ความไม่แน่นอน..ความจริงทางการแพทย์..ที่ไม่มีใครอยากยอมรับ


..Evidence base medicine สอนให้ตั้งระดับมั่นใจที่ 95% แต่ใครจะรู้ ผู้ป่วยที่นั่งอยู่ตรงหน้านั้น จะตกอยู่ใน 5 หรือแม้แต่ 0.001% ที่เป็น False negative หรือไม่...

เมื่ออ่านข่าวนี้ ชาวบ้านแม่กา อ.เมืองพะเยาประท้วงโรงพยาบาล ไม่รับผิดชอบการรักษาผู้ป่วยไข้เลือดออก จนทำให้ถึงแก่ชีวิต
อีกหนึ่งกรณีคนไข้ฟ้องร้องหมอที่ทำให้จิตใจหดหู่
กรณีเช่นนี้มีแต่คนเสียใจ..ฉันยังเชื่อว่า ญาติผู้ป่วยที่ฟ้อง ระหว่างเงินล้าน กับการได้ลูกกลับคืนมา คงเลือกเอาอย่างหลัง  ขณะเดียวกัน ฉันก็เห็นใจแพทย์ที่ดูแลรักษา เพราะอาการที่มา (ไอ เจ็บคอ ไม่มีไข้) ก็ยากที่จะนึกถึงไข้เลือดออกจริงๆ

ในเรื่องนี้คงมีประเด็นการสื่อสาร เช่นเดียวกับหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา แต่..ไม่น่าจะโทษใคร
หากจะโทษ คงต้องโทษ.. "ความไม่แน่นอน"

เมื่อเทคโนโลยีการรักษาก้าวหน้ามากขึ้น สร้างความหวัง พร้อมๆ กัย "ความคาดหวัง" เมื่อไปหาหมอ หมอที่ดีต้องวินิจฉัยถูกต้องเสมอ ถ้าวินิจฉัยไม่ถูก แสดงว่าไม่เก่ง ไม่มีมาตรฐาน

ความจริง ก็คือ Diagnosis ที่แพทย์สามารถบอกได้แม่นยำ 100%  เพียงอย่างเดียว
ก็คือ..ทุกคนต้องตายในวันใดวันหนึ่ง

ทำไม..ขณะที่เมื่อ 100 กว่าปีก่อนคู่มือแพทย์ Merck manual มีแค่ประมาณ 100 หน้า ในปัจจุบันที่จำนวน "โรค" มีมากมาย มีความละเอียดซับซ้อนเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยและรักษา
สิ่งหนึ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงคือ..เรายังไม่สามารถเอาชนะ "ความไม่แน่นอน" ได้

Diagnosis test ต่างๆ ตั้งแต่พื้นฐานอย่างการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ไปจนถึงเครื่องมือทันสมัยอย่าง MRI  ล้วนพัฒนาบนพื้นฐาน "ความน่าจะเป็น (probability)" จากการสังเกต การตั้งสมมติฐาน การประเมินทางสถิติ จาก "ประชากรจำนวนหนึ่ง"
น่าเสียดายที่ เครื่องมือต่างๆ เหล่านี้ช่วยลดความไม่แน่นอนลงได้บ้าง แต่ก็ไม่มีอันไหน 100%..Evidence base medicine สอนให้ตั้งระดับมั่นใจที่ 95% แต่ใครจะรู้ ผู้ป่วยที่นั่งอยู่ตรงหน้านั้น จะตกอยู่ใน 5 หรือแม้แต่ 0.001% ที่เป็น False negative หรือไม่...
เป็นความจริงที่ไม่มีใครอยากยอมรับ การที่แพทย์จะอ้างว่าการวินิจฉัยพลาดเกิดขึ้น เพราะอาการที่เกิดขึ้น atypical อาจไม่ได้ทำให้ญาติผู้ป่วยที่เสียชีวิตรู้สึกดีขึ้น

ความตาย เคยเป็นสิ่งที่ยอมรับกันว่า สามารถเกิดขึ้นโดยฉับพลัน เกิดได้ทุกขณะ สิ่งที่ทำได้คือการมีสติอยู่กับปัจจุบัน  แต่คนในยุคนี้เชื่อว่าความตายเป็นสิ่งป้องกันได้ และไม่ควรตายก่อนอายุ 70 ปี..คนในอนาคต อาจเชื่อว่าไม่ควรตายก่อน 100 ปีก็ได้...เราใช้สติและให้คุณค่ากับลมหายใจในปัจจุบันน้อยลง
เมื่อแม่ของเราอายุ 40 ปี เรายังไม่สนใจเพราะเราคาดว่า ท่านจะยังมีชีวิตได้อีกตั้ง 30 ปี
เมื่อลูกของเราอายุ 10 ปี เราต้องทำงานหาเงินเก็บไว้เยอะๆ ไว้เกษียณแล้วค่อยมีเวลาอยู่กับเขา..

แต่ความตาย ก็ยังคงคุณสมบัติ " ความไม่แน่นอน" ไว้เหมือนเดิม เหมือนครั้งแรกเริ่มมีมนุษยชาติ..

 

หมายเลขบันทึก: 407890เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2010 10:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แวะมาเยี่ยมค่า.. สบายดีหรือเปล่าคะ เห็นเงียบไปเลย คงกำลังยุ่งอยู่ สู้ๆนะคะ

สวัสดีคะพี่ปุ้ม รู้สึกอบอุ่นดีจัง ช่วงที่ผ่านมา "Burnout" ไปพักหนึ่งคะ แหะๆ ที่จริงแล้วได้เข้ามา update blog บ้างแต่เป็นที่ PALMED4 คะ

จะขอเรียนเชิญพี่ปุ้ม หากมีเวลา ช่วยแนะแนวทางบริหารจัดการเวลาของหมอ ให้ราบรื่นทั้งการงาน การเรียนและชีวิตส่วนตัว ที่นี่คะ http://gotoknow.org/blog/aphnpal2009/422564

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท