ความสัมพันธ์ร่วมมือทางด้านการเงิน และ การธนาคารลาว – ไทย์


    ความสัมพันธ์ร่วมมือทางด้านการเงินและ การธนาคารลาว ไทย       

     การร่วมมือทางด้านการเงิน และ การธนาคารอยู่ในเวียกงานนี้ก็ได้มีการพบปะหาลือระหว่างธนาคารของสองประเทศ และสนับสนูนให้ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารได้มีการพบปะหารือกันอย่างปกกะติ นอกจากนั้นทั้งสองฝ่ายยินดีพร้อมที่จรับข้อสะนีอของฝ่ายไทยเกี่ยวกับการรับเอาเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งชาติของลาวมาอบรมอยู่ประเทศไทยภายใต้โครงการร่วมมือระหว่างสองธนาคาร  ฝ่ายลาวได้อนุญาตในด้านหลักการให้ธนาคารของประเทศไทย์หลายธนาคารสำนักงานสาขาในนคอนหลวงเวียงจัน           ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นพร้อมให้มีการร่วมมือแลกเปรี่ยนทางด้านวิชาการ และประสบการด้านเวียกงานการเงิน, การครังและภาษีอากรระหว่างประเทศทั้งสองให้หลายขึ้น ฝ่ายไทยมีความยีนดีที่จรับเอาเจ้าหน้าที่วิชาการด้านการเงิน การคังและภาษีอากรของ ส ป ปลาวไปฝึกอบรมและทัดสณะศึกษาที่ประเทศไทยและถ้าฝ่ายสปปลาวต้องการ ฝ่ายไทยมีความยินดีจส่งนักวิชาการด้านการเงิน การคังและภาษีอากรไปช่วยฝรึกอบรมและให้ข้อแนะนำแก่ฝ่ายลาว           มาถึงเดือนตุลาคม ปี ค ศ 1996 รัฐบาลลาวและไทยได้ลงนามในข้อตกลงร่วมมือระหว่างกระทรวงการเงินแห่งสปปลาวกับกระทรวงการคังของไทย์เพื่อยกวั้นการกับภาษีช้ำช้อนระหว่างลาวกับไทยที่บางกอก           ส่วนการร่วมมือทางด้านวิชาการก็มีความคืบหน้าพอสมควรชึ่งได้มีการไปทัดสะนะศึกษาแลกเปรี่ยนทางด้านวิชาการ นอกนอกนั้นทางรัฐบาลไทยก็ยังให้ทุนไปเรียนต่อในประเทศไทยในระดับสูงโดยเฉพาะประลิยาโทและเอกอีกจำนวนหนึ่ง.
สกุลเงินที่ใช้ในลาวปัจจุบันเป็นสกุลเงินกีบ ในปัจจุบัน มีอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 226.5 กีบต่อ 1 บาดไทย
ในปัจจุบันระบบธนาคารของลาวจะประกอบด้วย ธนาคารแห่งชาติ (State Bank of the Lao PDR) ธนาคารพาณิชย์ของรัฐ ธนาคารการค้าต่างประเทศ  ธนาคารพัฒนาลาวใหม่  ธนาคารร่วมพัฒนา  ธนาคารล้านซ้าง ธนาคารส่งเสรีมกะสิกำและการกระเศษ  ธนาคารร่วมมือลาว เวียดนามนอกนั้นยังมีธนาของประเทศไทย์อีก6แห่ง และธนาคารพาณิชย์ของมาเลเซีย 1 แห่ง ซึ่งมีลักษณะการดำเนินงานดังนี้
1)
ธนาคารแห่งชาติ (State Bank of the Lao PDR)
ทำหน้าที่เป็นธนาคารกลางกำหนดนโยบายการเงินควบคุมตรวจสอบการ ดำเนินงานของธนาคารต่างๆที่อยู่ภายในประเทศให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล
2)
ธนาคารพาณิชย์ของรัฐ
การดำเนินงานจะอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลซึ่งแต่ละธนาคารจะมีหน้าที่รับผิดชอบ รับฝากเงินและให้สินเชื่อประชาชน รัฐวิสาหกิจ และบริษัท การค้าของรัฐ โดยแต่ละธนาคาร จะเน้นหนักกิจกรรมต่างกัน เช่น ธนาคารการค้า และการต่างประเทศทำหน้าที่อำนวยความสะดวกทางด้านธุรกิจการค้าต่างประเทศ การออกแอล/ซี (L/C) ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เพื่อการนำเข้าและส่งออก
3)
ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นธนาคารพาณิชย์ของไทย ได้แก่
-
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)
-
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน)
-
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)
-
ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)
-
ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน)
-
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)และธนาคารPublic bank (ของประเทศมาเลเซีย) ลักษณะการดำเนินงานได้แก่ รับฝากเงิน ให้กู้ยืมเงิน บริการชำระหนี้ให้แก่ลูกค้าและให้บริการด้านการเงินอื่นๆ ได้แก่ แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ รับซื้อขายและถือหุ้น พันธบัตร เอกสารและหลักทรัพย์ต่างๆ และธนาคารร่วมมือลาว-เวียดนาม
4)
สำนักงานตัวแทนธนาคารในต่างประเทศ
มีแห่งเดียว คือ สำนักงาน ตัวแทนธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำหน้าที่เฉพาะการติดต่อกับธนาคารธุรกิจ หรือสถาบันการเงินอื่นๆ ที่เป็นลูกค้าหรือสถาบันการ เงินอื่นๆ ที่ตนเป็นตัวแทนเท่านั้น โดยไม่สามารถดำเนินธุรกิจธนาคาร หรือคล้ายคลึงธุรกิจธนาคารได้
สถาบันการเงินไทย ได้เข้าไปมีบทบาทต่อการพัฒนาระบบการเงินใน ประเทศลาว ดังนี้
-
ช่วยอำนวยความสะดวกด้านการค้าระหว่างไทยกับลาว เนื่องจาก เดิมประเทศลาวมีธนาคารที่สามารถทำธุรกิจด้านต่างประเทศได้เพียง แห่งเดียวเท่านั้น คือ ธนาคารการค้า และการต่างประเทศ
-
ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ และนักธุรกิจไทยที่ไปลงทุนในลาว ให้มีความสะดวกและคล่องตัวยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ด้านการลงทุน ระหว่างประเทศไทยกับลาวให้เพิ่มขึ้น
-
ในปัจจุบันเป็นช่วงการปฎิรูประบบธนาคารในลาว โดยมีการจัดรูป แบบและองค์กรใหม่ สถาบันการเงินไทยได้เข้าไปช่วยพัฒนาระบบธนาคารของลาว โดยการถ่ายทอดความรู้ ด้านเทคโนโลยีพัฒนาบุคลากร รวมทั้งนำเงินทุนไปปล่อยสินเชื่อในลาว
-
เข้าไประดมเงินออมของประชาชนลาว โดยการเข้าไปจัดตั้งธนาคารร่วมพัฒนา
-
ปล่อยสินเชื่อให้กับนักธุรกิจไทยรายใหญ่ๆ ที่เข้าไปลงทุนในลาว เช่น กลุ่มบริษัท ชินวัตร เพื่อใช้ในโครงการสื่อสารในลาว

หมายเลขบันทึก: 41135เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2006 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 10:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เป็นการร่วมมือระว่างประเทศที่ดีครับ ในอนาคตประเทศลาวจะสามารถพัฒนากฎหมายทางด้านการเงินได้ดีมากครับ

ผมขอ explaination เกื่ยวกับความสัมพันธ์ ลาวกับประเทศไทยและสถานะปัจจุบันของความร่วมมือ เพี่มเติม ให้ทุกท่านได้อ่าน และเข้าใจดั่งต่อนี้

ยุทธศาสตร์ของไทยต่อลาว

สนับสนุนและส่งเสริมลาวในทุกทางเพื่อให้มีความก้าวหน้า เข้มแข็ง รุ่งเรือง

กลไกความร่วมมือไทย-ลาว ความสัมพันธ์ไทย-ลาวในปัจจุบันดำเนินไปอย่างราบรื่นใกล้ชิด ทั้งสองฝ่ายได้ใช้กลไกและเวทีความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคีผลักดันความร่วมมือและแก้ไขปัญหาเพื่อหาทางออกร่วมกันอย่างสันติวิธี ที่สำคัญได้แก่

1. คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-ลาว เป็นกลไกกำกับดูแลการดำเนินความสัมพันธ์ไทย-ลาวในภาพรวม ตั้งขึ้นเมื่อพฤษภาคม 2534 มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม สองฝ่ายได้ผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมขึ้นทุกปี โดยมีผู้แทนจากทุกหน่วยงานหลักของไทยและลาวเข้าร่วม การประชุมครั้งล่าสุด คือ ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 23-25 มกราคม 2549 ที่จังหวัดตราด

2. คณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไปไทย-ลาว ตั้งขึ้น เมื่อเดือนสิงหาคม 2534 มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันประเทศเป็นประธานร่วม เป็นกลไกกำหนดแนวทางและมาตรการเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อย และเสถียรภาพตามชายแดน การประชุมครั้งล่าสุด คือ ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 14-15 กรกฎาคม 2548 ที่นครหลวงเวียงจันทน์

3. คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว ตั้งขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2539 มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยและลาวเป็นประธานร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมตลอดแนวชายแดน การประชุมครั้งล่าสุด คือ ครั้งที่ 7 ระหว่าง วันที่ 9-11 ธันวาคม 2545 ที่กรุงเทพมหานคร

4. คณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย-ลาว เป็นผลสืบเนื่องจากการเยือนลาวของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อเดือนมกราคม 2540 และการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-ลาว ครั้งที่ 7 เมื่อเดือนกันยายน 2540 การประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า ครั้งที่ 1 มีขึ้นระหว่างวันที่ 16-17 กรกฎาคม 2541 ที่กรุงเทพฯ มีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและการท่องเที่ยวลาวเป็นประธานร่วม แต่ยังมิได้มีการจัดการประชุมครั้งที่ 2 ขึ้น

5. คณะกรรมการส่งเสริมการค้าและการลงทุนไทย-ลาว (เปลี่ยนชื่อมาจากคณะกรรมการไกล่เกลี่ยแก้ไขข้อพิพาทด้านธุรกิจและการลงทุนไทย-ลาว) จัดตั้งโดยมติที่ประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-ลาว ครั้งที่ 7 เมื่อเดือนกันยายน 2540 มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม เพื่อเป็นกลไกอำนวยความสะดวกการไกล่เกลี่ยแก้ไขข้อพิพาทด้านธุรกิจและการลงทุนและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจระหว่างไทย-ลาว การประชุมครั้งล่าสุด คือ ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2549 ที่เกาะช้าง จังหวัดตราด

6. การประชุมคณะผู้ว่าราชการจังหวัดและเจ้าแขวงชายแดนไทย-ลาว จัดตั้งโดยมติที่ประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-ลาว ครั้งที่ 6 เมื่อกันยายน 2539 ณ จังหวัดสงขลา การประชุมครั้งล่าสุด คือ ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 11-12 พฤษภาคม 2548 ที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี นอกจากนี้ ยังมีการประชุมคณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยในระดับจังหวัดกับแขวงเพื่อเป็นกลไก ในการร่วมกันแก้ไขปัญหาตามบริเวณชายแดนในระดับท้องถิ่นมิให้ลุกลามเป็นปัญหาระดับชาติ

7. การประชุมทวิภาคีว่าด้วยความร่วมมือด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเป็นกลไกความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นประธานฝ่ายไทย และรัฐมนตรีประจำสำนักงานประธานประเทศเป็นประธานฝ่ายลาว การประชุมครั้งล่าสุด คือ ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 17-18 กรกฏาคม 2548 ณ เมืองหลวงพระบาง

8. สมาคมไทย-ลาวเพื่อมิตรภาพ จัดตั้งโดยกระทรวงการต่างประเทศเมื่อปี 2537 เพื่อเป็นกลไกเสริมในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ลาวในระดับประชาชนต่อประชาชน ในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยฝ่ายลาวได้จัดตั้งสมาคมลาว-ไทยเพื่อมิตรภาพ ภายใต้ศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาว เป็นสมาคมร่วมดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ กับสมาคมไทย-ลาวฯ ทั้งสองสมาคมมีการประชุมร่วมกันทุกปี การประชุม ร่วมระหว่างสองสมาคมครั้งล่าสุด คือ เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2549 ที่กรุงเทพฯ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท