ความสัมพันธ์ของน้ำกับพืชเกษตรในฤดูหนาว


อากาศที่หนาวเย็นจัดจนถึง 0 องศาเซลเซียส น้ำจะเริ่มเปลี่ยนสถานะเป็นน้ำแข็ง อากาศส่วนมากจะไม่รวมตัวเป็นโครงสร้างของของแข็ง แต่จะเพิ่มปริมาตรรวมกัน

น้ำ ซึ่งประกอบด้วย ไฮโดรเจน 2 อะตอม และ ออกซิเจน 1 อะตอม (H2O) เป็นสสารที่อยู่ได้ทั้ง 3 สถานะ คือ ก๊าซ ของแข็ง และของเหลว เมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว อากาศที่หนาวเย็นจัดจนถึง 0 องศาเซลเซียส น้ำจะเริ่มเปลี่ยนสถานะเป็นน้ำแข็ง อากาศส่วนมากจะไม่รวมตัวเป็นโครงสร้างของของแข็ง แต่จะเพิ่มปริมาตรรวมกัน การเพิ่มปริมาตรจะลดความหนาแน่นลง ขยายปริมาตรเพิ่มขึ้นทำให้น้ำแข็งสามารถลอยน้ำได้ (แซลลี และ เอเดรียน มอร์แกน, : วิทยาศาสตร์สร้างสรรค์- น้ำ )

จากการที่น้ำสามารถเปลี่ยนสถานะได้นี่เอง โดยเฉพาะจากของเหลวเป็นของแข็งทำให้เกษตรกรจะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะการที่น้ำขยายปริมาตรเพิ่มขึ้นเมื่อน้ำอยู่ในผนังเซลล์พืช จะส่งผลที่เป็นอันตรายต่อเซลล์ของพืช เมื่อน้ำระเหยตัวออกไป เซลล์ลำเลียงท่อน้ำ ท่ออาหารของพืชจะถูกทำลายจนแตกหัก บอบช้ำ ในแถบภาคเหนือของบ้านเราน้ำค้างแข็งที่ติดอยู่บนยอดหญ้าจะดูสวยงามมาก เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับนักท่องเที่ยว แต่ถ้ามองกลับมาที่เกษตรกรผู้เปลูกพืช ไร่ ไม้ผล ก็จะสร้างความเสียหายต่อกระบวนการผลิตส่งผลให้ปริมาณของผลผลิตลดน้อย รายได้ก็ถอยลง

การใช้สารลดแรงตึงผิว อย่างเช่น ALS 29 (Ammonium laureth Sulfate), ม้อยเจอร์แพล้น (Moisturizer) หรือ ไบโอฟิล์ม (Bio-film) ช่วยฉีดพ่น จะช่วยลดปัีญหาน้ำตกค้างที่ผิวใบพืชได้ดี

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 405988เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2010 11:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 10:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท