นิเวศวิทยา


ระบบนิเวศ

 

ระบบนิเวศ

             การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตจะมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อมอาจเป็นความสัมพันธ์ทางบวกหรือทางลบ จะเห็นได้ว่าไม่มีสิ่งมีชีวิตชนิดใดสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยลำพังโดยไม่ต้องพึ่งพาสิ่งแวดล้อม ดังนั้นถ้าสิ่งแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลงย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในสิ่งแวดล้อมนั้นด้วย  เช่น  การดำรงชีวิตของพืช  สัตว์ และสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำอื่นๆ จะต้องมีการพึ่งพาอาศัยกันและมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต เช่น แร่ธาตุ แสงแดด มีการใช้พลังงานและแลกเปลี่ยนสารอาหารซึ่งกันและกันเป็นวัฏจักรที่ดำเนินไปเป็นระบบภายใต้ความสมดุลของธรรมชาติ ดังนั้นหากระบบมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นและส่งผลกระทบเกี่ยวเนื่องไปทั้งระบบ และทำให้เกิดปัญหากับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ระบบดังกล่าวเรียกว่า “ระบบนิเวศ” ซึ่งหมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตทั้งหมดกับสิ่งแวดล้อมที่ดำรงอยู่

 

นิยามและความหมาย

            ระบบนิเวศ หมายถึง ระบบความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมในหน่วยพื้นที่หนึ่ง

            จากข้อความดังกล่าวประกอบด้วยประเด็นสำคัญ  4  ประเด็น  คือ

            1. หน่วยพื้นที่ หมายถึง ระบบนิเวศจะถูกจำกัดขอบเขตหรือขนาด  ดังนั้นจะเล็กหรือใหญ่อย่างไรก็ได้  แต่ขอให้มีอาณาบริเวณอย่างเด่นชัด  เช่น  สระน้ำ  อ่างเก็บน้ำ  ป่าไม้  เมือง   ชนบท  เป็นต้น

            2. สิ่งมีชีวิต หมายถึง องค์ประกอบหรือโครงสร้างทั้งหมดที่เป็นสิ่งมีชีวิตภายในหน่วยพื้นที่นั้น

            3. สิ่งแวดล้อม หมายถึง องค์ประกอบทั้งหลายในหน่วยพื้นที่นั้น  ทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น ต้นไม้  สัตว์  ดิน  น้ำ  อากาศ  สารอาหาร เป็นต้น

            4. ระบบความสัมพันธ์  หมายถึง  ระบบความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตหนึ่งกับสิ่งไม่มีชีวิตและสิ่งมีชีวิตอื่นในหน่วยพื้นที่นั้น  นั่นคือสิ่งต่าง ๆ ภายในพื้นที่นั้นต่างก็มีบทบาทและหน้าที่ของตนเองอย่างชัดเจน  ทำให้สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่จะอยู่ร่วมกันได้  ระบบความสัมพันธ์นี้จะมีกฏเกณฑ์ที่แน่นอนจนสุดท้ายก็จะแสดงเอกลักษณ์ของระบบนั้น ๆ  เช่น ระบบนิเวศลำน้ำน่าน    ระบบนิเวศป่าดิบเขา  ระบบนิเวศหนองน้ำ  เป็นต้น

            ระบบนิเวศหนึ่งๆ เป็นระบบนิเวศ ระบบเปิด เพราะมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอื่นนอกหน่วยพื้นที่ของตนเอง  มีการได้สสาร  พลังงาน แร่ธาตุ  ตลอดจนสิ่งมีชีวิตจากที่อื่นเข้าไปในระบบ  และขณะเดียวกันต้องมีการนำสิ่งเหล่านี้ออกไปจากระบบ  ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น ระบบนิเวศหนองน้ำได้สารอาหารมาจากการที่น้ำฝนชะล้างเศษดิน ซากพืชหรือซากสัตว์ไหลลงสู่หนองน้ำนั้น  ขณะเดียวกันก็สูญเสียสารอาหารไปจากระบบอาจจะเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำออกไปตายที่อื่น  สัตว์น้ำถูกจับเป็นอาหารของสัตว์อื่น เช่น นก  มนุษย์ เสือปลา  เป็นต้น  

ระบบนิเวศนบนโลกนี้มีความหลากหลายตามตำแหน่งที่ตั้งซึ่งมีองค์ประกอบทางกายภาพแตกต่างกันออกไปมากมาย เช่น ระบบนิเวศป่าดิบร้อน ระบบนิเวศป่าสน ระบบนิเวศป่ามรสุม ระบบนิเวศ ระบบนิเวศทุ่งน้ำแข็ง ระบบนิเวศทุ่งหญ้าเขตร้อน ระบบนิเวศป่าชายเลน ระบบนิเวศหนองน้ำ ระบบนิเวศน้ำกร่อย ระบบนิเวศน้ำเค็ม ระบบนิเวศชายฝั่ง เป็นต้น  บนโลกนี้เมื่อรวมกันทั้งหมดทุกระบบนิเวศก็จะเป็นระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุดคือ ระบบนิเวศโลก นั่นเอง เรียกว่า  ชีวาลัยหรือชีวมณฑล  (Biosphere หรือ Ecosphere) 

 

โครงสร้างหรือองค์ประกอบของระบบนิเวศ

            แม้ว่าระบบนิเวศบนโลกจะมีความหลากหลาย    แต่โครงสร้างหรือองค์ประกอบภายในระบบนิเวศ  แต่ละชนิดจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ  2  ส่วน  คือ

            1.  องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต  (Abiotic Components)   จำแนกได้เป็น  3  ส่วน  คือ

                 1.1  อนินทรียสาร  (Inorganic Substance)  เช่น  คาร์บอน  คาร์บอนไดออกไซด์ ฟอสฟอรัส  ไนโตรเจน  น้ำ  ออกซิเจน  ฯลฯ 

                 1.2  อินทรียสาร  (Organic Substance)  เช่น  คาร์โบไฮเดรต  โปรตีน  ไขมัน ฮิวมัส  ฯลฯ

     1.3  สภาพแวดล้อมทางกายภาพ  (Physical Environment)  เช่น  แสง  อุณหภูมิ อากาศ ความชื้น ความเป็นกรดด่าง    ฯลฯ

            2.  องค์ประกอบที่มีชีวิต (Biotic Components) ได้แก่ สิ่งมีชีวิตทุกชนิด จำแนกตามหน้าที่ได้ 3 ชนิด คือ

                 2.1 ผู้ผลิต (Producer) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้เอง โดยกระบวนการสังเคราะห์แสง  (Photosynthesis) ได้แก่ พืชสีเขียว แพลงตอนพืช แบคทีเรียบางชนิด ฯลฯ  สิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะมีรงควัตถุสีเขียว  คือ  คลอโรฟิลล์ เพื่อรับพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ร่วมกับคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี เกิดเป็นสารประกอบคาร์โบไฮเดรตขึ้น ดังสมการ

 

           

 พวกผู้ผลิตจัดว่ามีความสำคัญมากเพราะเป็นส่วนที่เริ่มต้นเชื่อมต่อระหว่างส่วนประกอบที่ไม่มีชีวิตและส่วนประกอบที่มีชีวิตอื่นๆในระบบนิเวศ โดยการสร้างและสะสมอาหารขึ้นมาจากแร่ธาตุและสารประกอบโมเลกุลเล็ก  รวมทั้งพลังงานจากแสงอาทิตย์ซึ่งสิ่งมีชีวิตพวกอื่น ๆ ในระบบนิเวศไม่สามารถใช้สิ่งเหล่านี้ได้โดยตรงในการเจริญเติบโต

                 2.2  ผู้บริโภค (Consumer) หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารรถสร้างอาหารเองได้ แต่ได้รับอาหารจากการกินสิ่งมีชีวิตอื่น  สิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทเป็นผู้บริโภค  คือ  พวกสัตว์ต่าง ๆ จำแนกเป็น  3  ชนิด  ตามลำดับขั้นการบริโภค  คือ

                        2.2.1  ผู้บริโภคปฐมภูมิ (Primary Consumer)  เป็นสิ่งมีชีวิตที่กินพืชเป็นอาหารอย่างเดียว  เรียกว่า ผู้บริโภคพืช  (Herbivores)  ได้แก่  กระต่าย  วัว  ควาย  ช้าง  ม้า  ปลาที่กินพืชเล็ก ๆ  ฯลฯ

                        2.2.2  ผู้บริโภคทุติยภูมิ  (Secondary Consumer)  เป็นสิ่งมีชีวิตที่กินสัตว์ด้วยกันเป็นอาหาร  Carnivores)  เช่น  งู  เสือ  นกฮูก  นกเค้าแมว  จรเข้  ฯลฯ

                        2.2.3  ผู้บริโภคตติยภูมิ  (Tertiary Consumer)  ได้แก่  สิ่งมีชีวิตที่กินทั้งพืช และสัตว์เป็นอาหาร  เรียกว่า  Omnivore  เช่น  คน  หมู  สุนัข  ฯลฯ

            นอกจากนี้ยังอาจมีผู้บริโภคอันดับต่อไปได้อีกตามลำดับขั้นของการบริโภค ผู้บริโภคขั้นสุดท้ายเรียก  ผู้บริโภคขั้นสูงสุด (Top Consumer)  หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในระดับขั้นการกินสูงสุด ซึ่งก็คือสัตว์ที่ไม่ถูกกินโดยสัตว์อื่น ๆ ต่อไป เป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับสุดท้ายของการถูกกินเป็นอาหาร เช่น มนุษย์ เป็นต้น

  1. ผู้ย่อยสลาย  (Decomposer)  หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้  แต่จะได้อาหารโดยการสร้างเอนไซม์ออกมาย่อยสลายซากของสิ่งมีชีวิต ของเสีย กากอาหาร ให้เป็นสารที่มีโมเลกุลเล็กลงแล้วจึงดูดซึมไปใช้บางส่วน  ส่วนที่เหลือจะปล่อยออกสู่ระบบนิเวศ ซึ่งผู้ผลิตสามารถนำไปใช้สร้างอาหารต่อไป  สิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทเป็นผู้ย่อยสลายส่วนใหญ่  ได้แก่ แบคทีเรีย เห็ด  รา ฯลฯ สิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญอย่างมากในระบบนิเวศเพราะทำให้เกิดการหมุนเวียนของสาร

การถ่ายทอดพลังงานและสารอาหารในระบบนิเวศ (Energy Flow and Nutrient Cycling)

           สิ่งมีชีวิตไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยลำพังต้องมีการประสานสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ  ในระบบนิเวศการประสานสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ เริ่มจากกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช  ทำให้เกิดสารประกอบของคาร์บอน (Carbon Compound)  ซึ่งเป็นสารที่ทำให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายดำรงอยู่ได้    พลังงานที่ใช้ในระบบนิเวศส่วนใหญ่จะได้รับมาจากดวงอาทิตย์ ซึ่งพืชนำมาใช้ในการสังเคราะห์แสงแล้วสะสมไว้ในอาหารที่สร้างขึ้น จากนั้นจะถูกถ่ายทอดไปสู่ผู้บริโภคตามลำดับขั้นการบริโภคและถูกถ่ายทอดเข้าสู่ผู้ย่อยสลาย ในการถ่ายทอดพลังงานนี้พลังงานส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปนอกระบบในรูปพลังงานความร้อน ตามกฏเทอร์โมไดนามิก (Thermodynamic Law) โดยพลังงานจะไม่มีการหมุนเวียน (Non cyclic) อยู่ในระบบนิเวศนั้น

พลังงานที่สูญเสียออกไปจากระบบเนื่องจากสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ได้นำพลังงานนั้นมาใช้ในการดำรงชีวิต เช่น การหายใจ  การเคลื่อนไหว การสูบฉีด โลหิตของร่างกาย  การขนถ่ายสารอาหารและน้ำในร่างกาย เป็นต้น  สิ่งเหล่านี้ต้องใช้พลังงานในลักษณะที่เป็นพลังงานกล  ดังนั้นสิ่งมีชีวิตทั้งหลายจึงทำการเปลี่ยนพลังงานที่มีอยู่ในสารอาหารซึ่งพลังงานเคมีมาเป็นพลังงานกล  การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ย่อมเกิดการฟุ้งกระจายของพลังงาน (Entropy) ตามกฏเทอร์โมไดนามิกส์และหลุดออกมาเป็นพลังงานความร้อนนั่นเอง ดังนั้นพลังงานจึงถูกใช้ไปจำนวนมากประมาณ 90 เปอร์เซนต์ของพลังงานทั้งหมด ด้วยเหตุนี้พลังงานจะเหลืออยู่เฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ  ประมาณ 10  เปอร์เซนต์เท่านั้น จึงเป็นไปตามกฏเกณฑ์ที่เรียกว่า “Law of Ten”  ดังนั้นเมื่อมีการถ่ายทอดพลังงานไปหลายระดับการบริโภคพลังงานยิ่งเหลือน้อยลงตามลำดับ จนเกิดเป็นปิรามิดพลังงาน (Pyramid of Energy)

            ดังนั้นภายในระบบนิเวศหนึ่งสามารถเขียนแผนผังการถ่ายทอดพลังงานภายในระบบโดยเริ่มจากแหล่งพลังงานสำคัญคือ ดวงอาทิตย์ซึ่งอยู่ภายนอกระบบได้ส่องแสงมายังระบบแล้วพลังงานเหล่านั้นถูกพืชนำมาสังเคราะห์แสงและส่งถ่ายไปสู่ชีวิตอื่นต่อเนื่องไปจนสุดท้ายพลังงานไดสูญเสียออกไปจากระบบในรูปแบบของพลังงานความร้อน  ดังนั้นจะมีพลังงานเหลือสะสมอยู่ในระบบในส่วนที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตนั่นเอง  จะมีอยู่ประมาณ 1-2 เปอร์เซนต์ แตกต่างกันไปตามลักษณะของระบบนิเวศ โดยเฉพาะระบบนิเวศที่มีสิ่งมีชีวิตจำนวนมากจะสะสมได้มาก เช่น ป่าดิบชื้น เป็นต้น 

ส่วนการหมุนเวียนของธาตุอาหารในระบบนิเวศนั้นผู้ผลิตได้ธาตุอาหารจากน้ำจากดินไปใช้ในการสังเคราะห์แสง  ผู้บริโภคได้รับแร่ธาตุโดยการบริโภคต่อ ๆ กัน  ในที่สุดเมื่อผู้ผลิตผู้บริโภคตาย  ผู้สลายสารจะย่อยสลาย  ธาตุอาหารจะถูกปล่อยออกมาให้ผู้ผลิตนำไปใช้อีกวนเวียนเช่นนี้  ดังนั้นสารอาหารที่หมุนเวียนอยู่ในระบบนิเวศจึงอยู่ในลักษณะของวัฏจักร (Cycle)

การถ่ายทอดพลังงานและสารอาหารจะเป็นไปพร้อม ๆ กันตามลำดับขั้นของการกินอาหารภายในระบบนิเวศ   จากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค โดยการกินต่อกันเป็นทอดๆ เรียกว่า  “ห่วงโซ่อาหาร”  (Food Chain) หรือบางครั้งอาจเรียกห่วงโซ่อาหารนี้ว่า  “ห่วงโซ่พลังงาน” (Energy Chain) 

การส่งถ่ายพลังงานจะเห็นได้ว่าจะมีลำดับขั้นของการส่งถ่ายไปตามห่วงโซ่อาหาร  ดังนั้นในแต่ละลำดับขั้นการบริโภคจะมีแหล่งสะสมพลังงานไม่เท่ากัน   แต่ละลำดับขั้นนั้นเรียกว่า ระดับขั้นการถ่ายทอดพลังงานและสารอาหารหรือลำดับขั้นการบริโภค (Trophic Level)   

            การถ่ายทอดพลังงานและสารอาหารขึ้นกับลักษณะหรือชนิดของระบบนิเวศ  การถ่ายทอดพลังงานในห่วงโซ่อาหารแต่ละขั้นจะมีการสูญเสียพลังงานดังได้กล่าวมาแล้ว ดังนั้นช่วงการบริโภคจึงต้องจำกัดแค่ 4  หรือ  5  ขั้น  ห่วงโซ่อาหารยิ่งสั้นเท่าไรก็ยิ่งมีพลังงานเหลืออยู่มาก  เนื่องจากไม่ต้องสูญเสียพลังงานในระหว่างที่มีการกินอาหารในขั้นต่าง ๆ  

ในความเป็นจริงตามธรรมชาติสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดไม่ได้ดำรงชีวิตอยู่บนห่วงโซ่ห่วงเดียว นั่นคือ  สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งจะได้สารอาหารมาจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ อีกมาก  และขณะเดียวกันตัวเองก็จะเป็นแหล่งให้สารอาหารแก่ชีวิตอื่นอีกหลายชีวิต  ดังนั้ภายในระบบนิเวศหนึ่งห่วงโซ่อาหารจะเกี่ยวโยงกันห่วงโซ่อาหารอื่นอีกหลายสายจนกลายมาโครงข่ายอาหาร (Food Web) นั่นเอง  แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในชุมชนที่มีต่อกันอย่างซับซ้อน  ดังนั้นระบบนิเวศใดที่มีโครงข่ายอาหารซับซ้อนแสดงว่ามีเสถียรภาพสูง  เพราะมีโอกาสที่จะเสียสมดุลได้น้อย  ถ้าหากมีสิ่งมีชีวิตใดสูญหายไปก็ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นทดแทนได้ เกิดผลกระทบทำให้ระบบมีการเปลี่ยนแปลงได้น้อย

การถ่ายทอดพลังงานไปตามลำดับขั้นการบริโภค สิ่งที่ผ่านมาตามห่วงโซ่อาหารและสายใยอาหารนั้น  มิได้มีเพียงสารอาหารเท่านั้น  แต่มีสารอื่นปะปนมาด้วย  เช่น  ดีดีที  ปรอท  แคดเมียม  ฯลฯ  สารเหล่านี้ไม่ได้ถูกนำไปใช้ในการสร้างพลังงานให้แก่เซลล์  จึงสะสมอยู่ภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต  แล้วถ่ายทอดต่อ ๆ ไปตามลำดับขั้นการบริโภคเข้ามาสู่ผู้บริโภคลำดับสุดท้ายหรือเข้าสู่มนุษย์นั่นเอง  นั่นหมายความว่าห่วงโซ่อาหารยิ่งยาวการสะสมสารพิษยิ่งมีมากขึ้น   ดังนั้นมนุษย์ต้องเข้าใจวิธีการเลือกอาหารมาบริโภค  การเลือกบริโภคสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในลำดับขั้นการบริโภคที่ต่ำย่อมปลอดภัยมากกว่าการบริโภคสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในลำดับขั้นการบริโภคที่สูงกว่านั่นเอง 

โดยมากเรานึกว่าธรรมชาติจะดูดซับสารพิษได้หมด  จึงไม่ค่อยระมัดระวังในการกำจัดสารพิษในสภาพแวดล้อม  เช่น  ถ้าเติมสารพิษ 1 แกลลอน  ลงในน้ำ 1,000  ล้านแกลลอนสารพิษจะกระจายอย่างรวดเร็ว  ซึ่งจะมีผลกับสิ่งมีชีวิตในน้ำ  เช่น  สัตว์ที่กินอาหารโดยการกรอง (Filter Fuding) จะสะสมพิษได้สูงมาก  โดยเฉพาะหอยนางรมซึ่งกินอาหารโดยการกรองอยู่ในน้ำตื้นใกล้ฝั่งที่มีการทิ้งของเสียลงมามากและยังไม่ทันแพร่กระจาย  ดังนั้นหอยนางรมจึงมีสารพิษสูงกว่าในน้ำมาก  เช่น  พบว่ามียาฆ่าแมลงชนิดคลอริเนทเตท ไฮโดรคาร์บอน (Chlorinated Hydrocarbon) ได้แก่ ดีดีที (DDT.) ดัลดริน  (Duldrin)  เอนดริน  (Endrin)  อัลดริน  (Aldrin)  คลอเดน  (Chlordane)  เป็นต้น  ในหอยนางรมสูงกว่าในน้ำถึง  70,000  เท่า  ดังนั้นสารจะแพร่กระจายไปตามลำดับขั้นการบริโภคเข้าสู่ผู้บริโภคลำดับสุดท้ายหรือเข้าสู่มนุษย์นั่นเอง

 ประเภทของห่วงโซ่อาหาร

 ห่วงโซ่อาหารที่สำคัญมี 2 ประเภท คือ

 1. Grazing food chain   เป็นห่วงโซ่อาหารที่เริ่มจากพืช (ที่ยังมีชีวิต) ผ่านไปยังสัตว์อื่น ๆ ตามลำดับขั้นการถ่ายทอดพลังงานและสารอาหาร มี 2 ลักษณะย่อย  คือ ...

      1.1 ห่วงโซ่อาหารแบบจับกิน

เป็นห่วงโซ่อาหารที่มีลักษณะฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ล่า (predator) ส่วนอีกฝ่ายเป็นผู้ถูกล่าหรือเหยื่อ (prey) เป็นลักษณะะที่พบเห็นได้ง่ายทั่วไป

       1.2  ห่วงโซ่อาหารแบบปรสิต

  เป็นห่วงโซ่ที่ฝ่ายหนึ่งเป็นแหล่งพึ่งพิงและอีกฝ่ายเป็นผู้อาศัยซึ่งได้อาหาร+พลังงานจากแหล่งพึ่งพิงนั่นเอง

2. Detritus  food chain  (ห่วงโซ่อาหารแบบเศษอินทรีย์)  เป็นห่วงโซ่ที่เริ่มต้นสารอินทรีย์ที่ได้จากการย่อยสลายซากของสิ่งมีชีวิตโดยผู้ย่อยสลาย หรือ ใช้เศษอินทรีย์ต่าง ๆ เป็นอาหาร แล้วส่งต่อไปยังสิ่งมีชีวิตอื่นตามลำดับขั้นการบริโภค  มักพบมากในน้ำ  เช่น

 ปัจจัยกำหนดลักษณะของระบบนิเวศ  

         สิ่งมีชีวิตซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งในแต่ละระบบนิเวศย่อมเกิดขึ้นหรืออาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ดังนั้นจึงมีปัจจัยหลายประการที่เป็นสิ่งกำหนดลักษณะของระบบนิเวศ  ปัจจัยสำคัญ  ได้แก่

            1.  อุณหภูมิ เป็นเครื่องกำหนดชนิดของพืชและสัตว์ว่ามีชนิดใดอยู่บ้าง เพราะอุณหภูมิมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของออกซิเจนในน้ำ การเปลี่ยนแปลงรูปพรรณสัณฐานและสรีระวิทยาของสิ่งมีชีวิต  การอพยพของสัตว์  การแพร่กระจายของพืชและสัตว์ในพื้นที่ต่าง ๆ  และควบคุมชนิดของไข่  และอัตราส่วนเพศในสัตว์บางชนิด

            2.  น้ำและความชื้น  พืชและสัตว์ มีการถ่ายเทไอน้ำให้กับอากาศอยู่เสมอ  บริเวณที่อากาศมีความชื้นต่ำ ร่างกายจะมีการถ่ายเทน้ำให้กับอากาศมากขึ้น  ส่วนพืชจะมีการถ่ายเทน้ำให้กับอากาศอยู่เสมอ  ระบบนิเวศที่มีความชื้นมากมักจะมีพืชและสัตว์อาศัยอย่างหนาแน่นทำให้มีโอกาสประสานสัมพันธ์ในการถ่ายทอดวัตถุธาตุและพลังงานให้แก่กันได้มากขึ้น

            3.  แสงสว่าง  มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่เป็นแสงสว่างจากดวงอาทิตย์  ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบนิเวศ  เพราะทำให้การถ่ายเทวัตถุธาตุต่าง ๆ  อิทธิพลของแสงสว่างที่มีต่อสิ่งมีชีวิต  เช่น  คุณภาพแสงมีผลต่อการงอกของเมล็ด ช่วงแสงมีผลต่อการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ของพืชหลายชนิด  ความเข้มแสงมีผลต่อการสังเคราะห์แสง

            4.  ดิน   เป็นที่รวมของธาตุอาหารต่าง ๆ เช่น  แคลเซียม  ไนเตรท  ฟอสฟอรัส  และยังเป็นแหล่งปุ๋ยธรรมชาติ  คือ  เมื่อสิ่งมีชีวิตตายลงก็จะถูกย่อยสลายกลายเป็นฮิวมัส เพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ดิน ดินที่มีลักษณะความสมบูรณ์หรือมีธาตุอาหารแตกต่างกันย่อมมีผลต่อพืชและสัตว์ที่อาศัยดินนั้นดำรงชีวิตอยู่ในแง่ของชนิด จำนวน  การแพร่กระจาย การเจริญเติบโต  เช่น  บริเวณดินเค็มก็จะมีพืชพวกทนเค็มขึ้นอยู่

            5.  ไฟป่า   มีทั้งผลดีและผลเสียต่อสิ่งมีชีวิต  ผลเสียคือ เป็นอันตรายโดยตรงต่อสิ่งมีชีวิต ทำลายแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัย  สร้างผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ  เช่น  ดิน  น้ำ  อันจะส่งผลถึงการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต  ส่วนผลดีของไฟป่าคือ  ช่วยเพิ่มธาตุอาหารบางชนิดให้พืชช่วยเร่งการงอกของเมล็ดพืชบางชนิด

            6. ความเป็นกรดเป็นด่าง มีความสำคัญต่อกระบวนการหายใจและระบบการทำงานของเอนไซม์ ภายในร่างกาย  ซึ่งเป็นตัวการที่สำคัญมาก เพราะตัวความเป็นกรดหรือด่างเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยก็อาจเป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ยังมีความ สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชด้วย

            7. การแย่งชิง เป็นการแย่งชิงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกัน เนื่องจากมีความต้องการปัจจัยพื้นฐานเหมือนกันแต่มีจำนวนจำกัด หรือมีไม่เพียงพอที่จะทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ได้เป็นปกติ  เช่น  การแย่งชิงน้ำ  อาหาร  แสงสว่าง  ที่อยู่อาศัย   เช่น การที่พืชสองชนิดขึ้นอยู่ใกล้เคียงกันจะแก่งแย่งกันครอบครองพื้นที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร  บางครั้งฝ่ายที่อ่อนแอกว่าจะถูกแก่งแย่งจนตายไป

            8.  การกินซึ่งกันและกัน   เป็นการที่สิ่งมีชีวิตหนึ่งกินสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เป็นอาหารมีผลต่อการควบคุมจำนวนของสัตว์ในแต่ละระบบนิเวศเพื่อให้เกิดความสมดุล ระบบนิเวศที่ขาดความสมดุลในเรื่องการกินซึ่งกันและกัน มีผลทำให้เกิดปัญหา  เช่น  ไร่ข้าวโพดมีตั๊กแตนมากินและทำลายข้าวโพดเสียหาย ถ้าไม่มีสัตว์อื่นมากินตั๊กแตน  ก็จะทำให้ตั๊กแตนแพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว  เกิดเสียสมดุลทางธรรมชาติ

            9.  มลภาวะ  เป็นปัจจัยที่เข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงหรือกำหนดลักษณะของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในระบบนิเวศ  การเกิดมลภาวะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมหรือระบบนิเวศที่ไม่พึงประสงค์  ซึ่งเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์เป็นส่วนใหญ่

 ประเภทของระบบนิเวศ

1. ระบบนิเวศบนบก (Terrestrial Ecosystems)  เป็นระบบนิเวศที่ปรากฏอยู่บนพื้นดินซึ่งแตกต่างกันไปโดยใช้ลักษณะเด่นของพืชเป็นหลักแบ่ง  ซึ่งขึ้นกับปัจจัยสำคัญ  2  ประการ คือ อุณหภูมิและปริมาณน้ำฝน  ทำให้พืชพรรณต่างๆ แตกต่างกัน   ระบบนิเวศบนบกนั้นพอแบ่งออกได้ดังนี้

    1.1 ระบบนิเวศน์ป่าไม้  (Forest Ecosystem)  เป็นระบบนิเวศที่พื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมไปด้วยป่าไม้  สามารถแบ่งย่อยออกไปได้ดังนี้ 

        1) ระบบนิเวศน์ป่าไม้เขตร้อน  ได้แก่ ระบบนิเวศป่าเบญจพรรณ  ป่าเต็งรัง ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา  เป็นต้น

        2) ระบบนิเวศน์ป่าไม้เขตอบอุ่น  ได้แก่ ระบบนิเวศป่าผลัดใบเขตอบอุ่น  ป่าเมดิเตอร์เรเนียน

        3)  ระบบนิเวศน์ป่าไม้เขตหนาว ได้แก่ระบบนิเวศป่าสน

        4)  ระบบนิเวศน์ป่าชายฝั่ง (ป่าชายเลน  ป่าชายหาด  ป่าโขดหิน)

    1.2 ระบบนิเวศน์ทุ่งหญ้า (Grassland Ecosystem)  เป็นระบบนิเวศที่มีพืชตระกูลหญ้าเป็นพืชเด่น  แบ่งได้ดังนี้

        1) ระบบนิเวศน์ทุ่งหญ้าเขตร้อน  ได้แก่ ระบบนิเวศทุ่งหญ้าซาวันนา  โดยมีทุ่งหญ้าที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลกที่รูจักกันในนามทุ่งหญ้าซาฟารี

        2) ระบบนิเวศน์ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น  ได้แก่ ระบบนิเวศทุ่งหญ้าแพรรี่, ทุ่งหญ้าสเตปป์

        3) ระบบนิเวศน์ทุ่งหญ้าเขตหนาว  ทุ่งหญ้าทุนดรา

    1.3  ระบบนิเวศน์ทะเลทราย (Desert Ecosystem)    เป็นพื้นที่ที่มีปริมาณฝนตกน้อยกว่าปริมาณการระเหยน้ำ  แต่บางพื้นที่อาจมีฝนตกบ้างเล็กน้อยก็จะมีหญ้าเขตแห้งแล้งงอกงามได้  ได้แก่  

        1) ระบบนิเวศน์ทะเลทรายเขตร้อน   ทะเลทรายเขตอบอุ่น

        2)  2) ระบบนิเวศน์ทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายเขตร้อน ทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทรายเขตร้อน

2. ระบบนิเวศทางน้ำ (Aquatic Ecosystems)  เป็นระบบนิเวศในแหล่งน้ำต่าง ๆ ของโลก  ซึ่งโครงสร้างหลัก คือ น้ำนั่นเอง  แบ่งออกได้ดังนี้

    2.1  ระบบนิเวศน้ำจืด  (Fresh water Ecosystem)  เป็นระบบที่น้ำเป็นน้ำจืด  อาจแบ่งย่อยเป็น

        2.1.1   ระบบนิเวศน้ำนิ่ง  เช่น  หนอง  บึง  ทะเลสาบน้ำจืด  เป็นต้น

        2.1.2   ระบบนิเวศน้ำไหล  เช่น  ลำธาร ห้วย แม่น้ำ  เป็นต้น

    2.2  ระบบนิเวศน้ำกร่อย  (Estuarine Ecosystem)  เป็นระบบนิเวศที่เกิดขึ้นตรงรอยต่อระหว่างน้ำจืดกับน้ำเค็ม  มักเป็นบริเวณที่เป็นปากแม่น้ำต่าง ๆ   จะมีตะกอนมากจึงมีป่าไม้กลุ่มป่าชายเลนขึ้นจึงเรียกว่าระบบนิเวศป่าชายเลน    แต่บางพื้นที่อาจเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่  เช่น ทะเลสงขลาตอนกลางก็จะมีลักษณะเป็นทะเลสาบน้ำกร่อยมีพืชน้ำสลับกับป่าโกงกาง

    2.3   ระบบนิเวศน้ำเค็ม (Marine Ecosystem)  เป็นระบบนิเวศที่มีน้ำเป็นน้ำเค็ม  โดยปกติจะมีความเค็มประมาณพันละ 35  มีทั้งที่เป็นทะเลปิดและทะเลเปิด   เนื่องจากเป็นห้วงน้ำขนาดใหญ่  จึงนิยมแบ่งออกเป็นระบบนิเวศย่อยตามความลึกของน้ำอีกด้วย  คือ

        2.3.1  ระบบนิเวศชายฝั่ง (Coastal Ecosystem)  เป็นบริเวณที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลง  สิ่งมีชีวิตต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำดังกล่าว  มีระบบย่อย  2 ประเภท  คือ ระบบนิเวศโขดหินชายฝั่ง และ ระบบนิเวศชายหาด  

        2.3.2    ระบบนิเวศน้ำตื้น  เป็นระบบนิเวศที่นับจากระบบนิเวศชายฝั่งลงไปจนถึงน้ำลึก 200 เมตร

        2.3.3     ระบบนิเวศทะเลลึก  เป็นระบบนิเวศที่นับต่อเนื่องจากความลึก  200  เมตรลงไปถึงท้องทะเล   ส่วนนี้มักเป็นบริเวณที่แสงแดดส่องลงไปไม่ถึง  ดังนั้นจึงขาดแคลนผู้ผลิตของระบบ สัตว์น้ำต่าง ๆ จึงมีจำนวนน้อยและใช้ชีวิตโดยรอซากสิ่งชีวิตอื่นที่ตายจากด้านบนแล้ว

 การสูญเสียธาตุอาหารไปจากระบบนิเวศ

            ระบบนิเวศแต่ละแห่งอาจมีการสูญเสียธาตุอาหารออกไปนอกระบบได้โดยมีสาเหตุใหญ่ ๆ มาจาก  5  ประการ

            1. สูญเสียโดยมนุษย์ กิจกรรมบางอย่างเป็นการทำให้ธาตุอาหารสูญเสียไปจากระบบนิเวศเป็นอันมาก เช่น การทำไม้  การทำเกษตรกรรม

            2. สูญเสียไปโดยสัตว์  โดยธรรมชาติธาตุอาหารที่สัตว์บริโภคเข้าไปจะหมุนเวียนกลับคืนสู่ระบบนิเวศได้อีก แต่สัตว์บางชนิดมีการอพยพออกจากระบบนิเวศ  จึงเท่ากับเป็นการนำธาตุอาหารออกไปจากระบบนิเวศ

            3.  สูญเสียไปโดยลม   ระบบนิเวศที่เป็นที่โล่งมักถูกลมพัดพาออกไปได้ง่าย  และไปสะสมอยู่ในระบบนิเวศที่มีสิ่งกีดขวางลม  เช่น  ป่าที่มีต้นไม้ใหญ่หนาแน่น  ธาตุอาหารที่อยู่ในฝุ่นละอองจึงถูกเคลื่อนย้ายออกไปนอกระบบนิเวศ

            4.  สูญเสียไปโดยน้ำ  น้ำเป็นตัวการนำธาตุอาหารออกไปจากระบบนิเวศได้  2  วิธี  วิธีแรก  โดยการกัดเซาะ  (Erosion)  โดยพัดพาเอาดินและวัตถุหน้าดินบางอย่างไหลบ่าออกไปนอกระบบนิเวศ   วิธีที่สอง  โดยการซึม  จากผิวดินลงไปข้างล่าง  และชะล้างเอาธาตุอาหารไปสะสมอยู่ดินชั้นล่าง  ที่พืชไม่สามารถดูดกลับมาใช้ในระบบนิเวศได้อีก

            5.  สูญเสียไปโดยขบวนการระเหิด  เป็นรูปแบบหนึ่งของขบวนการแปรสภาพของธาตุอาหารในดินไปเป็นแก๊ส  ที่พืชใช้ประโยชน์ไม่ได้  และอาจถูกเคลื่อนย้ายออกไปนอกระบบ  เช่น ธาตุไนโตรเจน  อยู่ในดินที่อากาศถ่ายเทได้ดี  จะมีปฏิกิริยาบางอย่างเกิดขึ้น  ทำให้กลายเป็นก๊าซ

 การปรับเปลี่ยนระบบนิเวศ  (Ecological Succession)

       การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ(Ecological Succession) คือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศ เช่น มีสิ่งมีชีวิตใหม่เกิดขึ้น เกิดชุมชนใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ  ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนชนิดของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในชุมชนแห่งนั้นไปด้วย  โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต้องใช้เวลาในการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพอสมควร   การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีสาเหตุสำคัญพอสรุปได้  4  ประการ  คือ

            1. ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา (Geological Cycle) อาจทำให้เกิดธารน้ำแข็งภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว  คลื่นสึนามิ  ล้วนเป็นสาเหตุให้ดุลธรรมชาติในกลุ่มสิ่งมีชีวิตเสียไป

            2.  ปัจจัยจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศอย่างรุนแรง ทำให้เกิดภัยวิบัติต่าง ๆ เช่น ไฟป่า น้ำท่วม พายุทอร์นาโด  (Tonado)  พายุเฮอริเคน (Hericanes) ทำให้สภาพแวดล้อมแปรเปลี่ยนไป สิ่งมีชีวิตถูกทำลายไปแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่ขึ้นใหม่

            3.  ปัจจัยจากการกระทำของมนุษย์  (Human  Factor)  ได้แก่  การตัดไม้ทำลายป่า  การทำไร่เลื่อนลอย  ภาวะมลพิษที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม การสร้างเขื่อนหรือฝายกั้นน้ำและอื่น ๆ ซึ่งมีผลทำให้สภาพแวดล้อมแปรเปลี่ยนไป  ดุลธรรมชาติถูกทำลาย  เกิดโรคระบาด  แมลงศัตรูพืชระบาดทำให้สิ่งมีชีวิตล้มตาย  จึงเกิดการเปลี่ยนแปลแทนที่ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตขึ้นใหม่อีก

            4.  ปฏิกิริยาของสิ่งมีชีวิตที่มีต่อแหล่งที่อยู่อาศัย  เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่  เพราะกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่  ทำให้สิ่งแวดล้อมบริเวณนั้น  เช่น  อุณหภูมิ  ความเข้มข้นของแสง ความชื้น  ความเป็นกรด  ด่างของพื้นดินหรือแหล่งน้ำและอื่น ๆ  เปลี่ยนไปทีละเล็กละน้อยจนในที่สุดไม่เหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตกลุ่มเดิม  เกิดการเปลี่ยนแปลงแทนที่โดยกลุ่มสิ่งมีชีวิตใหม่ที่เหมาะสมกว่า

            การปรับเปลี่ยนของระบบนิเวศ  มี  2  ชนิด  คือ

            1.  การเปลี่ยนแปลงแทนที่ขั้นปฐมภูมิ  (Primary Succession)  เป็นการเปลี่ยนแปลงแทนที่ในแหล่งที่ไม่เคยปรากฏสิ่งมีชีวิตใด ๆ มาก่อน  เช่น  บริเวณภูเขาไฟระเบิดใหม่  การเกิดแหล่งน้ำใหม่

            2.  การเปลี่ยนแปลงแทนที่ขั้นทุติยภูมิ  (Secondary  Succession)  เป็นการเปลี่ยนแปลงแทนที่ในแหล่งที่เค

หมายเลขบันทึก: 411661เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2010 16:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 18:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (42)

ให้นักเรียนทุกคนเข้ามาอ่านใบความรู้ แล้วแสดงความคิดเห็นให้ตรงประเด็นนะคะ

รักนะจุ๊บ ๆ

ครูนาง

นักเรียนคิดว่าการเรียนนอกห้องเรียนแบบนี้ก็สนุกดีและเนื้อหานี้ก็เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนควรจะเอาใจใส่ดูแลระบบนิเวศของเราเพื่อไม่ให้ระบบนิเวศมีความเปลี่ยนแปลงไปมากกว่านี้และให้คงอยู่คู่กับเราไปนานๆ

ดีใจมากที่มีคนเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะคะ อย่าลืมสร้าง blog ของตัวเองและใส่สาระดี ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะคะ

วรรณภา

เกล็ดความรู้เล็กๆ

ป่าเบญจพรรณเป็นป่าที่เรียกชื่อตามพรรณไม้หลักซึ่งมี 5 ชนิดที่พบเป็นไม้เด่นในป่าประเภทนี้(เบญจ แปลว่า ห้า)

คำถาม เพื่อนๆมาตอบกัน

ลักษณะภูมิศาสตร์ของโลกมีผลต่อระบบนิเวศอย่างไร

ณฐพนธ์ ต้องเข้าไปถามใน blog ของตัวเองนะคะ  คือต้องเข้าระบบของตนเองก่อน แล้วตั้งคำถามIco32

วรรณา ครูคอยอ่านสาระดี ๆ เกี่ยวกับระบบนิเวศอยู่นะคะIco32

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเติมเต็มกำลังใจให้กันค่ะ กับ บรรยากาศดี ๆ ยามเช้า หลังจากที่ฝนหยุดตก.....
  • ขอบคุณค่ะ

                                               มีความสุขมาก ๆ นะค่ะ

สาระดีๆเกี่ยวกับความเป็นมาของระบบนิเวศ คือ การที่จะประกอบกัน เป็นระบบนิเวศได้นั้นจะต้องเริ่มจากสิ่งมีชีวิตและเมื่อสิ่งมีชีวิตมารวมกันมากๆขึ้นจะเรียกว่า กลุ่มประชากรจะประ กอบด้วยสมาชิกที่หลายตัวขึ้นและเมื่อสัตว์ หลายชนิดมาอยู่รวมกันเรียกว่ากลุ่มสิ่งมีชีวิตเเละเมื่อสัตว์หลายชนิดมารวม กันแล้วก็จะกลายเป็น ระบบนิเวศคะ

สาระดีๆเกี่ยวกับการศึกษาระบบนิเวศ: ระบบนิเวศในโลกนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระบบตามลักษณะของ ที่อยู่อาศัย คือ ระบบนิเวศบนบก (terrestrial ecosystem) และระบบนิเวศในน้ำ (aquatic ecosystem) วิชาที่ว่าด้วยการศึกษาระบบนิเวศ เรียกว่า ระบบนิเวศ ซึ่งเป็นการศึกษาใน ระดับสิ่งมีชีวิตขึ้นไปคะและโอกาศหน้าเราจะมาดูระบบนิเวศบนบกและระบบนิเวศในน้ำกัน นะคะสวัสดีคะบ๊ายบาย

สวัสดิ์ดีค่ะ...ครูนาง

ไอลดารายงานตัวค่ะ...

นู๋จะเร่งสร้งบล็อกนะคะ..จะได้แบ่งปันความรู้กัลอ่ะค่ะ

ไปล่ะค่ะ..เดวนู๋จะเข้ามาใหม่นะคะ...ไปเตรียมตัวก่อนนะคะ

ยินดี มาก ๆคะไอรดา ครูขอเป็นกำลังใจให้นะคะ  ได้ข่าวว่า ม.6 มีที่เรียนกันหมดแล้วได้ฟังก็สบายใจ แต่ก็อย่าลืมว่าทุกช่วงเวลาของชีวิตมีค่าทุกนาที เพราะฉนั้นจงทำวันนี้ให้ดี ที่สุด  แล้วพวกเราชาว 6/1  ทำดีที่สุดเพื่อตนเอง  คนรอบข้าง และสังคมแล้วหรือ ยัง ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้นะคะ

                                                        ครูอำนวยพร

ครูเข้าไปอ่าน blog วรรณภา แล้วนะคะ  ดีมาก ๆ เลยคะ  นำเรื่องราวดี ๆ มาฝากกันอีกนะคะ

                                                               ครูอำนวยพร           

นางสาว พนิตา บุญประเสริฐ
  • ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ

   
                   
 

          แสงสว่าง แสงจากดวงอาทิตย์เป็นพลังงานที่มีอิทธิพลต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก  ปริมาณแสงใน
ธรรมชาติแต่ละแห่งจะแตกต่างกันทำให้สิ่งมีชีวิตในแต่ละแห่งแตกต่างกันไป พืชต้องการแสงจาก
ดวงอาทิตย์มากกว่าสัตว์   พืชใช้แสงเป็นพลังงานในกระบวนการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างสารอาหาร 
สารอาหารสร้างขึ้นจะถ่ายทอด ไปยังสัตว์ในห่วงโซ่อาหาร  ความต้องการแสงของสิ่งมีชีวิตจะมีความ
แตกต่างกัน

         พืชที่มีแสงสว่างส่องถึงจะมีความหนาแน่นมากกว่าบริเวณที่มีแสงส่องถึงน้อย พืชแต่ละชนิด
ต้องการแสงในปริมาณแตกต่างกันแสงมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์  สัตว์บางชนิดต้องการแสงน้อย
มักอาศัยอยู่ในร่มเงาหรือในที่มืด เช่น  ตัวอ่อนของแมลงในทะเลทรายซึ่งมีแสงมากในเวลากลางวัน
สัตว์จะหลบซอนตัวและจะออกหากิน ในเวลากลางคืน   ในทะเลลึกจะมีแสงสว่างน้อยมากหรือไม่มีเลย
สัตว์จะมีอวัยวะที่ทำหน้าที่กำเนิดแสงได้เอง เป็นต้น

   
                   
               
    http://www.oknation.net/blog/print.php?id=235336            
                   
 

          อุณหภูมิ สิ่งมีชีวิตจะเลือกแหล่งที่อยู่อาศัยที่มีอุณหภูมิเหมาะสมกับตัวเอง  อุณหภูมิที่เหมาะสม
ประมาณ 10-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิบนพื้นดินจะมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าในน้ำ จึงทำให้สิ่งมีชีวิต
บนพื้นดิน มีการปรับตัวในหลายลักษณะ เช่น การอพยพหนีหนาวของนกนางแอ่นจากประเทศจีน
มาหากินในประเทศไทย ในช่วงฤดูหนาว การจำศีลของกบเพื่อหนีร้อนหรือหนีหนาว

 
                   
 

         แร่ธาตุและก๊าซ พืชและสัตว์นำแร่ธาตุและก๊าซต่างๆ ไปใช้ในการสร้างอาหารและโครงสร้าง
ของร่างกาย   ความต้องการแร่ธาตุและก๊าซของสิ่งมีชีวิตจะมีความแตกต่างกัน

       
                   
 

         ความเป็นกรด-เบสของดินและน้ำ สิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่ในดินและแหล่งน้ำที่มีความเป็นกรด-เบส
ของดินและน้ำที่เหมาะสม จึงจะสามารถเจริญเติบโตและดำรงชีวิตอยู่ได้  ความเป็นกรด-เบสของดินและน้ำ
จะขึ้นอยู่กับปริมาณของแร่ธาตุที่ละลายปะปนอยู่

     
   

ความรู้ที่ศึกษาเป็นเส้นทางแห่งความสำเร็จนะครัฟ...ถ้าเรารู้จักที่จะนำไปต่อและเพิ่มเติมกับสิ่งนั้น

แล้วเราอยู่ตรงไหนของระบบนิเวศครับ

ต้องขอขอบคุณ คุณครู นะค่ะที่แนะนำสิ่งดีๆ ให้นักเรียนทำและเป็นบระโยชน์ต่อตนเอง และผู้อื่นด้วยค่ะและ ขอบคุณสำหรับความคิดเห็น ทุกๆข้อความนะค่ะ วรรณภา

ระบบนิเวชเดี๋ยวนี้เปลี่ยนแปลงเยอะกว่าเดิมมากเลยนะค๊ะ

ระบบนิเวศที่ควรรักษาและป้องกันไม่ให้โทรมลงหรือหมดไป

ถ้าถามผมว่าผมอยู่ตรงไหนของระบบนิเวศ.

.ผมอยู่ตรงกลางใจของระบบนิเวศครัฟ

เพราะผมเป็นคนที่ไม่คิดที่จะทำลายสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศเลยครับ.

แถมยังอยากจะช่วยให้ระบบนิเวศกลับมาให้ฟื้นฟูมากกว่าเดิมอีกครัฟ.

ก่อนจบม.6สิ่งถ้าเป็นไปได้ผมกับเพื่อนๆก็อยากจัดค่ายปลูกป่าชายเลนให้กับน้องๆในโรงเรียนด้วยครัฟ

อาจารย์ครับบอย.บอยอย่าให้อาจารย์พาไปสำรวจหรือแหล่งธรรมชาติเหมือนกับที่อาจารย์พาไปตรวจความอุดมสมบูรณ์ของน้ำหลังโรงเรียนอีกอ๊ครัฟ.แต่รอบนี้ถ้าเป็นไปได้อยากให้อาจารย์พาไปนอกสถานที่เช่นป่ากงกลาง หรือสถานที่ยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่อ๊ครัฟ

อาจารย์ค่ะ หนูวีรภา เข้ามาหาอาจารย์แล้วค่ะ

หนูบอยกรุณาเขียนภาษาไทยให้ถูกต้องด้วยนะคะ  และที่สำคัญ  เมื่อสร้าง blog  อย่านำเนื้อหาใส่ในชื่อ blog  แต่ให้ใส่ไว้ใน  เพิ่มบันทึก  โดยเข้าไปที่เมนูของฉัน  เข้าใจไหมคะ

พนิตา  ไปสร้าง blog  ของตัวเองให้เรียบร้อยนะคะ  สร้าง blog เสร็จ ก็ให้เพิ่มบันทึกนะคะ  ครูนาง

พิมลพร  ไปสร้าง blog ของตนเอง ห้ามใส่เนื้อหาใน blog แต่ให้เพิ่มบันทึกแทน โดยเข้าไปที่ เมนูของฉันแล้วเพิ่มบันทึก โดยใส่เนื้อหาที่เตียมไว้นะคะ

 

  • สวัสดีค่ะ
  • สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๔ ขอให้ คุณครูอำนวยพร มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง  สุข สดชื่น สมหวัง ดั่งใจปอง ตลอดปี และตลอดไปนะคะ" 
  • ขอบคุณค่ะ

                                      

  • โลกร้อน

ภาวะโลกร้อน (Global Warming)    

  ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก ก๊าซเรือนกระจก ค่ะ (Greenhouse gases)

ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และ ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศ กรองพลังงาน จาก ดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของ เรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ค่ะ

แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ CO2 ที่ออกมาจาก โรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ หรือการกระทำใดๆที่เผา เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ) ส่งผลให้ระดับปริมาณ CO2 ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปี

ซึ่ง คาร์บอนไดออกไซด์ ที่มากขึ้นนี้ ได้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน ดังเช่นปัจจุบัน

ภาวะโลกร้อนภายในช่วง 10 ปีนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 มานี้ ได้มีการบันทึกถึงปีที่มีอากาศร้อนที่สุดถึง 3 ปีคือ ปี พ.ศ. 2533, พ.ศ.2538 และปี พ.ศ. 2540 แม้ว่าพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังมีความไม่แน่นอนหลายประการ แต่การถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ได้เปลี่ยนหัวข้อจากคำถามที่ว่า "โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ" เป็น "ผลกระทบจากการที่โลกร้อนขึ้นจะส่งผลร้ายแรง และต่อเนื่องต่อสิ่งที่มีชีวิตในโลกอย่างไร" ดังนั้น ยิ่งเราประวิงเวลาลงมือกระทำการแก้ไขออกไปเพียงใด ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็จะยิ่งร้ายแรงมากขึ้นเท่านั้น และบุคคลที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือ ลูกหลานของพวกเราเอง

สวัสดีครับอาจารย์กระผมนายไพรัตน์มารายงานตัวครับผม

นางสาวกานต์ชนิต คร้ามไพบูลย์

ได้มารายงานตัวนะค่ะ

อย่าลืม+คะแนนนะค่ะ

นางสาวกานต์ชนิต คร้ามไพบูลย์

ได้มารายงานตัวนะค่ะ

อย่าลืม+คะแนนนะค่ะ

นางสาวกานต์ชนิต คร้ามไพบูลย์

ได้มารายงานตัวนะค่ะ

อย่าลืม+คะแนนนะค่ะ

มารายงานตัวคับป๋ม

นางสาวนิลาวัลย์ แหวนหล่อ

เลขที่ 28 ม.6/1 ค๊ะ

เรียน คุณครูอำนวยพร ค่ะ

ดิฉันเป็นผู้ดูแลเว็บไซต์ GotoKnow.org ค่ะ จึงขออนุญาตแนะนำคุณครูให้แจ้งนักเรียนใช้งานเว็บไซต์ Learners.in.th ซึ่งเป็นชุมชนออนไลน์ทางด้านการเรียนการสอน และเหมาะกับนักเรียน แทนการใช้งานเว็บไซต์ GotoKnow.org เพื่อส่งงานค่ะ

ทั้งนี้เนื่องจากเว็บไซต์ GotoKnow.org มีวัตถุประสงค์การเปิดบริการให้แก่ผู้ใช้งานกลุ่มคนทำงานเป็นหลักค่ะ แต่ทางทีมงานก็ได้เปิดบริการเว็บไซต์ Learners.in.th เพื่อกลุ่มนักเรียน หรือคุณครูที่ต้องการใช้บล็อกเพื่อการเรียนการสอน หรือให้นักเรียนได้ฝึกเขียนบล็อกค่ะ

ดังนั้นทางทีมงานขอความกรุณาคุณครูแจ้งให้นักเรียนสมัครใช้งานที่เว็บไซต์ Learners.in.th แทนการใช้งานที่ GotoKnow ด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

หวัดดีครับอาจารย์ อันตัวผมนั้นมีนามว่า นาย สุทธิพงษ์ เกียรติสูงส่ง ม.6/1 มารายงานตัวครับ

อาจารย์ หนู วีรภา โลดทนงค์

ม.6/1

เข้ามารายงานตัวค่ะ

ขอขอบคุณคุณมะปรางเปรี้ยวด้วยนะคะ แล้วจะเรียบดำเนินการตามที่แนะนำนะคะ

22.3 รูปแบบการเพิ่มของประชากร

สิ่งมีชีวิตมีรูปแบบการสืบพันธุ์

เพื่อเพิ่มประชากรอยู่ 2 แบบ คือ

สมาชิกของประชากรนั้นมีการ

สืบพันธุ์เพียงครั้งเดียวในช่วงชีวิต

(single reproduction) เช่น แมลง

ไม้ล้มลุกบางชนิด

แบบแรก

22.3.1 การเพิ่มของประชากรแบบ

เอ็กโพเนนเชียล

(exponential growth)

หรือ แบบทวีคูณ

ครูกัลยา สีดอกบวบ

สวัสดีครับ นพพล รายงานตัวครับผม...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท