การผลิตแบบทันเวลาพอดี(JIT) คิดง่าย ทำยาก


Just in time

การผลิตแบบทันเวลาพอดี(JIT) คิดง่าย ทำยาก

       ถ้าคุณอยู่วงการอุตสาหกรรม คุณคงต้องรู้จักคำว่า Just in time หรือ การผลิตแบบทันเวลาพอดี ซึ่งหลักการก็มีอยู่ง่ายๆคือ จะผลิตสินค้าตามOrderเท่าที่ลูกค้าสั่งมาเท่านั้น โดยไม่จะเป็นต้องมีคลังสินค้าเพื่อเก็บของเตรียมไว้เลย เปรียบได้กับ ร้านอาหารตามสั่ง อย่างไงอย่างนั้น ที่ลูกค้าต้องสั่งข้าวผัดมาก่อน แล้วแม่ค้าค่อยทำให้กินเมื่อนั้น โรงงานอุตสาหกรรมก็เช่นเดียวกัน  เมื่อเรานำระบบJust in time มาใช้จะช่วยโรงงานของเรา ลดต้นทุนในการเก็บสินค้าคงคลังลง เงินก็จะไม่จมอยู่กับของที่เราต้องผลิตรอไว้ก่อนล่วงหน้า แล้วยิ่งถ้า เป็นสินค้าเทคโนโลยี ที่มีการล้าสมัย ถ้ามีการเก็บไว้มากๆแล้วดันขายออกไปไม่หมดก่อนที่จะตกรุ่น จะทำให้โรงงานของเราต้องขาดทุนอย่างแน่นอน

แต่ขึ้นชื่อว่า โรงงานอุตสาหกรรม ไม่ใช่ร้านขายข้าวแกง ยอดในการสั่งซื้อไม่ใช่ 1 - 3 ชิ้น อย่างน้อยๆก็ต้องเป็นพันชิ้นขึ้นไป การที่จะไม่มีคลังสินค้าเพื่อstockของไว้ให้ตอบสนองความต้องการนั้นเป็นเรื่องยาก อย่างเช่น วันนี้อาจจะมีลูกค้ามาซื้อ 3000ชิ้น พรุ่งนี้ ลูกค้าอาจจะสั่ง 10000ชิ้น ถ้าไม่มีการstockของไว้ ก็เป็นไปได้ที่เราจะเสียลูกค้าไป เนื่องจากไม่สามารถสนองความต้องการของลูกค้าได้ นี้ยังแค่เป็นประเด็นแรกๆที่ทำให้ อุตสาหกรรมในไทยยังไม่สามารถใช้ Just in time ได้เต็มที่ อุตสาหกรรมของไทยหลายที่ยังไม่มีความพร้อมที่จะผลิตแบบทันเวลาพอดี เพราะ ยังไม่มีการวางแผนการผลิตที่ดี ทำให้ผลิตไม่ทัน ต้นทุนสูง และอีกหลายๆอย่าง

ก็ใช่ว่าจะไม่มีใครทำJust in time ได้  หลายโรงงานวางแผนให้โรงงานประกอบและโรงงานผลิตชิ้นส่วนอยู่ใกล้ๆกัน

และ ใช้วิธีการขนส่งวัตถุดิบจาก Suppliers แบบ Milk run ซึ่งเป็นวิธีที่ จะจ้างบริษัทขนส่งมาทำการขนส่งpart โดยทุกวัน รถจะต้องวิ่งวนไปรับชิ้นส่วนจากSuppliers ทุกรายในรอบเดียว แล้วค่อยมาส่งกับโรงงานประกอบ

ฝากรูป

โดยที่Suppliersจะรู้จำนวนที โรงงานโตโยต้าต้องการชิ้นส่วนนั้นๆเท่าไร จากการแชร์ข้อมูลด้านการผลิตต่อกัน ดังนั้น Suppliersจะเตรียมทำการผลิตไว้พอดีกับความต้องการของ โรงงานโตโยต้าเสมอ และ โตโยต้า ก็ยังคอยส่งวิศวกรเข้าไปส่งพัฒนาระบบการผลิตในโรงงานของSuppliersให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ จึงทำให้ ชิ้นส่วนของโตโยต้า มีทั้งคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอต่อการผลิตนั้นเอง

ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการขนส่งแบบ Milk run

1.       ในแง่ของระบบการผลิต

-         เป็นการลด Inventory Stock ของบริษัทผู้ผลิต และ Supplier

-         ทำให้ต้นทุนทางด้านการจัดส่งลดลงซึ่งเป็นผลดีทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย

-         การเข้าส่งของชิ้นส่วนจึงเป็นลักษณะที่มีความสม่ำเสมอ การเข้าของเวลา สามารถกำหนดได้ ทำให้จุดรับสินค้าสามารถแบ่งปริมาณงานได้อย่างเหมาะสม โดยรวม

2.       ในแง่ของสิ่งแวดล้อม สามารถช่วยลดจำนวนรถที่มาส่งชิ้นส่วนให้น้อยลงเป็นผลทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

ที่ปล่อยสู่บรรยากาศซึ่งเป็นมลพิษทางอากาศที่เกิดจากปฏิกิริยาการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิง

 และเป็นการช่วยลดปัญหาโลกร้อน

เมื่อ โรงงานกับSuppliersอยู่ใกล้กัน Suppliersมีความพร้อมในการผลิตสูง จึงทำให้ การขนส่งแบบ Milk run ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสามารถทำระบบ Just in time ได้100% โดยที่ไม่ต้องมีคลังสินค้าเลย ช่วยลดต้นทุน ลดพื้นที่โรงงาน ลดความเสี่ยงจากการที่เก็บสินค้าไว้เกินความต้องการของตลาด 

หวังว่า โรงงานในอุตสาหกรรมของไทยจะต้องเร่งพัฒนาระบบการผลิตให้ดียิ่งขึ้นกว่านี้ เรายังตาม ประเทศเจริญแล้วอยู่อีกมาก ตลาดโลกแข่งขันกันดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ รัฐบาลและเอกชนไทย ควรจะร่วมมือกันพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้มีประสิทธิภาพทัดเทียมประเทศอื่นๆได้ไม่ยาก ขอแค่เราคิดและลงมือทำ

ขอบคุณครับ

คำสำคัญ (Tags): #just in time#supply chain#logistics
หมายเลขบันทึก: 405920เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2010 02:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2023 10:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดียามเช้าค่ะคุณอภิชิต

มารับความรู้ทางอุตสาหกรรมในยามเช้านี้ค่ะ

ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมบันทึก ขอบคุณที่แบ่งปันสิ่งดีๆนี้ค่ะ

สวัสดีครับ คุณ ถาวร

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมบันทึกของผมนะครับ

เป็นอย่างนี้นี่เอง น่าจะเป็นที่มาของ Supply Chain & Logistics ด้วยหรือเปล่าครับ?ไม่แน่ใจ แต่การบริหารจัดการแบบนี้คงต้องไม่มีความผิดพลาดเลย และต้องมีวินัยสูงมาก มิเช่นนั้นก็จะเกิดปัญหากับรายอื่นๆต่อไปด้วย ดังนั้นจึงต้องลดความแปรปรวนในห่วงโซ่อุปทานให้ได้ด้วยใช่ไหมครับ?

เป็นบทความที่ดีมากๆเลยนะครับเข้าใจง่ายดีครับ แล้วจะแวะเข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้กันอีกนะครับ ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ คุณ ธนากรณ์

Supply Chain and Logistics นั้นมาจาก การที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ทั่วโลก ใครที่ลดต้นทุนได้มาก ก็ยิ่งได้เปรียบมากกว่า ขายได้ของก็ได้ถูกกว่า Just in time เป็นส่วนหนึ่งใน Logistics and Supply Chain ครับ

ในส่วนของ Supply Chain ผมได้เขียนไว้แล้วในบันทึกนี้ครับ http://gotoknow.org/blog/logistic/405067 อธิบายไว้ค่อนข้างละเอียดครับ

ส่วนระบบ Just in time นั้น เป็นอย่างที่ คุณ ธนากรณ์ กล่าว การที่จะทำให้ได้ ยากมาก ต้องพร้อมทั้ง โรงงาน และ Suppliers จึงจะสามารถทำได้อย่างสมบูรณ์ครับ มิฉะนั้น ถ้าเกิดปัญหาขึ้นในส่วนใดส่วนหนึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เช่น บ.ฆ่าหมู ผลิตไม่ทัน>>> บ.แปรรูปหมูก็จะไม่มีเนื้อหมู มาแปรรูป >>> บ.บรรจุหีบห่อก็ไม่มีหมูแปรรูปมาทำ เป็นต้นครับ

ขอบคุณ คุณ ธนากรณ์ ที่แวะมาเยี่ยมบันทึกของผมนะครับ

คุณอภิชิตค่ะช่วยแนะนำบริษัทตัวอย่างที่ใช้ระบบJITหน่อยได้ไหมค่ะ  

ช่วยยกตัวอย่าง เรื่อง รูปแบบการจัดซื้อลักษณะทันเวลาพอดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท