"บำเหน็จค้ำประกัน" สิทธิประโยชน์เพื่อความสุขของผู้รับบำนาญ


"บำเหน็จค้ำประกัน" สิทธิประโยชน์เพื่อความสุขของผู้รับบำนาญ

"บำเหน็จค้ำประกัน" สิทธิประโยชน์เพื่อความสุขของผู้รับบำนาญ

แนวคิดและที่มา...

ชีวิตของข้าราชการ ในคราวที่ทำงานอยู่ จะมีสิทธิ คือ ได้รับเงินเดือน และเมื่อออกจากราชการแล้ว สิทธิของข้าราชการท่านนั้น ก็จะได้รับบำนาญ (รวม ช.ค.บ.) แต่เมื่อครั้งเสียชีวิตแล้ว สิทธิจะตกไปอยู่ที่ทายาทจะเป็นผู้รับบำเหน็จตกทอด...

สิทธิในบำนาญ :

บำนาญ คือ เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมาซึ่งจ่ายเป็นรายเดือน

พ.ร.บ. 2494

บำนาญ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย X เวลาราชการ

50

(ไม่เกินเงินเดือนเดือนสุดท้าย)

ซึ่งจะปรับขั้นต่ำของ ช.ค.บ. ให้ได้ถึง 6,000 บาท สำหรับ 1 เมษายน 2554 นี้ ข้าราชการปรับ 5 % ข้าราชการบำนาญ ก็จะปรับให้ 5 %

เงินเดือนเดือนสุดท้ายและเวลาราชการ จะมีผลทำให้ บำนาญ

ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เปลี่ยนแปลง

แต่เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป ข้าราชการจะได้ปรับเงินเดือน สำหรับผู้รับบำนาญจะไม่ปรับบำนาญ...แต่ผู้รับบำนาญจะได้เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ช.ค.บ.)

บำนาญ + ช.ค.บ. = เงินที่ได้รับต่อเดือน

รัฐกำลังแก้ไขการรวมเงินเดือนกับ ช.ค.บ. เพื่อให้ทายาทได้รับบำเหน็จตกทอดเพิ่มขึ้น โดยต้องแก้ไข พรบ. 2494

เมื่อผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย จะทำให้ทายาทจะมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอด

บำเหน็จตกทอด :

ทายาท ได้แก่ บิดา มารดา 1 ส่วน

คู่สมรส 1 ส่วน

บุตร 2 ส่วน

(บุตร 3 คนขึ้นไป 3 ส่วน) บุตรได้แก่ บุตรตามกฎหมาย การจดรับรองบุตร บุตรที่ศาลสั่ง บุตรบุญธรรม

ในกรณีไม่มีทายาท

ให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งผู้ตายแสดงเจตนาไว้ต่อส่วนราชการเจ้าสังกัด (ตามแบบและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด)

บำเหน็จตกทอด :

- ผู้รับบำนาญตาย จ่ายให้ 30 เท่าของบำนาญ + ช.ค.บ.หัก บำเหน็จดำรงชีพ (ส่วนที่ขอรับไปแล้ว)

ต่อมาเมื่อสภาพเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะให้ความช่วยเหลือผู้รับบำนาญที่มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการครองชีพ

บำเหน็จดำรงชีพ : เงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับบำนาญเพื่อช่วยเหลือการดำรงชีพโดยจ่ายให้ครั้งเดียว...

จ่ายในอัตรา :

- ไม่เกิน 15 เท่าของบำนาญรายเดือนที่ได้รับ

- อัตราและวิธีการตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

กรณีได้รับทั้ง บำนาญปกติ และบำนาญพิเศษ

เพราะเหตุทุพพลภาพให้นำมารวมกันคิดเป็นบำนาญรายเดือน

ตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราและวิธีการรับบำเหน็จดำรงชีพ พ.ศ. 2546 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551 :

- ขอรับได้ 15 เท่าของบำนาญรายเดือน แต่ไม่เกิน 2 แสนบาท

- อายุ 65 ปีบริบูรณ์ ขอรับในส่วนที่เกิน 2 แสนบาทได้อีก

แต่ไม่เกิน 4 แสนบาท

บำเหน็จค้ำประกัน...

เนื่องจากบำเหน็จดำรงชีพในส่วนแรก ข้าราชการบำนาญ ได้นำมาใช้ก่อนแล้ว 15 เท่า สำหรับส่วนบำเหน็จตกทอดที่จะเหลือให้ทายาทอีก 15 เท่าหลัง ก็น่าจะนำมาใช้ได้อีก...โดยส่วนที่เหลืออีก 15 เท่าหลังนี้ ถือว่าเป็นหลักทรัพย์ที่ผู้รับบำนาญสามารถนำหลักทรัพย์นี้ไปใช้ค้ำประกันเงินกู้กับธนาคารพาณิชย์ได้ ซึ่งเรียกว่า "บำเหน็จค้ำประกัน"...

ผู้รับบำนาญที่สามารถใช้สิทธิได้ :

1. มีฐานะเป็นผู้รับบำนาญอยู่ในวันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ

2. ยินยอมให้ส่วนราชการหักบำนาญ (ที่ได้รับในแต่ละเดือน) เพื่อชำระคืนเงินกู้ให้แก่ธนาคารตามสัญญากู้เงิน

สำหรับ ข้าราชการบำนาญที่เป็นสมาชิก กบข. ยังใช้สิทธิดังกล่าว

ข้างต้นไม่ได้ เนื่องจากอยู่ในระหว่างการแก้ไขกฎหมายอยู่...

ข่าวดี!...เมษายน 2554 รัฐจะขึ้นเงินเดือนให้กับข้าราชการ = 5 % จ้า...

หมายเลขบันทึก: 408203เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2010 21:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2016 15:16 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

สวัสดีวันหยุดค่ะIco64

  • ได้ความรู้ใหม่อีกแล้ว ขอบคุณมากๆนะคะ
  • ขอให้มีความสุขทุกๆวันค่ะ

สวัสดีค่ะ...คุณยาย...Ico32...

  • ค่ะ ความรู้ ถ้าเราใส่ใจ + เราจะสังเกตเห็นว่า มันเติบโตได้ด้วยนะค่ะ
  • คุณยายว่าจริงไหม?...อิอิอิ...
  • ขอบคุณค่ะ...

ได้ความรู้จากอาจารย์อีกแล้ว ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะ...อาจารย์ ว.วังชัย...Ico32...

  • เป็นการแบ่งปันความรู้กันค่ะ...
  • ยังมีสิ่งที่เราไม่รู้อีกเยอะค่ะบนโลกใบนี้...
  • ขอบคุณที่แวะมาค่ะ...

ณ ปัจจุบัน ข้าราชการบำนาญ (ไม่เป็นสมาชิก ก.บ.ข.) สามารถขอใช้สิทธิ บำเหน็จค้ำประกันในการกู้กับธนาคารยังไม่ได้เพราะกฎกระทรวงยังไม่ออกใช่หรือไม่

ตอบ...หมายเลข 5...

  • ค่ะ...ถ้าตามบทความข้างต้น ต้องรอให้กฎกระทรวงออกก่อน...แต่ พรบ.ใหญ่  ออกใช้บังคับแล้วค่ะ
  • ศึกษาได้จากบล็อกด้านล่างนี้ค่ะ...

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/645/856/original_bussayamas_26.pdf?1289900899

http://gotoknow.org/blog/bussaya6/408128

http://gotoknow.org/blog/bussaya6/408128

 

ขอคุณนะค่ะ ได้ความรู้เยอะเลยค่ะ ขอบคุณจริงๆ

ตอบ...คุณ aii...

  • ยินดีค่ะ...ขอบคุณค่ะ...

ได้ความรู้มาก ๆ ขอบคุณครับ และจะเริ่มใช้บำเหน็จค้ำประกันได้เมื่อไหร่ครับ

ตอบ...คุณนพภา...

  • ขอบคุณค่ะ...
  • ครั้งแรกเจ้าหน้าที่ไปประชุมกันมา บอกว่าจะใช้ได้ประมาณเดือน ก.พ. 2554 นี้ ค่ะ...
  • แต่คงต้องรอหนังสือแจ้งให้ทราบอีกครั้งค่ะ...อีกอย่างต้องรอกฎกระทรวงด้วยค่ะ... ถ้าประกาศใช้แล้วจะรีบนำมาแจ้งให้ทราบค่ะ...

อาจารย์ครับ บำเหน็จค้ำประกัน ถ้าคนที่ติดเครดิตบูโร จะสามารถกู้ได้ไหมครับ

ตอบ...คนบำนาญ...

  • ต้องสอบถามที่ธนาคารพาณิชย์ก่อนนะค่ะ ว่าได้หรือไม่ เพราะการทำสัญญาจะต้องผ่านธนาคารพาณิชย์ค่ะ...จึงไม่สามารถตอบให้ได้ค่ะ...เพราะสิทธิที่จะได้กู้นั้น ขึ้นอยู่กับความเห็นของธนาคารพาณิชย์ค่ะ...

อยากทราบว่าลูกจ้างประจำกทมมีสิทธิขอหนังสือรับรองสิทธิเพื่อใช้ในการกู้เงินบำเหน็จตกทอดกับธนาคารได้หรือยัง

จ่าเอกศรายุทธ คำเมือง

ข้าราชการบำนาญที่ไม่ได้ลาออกจาก กบข.จะได้รับเงินชดเชย เงินประเดิมและเงินสมทบอีก 50 เปอรเซ็นของเงินดังกล่าวที่รับมาแล้วหรือไม่

ข้าฯ ราษฎรเต็มขั้น

ข้าพเจ้าลาออกจากข้ราชการ(ครู)เมือ พ.ศ.2556 ได้กู้เงินบำเหน็จค้ำประกันไปแล้ว เมื่อ 17 พ.ย.2557  ต่อมาปี พ.ศ. 2558 ข้าพเจ้าถูกฟ้องล้มละลาย 3 ปี และข้าพเจ้าได้ปลดล้มละลายไปเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2561 อยากทราบว่า "ข้าพเจ้าจะขอกู้เงินบำเห็จคำ้ประกันได้หรือไม่คะ

การนำเงินบำเหน็จค้ำประกัน เงินกู้จากธนาคาร ทำไม่ไม่คลอบคลุมถึงข้าราชการบำนาญของท้องถิ่นด้วยคะ ต้องมีหนังสือรับรองจากกรมบัญชีกลางเท่านั้นหรือคะถึงจะกู้ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท