ปกรณ์
ว่าที่ร.ต. ปกรณ์ ปกรรณกรณ์ คำกอง

กลยุทธ์การทำสว๊อท


กลยุทธ์การทำสว๊อท

สรุป เรื่อง กลยุทธ์และการวิเคราะห์สวอท ( SWOT)

กลยุทธ์ (Strategy)  คำว่า “กลยุทธ์”มาจากภาษากรีกว่า Strategia หมายความถึงศิลปะและศาสตร์ของการบังคับบัญชากองทัพ จากการสำรวจของนักวางแผนในบริษัท ซึ่งได้ให้ความหมายเอาไว้ว่า กลยุทธ์คือวิธีการดำเนินงานเพื่อบรรลุภารกิจหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

ความหมายของกลยุทธ์ (Strategy)กลยุทธ์เป็นกระบวนการที่สำคัญ การบริหารจะสำเร็จหรือไม่ต้องมีกลยุทธ์ที่ดี กลยุทธ์เป็นเครื่องมือในการทำให้งานนั้นมีประสิทธิภาพพอสรุปได้ว่า กลยุทธ์คือขอบข่ายหรือกรอบของความคิดในการปฏิบัติงานของผู้บริหารโดยทำหน้าที่เป็นเครื่องชี้ทิศทางในการดำเนินงาน ซึ่งจะดูได้จากวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ กลยุทธ์เป็นสิ่งที่ผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้จัดทำโดยวิเคราะห์จากจุดอ่อนข้อจำกัด หรือจุดแข็งขององค์ประกอบต่างๆ ภายในองค์การอย่างละเอียด แล้วเลือกทางเลือกที่ดีมีเหตุและมีผลขึ้นเป็นกลยุทธ์ในการดำเนินงาน

                ความสำคัญของกลยุทธ์ ความสำคัญของกลยุทธ์ที่มีอยู่ตลอดเวลาในกระบวนการวางแผนนั้น นับว่ามีความสำคัญอยู่มากทีเดียว กลยุทธ์จะช่วยทำหน้าที่เป็นเครื่องช่วยจำกัดขอบเขตของสิ่งที่เกี่ยวข้อง เพื่อสำหรับเป็นพื้นฐานของขั้นตอนการวางแผนที่จะกระทำต่อไป ลักษณะของกลยุทธ์จึงคล้อยๆกับเป็นการออกแบบหรือกำหนดแบบสำหรับเรื่องทั้งหมด(Grand  Design) ก็คือ เป็นวิธีการเชิงรวมของเรื่องราวทั้งหมดที่แต่ละบุคคลหรือองค์การเลือกเอาไว้สำหรับช่วยให้เคลื่อนไปสู่วัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้ 

                ดังนั้น กลยุทธ์ จึงมีความสำคัญต่อหน่วยงานเพราะเป็นการกำหนดทิศทางการพัฒนาในภาพรวม มีการจัดทำแผนอย่างเป็นรูปแบบแต่ละระดับ เพื่อเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และให้สามารถใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างประหยัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและป้องกันการสูญเสียทรัพยากร ส่งเสริมความร่วมมือในการปฏิบัติงาน ทำให้ทราบแนวทางวิธีการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมาย               

                ระดับของกลยุทธ์ กลยุทธ์แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้

                1. กลยุทธ์ระดับบริษัท(Corporate Strategy) เป็นกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับระดับบริษัท (Corporate Level) ซึ่งจะต้องกำหนดเป็นแนวทางเพื่อการเจริญเติบโตของแต่ละหน่วยธุรกิจ   

                2. กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business-Level Strategy) เป็นกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันของแต่ละหน่วยธุรกิจกลยุทธ์(Strstegic Business Unit - SBU) ว่าควรจะใช้แนวทางในการแข่งขันเป็นเช่นใด 

                3. กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional Strategy) เป็นกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างคุณค่ากับลูกค้า องค์ประกอบของความสามารถในการแข่งขันจะประกอบด้วย 4 ปัจจัย คือ ด้านคุณภาพ(Quality) ด้านประสิทธิภาพ (Efficientcy)ด้านนวัตกรรม(Innovation) และด้านความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า (Customer responsiveness)

                4. กลยุทธ์ระดับงาน (Task Strategy) เป็นกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสิ่งสนับสนุนเพื่อนำไปสู่การมีความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ ในภาวะปัจจุบัน

                5. กลยุทธ์ระดับสังคม (Soc etal Strategy) เป็นกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างภาพพจน์ของธุรกิจที่ต้องการจะมีบทบาทต่อสังคม พนักงาน ผู้ถือหุ้น และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้เสีย

กระบวนการพิจารณาจัดวางกลยุทธ์ แบ่งออกได้เป็น 6 ขั้นตอน คือ

                                1.การพิจารณาโอกาสและข้อกำกัด    คือการตรวจสอบพิจารณาให้ทราบถึงโอกาสและข้อจำกัดต่างๆ ซึ่งสิ่งที่ต้องทำก็คือ การต้องมีการตรวจสอบสภาพแวดล้อมที่ครอบคลุมโยงไปถึงเรื่องทั้งหมดทุกอย่าง

                                2.การประเมินทรัพยากรที่มีอยู่ คือสิ่งที่ควบคู่กันและต้องทำพร้อมกันอีกด้านหนึ่ง คือ การต้องประเมินถึงความเข้มแข็งและอ่อนแอของทรัพยากรที่มีอยู่ขององค์การ

                                3.การพัฒนาทางเลือกกลยุทธ์คือการรวมเอาข้อมูลที่เกี่ยวกับโอกาสและข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมมาพิจารณาร่วมกันกับข้อมูลที่เกี่ยวกับทรัพยากรที่มีอยู่

                                4. การกำหนดกลยุทธ์หลักคือการพิจารณาตัดสินใจเพื่อกำหนดกลยุทธ์หลักหรือกลยุทธ์ แนวทางที่เป็นวิธีการพื้นฐานที่จะใช้ปฏิบัติตามเพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่          

                                5. การดำเนินตามกลยุทธ์คือขั้นตอนของการนำเอากลยุทธ์ที่ได้พัฒนาแล้วมาดำเนินการ ซึ่งวิธีการก็จะทำโดยมีการพัฒนาแผนงานต่างๆ ขึ้นมา เพื่อจะนำไปปฏิบัติให้เกิดผลตามกลยุทธ์ที่วางไว้

                                6. การประเมินกลยุทธ์คือการต้องประเมินกลยุทธ์เป็นครั้งคราวนั้น นับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำตลอดเวลา ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันมิให้กลยุทธ์ที่ใช้อยู่เกิดการล้าสมัย ไม่เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่

ชนิดของกลยุทธ์William Glueck ได้แยกประเภทของกลยุทธ์ไว้เป็น 4 ประเภท ดังนี้

                                1. กลยุทธ์การหดตัว คือ การลดหรือถดถอย การดำเนินงานให้เหลือน้อยลง บางครั้งเพื่อยอมจำกัดตัวใต้อาณัติขององค์การอื่น บางกรณีอาจหวังที่จะรอจังหวะเพื่อจะขายบริษัทหรือเลิกกิจการ อันนี้มักจะใช้เฉพาะกรณีที่หมดทางเลือกหรือจรตรอกแล้ว               

2. กลยุทธ์การคงตัว คือ กลยุทธ์การคงตัวหรือให้เกิดความมั่นคงนี้ มักจะใช้เมื่อองค์การได้มีความพอใจกับงานที่ดำเนินการอยู่ใน

                                3.กลยุทธ์การเติบโต คือ กรณีที่องค์การได้มุ่งพยายามขยายตัวหรือเร่งการเจริญเติบโตในด้านต่างๆ ตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อไม่ให้เกิดอาการทรงตัว

                                4.กลยุทธ์ผสม คือ การใช้กลยุทธ์หลายๆ แบบผสมกันเพื่อความมีประสิทธิภาพขององค์การ

การวิเคราะห์ SWOT

                              การวิเคราะห์ Swot เป็นกลยุทธ์เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับองค์กรเพราะองค์กรใช้กลยุทธ์ในการทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของตน โดยกลยุทธ์ของแต่ละองค์กรจะถูกกำหนดตามธรรมชาติและลักษณะขององค์กรนั้น ๆ ทั้งนี้ องค์กรจะกำหนดกลยุทธ์ได้นั้นต้องรู้สถานภาพหรือสภาวะขององค์กรของตนเสียก่อน

ความหมายของ SWOT SWOT เป็นคำย่อมาจากคำว่า Strengths, Weaknesses, Opportunities, and Threats  กล่าวคือเป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและภายในองค์กร โดยดูสภาพของจุดอ่อนและจุดแข็งที่มีอยู่ เพื่อเป็นข้อมูลในการนำไปพัฒนาองค์กรประกอบด้วย

Strengths คือ จุดแข็ง หมายถึง ความสามารถและสถานการณ์ภายในองค์กรที่เป็นบวก Weaknesses คือ จุดอ่อน หมายถึง สถานการณ์ภายในองค์กรที่เป็นลบและด้อยความสามารถ Opportunities คือ โอกาส หมายถึง ปัจจัยและสถานการณ์ภายนอกที่เอื้ออำนวยให้การทำงาน

Threats คืออุปสรรค หมายถึง ปัจจัยและสถานการณ์ภายนอกที่ขัดขวางการทำงานขององค์กรไม่ให้บรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึงสภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นปัญหาต่อองค์กร

 กรอบการวิเคราะห์ SWOT ในการวิเคราะห์ SWOT การกำหนดเรื่อง หัวข้อ หรือประเด็น (Area) เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึง ถึง เพราะว่า การกำหนดประเด็นทำให้การวิเคราะห์และประเมินจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรคได้ถูกต้องโดยเฉพาะการกำหนดประเด็นหลัก (key area) ได้ถูกต้องจะทำให้การวิเคราะห์ถูกต้องยิ่งขึ้น

หลักการสำคัญของ SWOT  ก็คือการวิเคราะห์โดยการสำรวจจากสภาพการณ์ 2 ด้าน คือ สภาพการณ์ภายในและสภาพการณ์ภายนอก    ดังนั้นการวิเคราะห์ SWOT  จึงเรียกได้ว่าเป็นการวิเคราะห์สภาพการณ์ (Situation Analysis) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค    การวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารขององค์กรทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายนอก

ปัญหาในการทำกระบวนการวิเคราะห์ SWOT

การวิเคราะห์ SWOT ขององค์การมีข้อที่ควรคำนึง 4 ประการ (Boseman et al., 1986) คือ

1) องค์กรต้องกำหนดก่อนว่า องค์กรต้องการที่จะทำอะไร

2) การวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคต้องกระทำในช่วงเวลาขณะนั้น

3) องค์กรต้องกำหนดปัจจัยหลัก (key success factors) ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานให้ถูกต้อง

4) องค์กรต้องประเมินความสามารถของตนให้ถูกต้อง

คุณลักษณะ 6 ประการของกระบวนการวิเคราะห์ SWOT

1) การมีส่วนร่วมทุกระดับ

                2) กระบวนการเรียนรู้      

3) การใช้เหตุผล

4) การใช้ข้อมูล

5) การกระตุ้นให้คิดและเปิดเผย  ประเด็นที่ซ่อนเร้น

6) การเป็นเจ้าของและพันธสัญญา

ประโยชน์ของการวิเคราะห์ SWOT  การวิเคราะห์ช่วยให้เข้าใจได้ว่าสิ่งต่างๆมีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานขององค์กรอย่างไร จุดแข็งขององค์กรจะเป็นความสามารถภายในที่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการบรรลุเป้าหมาย ผลจากการวิเคราะห์  SWOT  นี้จะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์ เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาไปในทางที่เหมาะสม

                ขั้นตอน / วิธีการดำเนินการทำ  SWOT Analysis มีขั้นตอนดังนี้

1.การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร

- จุดแข็งขององค์กร (S-Strengths) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้นเองว่ามีจุดแข็งอย่างไรบ้าง

               - จุดอ่อนขององค์กร (W-Weanesses) เป็นการวิเคราะห์ ปัจจัยภายในจากมุมมองว่มีจุดด้อย ข้อเสียเปรียบขององค์กรที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไป อันจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร

2.การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก

               - โอกาสทางสภาพแวดล้อม (O-Opportunities) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กร ปัจจัยใดที่สามารถส่งผล กระทบประโยชน์ ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดำเนินการขององค์กรในระดับมหาภาค และองค์กรสามารถฉกฉวยข้อดีเหล่านี้มาเสริมสร้างให้ หน่วยงานเข็มแข็งขึ้นได้

                - อุปสรรคทางสภาพแวดล้อม (T-Threats) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กรปัจจัยใดที่สามารถส่งผล กระทบในระดับมหภาคในทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งองค์กรจำต้องหลีกเลี่ยง หรือปรับสภาพองค์กรให้มี ความแข็งแกร่งพร้อมที่จะเผชิญแรงกระทบดังกล่าวได้

                 3.ระบุสถานการณ์จากการประเมินสภาพแวดล้อม   

เมื่อได้ข้อมูลเกี่ยวกับ จุดแข็ง-จุดอ่อน โอกาส-อุปสรรค จากการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกด้วย การประเมินสภาพ แวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกแล้ว ให้นำจุดแข็ง-จุดอ่อนภายในมาเปรียบเทียบกับ 

ข้อพิจารณาในการวิเคราะห์ SWOT มีดังนี้

1. ควรวิเคราะห์แยกแยะควรทำอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้ได้ปัจจัยที่มีความสำคัญจริง ๆ เป็นสาเหตุหลัก ๆ ของปัญหาที่แท้จริง กล่าวคือ เป็นปัจจัยที่มีประโยชน์ในการนำไปกำหนดเป็นนโยบาย ตลอดจนสามารถนำไปกำหนดกลยุทธ์ ที่จะทำให้องค์การ/ชุมชนบรรลุเป้าหมายที่เป็นผลลัพธ์ขั้นสุดท้าย (Result) ได้จริง

2. การกำหนดปัจจัยต่าง ๆ ไม่ควรกำหนดของเขตของความหมายของปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น จุดอ่อน (W) หรือ จุดแข็ง (S) หรือ โอกาส (O) หรือ อุปสรรค (T) ให้มีความหมายคาบเกี่ยวกัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตัดสินใจ และชี้ชัดว่าปัจจัยที่กำหนดขึ้นมานั้นเป็นปัจจัยในกลุ่มใด ทั้งนี้เพราะปัจจัยที่อยู่ต่างกลุ่มกัน ก็ต้องสมควรที่จะนำไปกำหนดกลยุทธ์ที่ต่างกันออกไป

ข้อดี – ข้อเสีย ของการทำ SWOT Analysis 

ข้อดี   เทคนิคการวิเคราะห์ SWOT  ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ทางธุรกิจและการบริหารเชิงกลยุทธ์ เนื่องจากเป็นเทคนิคที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน ให้ความสะดวกเป็นอย่างมากสำหรับผู้ที่นำ SWOT มาใช้   และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ด้านต่างๆ มากมาย เช่น

- การตัดสินใจเลือกเมื่อมีทางเลือกหลายๆ ทาง       - การกำหนดความสำคัญก่อนหลังของเหตุการณ์

- การบริหารความเปลี่ยนแปลงที่ต้องการให้เกิดขึ้น   - การวิเคราะห์และแก้ปัญหาในการดำเนินการ

- การวิเคราะห์โครงการเริ่มใหม่                                     - การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น

- การสร้างกระบวนการเรียนรู้ใหม่                 ฯลฯ

ข้อเสีย  ของการใช้ SWOT ก็มีอยู่ไม่น้อยเช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบกับประโยชน์และความหลากหลายในการประยุกต์ใช้งาน เช่น

- โอกาสผิดพลาดเกิดจาก คุณภาพของข้อมูลที่นำมาใช้วิเคราะห์ ทักษะ ประสบการณ์ และความเข้าใจในความรู้พื้นฐานของเทคนิค SWOT ของผู้วิเคราะห์

- ต้องทบทวน SWOT  เป็นระยะๆ เพื่อตรวจสอบสภาพว่า เหตุการณ์และปัจจัยต่างๆ ที่นำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ยังเหมือนเดิมหรือมีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วหรือไม่

หมายเลขบันทึก: 412059เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2010 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:04 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท