันจะทำให้ช่วยลดช่องว่างระหว่างกันและเสริมสร้างความเข้มแข็งในด้านการค้า เศรษฐกิจ และสังคม มากขึ้นทั้งนี้เนื่องจาก ทุกประเทศมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มีความเลื่อมล้ำกันไม่มาก       

          เพื่อนๆเห็นด้วยกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจดังข้างต้นหรือไม่คะ อย่าลืมมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนะคะ สำหรับตัวผู้เขียนขอสัญญาคะว่าจะเฝ้าติดตามโครงการความร่วมมือดังกล่าวอย่างใกล้ชิดและจะนำมาเสนอให้ผู้อ่านในครั้งต่อไปคะ

หมายเลขบันทึก: 41328เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2006 14:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 12:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอขอบคุณอาจารย์เสาวณีย์...                           

  • อ่านแล้วรู้สึกว่า
    (1). Asian เป็นความร่วมมือทั้งภูมิภาค
    (2). Acmecs เป็นความร่วมมือแนวนอน

เรียนเสนอให้อาจารย์ทำป้ายเพิ่ม "Asian", "Acmecs", "อาเซียน" , "แอคเมคส์", "ประเทศเพื่อนบ้าน" > เวลาใครค้น Google จะได้วิ่งมาหาบล็อกอาจารย์เลย

เห็นด้วยกับน้องเสาวณีย์(ติ๊ก) ที่ควรสร้างความเข้มแข็งภายในประเทศก่อนแล้วค่อยพัฒนาขึ้นไปในระดับAsian

ขอบคุณพี่ต้อยนะคะที่เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็น
ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณนพ.วัลลภ นะคะที่คอยติดตามผลงานของผู้เขียนและคอยให้คำแนะนำกับผู้เขียนเรื่อยมา และนี่ก็ถือเป็นอีกหนึ่งแรงบัลดาลใจที่ทำให้ผู้เขียนมีกำลังใจในการค้นคว้าหาความรู้
  • ตามคุณหมอวัลลภมาครับ
  • ขอบคุณที่แวะไปทักทาย
  • ขอเอาใจช่วยให้เขียนอีกครับ
ขอบคุณสำหรับทุกกำลังใจคะ สัญญาคะว่าจะพัฒนาฝีมืองานเขียนไปเรื่อยๆคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท