ประชุมวิชาการประจำปี ของโรงพยาบาลชุมชนชายแดน


    การจัดการประชุมวิชาการประจำปี ของโรงพยาบาลชุมชน ที่ผู้เขียนพอจะรู้จักมักจะไม่ค่อยจัดกัน แต่โรงพยาบาลบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย จัดมาสองปีติดต่อกันแล้ว เป็นการจัดประชุมที่ยิ่งใหญ่ทุกครั้งด้วย
โรงพยาบาลแห่งนี้ เป็นโรงพยาบาลอำเภอที่อยู่ไกลที่สุดจากตัวจังหวัดและห่างจากโรงพยาบาลผู้เขียนเกือบสามร้อยกิโลเมตร
 
    ในปีนี้ ผู้เขียนมีโอกาสได้ไปร่วมการประชุมด้วย นอกจากไปร่วมประชุมวิชาการ ยังได้ร่วมทำบุญผ้าป่าเพื่อจัดสร้างอาคารให้ผู้ป่วย ซึ่งได้ยอดสูงถึง เจ็ดแสนกว่าบาท ทำให้เห็นว่า ชาวบ้านมีความศรัทธาโรงพยาบาลไม่น้อย เพราะเงินทำบุญส่วนใหญ่มาจากประชาชน ซึ่งอยู่ในชุมชนเล็กๆ
 
 
 
    นอกจากนั้น สิ่งที่ยอดฮิตในปัจจุบันได้แก่ การทำโรงทาน ซึ่งผู้เขียนก็ไปร่วมด้วยช่วยแจกทานด้วย
    เป็นอันว่า ภารกิจ ครั้งนี้ ประกอบด้วย การประชุมวิชาการ การทำบุญสร้างตึก และการทำโรงทาน ให้ผู้มาร่วมงานได้รับของแจกทาน
 
    ในการประชุมครั้งนี้ นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และอดีตนายแพทย์สาธารณสุขของพวกเรา ให้เกียรติมาเปิดงาน และบรรยายวิชาการให้เราฟังซึ่งมีเรื่องที่น่าสนใจ ในเรื่องของการ รณรงค์งดสูบบุหรี่ แต่ผู้ขายก็ยังคงมีรูปแบบการนำเสนอขายนิโคตินให้ผู้บริโภคต่อไป ซึ่งการดูแลผู้ป่วยมะเร็งก็จะยังไม่สิ้นสุด
 
 
 
   ในงานนี้ผู้เขียนได้เจอคนทำงานคุณภาพโรงพยาบาลหลายคน ท่านหนึ่งได้แก่ อาจารย์แม่ต้อย เจ้าของโครงการ SHA ที่ทำให้การทำงานพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลตามมาตรฐานโรงพยาบาลมีความผ่อนคลายและลดความเครียดลง วันนี้อาจารย์มาบรรยาย เรื่องของสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในมาตรฐานโรงพยาบาล อาจารย์แนะนำได้ดี ทำให้ผู้เขียนเห็นว่า สิ่งแวดล้อมน่าจะรวมถึงบรรยากาศการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการให้บริการแก่ผู้ป่วยด้วย ไม่เฉพาะเรื่องของสวนหย่อม น้ำตก น้ำพุ และแสง สี เสียง จากธรรมชาติ เท่านั้น  
 
  ผู้เขียนไม่ได้ร่วมงานจนเสร็จสิ้น 3 วันเพราะต้องนำคณะโรงทานกลับก่อน  เสียดายอยู่เหมือนกันว่า น่าจะได้รับฟังอะไรที่ต้องพัฒนาในโรงพยาบาลชุมชนกันบ้าง เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางไกลไปรับการรักษาในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่อยู่ไกลกว่า
 
    ผู้เขียนเห็นว่า การเข้าถึงความรู้ไม่ได้อยู่ที่ความเป็นชุมชนขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ แต่อยู่ที่ว่า เราจะสร้างสรรค์ให้ชาวเราเข้าถึงความรู้ได้ง่ายอย่างไร เพราะฉะนั้น ความห่างไกลไม่ได้เป็นอุปสรรคอ้นใดเลย แต่กลับเป็นเหมือนแรงผลักให้เราพัฒนาองค์ความรู้อย่างไม่หยุดยั้ง
 
 
หมายเลขบันทึก: 410934เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2010 19:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 18:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับป้าแดง

เห็นภาพแม่ต้อยใน fb ของป้าแดง

เพิ่งถึงบางอ้อว่างานนี้นี่เอง....

สวัสดีค่ะ

เห็นด้วยนะคะ พอมองออกว่าป้าแดงสรุปไว้อย่างชัดเจน

 การเข้าถึงความรู้ไม่ได้อยู่ที่ความเป็นชุมชนขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ แต่อยู่ที่ว่า เราจะสร้างสรรค์ให้ชาวเราเข้าถึงความรู้ได้ง่ายอย่างไร เพราะฉะนั้น ความห่างไกลไม่ได้เป็นอุปสรรคอ้นใดเลย แต่กลับเป็นเหมือนแรงผลักให้เราพัฒนาองค์ความรู้อย่างไม่หยุดยั้ง

ขอเป็นกำลังใจค่ะ

อ่านบันทึกนี้แล้วรู้สึก..ภูมิใจแทนคนทำงานนะคะ

กับศรัทธาที่ชาวบ้านมีให้

สวัสดี ค่ะ ดิฉัน เป็นอีกคนหนึ่ง นะคะ ที่ให้ความสนใจ โรงพยาบาล แห่งนี้ มาโดยตลอด ดิฉัน เห็นด้วย ค่ะ " ที่ว่าความห่างไกล ไม่ได้เป็นอุปสรรคใดเลย แต่กลับเป็นแรงผลักดัน ให้เราพัฒนาองค์ความรู้ อย่างไม่หยุดยั้ง " ดิฉันภูมิใจ แทนเจ้าหน้าท่ี ของโรงพยาบาล และภูมิใจ แทน องค์กรของชุมชน นะคะ ขอให้ปฎิบัติต่อไป นะคะ ....ดิฉัน เป็นกำลังใจให้ ค่ะ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท