มวยไทย วันละกำ(๒) พหุยุทธ์มวยไทย..


ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ..เวลา วารี ไม่มีคอยใคร..แค่ไหน ก็ แค่นั้น..

 

พหุยุทธ์มวยไทย
จิตวิญญาน มวยไทย  
(
Soul of Muay Thai Martial Arts)
คือ
“ ความสง่างาม ความร่าเริง และความเป็นมิตร ”

ขั้นตอนและการฝึกศิลปะพหุยุทธ์มวยไทย
1.การฝึกซ้อมที่เน้นการเสริมสร้างพื้นฐานของร่างกาย,การเคลื่อนที่ เคลื่อนไหว,
   การหายใจ
2.การฝึกซ้อมที่เน้นการเสริมสร้างพื้นฐานของจิตใจ,ความเข้าใจตน,ความเบิกบาน,
   ความมีไมตรีจิต
3.การฝึกซ้อมศิลปะการต่อสู้มวยไทย ได้แก่
   - ท่าไหว้ครู
   - ท่ารำมวย
    - ชกลม เล่นเชิง
    - แม่ไม้-ลูกไม้
    - ลูกรับ-ลูกโต้
    - ลูกกัน-ลูกแก้
    - ไม้เด็ด-ไม้ตาย
4.รูปแบบการฝึก  ได้แก่
      การฝึกคนเดียว,ฝึกกับอุปกรณ์,ฝึกกับคู่ซ้อม,การประลอง,การแข่งขัน,
      การต่อสู้กับตนเอง
5.กายคตานุสติมวยไทย คือ
      การประสมประสาน ร่างกาย  จิตวิญญาณ และพหุยุทธ์มวยไทย ให้รวมเป็น
      อันหนึ่งอันเดียวกัน

การฝึกกระบวนท่า พหุยุทธ์มวยไทย  
๑.ขั้นเตรียมตัวเตรียมใจ ประกอบด้วย ชุดแต่งกาย,สถานที่-อุปกรณ์,เวลา,อารมณ์ ฯลฯ..
๒.ขั้นประกอบอิริยาบถ ประกอบด้วย มนตร์บริกรรม,ท่าเทพพนม,
   ท่าปฐม(เปิด-ปิด บัวบาน) ฯลฯ..
๓.ขั้นฐาน ธาตุ ๔  ประกอบด้วย ท่านั่งสำรวม,กอบพสุธา,นาคาพ่นน้ำ,
   เบิกประตูลมซ้าย-ขวา,คชกราน ฯลฯ..
๔.ขั้นสักการะ ประกอบด้วย ท่าอัญเชิญ ท่ากราบเบญจางคประดิษฐ์ ท่าถวายบังคม
   ท่าขึ้นพรหม ฯลฯ..
๕.ขั้นประชุมพล ประกอบด้วย ท่ากากบาท ท่ายักษ์ ท่าลิง ท่าเสือลากหาง ท่าหงส์เหิร
   ท่าย่างสามขุม ท่าต่อศอก ท่าพันหมัดพันมือ ท่าสอดสร้อย ท่าสาวไหม ท่าปั้นลม
   ท่าลับหอก ท่ากวางเหลียวหลัง ท่าน้าวศร ท่าแผลงศร ท่าจักรนารายณ์ ท่าบังสูรย์
   ท่าคันฉ่อง ๔ ทิศ ท่ากรายทวน ๘ ทิศ ท่าอาชาสุขเกษม ฯลฯ..
๖.ขั้นมหิทธานุภาพ  ประกอบด้วย ท่าเหวี่ยงควาย   ท่าหนุมานถวายแหวน
   ท่าตาเถรค้ำฟัก ท่าทะแยค้ำเสา ท่าบาทาลูบพักตร์ ท่ามอญยันหลัก
   ท่าเถรกวาดลาน ท่าทัดมาลา ท่าพุ่งหอก ท่าเหน็บกริช ท่านาคาล้อคลื่น ฯลฯ..
๗.ขั้นสัมฤทธิ  ประกอบด้วย ท่าบั่นเศียร ท่าจระเข้ฟาดหาง ท่ากงล้อนารายณ์
   ท่าดีดกระโหลก ท่าหนุมานทะยานชล ท่าฤาษีบดยา ท่าช้างประสานงา
    ท่ามณโฑนั่งแท่น  ฯลฯ.....
หมายเหตุ
1. การฝึกนี้บ้างก็เป็นลำดับตามขั้น บ้างก็ประสมประสานไปตาม จังหวะ กาย+จิต
2. ควรใช้กำลังที่กลมกลืนพอเหมาะที่มีทั้งช้า เร็ว เบา หนัก(หากรู้สึกติดขัดให้ผ่อนช้าๆ)
3. สิ่งที่สำคัญ คือ การกำหนดเป้าหมาย ที่ผนวกการจัด ท่าป้องกัน พร้อมไปกับ
    การโจมตีให้ชัดเจน
4. เมื่อเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว จึงค่อยๆเพิ่มอุปกรณ์น้ำหนัก ที่พอเหมาะ เพื่อ
   ให้ร่างกายพัฒนาไปสู่ ภาวะกลมกลืน แต่แข็งแกร่ง
5. กระบวนท่า ที่แจ้งในแต่ละขั้น มิได้จำเพาะ ชื่อนั้นๆ แต่กำหนดไว้ด้วยลักษณะ
    การเคลื่อนไหว
6. ผู้บันทึกคาดหวังว่า จะได้มี ผู้เข้าใจ ศึกษาแนวทาง และสามารถประยุกต์ดัดแปลง
    ในการสร้างสมรรถนะ สูงสุด ของแต่ละคน และยังมี ขั้นสูง ที่ ผู้บันทึก มิอาจเข้าถึง
   ได้เนื่องด้วย ข้อจำกัด บางประการ


อ่อนแอ ฤาแข็งแกร่ง    อาจสำแดง สู่สายตา
สัตย์ซื่อ หรือมารยา     เมื่อโกรธา ก็รู้กัน.
ชั่วดีที่ ปรากฎ
            เพียงบางบท ที่เท่าทัน
ใจคน พ้นจำนรรจ์       ห้วงมหรรณพาเทียม
.

หมายเลขบันทึก: 407085เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2010 13:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:18 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)


เมื่อต้องหยุด สุดปลายทาง กลางหุบเหว..
ความดีเลว ยังมีค่า กว่าอื่นไหม?..
ไม่มีข้าว ไม่มีน้ำ กล้ำกลืนใจ..
ไม่มีรัก หมดอาลัย ในชีวี..

ต้องส่งครูพอดี

 

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท