บนเส้นทางของความผิดพลาด : ความมุ่งมั่นหลังจากวิทยานิพนธ์เสร็จสมบูรณ์แล้ว


ในการทำงานหลายอย่าง ย่อมเกิดความผิดพลาดขึ้นมาได้เสมอ แม้กระทั่งผลงานวิจัยวิทยานิพนธ์ที่เพียรพยายามทุ่มเทความตั้งใจอย่างดีที่ สุด จนเสร็จสมบูรณ์ทุกขั้นตอน

แต่เมื่อหยิบกลับมาเปิดดู อีกครั้ง กลับพบกับความผิดพลาดอย่างไม่น่าให้อภัย

พี่นก แห่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร ก็เป็นอีกหนึ่งท่าน ที่พบกับความผิดพลาดคาตา

เมื่อในระหว่างขั้นตอนการเข้าเล่มสมบูรณ์วิทยานิพนธ์ เธอได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการติดต่อร้านค้า เพื่อเข้าเล่มให้ และให้ตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง เพราะเธอไม่สะดวกในการดำเนินการด้วยตัวเอง

แต่เมื่อวิทยานิพนธ์เล่มสมบูรณ์ถึงมือเธอ เมื่อเปิดหน้าบทคัดย่อ พบคำผิดแบบชัดเจน พิมพ์ตกตัวสะกด และพิมพ์ตัวเลขผิดไปบ้าง ทำเอาเธอหงุดหงิดอย่างมาก

จนเธออยากแก้ไข อยากจะรื้อเล่ม แก้ไขในส่วนที่ผิดและเข้าเล่มใหม่ ให้ถูกต้อง

อีกหลายคนที่จบไปแล้ว ไม่ได้ใส่ใจมากนัก แค่จบก็บุญแล้วล่ะ

การแก้ไขวิทยานิพนธ์ให้ถูกต้อง ก็เป็นเรื่องที่น่าคิด แต่ในขณะนี้ วิทยานิพนธ์เล่มอื่นๆ ได้ถูกส่งเข้าสู่ห้องสมุด และส่งเล่มไปตามที่ต่างๆแล้ว เธอจะต้องตามไปแก้ไขทุกแห่งเลยหรือ

ทุกปัญหามีทางแก้ไขเสมอ

และแล้ว เธอก็คิดใหม่ทำใหม่ครับ ลองดูมุมมองใหม่ของเธอดูบ้าง

" คิดดูแล้ว ความจริงใครจะมาอ่านของเราหมดทุกหน้า และวิทยานิพนธ์หลายเล่มที่เคยอ่านมา ก็มีคำผิดกันทั้งนั้น โอกาสที่ผู้สนใจจะมาอ่านวิทยานิพนธ์นี้ ก็ต้องมาที่ ห้องสมุด มมส. เท่านั้น และสนใจอยากจะทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้เท่านั้นถึงจะมาตามหาฉบับสมบูรณ์"

"เนื้อหาที่ผิด คงสามารถแก้ไขเฉพาะเล่มที่อยู่ในมือ ส่วนเล่มที่ส่งไปแล้ว คงไม่มีเวลาที่จะตามไปแก้ไขได้ครบทุกเล่ม เลยจะเขียนบทความวิจัยลงตีพิมพ์ในวารสารจะดีกว่า เพราะวารสารจะถูกส่งไปที่ห้องสมุดหลายแห่ง แต่วิทยานิพนธ์ จะอยู่ที่ห้องสมุด มมส. และหอสมุดแห่งชาติเพียง 2 แห่งเท่านั้น.."

การส่งไปลงวารสาร จะต้องผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งจะทำให้เธอได้ตรวจสอบผลงานของตัวเองอีกครั้ง ว่าจะได้รับการยอมรับมากน้อยแค่ไหน

"คิดว่า การลงวารสาร จะมีโอกาสที่จะถูกนำไปใช้ประโยชน์ และเป็นที่รู้จักมากกว่า เพราะวิทยานิพนธ์นั้น เวลาสืบค้น จะต้องค้นคำที่ตรงกับชื่อเรื่องเท่านั้น แต่ในวารสาร ไม่ว่าจะค้นหัวเรื่องใดก็ตาม แค่หยิบวารสารฉบับนั้นมาเปิดดูสารบัญ ก็จะเจอเรื่องของเราด้วย"

หลายท่านส่งผลงานลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เพื่อการเผยแพร่ผลงาน แต่เธอคนนี้ นอกจากจุดประสงค์ที่เหมือนท่านอื่นๆแล้ว ยังเป็นการแก้ไขในส่วนที่ผิดพลาดในวิทยานิพนธ์ พร้อมกับความคิดในแง่ดีที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาดที่ได้ค้นพบนั้น....



หมายเลขบันทึก: 41110เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2006 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 18:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ่านแล้วไม่น่าเชื่อเลยครับว่าจะผ่านหูผ่านตาที่ปรึกษามาได้ครับ

เพราะความเข้มแข็งมาก ๆ ของวิชาการคือการตรวจ Format และคำผิดครับ

ปกติต้องอ่านต้องตรวจกันหลายสิบครั้งกว่าจะเข้าเล่มได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท