บทเรียน “จากชุมชน....สู่วาระสุขภาพคนน่าน”


งานมหกรรมกาดสุขภาพดีวิถีคนเมืองน่าน ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ งานรวมพลคนรักสุขภาพ และรักเมืองน่าน

ภาพการปล่อยขบวนรถตรวจคัดกรองสุขภาพในชุมชน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน

นพ.พิศิษฐ์  ศรีประเสริฐ  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน

การตรวจคัดกรองสุขภาพ โดยทีม รพ.น่าน และสสอ.เมืองน่าน


   น่านจังหวัดที่อยู่พื้นที่ชายขอบของประเทศ มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี วิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ซอล่องน่าน  แข่งเรือยาวประเพณีที่มีหัวเรือเป็นพญานาคที่มีความอ่อนช้อยสวยงาม และสังคมเป็นสังคมแบบเครือญาติที่มีการพึ่งพิงกันค่อนข้างสูง

ซอล่องน่าน ฟ้อนแง้น

รำวงมะเก่า

ฟ้อนแง้น เยาวชน


   ถึงแม้ว่าจะอยู่ห่างไกล แต่กระแสบริโภควัตถุนิยมตามวัฒนธรรมตะวันตก ได้แผ่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในพื้นที่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังจะเห็นได้จาก คนน่านดื่มสุราและเบียร์เป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทยในปี 2547  พื้นที่ป่าถูกบุกรุกเพื่อทำไร่ข้าวโพดเพิ่มขึ้นทุกปีๆ จนส่งผลให้เกิดอุทกภัยทุกปี โดยเฉพาะประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ในปี 2549  การใช้สารเคมีปริมาณมากในกระบวนการผลิตภาคเกษตรกรรมเพื่อเร่งและ เพิ่มผลผลิตให้ได้มากๆ  ส่งผลกระทบต่อด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างมากมาย ดังจะเห็นได้จากอัตราการเสียชีวิตของประชาชนจังหวัดน่านด้วยโรคมะเร็ง ในอัตราที่สูง และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น

   ท่ามกลางสภาพปัญหาด้านสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คนน่านที่ประกอบด้วยภาคีเครือข่ายทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรชุมชน ได้เรียนรู้แสวงหาทางออกของปัญหาที่สำคัญๆคือ

 


   ด้านลดละเลิกสุรา มีมาตรการชุมชนลดละเลิกสุราจนสามารถเป็นต้นแบบให้กับพื้นที่ต่างจังหวัด เช่น แข่งเรือปลอดเหล้าเป็นแห่งแรกของประเทศ  งานศพปลอดเหล้า  งานบวชปลอดเหล้า วัดปลอดเหล้า โดยการประกอบกิจกรรม งานประเพณีต่างๆ ให้ตั้งอยู่บนฐานวัฒนธรรมที่ดีงามของชุมชนท้องถิ่น และขับเคลื่อนโดยสภาวัฒนธรรม คณะสงฆ์ ผู้นำชุมชนภาคประชาสังคมและภาครัฐต่างๆ

บ้านปลอดภัย

ผักปอดสารพิษจากศูนย์การเรียนรู้บ้านแสงเทียน และโจ้โก้

หลากหลายสินค้าจากท้องไร่ท้องนา

จำลองแปลงผักปลอดภัย

   ด้านอาหารปลอดภัย มีเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัย เกษตรประณีต เกษตรพอเพียง เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ให้ปรากฏและเป็นที่รับรู้ของสังคม   หลายแห่งยกระดับเป็นศูนย์ปราชญ์ ศูนย์เรียนรู้  มีการกระจายอยู่ทั่วจังหวัดน่าน มีการแสวงหากระบวนการผลิตภาคเกษตรกรรมที่เน้นความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม  ตั้งแต่แปลงปลูกจนถึงโต๊ะอาหาร (Farm to Table) จนนำไปสู่การกำหนดเป้าหมาย “1 ตำบล 1 ตลาดอาหารปลอดภัย” มีการดำเนินการที่ตลาดบ้านพระเนตร เขตเทศบาลเมืองน่าน และจะขยายผลไปทั่วจังหวัดน่าน

สมุนไพรพื้นบ้าน

กินผักลดเสี่ยงลดโรค


นวดฝ่าเท้า


   ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  มีเครือข่ายการอนุรักษ์ป่าชุมชนทั่วจังหวัดน่านมากกว่า 400 แห่ง และเครือข่ายอนุรักษ์วังปลา 130 แห่งกระจายอยู่ตามแหล่งสายน้ำต่างๆทั่วจังหวัดน่าน นอกจากนี้ยังเป็นต้นแบบการจัดทำโฉนดชุมชน ซึ่งเป็นรูปแบบการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการแก้ไขปัญหาการบุกรุกผืนป่าที่ดีอีกรูปแบบหนึ่ง

กองทุนสุขภาพตำบลน้ำเกี๋ยน

ศิษย์หมอเขียว กองทุนสุขภาพตำบล ศรีษะเกษ อ.นาน้อย

ทีมกระบวนการ 3 อ. สสอ.เวียงสา

ผักปลอดสารจาก ตำบลน้ำมวบ อ.เวียงสา

   กองทุนสุขภาพตำบล  ดำเนินการอยู่ทุกตำบลในจังหวัดน่าน เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสุขภาพของคนในระดับชุมชนและระดับตำบล ที่ส่งเสริมให้ทุกภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมกำหนดทิศทางสุขภาพของตนเอง “วาระสุขภาพ” แล้วดำเนินการจัดระบบสุขภาพของชุมชนตนเองที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต บริบทชุมชน และสภาพปัญหาด้านสุขภาพ ที่มุ่งสู่วาระสุขภาพที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมความเข้มแข็งของประชาสังคมในระดับชุมชน และระดับตำบลอีกทางหนึ่งด้วย

เวทีเสวนา "สมัชชาสุขภาพคนน่าน"

   จากบทเรียนที่ดีดีในการจัดการสุขภาพของคนน่านทั้งในระดับชุมชน ท้องถิ่น  จึงนำสู่ “วาระสุขภาพคนน่าน” เพื่อขยายผลความดีงามเหล่านี้ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของจังหวัดน่าน  โดยเฉพาะชุมชนในระดับตำบลที่มีการบริหารงานส่วนท้องถิ่น โดยระดมความร่วมมือร่วมใจจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง อันประกอบไปด้วย หน่วยงานภาครัฐ  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาสังคม มาร่วมกันกำหนดทิศทางด้านสุขภาพ แล้วนำความรู้จากบทปฏิบัติการด้านต่างๆที่ผ่านมาเป็นแนวทางการพัฒนาระบบสุขภาพ ที่ตั้งอยู่บนฐานวัฒนธรรมความเชื่อ ของสังคมน่าน  อันจะนำไปสู่ความมีสุขภาพดี(สุขภาวะ)ของประชาชนคนน่านในที่สุด

 

สวท.น่าน ถ่ายทอดเสียงวิทยุ

ทีมเยาวชนต้นกล้าฝัน ถ่ายทอดผ่าน www.thailandkid.com

การแสดงของเยาวชนต้านเอดส์

 

ที่มาของเนื้อหา : คณะทำงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดน่าน

ภาพกิจรรม : มหกรรมกาดสุขภาพดีวิถีคนเมืองน่าน วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณ สนามข้างศูนย์การท่องเที่ยว เทศบาลเมืองน่าน

หมายเลขบันทึก: 411803เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2010 12:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 06:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เห็นเรื่องราวของคนเมืองน่านเเล้ว รู้สึกถึง พลังที่จะไปสานต่อพื้นที่อื่นๆ

ขอให้กำลังใจคนทำงานที่น่านด้วยครับ

กมลาภรณ์ คงสุขวิวัฒน์

ชื่นชม ยินดีด้วยจริงๆ สมกับเป็นจังหวัดที่เข้มแข็ง มีสิ่งดีๆมากมาย ผู้คนมีพลัง ร่วมมือกันสุดยอด ขอเป็นกำลังใจ และก้าวไปสู่ สุขภาวะ ในเร็ววัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท