เครือข่ายชุมชนร่วมฟื้นฟูชุมชนรอบอ่าวปัตตานี หลังประสบภัยภัยพิบัต


 

เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2553 เครือข่ายชุมชนรอบอ่าวปัตตานีร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัด “ประชุมการฟื้นฟูชุมชนรอบอ่าวปัตตานี  หลังประสบภัยภัยพิบัต” ณ ห้องประชุมคณะมนุษย์และสังคมศาสตร์ มอ.ปัตตานีโดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ ๘๐ คน

    

แผนที่อ่าวปัตตานีวาดโดย นายดอเลาะ เจ๊ะแต

      จากเหตุการณ์พายุหมุนหอบน้ำทะเล  จนทำให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดย่อมบริเวณอ่าวปัตตานีเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 เวลาประมาณ 19.00 น. ทำให้หมู่บ้านเกือบ 30 แห่ง ต้องสูญเสียบ้านและทรัพย์สินหลายหลังคาเรือน ภัยพิบัติดังกล่าวเสมือนเป็นเคราะห์ซ้ำกรรมซัดต่อผู้คนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ก่อนหน้านี้ต้องเผชิญกับสถานการณ์ความไม่สงบอีกด้วย จากสถานการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดการประสานงานร่วมกันระหว่าง องค์กรชุมชน อาจารย์ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคม(NGO) หน่วยงานรัฐ และองค์กรระหว่างประเทศ ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติในระยะยาว

 

หมอวีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์

ศาสตราจารย์นายแพทย์ วีระศักดิ์  จงสู่วิวัฒน์วงศ์ นักวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่าเราต้องช่วยเหลือทั้งระยะสั้น และระยะยาว เช่นการมีสิทธิในที่ดินทำกิน การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ในส่วนระยะยาว เราต้องเครื่องมือเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน  มหาวิทยาลัยจะช่วยระดม อุปกรณ์ซ่อมเรือ และการจัดการสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันระดมทรัพยากรมาช่วยชาวบ้าน”

     นายมะรอนิง สาและ

            นายมะรอนิง สาและ ผู้นำชุมชนดาโต๊ะ กล่าวว่า “บ้านดาโต๊ะเป็นชุมชนประสบภัยรุนแรงที่สุดในรอบอ่าวปัตตานีมีบ้านเรือนเสียหาย 32 หลังคาเรือน เรือเสียหายประมาณ 100 ลำ และเครื่องมือประกอบอาชีพ โดยทางชุมชนในพื้นที่ ได้ร่วมกันตั้งคณะกรรมการทุกฝ่ายเพื่อฟื้นฟู โดยมีมัสยิดเป็นศูนย์กลาง ในการดำเนินงาน และอยากฟื้นฟูเครื่องมือประกอบอาชีพ และในระยะยาวคิดว่า ต้องปลูกป่าชายเลน เพื่อเป็นกำบังลมต่อไป”

บรรยายกาศการประชุม

 

ส่วนกระบวนการฟื้นฟู แบ่งเป็น 3 ระยะดังนี้

 

ระยะสั้น คือ รับเงินบริจาคเพื่อซื้อเรือ อุปกรณ์ซ่อมเรือประมง ก๊าซหุงต้ม ถุงยังชีพ

 ระยะกลาง คือ เกิดการเชื่อมโยงประสานงานกับทุกภาคส่วนองค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานรัฐ และมหาวิทยาลัย

 ระยะยาว คือ สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เพื่อให้เกิดความสามารถในการจัดการตนเอง และรับมือกับภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต

 

แบ่งกลุ่มย่อยระดมความเห็นกัน

เกิดแผนปฏิบัติการ

 

หมายเหตุ เครือข่ายฟื้นฟูชุมชนรอบอ่าวปัตตานี ดังนี้

1.กลุ่มองกรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมรอบอ่าวปัตตานี

2.ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

3.สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

4.กลุ่มคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ทุกท่านสามารถบริจาคเข้าสู่ “กองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติภาคใต้” ได้ที่เลขบัญชี 704-246748-0 บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสงขลานครินทร์ (ปัตตานี)

 

หมายเลขบันทึก: 408802เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2010 14:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2013 12:01 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท