ประเภทของการวิจัย


ประเภทของการวิจัย

        การจำแนกประเภทของการวิจัยออกเป็นประเภทต่าง ๆ  ของนักวิจัยก็เพื่อแยกแยะคุณลักษณะหรือข้อแตกต่างของรูปแบบการวิจัยแต่ละลักษณะให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น  ทั้งนี้ก็เพราะเมื่อผู้ศึกษามีความเข้าใจในลักษณะและประเภทต่าง ๆ  ของการวิจัยแล้วก็จะช่วยให้มีหลักเกณฑ์ที่จะใช้ในการออกแบบการวิจัย  การอ่านผลการวิจัยหรือการประยุกต์ใช้ผลงานการวิจัยรวมทั้งการมีทัศนคติเชื่อถือผลงานวิจัยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  และเห็นคุณค่าของการวิจัยประเภทต่าง  ๆ  ได้ดียิ่งขึ้น  สำหรับการแบ่งประเภทการวิจัยทางสังคมศาสตร์นั้นสามารถแบ่งประเภทได้  ดังนี้

1 พิจารณาจากประโยชน์ หรือความต้องการที่จะได้รับจากการวิจัย แบ่งเป็น 3 ประเภท

1.1 การวิจัยบริสุทธิ์ (Pure Research) หรือ การวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) เป็นการวิจัยเพื่อหาทฤษฎี สูตร หรือสร้างกฎ เพื่อเป็นพื้นฐาน ในการศึกษา เรื่องอื่น ๆ ต่อไป                

1.2 การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) เป็นการวิจัยเพื่อนำผลไปทดลอง ใช้แก้ไขปัญหาอื่น ๆ ต่อไป เช่น การวิจัยทางแพทย์                
                1.3 การวิจัยเชิงปฏิบัติ (Action Research) เป็นการวิจัยประยุกต์ในลักษณะ หนึ่งที่มุ่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นเรื่อง ๆ ไป ผลของการวิจัยนี้ใช้ได้ใน ขอบเขตของปัญหานั้น ๆ เท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ อื่น ๆ

2 พิจารณาจากลักษณะขอตามวิธีการศึกษา ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

                2.1 การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นวิธีค้นหาความรู้และความจริง โดยเน้นที่ข้อมูลเชิงตัวเลข การวิจัยเชิงปริมาณจะพยายามออกแบบวิธีการวิจัยให้มีการควบคุมตัวแปรที่ศึกษาต้องจัดเตรียมเครื่องมือรวบรวมข้อมูลให้มีคุณภาพ จัดกระทำสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องให้เป็นมาตรฐาน และใช้วิธีการทางสถิติช่วยวิเคราะห์และประมวลข้อสรุปเพื่อให้เกิดความคลาดเคลื่อน (Error) น้อยที่สุด (ศาสตราจารย์เกียรติคุณบุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ : 2549)

วัตถุประสงค์ 

         การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) มีวัตถุประสงค์ที่จะพยายามให้คำอธิบายปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ โดยพยายามใช้แนวที่เรียกว่า ปฎิฐานนิยม (Positivism) การอธิบายปรากฏการณ์จึงเป็นการนำเสนอเชิงตัวเลข ทางสถิติ เช่น ร้อยละของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจ เป็นต้น

 

 

 

ลักษณะของข้อมูล

                     การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เป็นการศึกษาสภาพทั่วไปของสังคมโดยกำหนดตัวแปรต่างๆเพื่อเก็บข้อมูลสถิติตัวเลข อาจเป็นข้อมูลปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ การเสนอภาพรวมจะมี ข้อมูลเชิงปริมาณประกอบด้วย

วิธีการเก็บข้อมูล

      การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) จะเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสำรวจ เน้นการเก็บข้อมูลจากคนจำนวนมาก เพื่อทำการวิเคราะห์และทดสอบทฤษฎีหรือสร้างทฤษฎีและให้ความหมายในเชิงวิชาการมากกว่าการศึกษาแง่มุมของชาวบ้าน

การตั้งสมมติฐานและการทดสอบสมมติฐาน

                   การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ข้อมูลจากการวิจัยเชิงปริมาณจะเหมาะสมกับการทดสอบทฤษฎีด้วยวิธีการแบบอุปนัย (Deductive) แนวปฎิฐานนิยมเป็นหลัก

การทดสอบความแม่นตรงของข้อมูล (Validity) ความเชื่อถือได้ของข้อมูล (Reliability)

       การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ใช้การเก็บข้อมูลจากคนจำนวนมากด้วยแบบสอบถาม คำถามในแบบสอบถามจึงจำเป็นต้องมีความชัดเจน

ระยะเวลา

       การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถแยกออกจากการเก็บข้อมูลโดยเด็ดขาดได้ การวิเคราะห์ข้อมูลอาจให้เจ้าหน้าที่วิเคราะห์เชิงสถิติดำเนินการได้โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับชุมชนที่ไปศึกษา

      ขั้นตอนการวิจัยเชิงปริมาณ  ประกอบด้วย

               1) การเลือกหัวข้อเรื่องที่จะทำการวิจัย (Research a Topic) ในขั้นตอนแรกผู้วิจัยจะต้องตัดสินใจให้แน่ชัดเสียก่อนว่าจะวิจัยเรื่องอะไร แล้วกำหนดเป็นหัวเรื่องที่จะวิจัย

               2) การกำหนดปัญหาในการวิจัย (Formulating the Research Problem) เป็นการตั้งปัญหาในเรื่องที่ต้องการวิจัยเพื่อหาคำตอบ หรือเป็นการแจกแจงวัตถุประสงค์ของการศึกษา  โดยต้องกำหนดขอบเขตของปัญหาให้ชัดเจน  และเป็นปัญหาที่สามารถหาคำตอบได้

               3) การสำรวจวรรณกรรม (Extensive Literature Survey) เป็นการทบทวนเอกสารต่างๆแนวคิดทางทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องที่ต้องการศึกษา เพื่อหาแนวคิดทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย และสำรวจให้แน่ใจว่าไม่วิจัยซ้ำกับผู้อื่น ทั้งนี้การวิจัยควรเน้นการเสริมสร้างให้เกิดความรู้ใหม่ 

              4) การตั้งสมมติฐานการวิจัย (Formulating Hypothesis) เป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหาในการวิจัย หรือคาดคะเนความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ ที่จะศึกษาไว้ล่วงหน้าแล้วจึงหาข้อมูลมาพิสูจน์

              5) การออกแบบการวิจัย (Research Design) เป็นการวางแผนกำหนดวิธีการในการดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบของปัญหาในการวิจัย เช่นการเก็บข้อมูล การเลือกเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ระยะเวลาที่ต้องใช้ในการวิจัย บุคลากรและงบประมาณที่จะใช้

              6) การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) เป็นการวางแผนว่าจะเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างไร จะใช้ข้อมูลปฐมภูมิ หรือทุติยภูมิ และถ้าเป็นข้อมูลทุติยภูมิควรจะเก็บอย่างไร การสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูล ถ้าเป็นข้อมูลทุติยภูมิจะใช้ข้อมูลจากแหล่งใด

              7) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จะนำมาบรรณาธิการความถูกต้อง (การตรวจสอบความถูกต้อง) และความน่าเชื่อถือของข้อมูลก่อน จึงทำการประเมินผลและวิเคราะห์ผลที่ได้และพิสูจน์กับสมมติบานที่ตั้งไว้

               8.) การเขียนรายงานผลการวิจัยและจัดพิมพ์เผยแพร่ (Research Report) เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการวิจัย ผู้วิจัยจะต้องเขียนรายงาน เพื่อให้ผู้อื่นทราบถึงกิจกรรมที่ดำเนินในขั้นตอนต่างๆ และสิ่งที่ค้นพบจากการวิจัย ซึ่งผู้วิจัยจะต้องเขียนรายงานตามรูปแบบของการเขียนรายงานการวิจัย และเขียนด้วยความซื่อสัตย์ในสิ่งที่ค้นพบ

                2.2 การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นวิธีค้นหาความจริงจากเหตุการณ์ และสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ตามความเป็นจริง โดยพยายามวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อม เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (Insight) จากภาพรวมของหลายมิติ ความหมายนี้จึงตรงกับความหมายของการวิจัยเชิงธรรมชาติ (Naturalistic Research) ซึ่งปล่อยให้สภาพทุกอย่างอยู่ในธรรมชาติ ไม่มีการจัดกระทำ (Manipulate) สิ่งที่เกี่ยวข้องใดๆเลย

วัตถุประสงค์

       การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคม (Contextual) ซึ่งปรากฏการณ์ทางสังคมบางประการ ที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลธรรมดาทั่วไปได้ จึงต้องพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมต่างๆ เพื่อนำมาอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่นักวิจัยต้องการศึกษา

ลักษณะของข้อมูล

                     การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มีความต้องการข้อมูลที่รอบด้าน (Holistic) เพื่อเข้าใจบริบทของสังคม ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานของงานวิจัย ที่ต้องการศึกษาชุมชนหรือสังคมอย่างรอบด้าน มีการเก็บรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง ความเชื่อ พิธีกรรมอย่างละเอียด มีการวิเคราะห์ข้อมูลวัฒนธรรมและสังคมเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสังคมและวัฒนธรรมทั้งหมด

วิธีการเก็บข้อมูล

         การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลขนาดเล็ก ไม่เน้นการสำรวจจากคนจำนวนมาก เทคนิคการวิจัยไม่แยกขั้นตอนของการเก็บข้อมูลกับการวิเคราะห์ข้อมูลออกจากกัน การเก็บข้อมูลใช้วิธีการสังเกตและการสัมภาษณ์ นอกจากนี้การเข้าไปอยู่ในชุมชนจะช่วยให้ได้ข้อมูลหลายด้านมากขึ้น

 

การตั้งสมมติฐานและการทดสอบสมมติฐาน

          ไม่เน้นการตั้งสมมติฐาน แต่ถ้ามีสมมติฐานนั้นก็อาจปรับได้ตลอดเวลา ถ้าข้อมูลที่ได้มานั้นชี้ให้เห็นว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้ไม่สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริง

การทดสอบความแม่นตรงของข้อมูล (Validity) ความเชื่อถือได้ของข้อมูล (Reliability)

         การวิจัยเชิงคุณภาพ จะไม่เน้นการใช้แบบสอบถาม การทดสอบความเชื่อถือได้และความถูกต้องของข้อมูลจะทำโดยนักวิจัยในขณะที่ทำการสัมภาษณ์ โดยดูว่าคำตอบที่ได้มาสอดคล้องกับบริบทของชุมชนและสังคมนั้นๆหรือไม่

ระยะเวลา

ใช้เวลาในการศึกษานานมากทำให้ดูเหมือนได้งานน้อย แต่มีความลึกซึ้ง เพราะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในการเก็บข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ ต้องวิเคราะห์ข้อมูลในขณะที่เก็บข้อมูลในสนาม เพื่อตรวจสอบว่าข้อมูลถูกต้องครบถ้วนหรือไม่

ขั้นตอนการวิจัยเชิงคุณภาพ  ประกอบด้วย

              1) การกำหนดปัญหาในการวิจัย  ปัญหาที่ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพมี  2  ประเภท  ได้แก่  การวิจัยลักษณะทั่วไปของปรากฏการณ์  และการวิจัยลักษณะเฉพาะเจาะจง  เช่น  การวิจัยเพื่อหาสาเหตุ  ปัจจัยกำหนด  กระบวนการ  และผลกระทบ  เป็นต้น  ทั้งนี้การศึกษาปรากฏการณ์เหล่านี้จะต้องเป็นการศึกษาที่มองรอบด้านและคำนึงถึงบริบท (Context) ของปรากฏการณ์นั้น ๆ

              2) การสำรวจวรรณกรรม ผู้วิจัยต้องสำรวจวรรณกรรมเพื่อทบทวนว่ามีผู้ใดทำวิจัยในหัวข้อที่ศึกษาหรือยัง และสรุปแนวคิดทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และที่เคยมีผู้ใช้มาก่อน เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือนำทางในการกำหนดกรอบแนวคิดกว้าง ๆ

              3) การเก็บรวบรวมข้อมูล  เป็นการวิจัยเพื่อหาข้อสรุป  หรือตั้งสมมติฐานจากข้อเท็จจริงที่พบจากการวิจัย  ผู้วิจัยมีบทบาทสำคัญในการเก็บข้อมูลที่จะได้มาจากการสังเกต  จดบันทึก  สัมภาษณ์  และข้อมูลเอกสาร  ดังนั้นผู้วิจัยต้องกำหนดตัวอย่าง  และสนาม(หรือพื้นที่)ของการวิจัยให้ชัดเจน  และต้องรวบรวมข้อมูลที่เป็นบริบทของข้อมูล

              การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นขั้นตอนที่สำคัญของการวิจัยเชิงคุณภาพ  เพราะผู้วิจัยจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยเข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุการณ์  และใช้เทคนิคการสังเกตการณ์  การสัมภาษณ์  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความละเอียดเกี่ยวกับโลกทัศน์  ความรู้สึก  ค่านิยม  ประวัติ  คุณลักษณะ 

              4) การวิเคราะห์ข้อมูลและเสนอรายงานผลการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพจะใช้วิธีการจำแนกและจัดระบบข้อมูลเพื่อตอบคำถามว่า คืออะไร   เป็นอย่างไร และหาความสัมพันธ์ของข้อมูล แยกแยะเงื่อนไข เพื่อดูสาเหตุ ความสัมพันธ์ กระบวนการเปลี่ยนแปลงโดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือทางสถิติ หรือใช้เพื่อรวบรวมจัดหมวดหมู่

กล่าวโดยสรุปคือ  การวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งหาข้อเท็จจริงและข้อสรุปเชิงปริมาณ เน้นการใช้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขเป็นหลักฐานยืนยันความถูกต้องของข้อค้นพบ และสรุปต่างๆ มีการใช้เครื่องมือที่มีความเป็นปรนัยในการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่น แบบสอบถามแบบทดสอบ การสังเกต การสัมภาษณ์ การทดลอง เป็นต้น ในทางตรงกันข้าม

การวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) เป็นการวิจัยที่นักวิจัยจะต้องลงไปศึกษาสังเกต และกลุ่มบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดทุกด้านในลักษณะเจาะลึก ใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการเป็นหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้การวิเคราะห์เชิงเหตุผลไม่ได้มุ่งเก็บเป็นตัวเลขมาทำการ

3 พิจารณาจากระดับของการศึกษาตัวแปร แบ่งออกเป็น

                3.1 การวิจัยเพื่อการสำรวจ (Exploratory Study) เป็นการวิจัยเพื่อสำรวจตัวแปร และปรากฏการณ์ของตัวแปร เพื่อนำผลมาอธิบายการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์นั้น ๆ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

                1) การวิจัยเพื่อตรวจสอบตัวแปร (Identified Variable)            
                2) การวิจัยเพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปร (Discovery of Reiationship Between Variables)

                3.2 การวิจัยเพื่อตรวจสอบสมมุติฐาน (Hypothesis Testing Study) เป็นการศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎี เพื่อที่จะนำไปใช้ในการทำนาย การวิจัยชนิดนี้มีทางตั้งสมมุติฐาน และตรวจสอบดูว่าสมมุติฐานที่ตั้งขึ้นว่าถูกต้องหรือไม่

4 พิจารณาจากชนิดของข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

                4.1 เชิงประจักษ์ (Empirical Research) เป็นการวิจัยที่หาความจริงจากข้อมูลปฐมภูมิ โดยมีการเก็บข้อมูล และใช้สถิติในการวิเคราะห์              
                4.2 เชิงไม่ประจักษ์ (No empirical Research) เป็นการวิจัยที่หาความรู้ความจริงจากข้อมูลเอกสาร และวรรณกรรม ไม่การใช้สถิติมาวิเคราะห์

5 พิจารณาจากลักษณะการศึกษาตัวแปร แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท

                5.1 เชิงสำรวจ (Survey Research) เช่น การสำรวจทัศนคติ เพื่อหาข้อเท็จจริง   
                5.2 การศึกษาย้อนหลังในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว (Export Factor Research) เป็นการศึกษาหาความสัมพันธ์ของตัวแปร จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ก่อน ส่วนใหญ่ใช้ในการศึกษา เช่น การศึกษาว่าเด็กสอบตกเกิดจากเหตุใด หรือมีบุคลิกภาพต่างกันอย่างไร         
                5.3 เชิงทดลอง (Experimental Research) เป็นการศึกษาตัวแปร โดยการควบคุม โดยมุ่งวิจัย และสังเกตผลที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่ใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์

6 พิจารณาจากระเบียบการวิจัย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

                6.1 วิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical Research) เป็นการศึกษาหาข้อเท็จจริงที่เป็นเรื่องราวในอดีต เพื่อใช้ความรู้มาอธิบายเหตุการณ์ในปัจจุบัน และอนาคต

    การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical Research) เป็นการวิจัยที่ประยุกต์มาจากวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อศึกษาข้อเท็จจริงของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต อันจะนำไปสู่ความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เหตุการณ์ และสถานที่ของเรื่องนั้น ๆ ผลของการวิจัยนำไปสู่ความเข้าใจปรากฏการณ์ในปัจจุบัน รวมถึงสามารถพยากรณ์ปรากฏการณ์ในอนาคตได้

ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

                1 ข้อมูลที่ศึกษาเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต ผู้วิจัยควบคุมไม่ได้

                2 ลักษณะของการศึกษาเป็นการตรวจสอบข้อมูลที่ผู้อื่นทำไว้

              3 ข้อมูลที่จำเป็นของการวิจัย คือ ข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิ

                4 การตรวจสอบข้อมูลใช้การวิเคราะห์ด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ ข้อมูล ประกอบด้วยการวิจารณ์ภายนอก และการวิจารณ์ ภายใน

ตัวอย่างชื่องานวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

     - การวิเคราะห์วรรณกรรมของสุนทรภู่

     - การศึกษาแนวโน้มของปริมาณนักศึกษาที่มาใช้บริการ การศึกษาผู้ใหญ่ในช่วง 10ปีที่ผ่านมา วิวัฒนาการของเครื่องปั้นดินเผาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนถึงปัจจุบัน

     - สภาพการค้าของไทยระหว่าง พ.ศ. 2325 - 2398

     - บทบาทเอกชนในการจัดการศึกษาในประเทศไทย พ.ศ. 2461-2497

     - การปฏิรูปการปกครองมณฑลอีสานสมัยที่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ทรงเป็นข้าหลวงใหญ่

     - การผลิตและการค้าข้าวภาคกลาง ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

     - ประเทศไทยกับปัญหาเมืองจันทบุรีและตราด ที่ฝรั่งเศสยึดครองระหว่างปี พ.ศ. 2436-2449

ความมุ่งหมายของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

     1. เพื่อค้นหายุคเริ่มต้นของทฤษฎี เรื่องราว ปรากฏการณ์ ต่าง ๆ

     2. เพื่อศึกษาความเป็นมาของเรื่องราว ข้อเท็จจริง และ ทฤษฎี ต่าง ๆ ในอดีต ที่สามารถนำไปใช้ ในปัจจุบัน และอนาคตได้

     3. เพื่อศึกษาต้นตอทฤษฎีต่าง ๆทำให้เข้าใจ วิวัฒนาการ ของทฤษฎี

     4. เพื่อค้นหาสมมติฐานที่ตั้งขึ้นบนรากฐานในการสร้าง ความเป็นมาตรฐานในอดีต

     5. เพื่อช่วยในการประเมินทฤษฎี และการปฏิบัติในปัจจุบัน

     6. เพื่อใช้ข้อมูลในอดีตมาเป็นฐานในการสร้างความเป็น มาตรฐานในปัจจุบัน

     7. เพื่อพยากรณ์เหตุการณ์ในปัจจุบันและอนาคต โดยอาศัยอดีต ที่คล้ายคลึง

     8. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความจริง ที่เกี่ยวกับอดีต ให้มากยิ่งขึ้น

ข้อมูลของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ จำแนกได้ 2ลักษณะ

ลักษณะที่ 1 จำแนกตามแหล่งที่ได้มาของข้อมูล

     - ข้อมูลที่ได้จากแหล่งปฐมภูมิ (Primary Source)

     - ข้อมูลที่ได้จากแหล่งทุติยภูมิ (Secondary Source)

ลักษณะที่ 2 จำแนกตามลักษณะข้อมูล

      - บันทึก

     - ซากที่เหลืออยู่

ข้อมูลที่ได้จากแหล่งปฐมภูมิ

     - เอกสาร (Document)

     - ซากวัตถุโบราณ ซากศพ หรือของโบราณต่าง ๆ (Remains or Relics)

     - คำให้การหรือคำสัมภาษณ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ (Oral Testimony) ข้อมูลที่ได้จากแหล่งทุติยภูมิ

     - ตำราทางประวัติศาสตร์ และสารานุกรม (History Text Books and Encyclopedia)

     - บรรณานุกรม (Bibliographies)

ข้อมูลที่มีลักษณะการบันทึก

     - บันทึกของทางราชการ (Official Record)

     - บันทึกส่วนตัว (Personal Record)

      - ประเพณีที่เล่าต่อ ๆ มา (Oral Traditions)

     - รูปภาพ (Pictorial Record)

     - วัสดุสิ่งพิมพ์ (Published Materials)

      - เครื่องบันทึก (Mechanical Record)

ข้อมูลที่มีลักษณะเป็นซากที่เหลืออยู่

      - ซากวัตถุสิ่งของ (Physical Remains)

      - วัสดุสิ่งพิมพ์ (Printed Materiaks)

     - วัสดุที่เขียนด้วยมือ (Hand Written Materials)

ระเบียบวิธีวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

1 การเลือกและการกำหนดปัญหาในการวิจัย ต้องกะทัดรัดชัดเจน แจ่มชัด ได้ใจความสมบูรณ์ มีความเป็นไปได้ สามารถหาข้อมูลได้สะดวกและเพียงพอ

2 การนิยามปัญหา

     - ความมุ่งหมายของการวิจัย

     - ความสำคัญของปัญหา

      - ขอบเขตของการวิจัย

      - ข้อตกลงเบื้องต้น

      - ศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการวิจัย

3 ตั้งสมมติฐาน โดยปกติมักจะไม่ตั้งสมมติฐาน แต่เพื่อให้ผู้วิจัยมีแนวทางการวิจัยที่ ชัดเจนอาจจะตั้งได้เป็นบางกรณ์

4.การรวบรวมข้อมูล จะต้องพยายามรวบรวมข้อมูลจาก แหล่งปฐมภูมิก่อน

5.การวิเคราะห์ข้อมูลหรือการตรวจสอบข้อมูล

     - การวิพากษ์วิจารณ์ภายนอก เป็นการพิจารณาว่าข้อมูลหรือเอกสาร เป็นของจริงแท้ดั้งเดิมหรือไม่

     - การวิพากษ์วิจารณ์ภายใน เป็นการพิจารณาในเรื่องของ ความหมายและความเชื่อถือได้ของข้อมูล

6. การแปลความหมายข้อมูลและการสรุปผลการวิจัย

หลักในการแปลความหมายข้อมูล

              1) การจัดหาเอกสารประกอบการค้นคว้า ต้องทำอย่างจริงจัง

               2) การเลือกและเรียบเรียงข้อมูล ต้องแยกเป็นหมวดหมู่ เรียงลำดับก่อนหลัง

                3) การใช้ปรัชญาในการแปลความหมายของข้อมูล ต้องมีความเที่ยงตรง ไม่ลำเอียง

7 การรายงานผลการวิจัย

                - การเขียนรายงานแบบประวัติศาสตร์ เขียนตามลำดับเนื้อเรื่องตามเวลาที่เกิดก่อนหลัง

                - การเขียนแบบวรรณคดี เขียนโดยจัดเนื้อเรื่องที่เป็นอย่างเดียวกันโดยไม่ต้อง คำนึงถึงเวลาเกิดก่อนหรือหลัง

ข้อเสนอแนะบางประการในการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

              1 ไม่เลือกเรื่องที่กว้างเกินไป ยากต่อการสรุป

                2 เลือกเรื่องที่สามารถหาข้อมูลได้อย่างเพียงพอ

                3 พยายามใช้ข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิมากกว่าทุติยภูมิ

                4 ประเมินและวิพากษ์วิจารณ์ทั้งภายนอกและภายใน

                5วิเคราะห์ข้อมูลตามหลักเหตุผล

              - พิจารณาองค์ประกอบโดยละเอียดและให้ครบถ้วน

              - แปลความหมายตามสภาพในสมัยนั้น

           - สรุปผลจะต้องมีหลักฐานที่เพียงพอ       
          6.2 วิจัยเชิงพรรณนา (Description Research) เป็นการศึกษาเพื่อบรรยายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น  

 ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงพรรณนา

                1) เป็นการบรรยายและแปลความหมายของปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นตามสภาพ

              2) ผู้วิจัยไม่ได้จัดกระทำใด ๆ เพียงแต่รวบรวมข้อมูลและ วิเคราะห์นำมาเสนอเท่านั้น

                3) ผู้วิจัยไม่ได้ควบคุมตัวแปรใด ๆ ปรากฏการณ์ ที่ศึกษา นั้นเป็นสภาพตามธรรมชาติ

ตัวอย่างรายชื่องานวิจัยเชิงพรรณนา

                - ความรู้ทางภาษาศาสตร์ของครูสอนภาษา อังกฤษระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

                 - รูปแบบที่ควรจะเป็นของห้องสมุดโรงเรียน มัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                - ปัญหาของนักเรียนประถมศึกษาที่มาจาก ชุมชนแออัดในเขตกรุงเทพมหานคร

                - การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถ ทางสมองกับความสามารถ ด้านการคิด แก้ปัญหา ใน วิชาคณิตศาสตร์ของ นักเรียนในระดับ มัธยมศึกษา

              - การศึกษาเปรียบเทียบสภาพแวดล้อม มหาวิทยาลัยไทย

              - ความต้องการการนิเทศการสอนของครู ภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาในเขตการศึกษา 9

                - ความรู้สึกรับผิดชอบ ความอยากรู้อยากเห็น และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนที่ได้รับ การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลยกับ แบบเอาใจใส่เกินไป

ความมุ่งหมายของการวิจัยเชิงพรรณนา

                1) เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพการณ์ ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

                 2) เพื่อนำข้อมูลในปัจจุบันไปตีความหมาย อธิบาย ประเมินผลและเปรียบเทียบ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ

                3) เพื่อที่จะทราบความสัมพันธ์ และ แนวโน้ม ของเหตุการณ์ในปัจจุบัน

                4) เพื่อสร้างเกณฑ์มาตรฐานของสิ่งที่ได้ศึกษา ไว้เปรียบเทียบ และเป็นแนวทาง แสวงหา ความรู้ความจริงต่อไป

              5) เพื่อทราบหลักเหตุผล และการปฏิบัติ ปัญหาเพื่อหาทางปรับปรุง

ข้อมูลของการวิจัยเชิงพรรณนา

     ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) เป็นข้อมูลที่วัดออกมาเป็นตัวเลข

     ข้อมูลเชิงคุณลักษณะ (Qualitative Data) เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถวัดออกมาเป็นตัวเลข

ระเบียบวิธีของการวิจัยเชิงพรรณนา

              1) การเลือกหัวข้อปัญหา

              2) การนิยามปัญหา

              3) พิจารณาแหล่งข้อมูลของปัญหานั้น ๆ

              4) สำรวจเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

              5) ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ

              6) ศึกษาลักษณะประชากร

              7) เก็บรวบรวมข้อมูล

                8) การจัดกระทำกับข้อมูล

                9) นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล

                10) สรุปผลการวิจัยและอภิปรายผลการวิจัย

              11) เขียนรายงานการวิจัย

 

ชนิดของการวิจัยเชิงพรรณนา

                1การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Studies)

                                - การสำรวจสถาบันการศึกษา (School Survey)

                              - การสำรวจชุมชน (Community Survey)

                                - การสำรวจประชามติ (Public Opinion Survey)

                              - การวิเคราะห์งาน (Job Analysis)

                                - การวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Analysis)

              2 การวิจัยเชิงความสัมพันธ์ (Interrelationship Studies)

                                - การศึกษาเฉพาะกรณี (Case Studies)

                                 - การศึกษาเปรียบเทียบผลเพื่อสืบหาเหตุ (Causal Comparative Studies)

                                 - การศึกษาเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation Studies)

                                - การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างวัฒนธรรม (Cross Cultural Studies)

                3การศึกษาพัฒนาการ (Developmental Studies)

                                - การศึกษาการเจริญงอกงาม (Growth Studies)

                                - การศึกษาแนวโน้ม (Trend Studies)

                6.3 วิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) เป็นการศึกษาตัวแปร เพื่อทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดผล

                              นิยามของการวิจัยเชิงทดลอง หมายถึง การศึกษาถึงความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผล ของตัวแปร โดยมีการจัดกระทำกับตัวแปรที่เป็นเหตุแล้วสังเกตดูว่าผลจะเป็นอย่างไร และมีการควบคุมสภาพการณ์บางอย่างตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์

ธรรมชาติของการทดลอง

                1. จะต้องมีการสร้างปรากฏการณ์ขึ้นมา หรือ การจัดกระทำ (Treatment)

                2. จะต้องมีการสังเกตอย่างใกล้ชิด ยุติธรรม ไม่ลำเอียง รอบคอบ เป็นระบบ

                 3. ยึดหลักเหตุผลตามข้อตกลง ตามวิธีการทาง วิทยาศาสตร์

              4. ผลการวิจัยสามารถตรวจสอบได้ (Verify) หรือ กระทำซ้ำ (Repleated) เพื่อยืนยันผลที่ได้

ความมุ่งหมายของการวิจัยเชิงทดลอง

                1. เพื่อความสัมพันธ์ตามประจักษ์

                2. เพื่อตรวจสอบทฤษฎี

ลักษณะสำคัญของการวิจัยเชิงทดลอง

               1. มีการจัดกระทำกับตัวแปรต้นหรือ ที่เรียกว่า ตัวแปรทดลอง

                2. มีการควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน

                3. มีการออกแบบการทดลอง

ระเบียบวิธีวิจัยของการวิจัยเชิงทดลอง

              1. เลือกหัวข้อปัญหา

              2. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                3. กำหนดตัวแปร

                4. เขียนนิยามปัญหา<

หมายเลขบันทึก: 407953เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2010 14:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2014 13:30 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เยอะจัง ไม่รู้จะใช้แบบไหนดี

ยังคิดหัวข้อไม่ออกเลย

ว่าจะทำการทดลองในสวนลำไยของตัวเอง แต่ไม่รู้จะทำเรื่องอะไรดี...ค่ะ

แล้วถ้าทำแล้ว จะใช้แบบเชิงพรรณนา หรือว่า เชิงทดลอง ดีล่ะ

แต่ที่เข้าใจ คือ ถ้ามีการการทดลองแล้วได้ผลอย่างไร  ก็ต้องพรรณนาอยู่ดีไม่ใช่เหรอ...คะ

ชอบๆๆ อ่านแล้วสนุกดีครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท