เชิญชวนbrain strom ออกแบบหลักสูตร


หลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมรูปแบบใหม่

เชิญชวน brain strom  ออกแบบหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมรูปแบบใหม่

หลักสูตร hot hit ด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยน่าจะเป็น การจัดการสิ่งแวดล้อม เปิดกันแทบทุกมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปริญญาตรี จนถึงปริญญาเอก วิชา เนื้อหาที่เรียนก็ไม่แตกต่างกันมากนัก จนบัดนี้เราคงมีนักการจัดการสิ่งแวดล้อมมากมาย (รวมไปถึงต่างประเทศด้วย) แต่เหตุไฉนปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงได้เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย  หลักสูตรสร้างคน  คนที่จบมาทำอะไรกันบ้าง ??

อย่าเพิ่งเข้าใจผิด  ที่ตั้งคำถามนี้เพราะกำลังคิดจะสร้างหลักสูตรใหม่  หลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขดังนี้คือ

 1.หลักสูตรนี้ให้ใช้อุปกรณ์ในห้องปฎิบัติการน้อยที่สุด (เพราะปัจจุบันเปิดสอนหลักสูตรมลพิษสิ่งแวดล้อมอยู่ ไม่มีอุปกรณ์เฉพาะทางให้นศ.ได้ฝึกเลย เศร้าและหดหู่แทนเด็กมาก)

2.ใช้ธรรมชาติแวดล้อมเป็นห้องเรียนมากที่สุด

3.ใช้ปัจจัยของท้องถิ่นเป็นที่ฝึกทักษะ

4.ไม่มีเนื้อหาที่เข้มข้นมากนักเพราะนักศึกษาส่วนใหญ่ค่อนข้างเรียนอ่อน (พื้นฐานวิทยาศาสตร์ไม่แข็งแรง)

ด้วยประสบการณ์ของหลายๆท่านในสังคมแห่งนี้ โปรดช่วยกันเสนอแนะ ให้แนวคิดเพื่อพัฒนา และเป็นวิทยาทานเถิด

 

หมายเลขบันทึก: 409933เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2010 19:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 16:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

<1> "...จนบัดนี้เราคงมีนักการจัดการสิ่งแวดล้อมมากมาย (รวมไปถึงต่างประเทศด้วย) แต่เหตุไฉนปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงได้เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย หลักสูตรสร้างคน คนที่จบมาทำอะไรกันบ้าง ??..."

This is another example of "work will expand to fill the time and the budget available". When there are more "cooks" in a kitchen, there are more issues to resolve.

There are a number of "development projects" that must have an 'environmental impact assessment' (to ensure minimum degradation of our environment or to get approval). There are many such projects from Tambol to National and International levels. There are needs to protect natural resources, biodiversity, human livelihoods, and 'faces' or reputation (and to earn or save money). Needless to say, there are many issues and aspects of environment management. We all know how important is our environment for life!

<2> There are many different paths in managing environment: technological paths (chemicals control, emission controls, wastes management, ...); cultural paths (modifying behaviours (rubbish), design for re-usability, local and backyard greening, ...); political paths (development zoning/curtailing, environmental project funding/support, ...); ...

There are many ways that a multi-disciplinary science and culture of environmental studies can be 'mixed' for any one 'purpose'. We don't know yet 'which formula' work best for 'a purpose'. This brings up another possibility for environmental studies -- a meta study of environmental intervention and assessment measures. In analogy: this is a study of "a linear programming of environmental quantities and methods."

Thanks so much ka. I'm glad to hearing this response. I'm newbie in here, it would be nice if i can find more friends whose loving about environment and share information.

ชอบข้อ 2 และ 3 ครับ ถ้าอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ลงพื้นที่จะทราบว่าในท้องถิ่นมีภูมิปัญญาชาวบ้าน มีเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่น่าสนใจมาก มาเชียร์อาจารย์ครับ

ขอบคุณค่ะ สำหรับการ come to cheer แต่อยากได้คำแนะนำ ข้อคิดดีๆ ประสบการณ์ที่กว้างของอาจารย์เช่นกันค่ะ เพราะไม่ได้ออกไปยังที่ต่างๆมากนัก แต่ก็โชคดีที่ได้มีโอกาสแสวงหาจากประสบกาณ์ของหลายๆคนในนี้

  • ต้องถามก่อนว่าก่อนที่อาจารย์จะไปอยู่ต่างประเทศ
  • อาจารย์สอนที่ไหนครับ
  • เพราะข้อนี้จัดได้ง่ายมาก
  • ใช้ธรรมชาติแวดล้อมเป็นห้องเรียนมากที่สุด
  • ถ้ามหาวิทยาลัยอาจารย์อยู่ใกล้แหล่งเรียนรู้
  • หรือครูมีใจที่จะพานักศึกษาหรือนิสิตออกไปเรียนรู้นอกห้องเรียนแบบนี้
  • http://gotoknow.org/blog/yahoo/257196
  • http://gotoknow.org/blog/yahoo/257345
  • หรือแบบที่ชาวต่างประเทศมาเรียนที่ไทย
  • http://gotoknow.org/blog/yahoo/123709
  • http://gotoknow.org/blog/yahoo/124011

 การจัดการเรียนรู้ในเเปลงนา เพื่อการพัฒนาประเทศ"

1.ให้ "ต้นข้าว" สามารถใช้ปัจจัยการผลิตจากธรรมชาติ (แสงเเดด ดิน น้ำ อากาศ สารอาหาร ) มาช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

2.การจัดการ พัฒนาคน พัฒนาเด็กให้รู้จักระเบียบวินัย กันตั้งแต่เเปลงนา  คนมีคุณภาพ มีการศึกษา เป็น "ทุน" ที่ได้เปรียบของญี่ปุ่น

 

3.ตามมาด้วยการพัฒนาเครื่องจักร เพื่อรองรับ อายุที่มากขึ้นของคน ประชากรโลก "ของเกษตรกร ญี่ปุ่น(สังคมญี่ปุ่นเข้าสู่ยุค คนชรามานานแล้ว)"

 

4.ญี่ปุ่นสร้างรายได้จากการส่งออก เทคโนโลยี เครื่องจักร รถยนต์ เครื่องจักรกลการเกษตร  ให้ผู้บริโภคในประเทศต่างๆ สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น มีความสะดวกสะบายและปลอดภัย มากขึ้น 

 

 

ญี่ปุ่นเป็นประเทศอุตสาหกรรม และการเกษตรที่ก้าวหน้า ส่วนหนึ่งก็คือการพัฒนามาจาก ความมีระเบียบวินัย ของคนในชาติ ที่ฝึกฝนกันตั้งแต่เด็กครับ

รวมถึงการจัดระเบียบการปลูกข้าว...เค้าสอน เด็กๆ กันตั้งแต่ในเเปลงนา ครับ

 "ดินดีหญ้าต้องขึ้น"  อยู่แล้วครับ 

 เมื่อหญ้าขึ้น นอกแถวนอกกอข้าว ก็สามารถจัดการได้ง่าย

ไม่ต้องใช้ยา กำจัดวัชพืช ยาฆ่าหญ้า ที่เป็นอันตรายต่อธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อม = อาหารมีความปลอดภัยตั้งแต่เเปลงนา

 "ผมแก่แล้ว แต่ก็ยังทำนา ได้สบายครับ ส่วนลูกหลานไปทำงานในเมืองใหญ่"

อายุโดยเฉลี่ยเกษตรกร ญี่ปุ่น = 60-70 ปี ยังแข็งแรงนะครับ

 

            

ประเทศไทย ทุกคนเติบโตกันมาด้วยข้าว แต่เด็กรุ่นใหม่ ทำนาไม่ได้ เลอะโคลนไม่เป็น แต่กินเป็น กินเเบบไม่รู้คุณค่า

 

ไร้ระเบียบกันตั้งแต่เเปลงนา โตขึ้นมา จะมาจัดระเบียบก็ไม่ทัน ครับ มันสายเกินไป

อย่าปล่อยให้ "การปลูกข้าว" เป็นหน้าที่ของผู้ใหญ่ชาวนาไทยครับ

เรามีพื้นที่การเรียนรู้ ในนาข้าว "ถึง 60 ล้านไร่" เรามาสร้างพื้นที่การเรียนรู้ให้เด็กๆ ร่วมกันดี มั๊ย ครับ ดีกว่าสร้างให้ เด็กโตมาในตำรา

 แต่ปลูกข้าวไม่ได้ เข้าแถวไม่เป็น

"สร้างเด็กรุ่นใหม่มีระเบียบวินัย

 พร้อมกับสร้างคุณค่าข้าวไทยควบคู่กัน"

ข้อมูลเพิ่มเติม ครับ

1.Aging Society จะเกิดอะไรขึ้น? ถ้ายังเป็นเช่นนี้ต่อไป เมื่อ "อายุ ไม่เข้าใครออกใคร เกษตรกรต้องเตรียมตัวให้พร้อม ก่อนแก่"

http://gotoknow.org/blog/supersup300/407780

2.ระบบการเพิ่มผลผลิตข้าว S.R.I “Achieving More with Less: A new way of rice cultivation" “ผลิตให้มากขึ้นด้วยทรัพยากรที่น้อยลง: หนทางใหม่ในการเพาะปลูกข้าว”

http://gotoknow.org/blog/supersup300/405066

3.ทางเลือกในการผลิตข้าว "เมื่อการทำนา คือ การลงทุน ที่ไม่รู้ผลตอบแทน"

http://gotoknow.org/blog/supersup300/404456

4.การเลี้ยงเป็ดในนาข้าว ก้าวสู่เกษตรอินทรีย์ ในไต้หวัน ญี่ปุ่น

http://gotoknow.org/blog/supersup300/404338

5.Q:ประสิทธิภาพการจัดการเเปลงนาหลังการเก็บเกี่ยว อยู่ที่ไหน

A:อยู่ที่ "ทัศนคติ" ที่มีต่อฟางข้าว และเพื่อนร่วมโลก

http://gotoknow.org/blog/supersup300/408749

เเลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ ..

สวัสดีครับ

ฝากคิดถึงสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการต่างๆ โรงงาน โรงพยาบาล ด้วยนะครับ

ขอบคุณค่ะ คุณต้นกล้า เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาได้เดินทางโดยรถส่วนตัวขับไปเรื่อยๆ มุ่งสู่ปัตตานี ผ่าน นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา มองสองข้างทางก็สะท้อนใจ จำได้ว่าตอนเด็ก-วัยรุ่น ผ่านเส้นทางเหล่านี้สองข้างทางจะเห็นต้นยางพารา และทุ่งนาข้าว พืชเศรษฐกิจระดับต้นๆของไทยและเอเซียในอดีต ปัจจุบันลดลงอย่างน่าเป็นห่วง ปรับไปเป็นสวนปาล์ม และนากุ้ง มาแทน

ขอบคุณค่ะ รศ. เพชรากร หาญพานิชย์

อันที่จริงแล้วสถาบันการศึกษาไม่ว่าในระดับใดต้องมีนโยบายและแสดงบทบาทในการที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลรับผิดชอบสิ่งแวดล้อม และโดยเฉพาะสถาบันที่เปิดการสอนในสาขาสิ่งแวดล้อม ก็ยิ่งต้องมีส่วนมากขึ้นเพราะเราต้องปลูกฝังสำนึกความเอาใจใส่และรักสิ่งแวดล้อมในตัวนักศึกษา ตลอดจนต้องมีจิตสาธารณะ จริงใจที่จะช่วยกันเอาใจใส่สวล. ตัว meepole เองและคณะทำงานได้เคยใช้ความพยายามในระดับที่ควรทำตามขั้นตอน ในการเสนอแนวคิดและโครงการบริหารและจัดการขยะในมหาวิทยาลัยและชุมชนรอบมหาวิทยาลัย เมื่อหลายปีที่ผ่านมา แต่ไม่ได้รับความสนใจหรือตอบรับหรือการสนับสนุนใดๆ ทั้งๆที่ได้เสนอปัญหาให้เห็นแล้ว แต่สิ่งที่เป็นการแสดงออกของสถาบันคือการจัดซื้อถังขยะ แล้วก็เขียนไว้ที่ถังว่าสำหรับขยะเปียก-แห้ง สุดท้ายทุกถังก็มีขยะเหมือนกัน ต่อมาจัดซื้ออีกถังขยะที่มีสีแตกต่างแต่ก็ใส่ขยะเหมือนกันอีก ปีล่าสุดจัดซื้อรถขนขยะเพิ่ม

 นี่เป็นโลกจำลองใบเล็กในการแก้ปัญหาของหลายๆหน่วยงานในประเทศ คือแก้ที่ปลายเหตุ และ/หรือเป็นคนละเหตุกับที่ควรจะแก้ ปัญหาที่แท้จริงจึงไม่ถูกแก้ แต่ได้จ่ายงบไปแล้วจ่ายแล้วจ่ายอีก ปัญหาก็ยังเป็นเดิมๆ เรื่องเช่นนี้ meepole ได้นำไปเป็น case study ในการเรียนการสอน เพื่อว่าสักวันหนึ่งเขาออกไปและมีโอกาสเป็นผู้บริหารหรือระดับปฏิบัติการก็ตามจะได้ไม่ทำเช่นนี้อีก ให้ดูเยี่ยง แล้วอย่าเอาแบบอย่าง

 ดังนั้นปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ว่าระดับใหน หากไม่ถูกแก้ด้วยสำนึกจิตสาธารณะที่แท้จริงก็ไม่มีวันแก้ได้ ทั้งๆที่หลายๆปัญหาแก้ไม่ยากเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท