ว่าด้วยเรื่องโพฌชงค์ ๗ ตอนที่ ๑


โพชฌงค์ข้อแรกต้องปฏิบัติตนให้เป็นคนมีสติ

 

 

          บทสวดโพชฌงค์ 7 มีความสำคัญลึกซึ้งมากกว่าที่คิด  บทสวดโพชฌงค์ 7 มีความสำคัญลึกซึ้งมากกว่าที่คิด นะคะวันนี้ก้อนหินยิ้ม ได้รับบทความจากเพื่อนรัก ท่านหนึ่ง กรุณาส่งบทความ “บทสวดโพขฌงค์ ๗” มาให้ค่ะ อ่านแล้ว...เห็นความสำคัญลึกซึ้งของ “บทสวดโพขฌงค์ ๗” แล้ว คิดถึงเพื่อนๆ ค่ะ จึงขอนำมาลงให้อ่านและศึกษา กันต่อนะคะ ความว่า....แม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอาพาธด้วยโรคภัย

               พระจุนทะเถระก็ยังมาแสดงโพชฌงค์ เพื่อบำบัดอาการอาพาธของพระศาสดาจนหายความหมายในโพชฌงค์ 7 ประการ มีความหมายพิศดารประการใด อย่างไร จริงๆ แล้ว ความหมายในโพชฌงค์ 7 ประการนี่ เป็นข้อธรรม และก็เป็นกระบวนการกำจัดมลพิษภายในจิตวิญญาณ  เป็นขบวนการในการจัดระเบียบของจิตวิญญาณความรู้สึกนึกคิดของตน ให้เป็นผู้ซื่อตรงถูกต้องตามครรลองคลองธรรม หรือครรลองของสภาวะธรรมนั้นๆ ซึ่งมีอยู่ในตนของตน ฉะนั้น ความหมายของโพชฌงค์ ใน ข้อแรกก็คือ สติสัมโพชฌงค์ นั่นก็คือ โพชฌงค์ข้อแรกต้องปฏิบัติตนให้เป็นคนมีสติ  

          และในความหมายของโพชฌงค์ก็คือ วิถีแห่งการบรรลุธรรมวิถีแห่งความพ้นทุกข์หรือไม่ก็วิถีแห่งการตัดอาสวะกิเลส เป็นกระบวนการทางจิตชนิดหนึ่ง  เป็นอารมณ์แห่งจิตที่ทำงานเป็นอารมณ์แห่งจิตที่มีสาระ เป็นอารมณ์แห่งจิตที่มีความหมายพัฒนาไปเป็นจิตที่ประเสริฐ ในสติสัมโพชฌงค์ เมื่อบุคคลใดเป็นผู้ยังให้เกิดขึ้น ยังให้ตั้งขึ้น และมีขึ้น พระพุทธเจ้ากล่าวว่าเมื่อมีสติแล้วจะต้องมีธัมมวิจยะ คือการวิจารณ์ธรรม  เลือกเฟ้นธรรม แสวงหาธรรม ที่เหมาะตรงถูกต้องแก่ตนที่สามารถปฏิบัติได้  เมื่อมีสติมีการแสวงหาวิจารณ์ธรรมที่ดีอยู่แล้ว ที่ตรงถูกต้องก็ต้องทำด้วย ความเพียร มานะพยายามบากบั่นอย่างยิ่ง เมื่อมีความเพียรแล้ว  ผลที่ได้รับกลับมาก็คือความปีติสุข นั่นก็คือเป็นอารมณ์หนึ่งในโพชฌงค์ เมื่อมีปิติสุขซึ่งเป็นผลที่ได้รับจากการทำด้วยความวิริยะพากเพียรแล้ว สิ่งที่จะตามมาจากปีติสุขก็คือ ความผ่อนคลาย ความปล่อยวาง  ในสิ่งที่เป็นทาสจากตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายถูกต้องสัมผัสใดๆ ผ่อนคลายจากความชั่วเลวร้ายเสียหาย ทั้งกาย วาจาและใจเมื่อมีความผ่อนคลายปล่อยวางแล้วก็จะขยับเข้าไปถึงความหมายหรือองค์คุณแห่งสมาธิ คือความตั้งมั่นแห่งจิต ผลแห่งสมาธินั้นเมื่อตั้งมั่นดีแล้ว จะเป็นเอกัคคตา คือเป็นหนึ่งเดียว มีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว กระบวนการต่างๆ เหล่านั้นทั้ง 7 ประการที่กล่าวมาแล้ว เป็นกระบวนการของโพชฌงค์ ทั้ง7 เราจะเห็นว่าเป็นกิริยาอาการของการที่จะนำพาเรา เข้าไปสู่วิถีแห่งการพัฒนาจิตวิญญาณ  ที่สามารถจะมีอิสระเสรีภาพในสิ่งที่ร้อยรัดผูกพันธ์ หรือห่วงหาอาวรณ์ใดๆ ต่อตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น  ลิ้นรับรส และกายถูกต้องสัมผัส

 และหากกล่าวโดยสรุปแล้ว ความหมายของโพชฌงค์ 7 ประการก็คือ

กุญแจที่จะปลดปล่อยไขประตูและก็ปลดปล่อยเราให้ออกมาจากคุกของอารมณ์

คุกที่กักขังเราไว้ คุกที่ควบคุมกักขังตัวเรานั้น ไม่ใช่เป็นคนอื่น ใครอื่น สิ่งอื่น

 หรือที่อื่นๆ แต่เป็นตัวเราเองที่เรากักขังตัวเองไว้ ในอารมณ์ใดๆ

โดยที่เราไม่รู้เท่าทันมัน

 รวมทั้งขังตัวเองเอาไว้ในสุข ทุกข์ เวทนา

 และก็กิจกรรมหรือการที่เป็นไปในกาย เช่นเกิดอาพาธ เกิดโรค

 หรือกักขังตัวเองไว้ในเวทนาของโรคนั้นๆ

 ข้าพเจ้า  นางจีราพัชร  ทิ้งแสน  ผู้จัดทำบันทึกนี้  อยากให้ทุกท่านได้อ่านด้วยความสุขใจ  ใครที่มีความทุกข์กับอารมณ์ของตนเองอยู่นั้น  อยากให้มันหลุดพ้นออกไปจากใจของทุกท่านที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ด้วยหลักโพชฌงค์ 7   อย่ากักขังอารมณ์ขุ่นมัวไว้กับตัว  กับใจเราเลย  ดึงมันออกมาจากตัวเรา  เพื่อความสุข ความสงบในตัวเราเอง...ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับโพฌชงค์ ๗ อีก โปรดติดตามตอนต่อไปนะคะ  สวัสดีค่ะ...

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ศรีสะเกษ7
หมายเลขบันทึก: 412296เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2010 20:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อ่านแล้วมีประโยชน์มากเพราะคนเราจะทำอะไรก็ตามต้องมีสติเสมอแล้วสิ่งดีๆก็จะเกิดขึ้นและทำให้เรามีความสุขมากขึ้น

ขอบคุณค่ะที่เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็น

สวัสดีค่ะ

สาธุกับธรรมะเตือนสติค่ะ  จะติดตามตอนต่อไปค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณคิม ขอบคุณค่ะที่เข้ามาเยี่ยมเยียน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท