การนำเสนอดุษฎีนิพนธ์เรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำผู้อำนวยการสร้างภาพยนต์เพื่อสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรม


เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2553 มหาวิทยาลัยมหาสารคามโดย ผศ.ดร.ทรงคุณ จันทจร ได้เรียนเชิญศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ร่วมเป็นการสอบการนำเสนอดุษฎีนิพนธ์เรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำผู้อำนวยการสร้างภาพยนต์เพื่อสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรม ของ นายสามารถ จันทร์สูรย์ นิสิตหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ รุ่นที่ 2 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 

ในการนำเสนอครั้งนี้ มี ผศ.ดร.ทรงคุณ จันทจร ผศ.ดร.ชวนะ ภาวะกานันท์ ดร.กล้า สมตระกูล และดร.มาริสา โกเศยะโยธิน ร่วมเป็นกรรมการสอบด้วย

 

ดร.กล้า สมตระกูลได้ประกาศผลสอบว่า การนำเสนอดุษฎีนิพนธ์เรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำผู้อำนวยการสร้างภาพยนต์เพื่อสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรม ของ นายสามารถ จันทร์สูรย์ นิสิตหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ รุ่นที่ 2 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผ่านในระดับดีแต่ต้องมีการแก้ไข

 

ในตอนท้าย คณะกรรมการสอบได้ร่วมถ่ายรูปและแสดงความยินดีกับนายสามารถ จันทร์สูรย์ที่จะเป็นดุษฎีบัณฑิตในปีหน้า

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 411385เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2010 12:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

     คณะกรรมการ 5 ท่านได้ให้ความเห็นที่เป็นประโยชน์มากต่อดุษฎีนิพนธ์ของคุณสามารถ

     ความเห็นของผมแบ่งเป็น 2 ส่วน

     ส่วนดีคือ คุณสามารถมีงานประจำที่ทำโดยตรงในการสร้างผู้อำนวยการสร้างหนังรุ่นใหม่ซึ่งจะเป็นทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้

     แต่จุดอ่อน ต้องดัดแปลงภาระงานของเขาให้เป็นงานวิจัยระดับปริญญาเอกให้ได้ ประกอบด้วย

  1. การตั้ง Hypothesis
  2. กำหนดวิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพและตอบโจทย์ที่ตั้งไว้ให้ได้ ซึ่งผมเชื่อว่า คุณสามารถคงนำไปปรับปรุงให้ได้

     สรุปสุดท้ายก็คือ วิทยานิพนธ์นี้ทำให้เห็นว่า ในวงการภาพยนตร์ ผู้อำนวยการสร้างรุ่นใหม่จะต้อง

  1. มีความรู้กว้างไกล
  2. มีความใฝ่รู้และมีวัฒนธรรมการเรียนรู้
  3. บริหารคนในกระบวนการสร้างหนังไม่ว่าจะเป็นผู้กำกับ ผู้ลงทุน นักแสดงและตัวละครอื่นๆให้ทำงานไปสู่เป้าหมายก็คือ เกิดความสำเร็จให้มีผู้ดูทั้งในและต่างประเทศ

 

สรุปความคิดเห็นข้อเสนอแนะจากกรรมการสอบดุษฎีนิพนธ์ท่านอื่นๆ

 

ผศ.ดร.ชวนะ ภาวะกานันท์

  • ดุษฎีนิพนธ์เรื่องนี้มีคุณูปการ บอกว่า ผู้อำนวยการสร้างหนังควรเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง เท่ากับสร้าง Learning Organization (LO) สำหรับพวกภาพยนตร์
  • ดุษฎีนิพนธ์เรื่องนี้สร้างเกียรติประวัติให้กับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพราะเรากำลังต้องการหลักสูตรภาพยนต์ที่รู้จริง สร้างนักศึกษาจริงเพื่อเผชิญโลก
  • หลักสูตรควรสอนให้คนทำหนังได้ทุกประเภท
  • การตั้งชื่อเรื่องดุษฎีนิพนธ์ควรเป็นชื่อที่ยิ่งใหญ่ เช่น การพัฒนายุทธศาสตร์

 

ดร.กล้า สมตระกูล

 

  • คุณสามารถเป็นผู้ที่ปฏิบัติเรื่องนี้จริงๆ ทำจากข้อเท็จจริงในภาคสนาม
  • การนำเสนอคล้ายรายงานผลปฏิบัติการหลักสูตร

 

ดร.มาริสา โกเศยะโยธิน

  • งานวิจัยชิ้นนี้ มีการพัฒนาเนื้อหาสาระมาก มีประโยชน์
  • อยากให้เพิ่มเติมเชิงคุณภาพ เช่นการสังเกตพฤติกรรมผู้เข้ารับการฝึกอบรม

 

อารีรัตน์ ภูธรรมะ

ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ

นายสามารถ จันทร์สูรย์

ผมต้องขอขอบพระคุณท่านกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ทุกท่าน ไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ ทั้ง ท่าน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่าน ผศ.ดร.ชวนะ ภาวะกานันท์ ท่าน ดร.กล้า สมตระกูล ท่าน ดร.มาริสา โกเศยะโยธิน รวมทั้ง ผศ.ดร.ทรงคุณ จันทจร ที่ทุกท่านได้กรุณาทุ่มเทเอาใจช่วย และแนะนำการพัฒนาปรับปรุงวิทยานิพนธ์นี้ให้สมบูรณ์ที่สุด เพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้อย่างดีในโอกาสต่อไป ขณะนี้ผมได้พยายามแล้วครับ และใกล้จะสำเร็จแล้วครับ

นายสามารถ จันทร์สูรย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท