สัตว์น่ารู้ในป่าชายเลน


อย่าเสียงดังในป่าชายเลน
อย่าส่งเสียงดัง กุ้งกำลังดีดขัน ?          กุ้งดีดขัน มีลำตัวใสยาวประมาณ ๓ ถึง ๕ เซนติเมตร นัยน์ตาเล็ก หนวดยาว หัวโต ลำตัวเรียวเล็กลงไปจรดปลายหาง ขาเดินที่เรียกว่า ก้ามหนีบ ข้างขวามีสีเขียวอมฟ้าขนาดใหญ่กว่าข้างซ้ายดูคล้ายนักมวยสวมนวมข้างเดียว ก้ามหนีบใหญ่นี้เมื่อหนีบกันทำให้เกิดเสียงดัง แป๊ะ แป๊ะ โดยเฉพาะเมื่อนำกุ้งชนิดนี้ใส่ลงในขันตักน้ำแล้วแหย่ที่ก้ามหนีบกุ้งจะใช้ก้ามหนีบขบกันทำให้เกิดเสียง แป๊ะ แป๊ะ ดังกล่าว เด็ก ๆ ลูกหลานชาวประมง นำกุ้งชนิดนี้มาเป็นของเล่นพื้นบ้านเรียกว่า กุ้งดีดขัน หรือ กุ้งดีดนิ้ว          กุ้งดีดขัน กินสาหร่าย สัตว์น้ำขนาดเล็กและอินทรียวัตถุต่าง ๆ ในป่าชายเลนเป็นการช่วยทำลายซากพืชและใบไม้ชิ้นใหญ่ ๆ ให้เล็กลงถือเป็นการเร่งธาตุ อาหารให้หมุนเวียนเร็วขึ้นในป่าชายเลนอีกด้วย        เมื่อท่านเงียบสนิทดีแล้ว ลองฟังเสียง แป๊ะ แป๊ะ ... ของกุ้งดีดขันหน่อยเป็นไร ก้องป่าดีเหมือนกันนะ ปูก้ามดาบ          ปูก้ามดาบ มี ก้าม ” ( ซึ่งเป็นขาคู่แรก ) ก้ามขวาใหญ่กว่าก้ามซ้ายมาก ก้ามซ้ายใช้ปั้นเม็ดทรายที่ผสมอินทรีย์สารเน่าเปื่อยกิน ส่วนก้ามขวายกชูขึ้นลง คล้ายอาการ ดีดหรือสีไวโอลิน ชาวตะวันตกจึงนิยมเรียกปูชนิดนี้ว่า ปูนักสีไวโอลินส่วนคนไทยเรามองเห็นการยกก้ามขวาชูขึ้นลงของปูชนิดนี้ มีความหมายคล้ายพฤติกรรมของผู้แทนราษฎรที่ยกมือในสภา จึงเรียกปูชนิดนี้ว่าปูผู้แทน อาการยกก้ามขวาชูขึ้นลงของปูตัวผู้เป็นพฤติกรรม ทางเพศใช้ดึงดูดความสนใจจากปูตัวเมียตลอดจนใช้โบกแสดงอาณาเขตด้วย ปูก้ามดาบตัวเมียไม่มีก้ามขวาใหญ่อย่างปูตัวผู้ จึงใช้ก้ามทั้งซ้ายและขวาปั้น อาหารกินได้เร็วกว่าปูตัวผู้ถึงสองเท่า        ปูก้ามดาบ อาศัยอยู่ตามโคนต้นโกงกาง ต้นแสมหรือตามหาดโคลนชายทะเล กินสาหร่ายขนาดเล็กและซากพืชหรือสัตว์ที่เน่าเปื่อยปะปนมากับเม็ดทราย ในป่าชายเลน ขุดรูเล็ก ๆ ลึกลงไปในเลนเป็นการเติมอากาศ ให้แก่ชั้นดินเลน การลากเศษอาหารลงไปในรูทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนธาตุอาหารจากผิวดิน ลงสู่ชั้นดินเลนลึกเกิดประโยชน์แก่สัตว์หน้าดินอื่น ๆ เป็นอย่างมาก ปูก้ามดาบจึงควรได้รับสมญานามว่านักพัฒนาดินเลนและนักกำจัดขยะตัวยง ปูแสม         ปูแสม หรือปูดองกินกับส้มตำ มีกระดองเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก้ามมีสีแดงปนม่วง เบ้าตาตอนกลางกระดองตั้งอยู่ ในแนวตรงข้ามกับปากมี ลักษณะโค้งนูนปลายแหลมเห็นได้ชัดเจน ปูตัวผู้มีปล้องท้อง ปล้องรองสุดท้ายยาวกว่าปล้องสุดท้ายเล็กน้อยและกว้างกว่าปล้องปูตัวเมียประมาณ 2 เท่า ปูแสมมีนิสัยไต่ไปมาไม่อยู่นิ่งจึงได้รับสมญานามว่า ปูเลนจอมยุ่ง         โดยทั่วไป ปูแสมขุดรูอยู่ในป่าชายเลนที่มีต้นแสมทั่วไป บางครั้งอาจอาศัยอยู่ในรูร้างของปูดำ กินใบไม้และซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยในป่าชายเลนเป็นอาหาร ชาวประมงมักออกจับปูชนิดนี้ในเวลากลางคืนนำมาดองเกลือไว้นิยมทำเป็นส่วนประกอบของส้มตำปู        ข้อควรสังเกต ... เมื่อรับประทานอาหารที่มีปูแสมเป็นส่วนประกอบ โปรดระลึกอยู่เสมอว่า ปูแสมตัวนั้นอาจออกไปหากินบริเวณต้นตาตุ่ม ซึ่งมียางพิษ ที่เปลือกผสมอยู่ หากท่านรับประทานปูแสมตัวนั้นเข้าไปก็อาจเกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรงเพราะพิษยางจากเปลือกตาตุ่มนั่นเอง เพรียง เป็นสัตว์เกาะกรัง         เวลาไปเดินเล่นตามชายหาดเราจะพบว่าเราของชาวประมง หรือเรือเดินทะเลนั้นมีสัตว์ที่มีเปลือกแข็งคล้ายหอยติดมาตามใต้ท้องเรือหรือบริเวณลำตัวของเรือที่อยู่ใต้ระดับน้ำด้วยสิ่งเหล่านี้เราเรียกว่าตัวเพรียงตัวเพรียงเหล่านี้จัดว่าเป็นสัตว์ประเภทเกาะกรัง ประเภทเดียวกับหอยนางรม
หมายเลขบันทึก: 41108เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2006 13:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

นี่ถ้ามีภาพประกอบด้วยก็จะยิ่งชัดเจน...จนต้องบอกต่อ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท