ตามรอยรหัสนัยของตัวเลขในพระคัมภีร์ ตอน1)


ในความเป็นไปได้ของความหมายที่ซ่อนไว้ในรหัสนัยทางศาสนา

ที่มา: radiantbookcentre.com

ในคัมภีร์ของศาสนาคริสต์ฉบับพันธสัญญาใหม่ มีอยู่ภาคหนึ่งที่เรียกว่าภาคพยากรณ์หรือวิวรณ์ เนื้อหาจะระบุถึงรหัสนัยของตัวเลขต่างๆ ที่ยากแก่การเข้าใจอย่างมากมาย อาทิ เช่น (อ้างจาก wordplanet.org)

 

ดาวทั้ง 7 ดวง ประทีปทั้ง 7 คันของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้อาวุโสชั้นสูงบนสวรรค์จำนวน 24 ท่าน

สัตว์พิทักษ์ 4 ตัว โดยแต่ละตัวมีตาทั้งด้านหน้าและหลัง มีปีก 6 ปีก

ตราประทับทั้ง 7 ดวง และหนังสือภัยพิบัติทั้ง 7

ทูตสวรรค์ทั้ง 7 องค์

คน 144,000 คนจาก 12 เผ่า

พยานทั้งสองกับการพยากรณ์ 1260 วัน หรือ 42 เดือน

พญานาคเป็นเทพที่ถูกขับไล่จากสวรรค์ มี 7 หัว 10 เขา

หญิงตั้งครรภ์แก่มีมงกุฎเป็นดาว 12 ดวง

สัตว์ร้ายตัวแทนพญานาคขึ้นมาจากทะเล มี 7 หัว 10 เขา

สัตว์ร้ายอีกตัวขึ้นมาจากแผ่นดิน มีสองเขาและหมายเลขประจำตัว 666

ส่วนหัวของสัตว์คือราชาทั้ง 7 และส่วนเขาคือราชาที่เหลืออีก 10 บวกสัตว์ร้ายอีกหนึ่ง

เมืองใหม่ที่สวยงาม มีประตู 12 ประตู แต่ละประตูมีเทวดาประจำอยู่ 12 องค์

เมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมกำแพงเมืองยาว 2400 กม. สูง 72 ม.

แผ่นดินโลกมี 4 ทิศ โดยแต่ละทิศมี 3 ประตู

ในเมืองตามถนนและริมแม่น้ำมีต้นไม้ชีวิตออกผล 12 ชนิดทุกเดือน

 

ผู้เชี่ยวชาญด้านการแปลรหัสนัยได้ค้นคว้าและแปลความหมายกันไว้ต่างๆนานา บ้างเชื่อว่าวันพิพากษาโลกได้ใกล้เข้ามาทุกขณะแล้ว 

ถ้าเรามาลองวิเคราะห์และแปลความหมายของตัวเลขบ้างจะได้ไหม

เมื่อเราคัดตัวเลขรหัสนัยออกมาจะได้กลุ่มตัวเลขดังนี้

2 – 3 – 4 – 6 – 7 – 10 – 12 – 24 – 42 – 72 – 666 – 1260 – 2400 – 144000

เลข 7 กับ 12 ถูกกล่าวถึงมากที่สุด เราลองเริ่มต้นกันจากตรงนี้ดู

7+12 = 19 คือตัวเลขที่เป็นตัวเลขพื้นฐานในพระคัมภีร์กุรอาน  และมีความสัมพันธ์กับตัวเลข13 หลายอย่างดังที่เคยเขียนถึงแล้ว

7x12 = 84 คือสองเท่าของ 42 และ 42x30 = 1260 และ 1260/10

=126 หรือ 42x3 = 126

126 มีความสัมพันธ์กับ 13 โดย 13x13x13 = 2197  แล้วนำ 2x1x9x7

= 126

การผสมกันแบบข้างบนจะสะท้อนถึงความสัมพันธ์ของตัวเลข 7 กับ 12 ที่โยงไปยังตัวเลขตัวหนึ่งคือ 13   

ต่อไปเมื่อเรานำ 126x12 = 1512 หรือเท่ากับ 216x7 หรือเท่ากับ 84x18   

จำนวน 126 คือผลคูณของ 18 กับ 7 ส่วน 216 คือผลคูณของ 18 กับ 12 และ

สำหรับ18 คือหนึ่งเท่าครึ่งของ 12 หรือคือผลบวกของ 10+7+1

เลข 12 คือสองเท่าของ 6 เมื่อเรานำ 6x6 = 36 ซึ่งคือสองเท่าของ 18 และสามเท่าของ 12 และเมื่อเรานำ 6x6x6 จะได้ 216   

นำ 7x6 = 42 คือสองเท่าของ 21 และ 126/21 = 6 หรือ 36x42 = 1512 หรือ 6x6x6x7 

นอกจากนี้ยังพบว่าผลบวกของ 1+2+6 เท่ากับ 2+1+6 เท่ากับ 1+8 = 9

   

ด้วยการผสมกันในอีกแบบจะเกิดภาพความสัมพันธ์ของตัวเลข 7 กับ 12 ที่โยงไปยังเลข 6

ถ้านำเลข 6x13 เราก็จะได้ผลเท่ากับ 78 ซึ่งสามารถเขียนในรูปของ 36+42 หรือ 89-11 ก็ได้ ซึ่ง 89 และ 11 มาจากความสัมพันธ์ระหว่างชุดลำดับฟีโบนาชีของ 13 และ 76

ชุด 13 ได้แก่ ….+13+21+34+55+89+…. และชุด 76 ซึ่งเกิดจากเลข 19x4 ได้แก่ ….+11+18+29+47+76+….

ส่วน 78 ก็คือสามเท่าของ 26 และ 42 คือชุดลำดับฟีโบนาชี

….+16+26+42+68+110+…. หรือคือสองเท่าของชุดลำดับ

….+8+13+21+34+55+…. นั่นเอง

หรือเมื่อเรานำชุดลำดับ 13 และ 76 จำนวน 7 ลำดับมาบวกกันเราจะได้ความสัมพันธ์ดังนี้

13 + 11 = 24

21 + 18 = 39 คือจำนวนครึ่งหนึ่งของ 78

34 + 29 = 63  คือจำนวนครึ่งหนึ่งของ 126   

55 + 47 = 102

89 + 76 = 165

144 + 123 = 267

233 + 199 = 432 คือจำนวนสองเท่าของ 216 

(เพิ่มเติม 13 พย. 2553)

เป็นเรื่องบังเอิญหรือปล่าวก็ไม่รู้ได้เมื่อเรานำผลรวมของชุด 13 ห้าลำดับซึ่งเท่ากับ 212/78 จะได้ผลหารเท่ากับ 2.7179…. ซึ่งเข้าใกล้ค่า e ของออยเลอร์มาก     

ต่อไปลองนำ 24x72 = 1728 หรือเท่ากับ 12x12x12 หรือเท่ากับ 144x12 หรือเท่ากับ 432x4 หรือเท่ากับ 216x8

นอกจากนั้นยังพบว่า 1512 คือผลของ 216x 7 และ 1728 คือผลของ 216x8

ซึ่งทุกตัวเลขจะเกี่ยวข้องกับ 12  และเลข 12 ในชุดนี้จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับ 7 แต่จะพัวพันกับ 6 มากกว่า   

  

โดยรวมแล้วรหัสนัยตัวเลขมีการแสดงบทบาทของตัวเลขเพียงสามตัวได้แก่ เลข 7 เลข12 และเลข 6 และยังโยงใยไปเกี่ยวพันกับเลข 13 และ 19 ที่อยู่ข้างนอกอีกด้วย

แล้วเราจะแปลความหมายของรหัสนัยตัวเลขอย่างไรดี

1)              เป็นไปได้มั้ยที่รหัสนัยทางตัวเลขเหล่านี้คือการเขียนวงกลมและทรงกลม (อีกแล้ว) ดังที่เคยเขียนถึง นั่นคือ วงกลมหนึ่งๆ แบ่งออกเป็น 12 ส่วน  ในแต่ละส่วนประกอบไปด้วย 9 ส่วนย่อย และในแต่ละส่วนย่อยยังประกอบไปด้วยพื้นฐานอีก 2 นั่นก็คือ หนึ่งวงกลมจะประกอบไปด้วย  2x9x12 = 216 ส่วน 

2)              หรืออีกแบบหนึ่งเป็นแบบใหม่คือวงกลมถูกแบ่งออกเป็น 7 ส่วน ในแต่ละส่วนประกอบไปด้วย 9 ส่วนย่อย และในแต่ละส่วนย่อยยังประกอบไปด้วยพื้นฐานอีก 2 นั่นก็คือ วงกลมแบบนี้จะประกอบไปด้วย  2x9x7 = 126 ส่วน ได้หรือไม่ 

3)              หรือวงกลม 216 เจ็ดวงมีขนาดเท่ากับวงกลม 126 สิบสองวง โดยวงกลม 126 เกิดก่อนแล้วภายหลังพัฒนาไปเป็นวงกลมแบบ 216 ซึ่งเสถียรกว่า

4)              เป็นได้ได้มั้ยที่รหัสนัยตัวเลขนี้มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับสัดส่วนทอง หรือ phi และลำดับฟีโบนาชี

5)              เป็นไปได้มั้ยว่าตัวเลขรหัสนัยนี้ชี้ไปที่โครงสร้างของจักรวาล

6)              และเป็นจักรวาลที่ประกอบกันขึ้นด้วยความสัมพันธ์ของทรงกลม สัดส่วนทองหรือ phi และชุดลำดับแบบฟีโบนาชีในรูปแบบต่างๆกันมากมาย

7)              นอกจากนั้นถ้าอ้างถึงหลักทางโหราศาสตร์จะพบความเข้ากันได้กับตัวเลขรหัสนัยเช่นกัน ได้แก่ โหราศาสตร์แบ่งราศีออกเป็นสิบสองราศี ที่ประกอบด้วยหนึ่งร้อยแปดส่วนย่อย 

8)              แบ่งธาตุออกเป็นสี่ธาตุหลักคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ  ประจำทิศหลักทั้งสี่ และในแต่ละธาตุยังมีการหมุนเวียนเป็นวัฏจักรของการ เกิดขึ้น ดำรงอยู่ และแปรปรวนไป ซึ่งเป็นไตรลักษณ์ของธรรมชาติเสมอ

9)              ดวงดาวในโหราศาสตร์ไทย เดิมประกอบไปด้วยดาวจำนวนเจ็ดดวง และรวมราหูจอมวายร้ายอีกหนึ่งเป็นทั้งหมดแปดเท่านั้น     

           

สุพัฒน์  เจริญสรรพพืช

วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

หมายเลขบันทึก: 407961เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2010 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กันยายน 2014 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท