การพยาบาลผู้ป่วยเสพติดยาบ้าแบบผู้ป่วยนอก


สารสนเทศกับการพยาบาลผู้ป่วย
การพยาบาลผู้ป่วยเสพติดยาบ้าแบบผู้ป่วยนอก รูปแบบ กายจิตสังคมบำบัด                                                                        วันเพ็ญ ใจปทุม                                                                                          ปราณี ภาณุภาส  ที่ปรึกษา                การบำบัดฟื้นฟูผู้เสพติดยาบ้าแบบผู้ป่วยนอก เป็นการบำบัดรักษาโดยใช้รูปแบบกายจิตสังคมบำบัด ใช้ระยะเวลา 4 เดือน และมีการติดตามผลการบำบัดฟื้นฟูต่ออีก 1 ปี โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้                1. เพื่อให้ผู้ป่วยหยุดยาเสพติด                2. เพื่อให้ผู้ป่วยดำเนินชีวิตใหม่โดยปราศจากยาเสพติด                3. เพื่อป้องกันการกลับไปเสพติดซ้ำ                ตัวชี้วัด  ผลสัมฤทธิ์ ประสิทธิผลของการบำบัดฟื้นฟู ได้แก่1. ผู้ป่วยอยู่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด                2.  ผู้ป่วยครบตามเกณฑ์ที่กำหนดไม่กลับไปติดซ้ำภายใน 1 ปี                3.  ผู้ป่วยไม่เสพติดร่วมระหว่างรักษา                การจัดกิจกรรมการพยาบาล  การปฏิบัติการพยาบาลใช้กระบวนการพยาบาลและให้การดูแลแบบองค์รวม โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ซึ่งมีการให้บริการผู้ป่วยเสพติดยาบ้าแบบผู้ป่วยนอก รูปแบบกายจิตสังคมบำบัด แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังต่อไปนี้                1. ระยะเตรียมการก่อนรักษา                2. ระยะบำบัดด้วยยา                3. ระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ                4. ระยะติดตามหลังรักษา 1. ระยะเตรียมการก่อนรักษาการพยาบาลในระยะนี้มีจุดมุ่งหมาย  1.       เพื่อประเมินปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย / ครอบครัว / ญาติ2.       เพื่อวางแผนการดูแลช่วยเหลือตามลำดับความสำคัญของปัญหาทางการพยาบาล3.       เพื่อให้ข้อมูล ขั้นตอน และวิธีการบำบัดรักษา *พยาบาลวิชาชีพ7วช. หัวหน้างานการพยาบาลฟื้นฟูผู้ป่วยนอก*พยาบาลวิชาชีพ8วช.  หัวหน้ากลุ่มงานบริการผู้ป่วยนอกกิจกรรมการพยาบาล1.       ประเมินสภาพร่างกาย จิตใจ ครอบครัว สังคม โดยใช้แบบแผนของกอร์ดอน2.       วินิจฉัยปัญหาทางการพยาบาลและจัดลำดับความสำคัญของปัญหา3.       การเตรียมความพร้อมผู้ป่วยและครอบครัวในเรื่อง -          ความตั้งใจในการรักษา โดยมีการประเมิน แรงจูงใจของผู้ป่วยว่าอยู่ใน            ระยะใด-          การปรับเปลี่ยนทัศนคติ การยอมรับของผู้ป่วย ครอบครัว/ญาติ-          ลักษณะอาการและพยาธิสภาพทางด้านร่างกาย จิตใจ ครอบครัว/สังคม-          การดูแลตนเองระหว่างการรักษา-          การเสริมแรงใจซึ่งกันและกัน-          การแนะแนวทาง-          การให้ข้อมูล ขั้นตอนและวิธีการบำบัดรักษา 2.  ระยะบำบัดด้วยยาเป็นการพยาบาลในระยะที่ผู้ป่วยยังมีอาการถอนยาหรืออาการอยากยาจากการหยุดเสพยาในระยะแรกของการบำบัดรักษา มีจุดมุ่งหมายเพื่อ                - ให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบายจากอาการถอนยา (withdrawal symptom)                 - ให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากการหยุดเสพยา และอาการข้างเคียงของยาที่ใช้รักษา                - ป้องกันการใช้ยาเสพติดตัวเดิม หรือยาเสพติดอื่นระหว่างรักษา                - ผู้ป่วยอยู่ครบกำหนดการบำบัดรักษา                 กิจกรรมการพยาบาล                - ประเมินอาการถอนยา อาการข้างเคียงจากการใช้ยาและปัญหาการหยุดใช้ยาเสพติด                - ประเมินความรุนแรงของการใช้ยาเพื่อนำไปเป็นข้อมูลย้อนกลับในการให้ผู้ป่วยทราบและตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้ยา                - ประเมินแรงจูงใจในการบำบัดรักษาเพื่อให้การช่วยเหลือได้ตรงตามขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม                - ให้คำแนะนำป่วยและครอบครัวในการดูแลตนเอง เมื่อมีอาการอยากยา หรือเมื่อมีอาการผิดปกติ                - ให้คำปรึกษาปัญหาเฉพาะรายบุคคล ผู้ป่วยและครอบครัว แบบสั้นในการช่วยเหลือและดูแลตนเองในการหยุดยาอย่างต่อเนื่อง และการสังเกตอาการผิดปกติจากอาการข้างเคียงของยาที่ใช้รักษา                - การประเมินแรงจูงใจซ้ำ และให้กำลังใจตลอดจนแรงเสริมที่ทำให้ผู้ป่วยมารับการบำบัดอย่างต่อเนื่อง                - วิเคราะห์การติดซ้ำและให้วางแผนในการเผชิญตัวกระตุ้นในรายที่กลับไปเสพติดซ้ำ                - ให้เก็บปัสสาวะหาสารเสพติด โดยวิธีการสุ่มตรวจอาทิตย์ละ 1 ครั้ง                 - การประเมินผล และบันทึกทางการพยาบาล  3.  ระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ                การพยาบาลในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ ใช้รูปแบบ กายจิตสังคมมีจุดมุ่งหมายเพื่อ- ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีสภาพร่างกายและจิตใจที่เข้มแข็ง พร้อมที่จะใช้ชีวิตอยู่ในครอบครัว สังคมได้โดยไม่พึ่งพายาเสพติด  - มีทักษะในการดูแลตนเอง และการป้องกันการกลับไปเสพติดซ้ำ                กิจกรรมการพยาบาล                - ประเมินปัญหาและความต้องการและการเพิ่มแรงจูงใจในการบำบัดรักษา เพื่อความเป็นไปได้ในการบำบัดรักษาอย่างต่อเนื่องและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นได้ด้วยตนเอง ลดแรงต้านและเห็นด้วยกับแผนการรักษา                - เน้นการรักษาสุขภาพ ป้องกันปัญหาสุขภาพในอนาคต                - ให้คำปรึกษารายบุคคล และครอบครัว ซึ่งในระยะแรกของการบำบัดรักษามักมีปัญหาหลายอย่างที่เกิดจากความไม่เข้าใจระหว่างผู้ป่วยและญาติ เป็นช่วงของการปรับตัว เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาในรูปแบบกายจิตสังคมบำบัด ซึ่งมีโครงสร้างของการบำบัดที่ชัดเจน กระตุ้นให้เกิดความเข้าใจ ความร่วมมือ และแรงจูงใจในการบำบัด อีกทั้งยังเป็นการหาข้อตกลงร่วมกันถึงกระบวนการบำบัด และกฎระเบียบต่างๆ เพื่อให้การบำบัดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ                - จัดกิจกรรมกลุ่มทักษะเลิกยาระยะต้น หมายถึง กลุ่มที่เน้นการให้ความรู้ความเข้าใจตัวผู้ป่วยเกี่ยวกับผลของยาบ้าที่มีต่อสมอง ปัจจัยต่างๆที่ทำให้คนประสบปัญหาในการเลิกยา  (ระยะเวลา 4 สัปดาห์แรก อาทิตย์ละ 2 ครั้ง ประกอบด้วยเนื้อหา 8 หัวข้อ)- จัดกิจกรรมกลุ่มทักษะป้องกันการกลับไปเสพติดซ้ำ เป็นกลุ่มที่สร้างความรู้ความเข้าใจในทักษะการใช้ชีวิต เพิ่มการระวังตัวเพื่อให้รู้เท่าทันโอกาสการกลับไปเสพซ้ำ ช่วยในการวางแผนชีวิตล่วงหน้า รองรับสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการกลับไปเสพซ้ำ(ประกอบด้วยเนื้อหา32 หัวข้อ)- จัดกิจกรรมกลุ่มครอบครัวศึกษา หมายถึงกลุ่มที่เน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจในตัวผู้ป่วยและครอบครัว รวมทั้งการใช้ความสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นแรงสนับสนุนทางสังคมให้ผู้ป่วยหยุดการใช้สารเสพติดได้ดียิ่งขึ้น โดยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุของการใช้ยาเสพติด การเปลี่ยนแปลงการทำหน้าที่ของสมองขณะและภายหลังการเสพ ลักษณะทางความคิด อารมณ์ของผู้ที่อยู่ในภาวะติดยา บทบาทหน้าที่ของครอบครัวในการช่วยเหลือผู้ป่วยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ผู้ป่วยและครอบครัวต้องเข้ารับความรู้ร่วมกัน( สัปดาห์ละครั้ง ประกอบด้วยเนื้อหา 10 หัวข้อ) โดยใช้สื่อความรู้ วิดีโอ แผ่นใส ภาพพลิก และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยผู้ที่จบโปรแกรม มีการซักถามและแสดงความคิดเห็นในช่วงท้ายชั่วโมง                  - ให้เก็บปัสสาวะหาสารเสพติด โดยวิธีการสุ่มตรวจอาทิตย์ละ 1 ครั้ง หรือกรณีที่มีการกลับไปใช้ยาซ้ำ                                - วิเคราะห์การติดซ้ำและให้วางแผนในการเผชิญตัวกระตุ้นในรายที่กลับไปเสพติดซ้ำ 4. ระยะติดตามหลังรักษา                การพยาบาลระยะติดตามหลังรักษา ใช้ระยะเวลา 1 ปี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ                - ให้การช่วยเหลือผู้ป่วยตามสภาพปัญหาและความต้องการ                - การส่งเสริม / ให้กำลังใจ                - ป้องกันการกลับไปเสพติดซ้ำ                - ประเมินการหยุดยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง                กิจกรรมการพยาบาล                - ประเมินปัญหาการหยุดยาเสพติดและให้การช่วยเหลือตามสภาพปัญหาและความตอ้งการ                - จัดกิจกรรมกลุ่มสนับสนุนทางสังคม เป็นกลุ่มที่จะช่วยให้ผู้ป่วยระยะกลางๆของการเลิกยาเสพติด (หยุดเสพมาได้ประมาณ3-4เดือน) เรียนรู้วิธีการใช้ชีวิตในสังคมได้โดยไม่ใช้ยาเสพติด โดยการสนับสนุนด้านกำลังใจจากเพื่อนกลุ่มเลิกยาเสพติดด้วยกัน การเป็นตัวแบบให้ผู้อื่นและเปิดโอกาสให้ได้แสดงความภาคภูมิใจกับความสำเร็จในการเลกิยา                - ส่งเสริมให้มีกลุ่มช่วยเหลือกันเอง เป็นการประชุมพบปะกันระหว่างกลุ่มผู้ป่วยล้วนๆโดยไม่มีนักบำบัด ณ ที่ใดที่หนึ่งเพื่อเป็นเวทีแห่งการเข้าสังคม รับกำลังใจจากเพื่อนๆเห็นตัวอย่างที่เลิกยาได้ และประสบความสำเร็จในชีวิต                - ประเมินผลการหยุดยาเสพติด โดยการตรวจปัสสาวะหาสารเสพติด ข้อมูลสารสนเทศที่จำเป็นในการประเมินทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม ทางร่างกาย                1. ข้อมูลทั่วไป      ชื่อ         อายุ          การวินิจฉัยโรค       วันที่เข้ารักษา          สถานภาพสมรส อาชีพ                               ระดับการศึกษา                               วันที่รวบรวมข้อมูล                2. ประเมินการเปลี่ยนแปลงในด้านความอยากรับประทานอาหาร การดื่มน้ำ การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว (ระบุเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลง)  ผลของการหยุดใช้ยาบ้าต่อความอยากอาหาร ช่วงระยะขาดยาอาจไม่อยากรับประทานอาหาร หลังจากนั้นกินจุ หิวบ่อย เป็นต้น                3. ระบบขับถ่ายเปลี่ยนแปลงไปจากปกติหรือไม่ อย่างไร                4. กิจกรรมและการออกกำลังกาย การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน- สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง- กิจวัตรประจำวัน- กิจกรรมนันทนาการ- การทำกิจกรรมนอกบ้าน (ความคาดหวังเกี่ยวกับความสามารถ- ทำกิจกรรม - ออกกำลังกายของตนเองหลังการบำบัด                5. การพักผ่อน มีแบบแผนการนอนตามปกติ หรือเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ เช่น หลับยาก ตื่นกลางดึก ตื่นแต่เช้ามืด หลับมาก หรือน้อยกว่าปกติ                6. อาการทางร่างกาย เช่น                 - ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางเพศที่เกี่ยวกับการติดยาบ้า และเหตุผลที่เกี่ยวข้อง จิตใจและอารมณ์                1. การรับรู้และการดูแลสุขภาพ ได้แก่ การรับรู้ของผู้ป่วยต่อภาวการณ์เสพติด สาเหตุการติดยาในครั้งนี้ สาเหตุของการรักษาในครั้งนี้ ความคาดหวังต่อการช่วยเหลือของแพทย์และพยาบาล ผลกระทบที่ผู้ป่วยคาดว่าจะเกิดขึ้นหลังการบำบัดฟื้นฟูทั้งด้านบวกและด้านลบ                2.  ระดับการรู้จักตนเอง การรับรู้กาลเวลา สถานที่ และบุคคล ความคิดอยากยาเสพติด การพูด การติดต่อสื่อสาร                3. ความวิตกกังวล และสาเหตุที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล อาการทางกายที่มีผลจากความวิตกกังวล การเชื่ออำนาจภายในตน ภายนอกตน ความภูมิใจในตนเอง ความคาดหวังเกี่ยวกับผลกระทบของความเจ็บป่วยต่อการวางแผนชีวิต                4. ระดับความเครียดก่อนเข้ารับการรักษา สาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด                - ความเครียด หลังจากกลับไปดูแลตนเอง                - ความสามารถในการแก้ปัญหาของผู้ป่วย                - ความรู้สึกเศร้า / อยู่ในภาวะวิกฤต                - สิ่งที่กระทบกระเทือนใจที่สุด เมื่อเผชิญกับสิ่งที่กระทบกระเทือนใจดังกล่าว ผู้ป่วยแก้ปัญหาอย่างไร มีประวัติทำร้ายตนเองหรือไม่                - การนับถือศาสนา วัฒนธรรมและสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ                - ความสัมพันธ์ของความเจ็บป่วยกับความเชื่อ ทางสังคม                - ผลกระทบของความเจ็บป่วยต่อการประกอบอาชีพ / การศึกษา                - บุคคลที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่คือใคร ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างไร                - บุคคลที่มีความหมายต่อผู้ป่วยมากที่สุดคือใคร (Significant Person)                - ความรู้สึกว่าตนเองแยกออกจากสังคม                - การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น                - ความสามารถในการติดต่อสื่อสาร                - ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกครอบครัวกับผู้ป่วย                - ปัญหาและการแก้ปัญหาภายในครอบครัว                - บทบาทของผู้ป่วยในครอบครัว                - บทบาทของบุคคลสำคัญของครอบครัว                - ขณะที่ผู้ป่วยกล่าวถึงบุคคลในครอบครัว รู้สึกโกรธ บุคคลใดบ้าง                - แบบแผนการติดต่อสื่อสารภายในครอบครัว เช่น การพึ่งพา  การบังคับควบคุม                - การแสดงออกต่อกัน                - ความระแวงสงสัย                - ทำตามความพอใจ                - มีลับลมคมใน                - ลักษณะการตอบคำถามของผู้ป่วยเป็นไปอย่างเปิดเผย / ปิดบัง และการสบตาขณะสนทนา                - ความเครียดที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว และสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด   
คำสำคัญ (Tags): #matrix
หมายเลขบันทึก: 40797เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2006 12:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 23:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท