DLP projector


DLP
หลักการทำงานของเครื่องฉาย DLP
DLP นับเป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่ง ของการนำเสนอ ที่มีอนาคตไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า LCD และปัจจุบัน(2002) มีการพัฒนา ไปจนถึงการใช้แทนเครื่องฉายภาพยนตร์ แล้ว
ถ้าเข้าใจเรื่องหลักการ ของ LCD projectors ก็จะเข้าใจหลักการทำงานของ DLP ได้ไม่ยาก DLP มาจากคำว่า Digital Light Processing ถ้าแปลเป็นไทยตรงตัวก็หมายถึง กระบวนการทำงานของแสงแบบดิจิตอล อะไรประมาณนั้น เราเองก็มิกล้าอาจหาญ จะบัญญัติศัพท์ เกรงว่าพลาดได้ เดี๋ยวน้องๆ เก็บไปทำรายงานจะมาต่อว่าเอาได้  ไว้ได้ศัพท์แล้วจะเอามาเติมให้ละกัน สัญญาด้วยเกียรติ ของลูกเสือ

ขนาดรอยต่อแต่ละแผ่นของLCD เมื่อเทียบกับ DMD ซึ่งตามความจริง เมื่อเอามาเฉลี่ยกัน 3 แผ่น รอยต่อก็จะโตกว่า ของ DMD ไม่มาก ส่วนมากผู้ค้า DLP จะเอาตรงนี้มาเทียบ โดยที่ไม่ได้บอก ข้อเท็จจริงว่า 

หน้าตาของ DMD chip เมื่อขยายให้ใหญ่ขึ้น การสร้างภาพ เกิดจากความแตกต่างของการพลิกตัวของแผ่นกระจกเล็กๆ ที่เรียกว่า Micro-Mirror

 

หัวใจของเครื่องฉายระบบ DLP นี่ก็คือ ตัวกำเนิดภาพ ที่เรียกว่า DMD  DMD มาจากคำว่า Digital Micro-Mirror Device 

 เดี๋ยวนี้ อะไรก็ต้องดิจิตอล ฟังดูแล้วมันทันสมัยไม่หยอก แล้วฟังดูดีอีกต่างหาก ซึ่งชิพ DMD ที่ว่านี้ ผมชอบคิดถึงกระจกบนเสาโบสถ์ที่วัด ที่ช่างเขาตัดกระจกเล็กๆ สีโน้นสีนี้ มาต่อกันเป็นรูป ไม่รู้ว่าคนคิด DMD มาเห็นเข้าหรือเปล่า (คงไม่ใช่หร๊อกน๊ะ ) ซึ่งจริงๆแล้วหลักการ ก็คล้ายกันครับ ในตัวชิพ DMD เนี่ย(ขออนุญาตใช้ศัพท์ วัยรุ่น เพื่อความเป็นกันเอง คงไม่ว่ากันน๊ะครับ) ถ้าขยายใหญ่ๆ สัก 1000 เท่า ก็จะเห็นเป็นกระจกแผ่นจิ๋ว เรียงกันอย่างเป็นระเบียบ ตามขนาด และสัดส่วนของภาพ เช่นถ้าต้องการชิพ ขนาด SVGA ก็ต้องเรียกกระจกขนาด 800 x 600 แผ่น ก็คิดดูแล้วกัน ชิพขนาดเส้นทะแยงมุม 1.3 นิ้ว แล้วเอากระจกมาเรียงกัน ได้ถึง ขนาด 480,000 แผ่นน่ะ มากกว่าปาเก้ร์ ที่บ้านเราไม่รู้ตั้งกี่เท่า นึกถึงตอนนี้ คงไม่ต้องคิดมาก ว่าใครหนอ ขยันเรียง เวลาว่างมากนักหรือไง มันเป็นกระบวนการ แบบเดียวกับการสร้างชิพ ในคอมพิวเตอร์ เรานี่แหละครับ

ผู้คิดค้นก็คือ Dr. Larry Hornbeck จากบริษัท Texas Instruments ในอเมริกา เมื่อปี 1987 ซึ่งจะว่าไปแล้วก็ไม่นานมานี้เอง และเริ่มผลิตเป็นเครื่องฉาย เป็นจริงเป็นจัง เมื่อประมาณปี 1990 นี่เอง ซึ่งปัจจุบัน (2002) บริษัท เทกซัส อินสตรูเม้นส์ ก็ยังไม่ได้ขายลิขสิทธิ์ ให้ใคร ผลิต ชิพ DMD ขนาดต่างๆ ให้กับบริษัท ผู้ผลิตโปรเจคเตอร์ ทั่วไป

 

 

จะเห็นได้ว่าการทำงาน DLP ยุ่งยากน้อยกว่า LCD เพราะ DLP ในระดับราคาเท่าๆ LCD จะใช้ เพียง DMD ชิพเดียว โดยจะให้แสงผ่าน วงล้อสี (ไม่เหมือนกับ วงล้อออกฉลาก ของกองฉลากน๊ะครับ) หรือ Color wheel แปลตรงตัวเลย ซึ่งกระบวนการหมุนของ วงล้อสีจะสัมพันธ์กับการทำงาน ของแผ่น DMD บนชิพด้วย เพื่อให้ DMD สะท้อนภาพออกมา และผ่านเลนส์ ขยายภาพออกมา จะสังเกตได้ว่า DMD จะไม่ให้แสงส่องทะลุ แบบ LCD โดยจะใช้วิธีสะท้อนภาพแทน ซึ่งตรงนี้ ทำให้ค่าย DLP บอกว่า สามารถลดกำลังส่องสว่างของหลอด ไปได้มาก เมื่อเทียบกับการ ฉายทะลุแบบ LCD อีกอย่างหนึ่งก็คือ ขนาดตัวเครื่องจะเล็กลงเมื่อเทียบกับ LCD เพราะใช้เนื้อที่น้อยกว่า 
ข้อได้เปรียบของ DLP อีกจุดหนึ่งก็คือ รอยต่อของ Pixel (จุดภาพ มาจากคำว่า Picture Element ) แคบกว่า LCD เนื่องมาจากเทคโนโลยี ของตัว DMD เอง ดังนั้น เมื่อนำภาพมาเทียบกับ บนชิพขนาดเดียวกัน  ภาพของ DLP Projectors จะเนียนกว่า
แน่นอน เมื่อมีดีก็ต้องมีเสีย เข้าตำรา ได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง ข้อเสียที่ผู้ใช้ DLP ทราบกันดีก็คือ สีจะไม่สดใส เหมือน LCD โดยเฉพาะสีเหลือง ของ DLP จะไม่เหลือง อย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้ว่าบางค่ายจะเติมสีขาว ใน วงล้อสี (Color wheel) ก็ตาม  เนื่องมาจากกระบวน แบบ DMD ชิพเดียว ไม่สามารถ ปรับแต่งสีได้อย่างอิสระ แต่ในเชิงธุรกิจก็ไม่ถือเป็นข้อด้อยมาก เพราะชาวตะวันตก ชอบสีสไตล์ DLP ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า DLP จะมียอดขายดีในกลุ่ม ยุโรป และอเมริกา
ปัจจุบัน Texas Instruments ได้พัฒนากระบวนการของ DLP อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะได้จาก มีโรงภาพยนตร์ เริ่มนำ DLP มาแทนเครื่องฉายฟิล์มภาพยนตร์แล้ว โดยเครื่องฉาย DLP ชนิดนี้ จะเป็นแบบ 3 DMD เพื่อกำจัดจุดอ่อน (กลัวไม่ทันสมัย) เรื่องของสี แต่ราคาในปี 2002 ยังสูงอยู่ จึงไม่ค่อยนำมาใช้ในเชิง ธรุกิจแบบนำเสนอ มากนัก และผมก็เชื่อว่า บทความนี้ คงจะทันสมัยได้อีกไม่นาน เพราะขณะที่กำลังเขียนบทความนี้ ก็ได้รับข้อมูล จาก Texas Instruments ว่าปรับปรุง วงล้อสีใหม่แล้ว เพื่อไม่ให้ล๊อกเลขได้  อุ้ย..ขอโทษ..เพื่อให้ดีขึ้นน่ะครับ คงอีกไม่นานเกินรอ เราคงเห็น โรงภาพยนตร์แบบดิจิตอล กันเกลื่อนเมือง ถ้าราคาถูกลง ใกล้เคียงกับเครื่องฉายแบบฟิล์ม
DLP แบบ 3 DMD ขนาด 0.9 นิ้ว จากค่าย NEC รายละเอียดระดับ SXGA 1280 x 1024 จุดภาพ วางตลาดครั้งแรกประมาณ เดือนเมษายน 2001 ความสว่าง 5000 ANSI Lumens ราคาตลาดอเมริกา ขายกันอยู่ประมาณ 89,000 US$ คำนวณ เอาเองละกัน ว่าเป็นเงินไทย ประมาณเท่าไร

หน้าตาของ DLP สำหรับฉายในโรงภาพยนตร์ หรือที่เราๆท่านๆ ได้ยินโฆษณาว่า Digital Cinema ในบ้านเรา เมื่อเร็วๆนี้นี่เอง ใช้ระบบ 3 DMD รายละเอียดระดับ SXGA 1280 x 1024 จุดภาพ ออกแบบให้จำนวน ภาพต่อวินาที ที่เกิดขึ้น เท่ากับฟิล์มภาพยนตร์ เครื่องนี้เป็นของ บริษัท Barco รุ่นล่าสุด (May 2002) ที่เราคุ้นเคยกับ โปรเจคเตอร์แบบ 3 ตา กันในอดีต 

Lamp House ยังใช้แบบดั่งเดิม ที่กับโรงภาพยนตร์ทั่วไป ซึ่งใช้ หลอด Xenon Arc Lamp มีให้เลือกตั้งแต่ 2kW, 3kW, 5kW, และ 7kW (kW เท่ากับ กิโลวัตต์ หรือ พันวัตต์) ถ้าคิดแบบ ANSI Lumens ก็คงอยู่ในระดับ 7,000 ANSI Lumens ขึ้นไป

คำสำคัญ (Tags): #dlp
หมายเลขบันทึก: 40568เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2006 11:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย