โครงการกู้เงินกับสถาบันการเงินโดยใช้บำเหน็จตกทอดค้ำประกัน


โครงการกู้เงินกับสถาบันการเงินโดยใช้บำเหน็จตกทอดค้ำประกัน

"โครงการกู้เงินกับสถาบันการเงินโดยใช้บำเหน็จตกทอดค้ำประกัน"

จากเรื่องที่ กระทรวงการคลัง ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2553 ทางกรมบัญชีกลางจึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงิน ซึ่งเป็นการกำหนดเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการออกและการขอรับหนังสือรับรองสิทธิในการใช้บำเหน็จตกทอดค้ำประกันการกู้เงิน การชดใช้เงินคืนให้แก่สถาบันการเงิน กรณีผู้รับบำนาญผิดสัญญาการกู้เงินหรือถึงแก่ความตาย จึงจำเป็นต้องกำหนดแนวปฏิบัติให้เกิดความชัดเจนเพื่อรองรับการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวทั้งในด้านของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ภายในและในด้านการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมโยงกับสถาบันการเงิน โดยสำนักงานคลังเขต 6 พิษณุโลก ได้ชี้แจงให้ทราบ ดังนี้

ผู้รับบำนาญที่สามารถใช้สิทธิได้ ได้แก่

1. มีฐานะเป็นผู้รับบำนาญอยู่ในวันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ

- ผู้รับบำนาญปกติ (ไม่เป็นสมาชิก กบข.)

- ผู้รับบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพ

2. มีทายาทตามกฎหมายบำเหน็จบำนาญและหรือผู้ที่ได้แสดงเจตนา

รับบำเหน็จตกทอด

3. ยินยอมให้ส่วนราชการผู้เบิกหักบำนาญ (ที่ได้รับในแต่ละเดือน)

เพื่อชำระคืนเงินกู้ให้แก่ธนาคารตามสัญญากู้เงิน

4. ยินยอมให้เปิดเผยข้อมูล

ทายาทผู้มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอด ได้แก่...

1. บิดา มารดา

2. คู่สมรส

3. บุตร (บุตรบุญธรรม)

กรณีไม่มีทายาทข้างต้นให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ตามแบบและวิธีการที่ กระทรวงการคลังกำหนด

ท่านได้นำหลักฐานไปแจ้งนายทะเบียนผู้รับบำเหน็จบำนาญในสังกัดของท่านบันทึกข้อมูลทายาทผู้มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดครบทุกคนหรือยัง?...

ท่านทำหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอดตามแบบและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนดหรือยัง?...

การขอใช้สิทธิ มีกระบวนการดังนี้ :

ผู้รับบำนาญยื่นคำร้องเพื่อให้ส่วนราชการผู้เบิกบำนาญตรวจสอบ เพื่อส่งให้กรมบัญชีกลางหรือคลังจังหวัดดำเนินการตรวจสอบและออกหนังสือรับรองสิทธิบำเหน็จตกทอดเพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงินและส่งให้ทราบทางไปรษณีย์

สถานที่ยื่นคำร้อง :

ยื่นคำร้องได้ทุกหน่วยงานที่เป็นส่วนราชการผู้เบิกบำนาญของส่วนราชการเจ้าสังกัดของผู้รับบำนาญ เช่น นาย ก เป็นผู้รับบำนาญกรมสรรพากร ส่วนราชการผู้เบิกบำนาญ (คือเบิกและหักเงินบำนาญชำระหนี้เป็นประจำเดือน) ของผู้รับบำนาญ นาย ก คือ สรรพากรเขตพื้นที่จังหวัดสงขลา สามารถยื่นคำร้องได้ที่สรรพากรเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ หรือสรรพากรเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร หรือ...ได้ แต่ทั้งนี้ หน่วยงานข้างต้นต้องเป็นส่วนราชการ ผู้เบิกบำนาญสังกัดกรมสรรพากร

หน่วยงานที่ออกหนังสือรับรองสิทธิ คือ กรมบัญชีกลางและสำนักงานคลังจังหวัด

ส่วนราชการผู้เบิกจังหวัดใดที่รับคำร้องไว้ ให้ส่งคำร้องไปสำนักงานคลังจังหวัดเดียวกัน

ส่วนราชการผู้เบิกที่อยู่กรุงเทพมหานครที่รับคำร้องไว้ ให้ส่งคำร้องไปกรมบัญชีกลาง (สำนักบริหารการรับ – จ่ายเงินภาครัฐ)

สรุปขั้นตอน :

1. ท่านต้องไปติดต่อเขียนคำร้องที่ส่วนราชการผู้เบิกบำนาญ

2. แจ้งที่อยู่ที่จะให้ส่งหนังสือรับรองไปให้

3. ส่วนราชการผู้เบิกส่งข้อมูลให้กรมบัญชีกลางหรือสำนักงานคลังจังหวัด

4. กรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัด ส่งหนังสือรับรองให้ท่านตามที่อยู่ที่ได้แจ้งไว้

การขอใช้สิทธิ :

ผู้รับบำนาญ ต้องทำหนังสือรับรองฉบับจริง โดยติดต่อทีละธนาคาร (ธนาคารจะดำเนินการแจ้งให้กรมบัญชีกลางทราบ และแจ้งให้ผู้รับบำนาญทำสัญญากู้เงิน

เมื่อยื่นกับธนาคาร ระบบจะ Lock ไม่ให้ใช้หนังสือรับรองที่อื่น

เมื่อกู้แล้ว ระบบจะ Lock บำเหน็จตกทอดที่ใช้ค้ำประกัน

การชำระหนี้ตามสัญญากู้เงิน :

ส่วนราชการผู้เบิกหักบำนาญ จะแจ้งไปยังกรมบัญชีกลาง โดยใช้ระบบจ่ายตรงฯ เพื่อชำระหนี้แก่ธนาคารและแจ้งเงินบำนาญส่วนที่เหลือให้กับผู้รับบำนาญได้รับทราบในทุก ๆ เดือน จนกว่าจะชำระหนี้ครบถ้วน

หนังสือรับรองที่กรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัดออกให้ท่านไปแล้วจะไม่ออกให้ใหม่ ยกเว้นกรณีต่อไปนี้

การขอหนังสือรับรองสิทธิฉบับใหม่ ได้แก่

1. ฉบับเดิมชำรุดหรือสูญหาย

2. ธนาคารไม่อนุมัติให้กู้เงินและไม่คืนหนังสือรับรองสิทธิ

3. ผู้รับบำนาญยกเลิกการขอกู้เงินและธนาคารไม่คืนหนังสือรับรองสิทธิ

4. ได้ใช้บำเหน็จตำทอดค้ำประกันการกู้เงินแล้วยังมีบำเหน็จตำทอดคงเหลือ

ปัญหาการชำระหนี้ :

1. เงินบำนาญไม่พอหัก ส่วนราชการผู้เบิกหักบำนาญ จะไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่ธนาคารได้ ซึ่งส่วนราชการผู้เบิกหักบำนาญ ก็จะไม่สามารถนำเงินเข้าระบบจ่ายตรงฯ ได้ โดยผู้รับบำนาญได้รับเงินบำนาญและชำระหนี้เอง

2. เมื่อผู้รับบำนาญถึงแก่ความตาย ส่วนราชการผู้เบิกหักบำนาญ จะไม่สามารถนำเงินเข้าระบบจ่ายตรงฯให้กับกรมบัญชีกลางได้ และไม่สามารถชำระหนี้ให้กับธนาคารได้ โดยทายาทได้รับบำนาญส่วนที่เหลือ

ศึกษารายละเอียด เรื่อง “บำเหน็จค้ำประกัน”

สิทธิประโยชน์เพื่อความสุขของผู้รับบำนาญ ได้ตามบล็อกด้านล่างนี้.

http://gotoknow.org/blog/bussaya6/408203

หมายเลขบันทึก: 408131เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2010 15:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2016 15:16 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีครับท่านอาจารย์ บุษยมาศ

ขอบคุณมากที่นำข้อมูลมาให้เรียนรู้

ในส่วนของลูกจ้างประจำก็มีบำเหน็จตกทอดแล้ว ฝากอาจารย์ช่วยประชาสัมพันธ์ด้วยครับ

ขอขอบพระคุณอย่างมากครับ

ทันข่าววันต่อวัน บำเหน็จตกทอด ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการประชุมครม. วันที่ 9 พ.ย.

ลูกจ้างรัฐเฮ “คลัง”ชงแก้ระเบียบฯจ่ายบำเหน็จตกทอด 15 เท่า

พฤศจิกายน 4, 2010 by Anuthida_c

Filed under breakingnews, มติ ครม.

Leave a Comment

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการประชุมครม. วันที่ 9 พ.ย. กระทรวงการคลังเสนอให้ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง(ฉบับที่…)พ.ศ. … ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง พ.ศ. 2519 แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงการคลัง(ฉบับที่ พ.ศ. 2552 ที่กำหนดให้ลูกจ้างประจำที่มีสิทธิได้รับบำเหน็จปกติหรือบำเหน็จพิเศษ และมีเวลาทำงานตั้งแต่ 25 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป สามารถเลือกรับเป็นบำเหน็จรายเดือนและบำเหน็จพิเศษรายเดือนได้ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องสิทธิประโยชน์ภายหลังออกจากงานของลูกจ้างประจำเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ลูกจ้างประจำในระดับหนึ่ง ต่อมาองค์กรของลูกจ้างประจำ ทั้งสมาคมลูกจ้างส่วนราชการแห่งประเทศ และชมรมเจ้าหน้าที่ของรัฐแห่งประเทศไทย ได้ขอให้พิจารณาปรับปรุงสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างประจำเพิ่มเติม จากที่กำหนดไว้ซึ่งให้ลูกจ้างประจำมีสิทธิได้รับบำเหน็จรายเดือนหรือบำเหน็จพิเศษรายเดือนอันเป็นสิทธิเฉพาะตัว จะสิ้นสุดลงเมื่อผู้รับบำเหน็จฯถึงแก่ความตาย โดยไม่ได้มีการกำหนดเรื่องบำเหน็จตกทอดรองรับไว้ จึงได้เสนอให้ลูกจ่าปงระจำมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดในอัตรา 15 เท่าของบำเหน็จรายเดือนหรือบำเหน็จพิเศษรายเดือน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้ เพื่อให้ทายาทของลูกจ้างประจำที่ออกจากงานและเลือกรับบำเหน็จรายเดือนหรือบำเหน็จพิเศษรายเดือนที่ถึงแก่ความตายสามารถขอรับบำเหน็จตกทอดได้ จึงต้องแก้ไขระเบียบกระทรวงการคลังฯดังกล่าวเพื่อให้ครอบคลุมสิทธิของลูกจ้างประจำในเรื่องนี้ โดยแก้ไขเพิ่มเติม หมวด 3/2 บำเหน็จตกทอด กำหนดให้กรณีที่ผู้รับบำเหน็จ รายเดือนหรือผู้รับบำเหน็จพิเศษรายเดือนถึงแก่ความตาย ให้จ่ายบำเหน็จตกทอดจำนวน 15 เท่าของบำเหน็จรายเดือนหรือบำเหน็จพิเศษรายเดือนแล้วแต่กรณีให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของผู้รับบำเหน็จรายเดือนหรือบำเหน็จพิเศษรายเดือน โดยแบ่งจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิให้แก่ผู้มีสิทธิตามสัดส่วนของเงินมรดกโดยมิต้องกันส่วนเป็นสินสมรสก่อนแบ่ง เนื่องจากเงินดังกล่าวไม่ถือเป็นสินสมรส และกำหนดให้นำวิธีการในการยื่นเรื่องราวขอรับบำนาญลูกจ้างตามข้อ 20 มาใช้กับการยื่นเรื่องราวขอรับบำเหน็จตกทอด โดยกำหนดให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2552 เป็นต้นไป

ขอบคุณข้อมูลมาให้เรียนรู้นะครับ

สวัสดีค่ะ...คุณวอญ่า...Ico32...

  • ขอบคุณค่ะ คุณวอญ่า...ดำเนินการให้เรียบร้อยแล้วค่ะ...ตามบล็อกด้านล่างนี้นะค่ะ...ตามมติ ครม.9 พ.ย. 2553 นะค่ะ...
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/408190

สวัสดีค่ะ...คุณราชิต...Ico32...

  • ขอบคุณที่แวะมาค่ะ...

ขอบคุณข้อมูลมากครับ...

 

ตอบ...คุณวสันต์...

  • ยินดีค่ะ ขอบคุณค่ะ...

ตอนนี้ไม่ทราบว่ากฏกระทรวงออกแล้วยังครับ เรื่องกู้เงินโดยใช้บำเหน็จตกทอดค้ำ

ตอบ...จ่าจุล...

  • กฎกระทรวงยังไม่ออกมาเลยค่ะ...
  • ถ้าออกมาบังคับใช้แล้วจะรีบนำมาแจ้งให้ทราบนะค่ะ...
  • ขอบคุณค่ะ...

ขอบคุณครับ ท่านบุษยมาศ ถ้ากฏกระทรวงออกแล้วตอนแจ้งให้ทราบ กรุณาแจ้งสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการด้วยนะครับ

                         

ตอบ...คุณจ่าจุล...

  • ได้ค่ะ...

ทราบข่าวของกรมบัญชี 

บุตร บวชพระอยู่ บัตรประชาชนขาดยังใช้ได้หรือไม่ และลงนามมอบสิทธิได้หรือไม่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท