ศูนย์ข่าวพลเมือง ฅนคอน
ศูนย์ข่าวพลเมือง ฅนคอน เกาะติดชุมชน สิทธิชุมชน สิทธิพลเมือง

เสียงตื่นของพลังนักศึกษา อีกก้าวหนึ่งที่กล้าท้าทาย...กับความหมายของปัญญาชน...บนพลังงานของประเทศ


ธรรมชาติสร้างทุกสิ่งทุกอย่างไว้ แต่ด้วยมือมนุษย์นี่แหละที่เป็นมือที่สร้าง มือที่ดูและ และมือที่สามารถทำลายในเวลาเดียวกัน ถึงเวลาแล้วที่เราต้องเปลี่ยน เปลี่ยนมือทำลายนั้นให้เป็นมือที่สร้างสรรค์พัฒนา ลองหันกลับมาดูซิว่าตอนนี้คุณกำลังทำลายธรรมชาติอยู่หรือไม่” จากการพูดคุยกับน้องทั้งสองคนสิ่งหนึ่งที่หวนเข้ามาในความคิดของผมพร้อมกับคำถามที่ว่า ”

เสียงตื่นของพลังนักศึกษา อีกก้าวหนึ่งที่กล้าท้าทาย...

กับความหมายของปัญญาชน...บนพลังงานของประเทศ

โดย วสันต์  คล้ายรักษา  นศ.วิศวกรรมศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์
ศูนย์ข่าวพลเมือง ฅนคอน ฉบับที่ ๗

กริ๊งงงงงงงงงงงง............กริ๊งงงงงงงงงงงงงงงงง....................................

          เสียงของนาฬิกาปลุกยังคงทำหน้าที่ของมันตามปกติ แต่ที่ต่างออกไปในเช้านี้เหมือนว่ามันมีหน้าที่ ที่พิเศษกว่าทุกเช้าตรงที่ว่า มันมีหน้าที่ที่ต้องปลุกผมให้ตื่นเพื่อไปทำประโยชน์ดีๆให้แก่สังคม หลังจากตื่นจากที่นอนผมก็รีบจัดแจงธุรกรรมต่างๆเกี่ยวกับตัวเองเรียบแล้ว ก็ออกเดินจากบ้านไปที่นัดพบกันกับสมาชิกชาวค่าย

เป็นเสียงเริ่มต้นของกาลเวลาที่ดี อีกช่วงหนึ่งของชีวิต เพื่อหาคำตอบของตนเองและสังคม  และพวกเรากำลังจะก้าวไปเป็นอีกส่วนหนึ่งของคนที่คิดเรื่องดีดีแก่เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน  และที่เราจะไปเป็นสถานที่ ที่ใกล้กับพื้นที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่มากนัก แต่พวกเราไปทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับเขาเหล่านั้น เราไปเพื่อช่วยยืนยันพลังงานสะอาด พลังงานลม ใช่...เพราะพื้นทีนี้เหมาะสมที่สุดในประเทศไทย และเราคิดถูกแล้ว ที่จะเดินทางไปสนับสนุนตามตามแบบของเรา...ของพวกเรา นักศึกษาผู้ใฝ่ดี

          เช้าของวันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม ชาวค่ายอาสาพัฒนาของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะเดินทางไป อ.ปากพนังเพื่อที่จะสร้างอ่างล้างหน้าให้กับน้องน้องโรงเรียนบ้านชาวเลและรวมกับทางบริษัทแคนนอนแห่งประเทศไทยส่งมอบกังหันลมให้กับโรงเรียนบ้านชายเลเพื่อจะได้ปั่นไฟใช้ภายในโรงเรียน

          หลังจากสมาชิกชาวค่ายมากันพร้อมหน้า  ล้อรถตู้ก็เลื่อนออกจากรั้วมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มุ่งสู่ อ.ปากพนัง จุดหมายคือโรงเรียนบ้านชายเล ก้าวแรกที่พวกเราก้าวลงจากรถ ก็ได้พบกับบรรยากาศที่อบอุ่นของชาวค่ายอาสาโดยคณะที่ไปเตรียมค่ายที่ไปก่อนสมาชิกเพียงสองวันได้ออกมาต้อนรับสมาชิกชาวค่ายอย่างอบอุ่นทำให้ผมฉุดคิดว่านานแค่ไหนแล้วนะ ที่สังคมของเราลืมรากเหง่าของความเป็นไทย ที่อยู่กับบรรพบุรุษเรามาแต่ช้านานเราลืม…? เราทิ้ง…? หรือเพียงเพราะโลกมันเปลี่ยนไปจนเราต้องแข่งขันกันมากขึ้นทำให้เราไม่มีเวลาที่แม้จะหันมามองคนใกล้ๆตัวเราหรือสังคมมันยังคงเป็นสิ่งที่ค้างใจผมอยู่ตลอดมา หลังจากที่เราจัดการกับเรื่องอาหารเช้าเรียบร้อยแล้วก็แยกย้ายกันตามฝ่ายและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ผมได้มีโอกาสไปอยู่ฝ่ายโครงงานกับน้องๆบางส่วนเราเริ่มงานในส่วนของงานก่อสร้างต่อจากคณะที่ไปเตรียมค่ายและกับช่างฝีมือของโรงเรียนอีกสองคน ส่วนน้องที่เหลือก็แยกไปตามฝ่ายทีคณะกรรมการจัดไว้โดยมีคณะกรรมการค่ายเป็นคนดูแล นอกจากคนงานแล้วก็ยังมีฝ่ายโภชนาการที่คอยทำให้เราอิ่มทุกมื้อ ฝ่ายสวัสดิการที่คอยดูแลเราตลอดค่าย ฝ่ายสัมพันธ์ชุมชนที่ค่อยออกมาสัมพันธ์กับพ่อแม่พี่น้อง ฝ่ายการศึกษาที่ค่อยให้ความรู้และรอยยิ้มกับน้องโรงเรียนบ้านชายเล โดยสมาชิกชายค่ายจะได้หมุนเวียนกันทุกฝ่าย

          เช้าของวันที่สองผมได้มีโอกาสนั่งคุยกับน้องดุจ น้องสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ ซึ่งน้องดุจมีหน้าที่เป็นผู้อำนวยการค่ายในครั้งนี้ ได้นั่งแลกเปลี่ยนมุมซึ่งกันและกัน  น้องดุจได้พูดว่า “ดีใจที่ได้มีโอกาสนอกหนือจากการเรียนไปทำประโยชน์เพียงส่วนรวม ซึ่งเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ทั้งนี้การออกค่ายอาสาเป็นการฝึกให้เป็นคนที่มีความเสียสละรู้จักกระบวนการทำงานเป็นทีมมีจิตสำนึกที่ดีต่อคนอื่นในสังคมการใช้ชีวิตในค่ายเป็นประสบการที่แตกต่างจากห้องเรียน ซึ่งเราก็จะสามารถนำประสบการณ์นี้มาปรับใช้กับตัวเองเพื่อพัฒนาสังคมต่อไป”

          และผมก็ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรื่องกังหันลมที่เป็นหัวใจหลักที่ทำให้ได้เกิดค่ายนี้ขึ้นมากับน้องสองคนจากสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ น้องแก๊ปจากปัตตานี และน้องแจงจากนครศรีธรรมราช โดยทั้งสองได้ให้ความเห็นกับเรื่องของพลังงานลม  “นับวันน้ำมันเชื้อเพลิงก็มีแต่จะมีราคาสูงขึ้น อีกทั้งยังเป็นพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป พลังงานหมุนเวียน จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เริ่มมีผู้ให้ความสนใจมากขึ้น เพื่อทดแทนพลังงานเชื้อเพลิง ที่มีแต่จะต้องทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ที่ทำลายก็ไม่ใช่ใคร คุณนั่นแหละที่กำลังทำลายธรรมชาติ”

          พลังงานลมก็เป็นหนึ่งในพลังงานหมุนเวียน ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นแหล่งพลังงานที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพียงสายลมที่พัดผ่านแต่ก็สามารถสร้างพลังงานได้ ด้วยกลไกต่างๆเพื่อลมพัดผ่านกังหันผลิดกระแสไฟฟ้า โดยเปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้าให้เรามีพลังงานใช้ ในปัจจุบันต้นทุนการติดตั้งกังหันลมอาจสูง แต่หากเทียบกับสิ่งที่เกิดขึ้นก็นับว่าคุ้มค่า ซึ่งพลังงานลมนี้เป็นพลังงานที่สะอาด ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และไม่รบกวนสมดุลของระบบนิเวศธรรมชาติ หากในอนาคตเทคโนโลยีดังกล่าวมีการพัฒนาให้ก้าวหน้ามากขึ้น และต้นทุนการผลิตลดต่ำลง เราอาจพบเห็นการใช้กังหันลมในการผลิตกระแสไฟฟ้ามากขึ้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และช่วยให้โลกใบนี้น่าอยู่ยิ่งขึ้น

ธรรมชาติสร้างทุกสิ่งทุกอย่างไว้ แต่ด้วยมือมนุษย์นี่แหละที่เป็นมือที่สร้าง มือที่ดูและ และมือที่สามารถทำลายในเวลาเดียวกัน ถึงเวลาแล้วที่เราต้องเปลี่ยน เปลี่ยนมือทำลายนั้นให้เป็นมือที่สร้างสรรค์พัฒนา ลองหันกลับมาดูซิว่าตอนนี้คุณกำลังทำลายธรรมชาติอยู่หรือไม่” จากการพูดคุยกับน้องทั้งสองคนสิ่งหนึ่งที่หวนเข้ามาในความคิดของผมพร้อมกับคำถามที่ว่า ”

ทำไม…? ขนาดพวกเราเป็นเพียงแค่นักศึกษายังมีมุมมองความคิดเกี่ยวกับพลังงานในแง่ของกาอนุรักษ์โดยใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อที่จะได้ใช้แล้วไม่หมดไป แต่ทำไมกลุ่มคนที่มีสิทธิ์ในการขับเคลื่อนประเทศกลับมองข้ามแหล่งพลังงานสะอาดเหล่านี้หันมาให้ความสำคัญกับพลังงานที่ต้องใช้ทรัพยากรพื้นที่และยังต้องให้ประชาชนเป็นผู้เสียสละเพื่อนคนทั้งประเทศ อย่างพลังงานนิวเคลียร์ หรือถ่ายหินทั้งๆที่ผลกระทบพลังงานเหล่านี้มันมากมายเหลือเกิน

หรือนี้เป็นเพียงแค่ความรู้สึกในช่วงการเป็นนักศึกษาหลังจากจบออกไปทำงาน ความรู้สึกความคิดเหล่านี้ถูกสังคมกลืนกินจนหมดสิ้นนี้เป็นความรู้สึกที่ผมยังไม่สามารถสัมผัสได้ แต่ก็ได้แต่ว่าคนที่มีสิทธิ์ในการขับเคลื่อนต่างๆเหล่านี้จะหวนกลับมานึกถึงความคิดครั้งที่ยังเป็นนักศึกษาและอยู่เคียงข้างประชาชน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดทุกอย่างในประเทศนี้

          วสันต์  คล้ายรักษา  เป็นนักศึกษา สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  ในช่วงหนึ่งของการศึกษา  ได้ร่วมกับกิจกรรมอาสาพัฒนาและบำเพ็ญประโยชน์  ออกค่ายต่อเนื่องมาตลอดเพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ของชีวิต  และทำความเข้าใจชีวิตของชาวบ้านผู้เดือดร้อน และเยียวยาสังคมตามที่จะสามารถกระทำได้

          และได้ส่งบทความมาร่วมแลกเปลี่ยนกับ..ฅนคอน ในครั้งนี้  ขอบคุณมากครับ

หมายเลขบันทึก: 406893เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2010 04:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท