ทำไมปลาวาฬแพ้แดดแต่ฮิปโปไม่ [EN]


สำนักข่าวเดลิเมล์ (Dailymail.co.uk / Mailonline) ตีพิมพ์เรื่อง 'Why whales get sunburn, but pigs and hippo don't' 
.
แปลว่า "ทำไมปลาวาฬแพ้แดด (ผิวหนัง), แต่หมูกับฮิปโปไม่ (แพ้)", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ Dailymail.co.uk / Mailonline ]
.
.
ศัพท์ภาษาอังกฤษประจำตอนนี้ได้แก่

.

คำ 'hippo' = ม้า มาจากภาษากรีก; 'potamus' = แม่น้ำ; รวม = ม้าแม่น้ำ

.

ภาวะผิวไหม้-ผิวเกรียมจากแดด (ซันเบิร์น) พบได้บ่อยในคนเรา, คนที่ผิวสีจาง (fair-skinned) เสี่ยงมากกว่าคนที่ผิวสีเข้ม, คนที่โดนแดดนานเสี่ยงมากกว่าคนที่โดนแดดไม่นาน
.
การศึกษาใหม่พบว่า ปลาวาฬในทะเลคอร์เตซ (Cortez sea) ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเม็กซิโก มีปัญหาผิวไหม้แดดมากจนเกิดเป็นแถบผิวหนังพุพอง (sun-blistered skin)
.
.
สัตว์ที่มีผิวสีอ่อน ผิวเรียบ และไม่มีขน... มีโอกาสเกิดผิวไหม้หรือเกรียมจากแดด (ซันเบิร์น) ได้ เช่น คน ปลาวาฬ ปลาโลมา ฯลฯ
.
สัตว์ที่มีขนหนา เช่น แมวน้ำ (seals) มีขนค่อนข้างหนา ทำให้โอกาสเกิดซันเบิร์นน้อย, คนที่มีขน (หรือผม) หนา หรือดกเสี่ยงน้อยกว่าคนขน (หรือผม) น้อยหรือบาง
.
.
ปลาวาฬสายพันธุ์ที่มีผิวสีเข้มมีโอกาสเกิดซันเบิร์นน้อย เนื่องจากเม็ดสีเมลานิน (melanin) ช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเล็ต (ultraviolet / UV)
.
สัตว์หลายชนิดมีขนาดใหญ่ และมีพื้นที่ผิวกายน้อย ทำให้การระบายความร้อนผ่านผิวหนังออกไป ทำได้ยาก เช่น ฮิปโป ไรโน่ (rhinos = แรด; ศัพท์ 'rhinos' = จมูก นอ), ช้าง ฯลฯ
.
.
ฮิปโปหลั่งสารสีแดงออกมาทางผิวหนัง สารนี้ทำหน้าที่คล้ายยากันแดดได้ เรียกว่า "เหงื่อฮิปโป (hippo sweat)"
.
ยากันแดดของน้องฮิปโปประกอบด้วยน้ำมันที่ทำให้กันน้ำได้ และป้องกันผิวแห้ง, มีผงขนาดเล็กที่่ช่วยกำบังแสงแดด, มีสารที่ออกฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อ (antiseptic), และไล่แมลง (insect repellant)
.
.
ช้าง หมูป่า และแรดนิยมแช่โคลน ซึ่งช่วยกันแดดได้ดี และการแช่น้ำก็ช่วยระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ด้วย
.
หมูป่ามีขนหนาที่ช่วยกันแดด แต่หมูบ้านหรือหมูที่คนเราเลี้ยง (domestic pigs) ได้รับการผสมพันธุ์ และคัดเลือกพันธุ์ ให้มีขนน้อย ทำให้ไม่ทนแดด และถ้าปล่อยให้อยู่กลางแดดนานๆ ก็อาจเกิดลมแดด (sunstroke) ได้
.
.
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า บรรพบุรุษของชาวยุโรปที่อพยพจากอาฟริกาไปทางเหนือมีการพัฒนาให้ผิวสีจางลง เพื่อให้ผิวหนังได้รับแสงแดดมากพอที่จะสังเคราะห์วิตามิน D ได้
.
กล่าวกันว่า ในวิกฤติมีโอกาส และในโอกาสก็มีวิกฤติเช่นกัน, การมีผิวสีจางมีดีที่สร้างวิตามิน D ได้มาก ทว่า... มีเสียที่เสี่ยงอันตรายจาก UV มากขึ้น
.
.
สัตว์ที่มีการกลายพันธุ์ เกิดเป็นสัตว์เผือก (albinism) จะสูญเสียเม็ดสีทั้งที่ผิวหนัง และม่านตา (iris) เช่น  ลิงกอริลล่าเผือกตัวหนึ่งชื่อ "สโนว์เฟลค (snowflake = ปุยหิมะ)" ทำให้บอบบางต่อแสงแดด และเสี่ยงอันตรายจาก UV มากเป็นพิเศษ
.
เจ้าสโนว์เฟลคซึ่งอยู่ในสวนสัตว์บาร์เซโลนา สเปน เสียชีวิตในปี 2546 จากมะเร็งผิวหนัง
.
.
สัตว์ส่วนใหญ่อาศัยผิวหนังที่หนา ขน เกล็ดหุ้มผิวหนัง เพื่อป้องกัน UV
.
การที่นักวิทยาศาสตร์พบปลาวาฬแพ้แดดจนผิวไหม้เกรียม พองเป็นแผ่นมีน้ำขังแบบนี้ อาจเป็นผลจากปรากฏการณ์โอโซนรั่ว หรือชั้นโอโซนบางลง ทำให้ UV ผ่านลงมาผิวโลกได้มากขึ้น
.
.
การหลีกเลี่ยงแสงแดดจ้าในช่วง 9.00-16.00 น., หรือถ้าเลี่ยงไม่ได้, ควรสวมเสื้อผ้าปกปิด เช่น ร่ม หมวก เสื้อ-กางเกงแขนยาว ฯลฯ หรือทายากันแดด
.
คนพื้นเมืองเผ่าหนึ่งในแอฟริกา คือ เผ่าฮิมบา ใช้โคลนผสมสีแดงกับน้ำมันทาตัวกันแดด, ชาวพม่าใช้ตะนาคาทาผิวกันแดด... นี่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ทำให้ผิวพรรณดี
.
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.
.
 > [ Twitter ]

ที่ มา                               

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 16 พฤศจิกายน 2553.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 408633เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2010 13:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท