ตามล่าหา Tacit ที่ NKM5 : ความท้าทายของการจัดกระบวนการเรียนรู้


ในงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่ 5 ได้มีโอกาสเข้าไปร่วมจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้เข้าร่วม เพื่อทำให้ผู้เข้าร่วมรู้จักและเข้าใจถึง ความรู้ที่อยู่ในตัวคน หรือ Tacit Knowledge โดยเป็นการจัดกระบวนการในวันจันทร์ที่ 23 พ.ย. 2553 ช่วงแรกเวลา 13.30 – 14.15 และ 14.45 – 16.30 น. วางแผนไว้ว่าจะเป็นการจัดกระบวนการ 2 รอบให้กับผู้เข้าร่วมที่จะเข้ามาเรียนรู้ใน Zone กิจกรรมของ ทะเลTacit

ความน่าสนใจของการจัดการบวนการครั้งนี้คือผู้ที่อออกแบบและจัดกระบวนการจะรู้เพียงว่า จะมีผู้เข้าร่วมประมาณเท่าไร น่าจะเป็นกลุ่มไหน และสิ่งสำคัญคือ กิจกรรมที่ออกแบบไว้ จะไปเหมือนหรือซ้ำกับผู้อื่น หรือเราจะไปช่วยเสริมของท่านอื่น เพราะมีการผลัดเปลี่ยนวิทยากร มาจัดกิจกรรรมใน Zone นี้หลายท่าน ล้วนแต่เป็นความกังวลใจว่าสิ่งที่คิดไว้อาจไม่เป็นไปตามแผนทั้งหมด

สิ่งที่เราจัดการตนเองได้ก่อนคือ ไปสังเกตกระบวนการของวิทยากรในช่วงก่อน และดูสถานที่ ตรวจเช็คอุปกรณ์ต่างๆ ให้เรียบร้อย

วางแผนไว้จะมีกิจกรรมย่อย 3 กิจกรรมในฐาน คือ

กิจกรรมที่ 1 เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์ รวมทั้งแนวคิดสำคัญของการจัดการความรู้ โดยให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้จากบัตรคำที่จัดไว้ให้

กิจกรรมที่ 2 เพื่อให้เกิดความตระหนักและรู้ถึง Tacit Knowledge ที่มีอยู่ในตนเองและความสำคัญของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อที่ช่วยในการค้นหา Tacit Knowledge เป็นการบวนการที่จะชี้ให้เห็นว่าเราก็มี Tacit ในตัว แต่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะช่วยทำให้เราได้เห็น หรือ ได้รู้ถึง Tacit มากขึ้น

กิจกรรมที่ 3 เพื่อย้ำให้เห็นว่า Tacit Knowledge เกิดจากการปฏิบัติ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้สะท้อนการเรียนรู้จากการหย่อนเหรียญลงแก้วในถังน้ำ

ทั้ง 3 กิจกรรมออกแบบสำหรับผู้เข้าร่วมประมาณ 25-30 คน รวมทั้งเมื่อมีโอกาสที่จะได้ทำกิจกรรม 2 รอบ จึงวางแผนที่จะสลับลำดับของการจัดกิจกรรมรวมทั้งขั้นตอนการทำกิจกรรม เพื่อดูว่าแบบไหนผู้เข้าร่วมจะเรียนรู้ได้มากกว่ากัน

พอใกล้ถึงช่วงเวลาที่จะต้องจัดกิจกรรมก็มาเตรียมสถานที่ และจัดอุปกรณ์ที่ต้องใช้ให้พร้อม สิ่งที่ยังขาดหรือจำเป็นต้องเตรียมหน้างานก็รีบจัดการให้ครบก่อนเริ่ม เห็นว่าช่วงเช้ามีผู้สนใจเยอะและพลาดหวังจากการไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมอยู่จำนวนหนึ่ง กะว่าถ้ามาเกินกว่าที่กำหนดก็อาจจะรับเพิ่มได้อีกเล็กน้อย(คิดในใจ) พอเอาเข้าจริงดูจะน้อยกว่าที่คาดไว้ครับ

ถึงเวลาก็ดำเนินกิจกรรมตามที่วางไว้ เริ่มจาก รับผู้เข้าร่วมกิจกรรม ชี้แจงกิจกรรมในฐาน แล้วก็เริ่มดำเนินการไล่ไปตั้งแต่กิจกรรม 1 – 2 – 3 จบรอบแรกก็ AAR กับตนเองทันที ว่าถึงแม้จะพาผู้เข้าร่วมไปถึงคำตอบที่ตั้งไว้ แต่กระบวนการไม่สนุก ที่บอกว่าไม่สนุกเพราะผู้เข้าร่วมไม่ค่อยได้ร่วมแลกเปลี่ยน ส่วนตัวผมไม่ค่อยชอบการเรียนรู้ที่เราผูกขาดการเป็นผู้รู้ฝ่ายเดียว ผมว่าไม่สนุก เพราะผมเองจะได้เรียนรู้น้อยจากผู้เข้าร่วม

พอถึงรอบที่ 2 ผมก็ปรับกระบวนการตามที่ คุณอุ (สคส.) เสนอไว้ตั้งแต่ช่วงการวางแผนก่อนเริ่มงาน ผมบอกคุณอุไว้ว่า อยากทดลองสลับลำดับการทำกิจกรรม ว่าแบบไหนจะดีกว่า เนื่องจากเคยใช้กิจกรรมลักษณะนี้สอนนักศึกษาจะใช้กิจกรรมที่ 1 ปูพื้นก่อน เหมือนให้ทฤษฎีก่อน (จริงๆก็ไม่ได้ให้นะครับ เป็นการจัดกิจกรรมที่ให้นักศึกษาพยายามหาคำตอบเอง ชวนคุยไปเรื่อยๆ เพื่อให้เกิดความรู้ จากการแลกเปลี่ยนกัน)

ในรอบ2 นี้ปรับเป็นเริ่มจากกิจกรรมที่ 2 มา 3 และจบด้วย 1 และเพิ่มกิจกรรมอุ่นเครื่องที่ให้ผู้เข้าร่วมมีการพูดคุยกันเล็กน้อยก่อนเริ่มกิจกรรม (จริงๆรอบแรกก็อยากทำแต่กลัวจะบริหารเวลาไม่ได้เลยตัดไป) และพยายามให้มีการสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้หลังจากการทำกิจกรรมย่อยเสร็จในทันที ไม่รวมเป็นครั้งเดียวเหมือนในรอบแรก และกิจกรรมที่ 1 ก็ปรับมาเป็นการทำร่วมกันทั้งหมดไม่แบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่มเหมือนรอบแรก เพื่อให้มีการพูดคุยและซักถามมากขึ้น ส่วนตัวผมพอใจรอบสองมากกว่า เนื่องด้วยมีผู้เข้าร่วมเหลือน้อย ประมาณ 19 ท่าน และผมเองบริหารเวลาในการจัดกิจกรรมในแต่ละกิจกรรมย่อยในฐานได้ดีมากขึ้น และที่สำคัญมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันมากขึ้นระหว่างผู้เข้าร่วมด้วยกัน

ถึงแม้ว่าเราจะวางแผนมาอย่างไร การปรับกระบวนการก็มีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้มากขึ้น เป็น Tacit ที่ผมตามล่ามาได้จากการมาร่วมงาน NKM5 การจัดกิจกรรมที่คาดเดาไม่ได้ลักษณะนี้สนุกดี ท้าทายตนเองได้ดีมาก เพราะถ้าเป็นการจัดกระบวนการให้นักศึกษาการปรับเปลี่ยนและความท้าทายจะน้อยกว่านี้มาก เป็นอีกความสนุกที่ได้จัดกระบวนการเรียนรู้....ขอบคุณ สคส.ที่ให้โอกาสดีดี มาตามล่าหา Tacit ด้วยตนเอง

หมายเลขบันทึก: 410019เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2010 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 19:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ตามมาเรียนรู้ จาก Blog ครับ

ขอบคุณน้องมณฑลมากครับ ที่มอบ DVD ให้ผมในงาน KM5

ดูจากหน้าปก น่าสนใจมาก หากมีเรื่องราวดีๆจากการชมภาพยนตร์เรื่องนี้

ผมจะนำมาเล่าสู่กันฟังนะครับ...

ขอบคุณอีกครั้ง

ขอบคุณ อ.เอ็ม มากๆ เลยนะคะ... สคส. ได้กิจกรรมใหม่ๆ ไปปรับใช้เพียบเลย จากงานนี้

ขอบคุณค่ะ..การสร้างการมีส่วนร่วมเป็นสิ่งที่สำคัญมากนะคะ..

เป็นกิจกรรมที่ดีค่ะ คนที่เข้าร่วมกิจกรรม เล่าให้ฟังอ่ะค่ะ

km5สุดยอดวันแรกอาจวุ่นวายไปบ้างแต่ก็ได้รับตวามรู้ทุกฐานที่เข้าไปขอบคุณทุกท่านที่ทำให้เกิดงานนี้

ตามมาเเชร์เพิ่มครับ:"การจัดการเรียนรู้ในเเปลงนา เพื่อการพัฒนาประเทศ"

 

มองย้อนกลับไปถึง "แปลงนาข้าวสู่การพัฒนาประเทศ" ครับ ...ตามประสาคนคิดมาก

ญี่ปุ่นเป็นประเทศอุตสาหกรรม และการเกษตรที่ก้าวหน้า ส่วนหนึ่งก็คือการพัฒนามาจาก ความมีระเบียบวินัย ของคนในชาติ ที่ฝึกฝนกันตั้งแต่เด็กครับ

รวมถึงการจัดระเบียบการปลูกข้าว...เค้าสอน เด็กๆ กันตั้งแต่ในเเปลงนา

ประเทศไทย ทุกคนเติบโตกันมาด้วยข้าว แต่เด็กรุ่นใหม่ ทำนา ไม่เป็น แต่กินเป็น  ไร้ระเบียบกันตั้งแต่เเปลงนา โตขึ้นมา จะมาจัดระเบียบก็ไม่ทัน ครับ

เรามีพื้นที่การเรียนรู้ ในนาข้าว "ถึง 60 ล้านไร่" เรามาสร้างพื้นที่การเรียนรู้ให้เด็กๆ ร่วมกันดี มั๊ย ครับ ดีกว่าโตมาแต่ตำรา แต่ปลูกข้าวไม่ได้ เข้าแถวไม่เป็น

      "สร้างเด็กรุ่นใหม่ พร้อมกับสร้างคุณค่าข้าวไทยควบคู่กัน"

คนแก่ขึ้บ่น ครับ จากต้นกล้า ...

  • อ่านกระบวนการจัดกิจกรรมของอาจารย์น่าจะได้เรียนรู้อะไร ๆ มากมาย 
  • นึกเสียดายค่ะ  ที่พลาดโอกาสเข้าเรียนรู้
  • ไว้โอกาสหน้านะคะ
  • อาจารย์ครับ
  • วันที่ 16-17 สค
  • จะตามไปเรียนรู้ด้วยนะครับ

น้องเอ็มครับ ไม่เขียนบันทึกใหม่บ้างหรือครับ....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท