จัดกิจกรรมกลุ่มพลังชีวิต...ไม่ง่ายอย่างที่คิด


ต่อยอดจาก http://gotoknow.org/blog/otpop/404448 พร้อมประสบการณ์จากการเป็นวิทยากรให้ทีมสหวิชาชีพสถาบันจิตเวชศาสตร์ รพ. สมเด็จเจ้าพระยา กับการสอนปฏิบัติการนักศึกษากิจกรรมบำบัด ม.มหิดล ในอาทิตย์ที่ผ่านมา

ต่อยอดจาก http://gotoknow.org/blog/otpop/404448 พร้อมประสบการณ์จากการเป็นวิทยากรให้ทีมสหวิชาชีพสถาบันจิตเวชศาสตร์ รพ. สมเด็จเจ้าพระยา กับการสอนปฏิบัติการนักศึกษากิจกรรมบำบัด ม.มหิดล ในอาทิตย์ที่ผ่านมา

แม้ว่าผมจะได้ฝึกทักษะการจัดกลุ่มกิจกรรมบำบัดแบบพลวัติมาหลายปี ในฐานะนักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมคนแรกและคนเดียวที่ศึกษาทาง Master of Clinical Science (Mental Health) จากออสเตรเลีย ก่อนที่จะจบ ดร. ทางกิจกรรมบำบัดเชี่ยวชาญการวิจัยพัฒนากระบวนการจัดการความล้าและการใช้เวลาว่างหลังโรคเรื้อรัง

แต่เมื่อค้นคว้าเนื้อหาเพื่อถ่ายทอดทีมสหวิชาชีพทางสุขภาพจิต ที่มีประสบการณ์การจัดกลุ่มกิจกรรมให้ผู้ป่วยโรคจิตเภทเรื้อรัง และเพื่อสอนนักศึกษากิจกรรมบำบัด ม.มหิดล รุ่นแรก ที่เรียนรู้หลักการกิจกรรมบำบัดและการฝึกกิจกรรมการรักษามาหนึ่งเทอมแล้วนั้น

ผมพบความท้าทายและความเข้าใจแล้วว่า "การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงแนวทางและการประยุกต์กิจกรรมบำบัดแบบกลุ่มพลวัตินั้นไม่ง่ายอย่างที่ผมคิด...ผมจึงปรับความคาดหวังให้ยืดหยุ่นและพยายามสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนเห็นความสำคัญและเข้าใจโดยการสังเกต "พลังชีวิตที่สร้างได้จากการมีส่วนร่วมทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตแบบกลุ่มพลวัติ" ทำให้ผมได้คิดสร้างแบบสังเกตและประเมินพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่มในหลายบทบาท ได้แก่ ผู้นำกลุ่ม ผู้ช่วยนำกลุ่ม ผู้เข้าร่วมกลุ่ม และผู้กระตุ้นพลังกลุ่ม/กระบวนกร และคาดว่าจะวิเคราะห์ข้อมูลเชิงวิจัยทางคลินิกต่อไป

เหตุผลอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้การฝึกจัดกลุ่มกิจกรรมทั่วไป ไม่มีการขับเคลื่อนสู่พลวัติของกลุ่มที่มีพลังชีวิตในสถาบันข้างต้น เพราะ การจัดกลุ่มแยกกันทำเฉพาะวิชาชีพหนึ่ง ไม่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบทีมสหวิชาชีพในการวางแผนจัดกลุ่มกิจกรรมแบบพลวัติร่วมกัน และการจัดกลุ่มมุ่งเน้นขั้นตอนและรายละเอียดของกิจกรรม (Activity) มากเกินไป ซึ่งมี/ไม่มีเป้าหมายชัดเจน ไม่มีกระบวนการรับรู้และคิดเข้าใจระหว่างผู้บำบัดและผู้มีส่วนร่วมในกลุ่ม ตลอดจนไม่มีการปรับระดับความสุขความสามารถทางจิตสังคมในแต่ละครั้งของการจัดกลุ่มกิจกรรม ทำให้มีความซ้ำซากของกิจกรรมและไม่เชื่อมโยงกับความสุขความสามารถในการประกอบทักษะชีวิตหรือทักษะการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต (Occupation)

ในนักศึกษากิจกรรมบำบัดนั้น พวกเขาอาจฟังภาษาวิชาการของผมได้พอใช้ และอาจไม่มีเวลาตั้งใจอ่านบทเรียนที่ผมได้ให้ไว้อย่างไตร่ตรอง ทำให้คิดกิจกรรมต่างๆ น่าสนใจแต่ขาดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน 20 นาทีถึงคุณค่าของสมาชิกกลุ่ม คุณค่าของกิจกรรมการดำเนินชีวิต และคุณค่าของขั้นตอน/วิธีการทำกิจกรรมกลุ่มใน 30 นาที อาจารย์รุ่นน้องผมกับผมได้แสดงความคิดเห็นแก่นักศึกษาแต่ละกลุ่ม และมีการมอบหมายงานให้แต่ละคนสังเกตการณ์กลุ่มตนเองและกลุ่มเพื่อน แล้วส่งบันทึกวางแผนและแสดงความคิดถึงความแตกต่างระหว่าง Activity & Occupation ที่สำคัญการเรียนรู้ของนักศึกษาน่าจะระบุข้อควรพัฒนาสู่มืออาชีพนักกิจกรรมบำบัดได้บ้าง

ผมเลยขอสรุปบทเรียนดังนี้ในหัวข้อ "สร้างกลุ่มกิจกรรม...พลังชีวิต"

ทบทวนการคัดเลือกสมาชิกเข้ากลุ่มกิจกรรมตามระดับความสามารถทางสังคม (เฉลี่ยจากผู้บำบัดมากกว่า 1 คน)

ระดับกลุ่มคู่ขนาน 1 คะแนน เมื่อผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มได้ แต่สับสน เงียบเฉย พูดมาก ไม่อยู่นิ่ง และไม่สนใจเข้าร่วมกลุ่มด้วยตนเอง (กิจกรรมที่กำหนดรูปแบบ)

ระดับกลุ่มผลงาน 2 คะแนน เมื่อผู้ป่วยทำกิจกรรมของตนเองในกลุ่ม แต่อึดอัด เขินอายที่จะพูดคุยและทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น (กิจกรรมหนึ่งชิ้นในเวลาอันสั้น)

ระดับกลุ่มช่วยกันคิดช่วยกันทำ 3 คะแนน เมื่อผู้ป่วยทำกิจกรรมกับผู้อื่นได้ แต่ไม่รู้จักแสดงความคิดเห็นของตนเอง ไม่รู้จักฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ตั้งเป้าหมายในการทำกิจกรรม (กิจกรรมที่ใช้เวลานานและทุกคนสนใจทำร่วมกัน)

ระดับกลุ่มอารมณ์ร่วมใจ 4 คะแนน เมื่อผู้ป่วยทำกิจกรรมกับผู้อื่นได้ แต่ไม่เปิดเผยตนเอง   ไม่แลกเปลี่ยนความรู้สึกบวกลบกับผู้อื่น (กิจกรรมที่ทุกคนสนใจและมีพื้นฐานคล้ายกัน เน้นพึงพอใจมากกว่าผลงาน)

ระดับกลุ่มวุฒิภาวะ 5 คะแนน เมื่อผู้ป่วยทำกิจกรรมกับผู้อื่นได้ ช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้ แต่มีปัญหาการวางตัวแสดงบทบาทที่เหมาะสม (กิจกรรมต่างวัย ต่างบทบาท เกิดความสำเร็จสมบูรณ์ได้) ซึ่งแยกรายละเอียดเป็น

  • แบบจับคู่สลับรู้คิด 5+1 คะแนน
  • แบบจับกลุ่มสลับรู้คิด 5+2 คะแนน
  • ถ้ามีผลงานเป็นรูปธรรมจากกลุ่ม คิด 5+3 คะแนน
  • แบบจับกลุ่มรู้คิดเป็นทีม 5+4 คะแนน
  • แบบรู้คิดผนึกพลังสามัคคี 5+5 คะแนน

เท่าที่สังเกตการฝึกปฏิบัติของทีมสหวิชาชีพ พบว่า มีความสามารถปรับกลุ่มแบบพลวัติได้ตั้งแต่กลุ่มคู่ขนานจนถึงกลุ่มวุฒิภาวะระดับต้น ซึ่งต้องมีกระบวนการวิจัยแบบ R2R2R เพิ่มเติมพร้อมทำ KM-KT มากขึ้นเพื่อเพิ่มสุขภาวะผู้นำและระดับวุฒิภาวะมากขึ้น ส่วนนักศึกษากิจกรรมบำบัดฝึกจัดกลุ่มแบบพลวัติครั้งแรกก็น่าชื่นชมที่พยายามสำรวจทรัพยากรอย่างพอเพียงและคิดกิจกรรมที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงได้บ้าง ได้แก่ กลุ่มแกะสลักผัก กลุ่มประดิษฐ์สายสร้อยสามัคคี กลุ่มดินปั้นตกแต่งกรอบรูป กลุ่มทำแกงเขียวหวาน กลุ่มทำตกแต่งขนมคัพเค้ก และกลุ่มตกแต่งทิชชูสีเป็นภาพการ์ตูน แต่ก็ยังต้องเพิ่มกระบวนการรับรู้-คิด-กระจายบทบาท-กระตุ้นทักษะชีวิตมากขึ้น จึงทำได้แค่ระดับคู่ขนานถึงระดับอารมณ์ร่วมใจ

นอกจากนี้ผมได้คิด แบบประเมินรูปแบบพลังชีวิตของกลุ่มกิจกรรมพลวัติ (Group Dynamics based Recovery Model Assessment, GDRM) R&D SK Draft 18-11-10 Permission Needed  โดยให้ผู้ประเมินกาเครื่องหมายหน้าหัวข้อที่ สังเกต ¨ อยู่ในกลุ่ม ¨ อยู่นอกกลุ่มและสมาชิกเห็น ¨อยู่นอกกลุ่มและสมาชิกไม่เห็น” และให้คะแนนพลังชีวิตระหว่างสมาชิก ตามความรู้สึกของผู้ประเมินโดยเลือกจาก 0 (ไม่มี) 1 (มีน้อยที่สุด) ถึง 10 (มีมากที่สุด) คือ เข้าใจกัน, ไว้วางใจ, ให้เกียรติ, มีความสุข, มีศักยภาพ, มีความหวัง, มีชีวิตชีวา และมีทางเลือก 

มีคำถามน่าสนใจว่า ถ้าจัดกลุ่มข้างต้น แล้วผู้ป่วยไม่ดีขึ้นในแต่ละสัปดาห์ แล้วจะทำอย่างไร ผมจึงตอบว่า "เราต้องประชุมทีมสหวิชาชีพเพื่อพิจารณาปรับรูปแบบกลุ่ม และ/หรือประเมินผู้ป่วยแต่ละรายเพื่อบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพการรู้คิดต่อไป พร้อมกับการใช้เทคนิค Multi-Sensory Environment เช่น การประเมินการรับความรู้สึกในห้อง Snozelen(TM) (lin) ซึ่งผมได้ลองออกแบบบันทึก ใช่  ไม่ใช่ สังเกตไม่ได้ ในหัวข้อดังนี้

1. พฤติกรรมการรับความรู้สึก ชื่อสื่อ/อุปกรณ์ ............................................

1.1  แสดงพฤติกรรมเข้าหาสื่อ/อุปกรณ์

1.2  หยุดพฤติกรรมเข้าหาสื่อ/อุปกรณ์

2. การกระตุ้นการสัมผัส ชื่อสื่อ/อุปกรณ์ ..................................................

2.1 ดึงร่างกายออกทันทีและไม่ชอบ เมื่อร่างกายสัมผัสกับสื่อ/อุปกรณ์

2.2 นำร่างกายสัมผัสกับสื่อ/อุปกรณ์ด้วยความชอบและมีความหมาย

3. การกระตุ้นการมองเห็น ชื่อสื่อ/อุปกรณ์ ...............................................

3.1 จ้องมองทันทีอย่างตั้งใจที่สื่อ/อุปกรณ์ด้วยความชอบและมีความหมาย

3.2 สนใจมองใกล้สื่อ/อุปกรณ์ ภายในระยะ 30 ซม. นานกว่า 5 นาที

3.3 กลอกตามองในทิศทางเฉพาะขึ้นลง/ขวาซ้าย/ไม่แน่นอน

3.4 มองผ่านสื่อ/อุปกรณ์ด้วยความไม่สนใจ และ/หรือ ไม่ชอบ

4. การกระตุ้นการได้ยิน ชื่อสื่อ/อุปกรณ์ .................................................

4.1 ค้นหาที่มาของเสียง และสนใจสื่อ/อุปกรณ์ที่มีเสียงเป็นจังหวะ

4.2 ค้นหาที่มาของเสียง และสนใจสื่อ/อุปกรณ์ที่มีเสียงสูง/ต่ำ ดัง/ค่อย

4.3 ไม่ค้นหาที่มาของเสียง ไม่สนใจ และไม่ชอบสื่อ/อุปกรณ์ที่มีเสียง

กาหน้ารายชื่อทักษะชีวิตที่เกิดขึ้นขณะรับความรู้สึกที่หลากหลาย  ไม่เกิน 30 นาที

Communication Skills: Smiling/Laughing Psychogenic Crying Meaningful Vocalization Meaningful Non-verbal Maintain attention Interact with others Inappropriate behaviors

Cognitive Skills: Long Attention Span Good Memory Good Body functions Good Numeric Skills Good Spatial Relations Good Concept Formation Good Switching Skills

Functional Skills: Purposeful Participation Purposeful Engagement in Person-Object Purposeful Engagement in Object Purposeful Engagement in Person  Functional Limitation

Relaxation Usages: Soft/Quiet Activities Comfortable Positions Relaxing Movements Enjoy doing things in the darken room Restrictive Environment

Leisure Participation: Physical Perception Creative Perception Social Perception Passive Participation No choice of Participation Independent Participation  Dependency

 

 

หมายเลขบันทึก: 409395เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2010 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 21:09 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท