มาลีพันธุ์ ภูมา โรงเรียนวัดท่างาม อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
Mrs. Maleephan มาลีพันธุ์ ภูมา โรงเรียนวัดท่างาม อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช Pooma

โครงการสอน วิชา ประวัติศาสตร์สมัยใหม่(ห้องม.601)


ประวัติศาสตร์สอนให้คนรู้จักคิด วิเคราะห์

แผนการจัดการเรียนรู้และและแผนการประเมินผล ฉบับย่อ 

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม                         

โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช

รายวิชา ส40106 ประวัติศาสตร์สมัยใหม่      1.0 หน่วยกิต   

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2553

อาจารย์ผู้สอน    1. นางมาลีพันธุ์  เกิดทองมี 

***********************************************************************************

1. คำอธิบายรายวิชา ส40106               

         ศึกษาความหมายและการแบ่งช่วงเวลาของประวัติศาสตร์สมัยใหม่      เพื่อให้เข้าใจความต่อเนื่องของเวลาและพัฒนาการของมนุษยชาติ

         ศึกษาปัจจัยภูมิศาสตร์ บทบาทของบุคคลสำคัญ   และแนวคิดสำคัญที่เป็นพื้นฐานนำไปสู่ความขัดแย้งและการประสานประโยชน์ด้านการเมือง สังคมและเศรษฐกิจของโลกโดยภาพรวม  ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง จนถึงสมัยปัจจุบัน   เพื่อให้เข้าใจพื้นฐานความเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ ที่มีผลต่อโลกในปัจจุบัน

        ศึกษาเหตุการณ์สำคัญที่นำไปสู่ความขัดแย้งและการประสานประโยชน์ด้านการเมือง สังคมและเศรษฐกิจของโลก ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง จนถึงสมัยปัจจุบัน

       ศึกษาปัจจัยสิ่งแวดล้อม บทบาทของบุคคลสำคัญ และแนวคิดสำคัญ ที่เป็นพื้นฐานนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจของไทย ตั้งแต่เปลี่ยนการปกครองเป็นประชาธิปไตย จนถึงปัจจุบัน เพื่อให้เข้าใจสังคมไทยและการมีส่วนร่วมกันรักษาความเป็นชาติเอกราช ที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

      ศึกษานโยบายการสร้างความร่วมมือทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจในภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจถึงการอยู่ร่วมกันในสังคมโลกยุคโลกาภิวัฒน์

      ศึกษาปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมและประชากรโลก เพื่อให้ตระหนักถึงหน้าที่การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลกและปัญหาประชากรโลก

 2. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

    1. มีความรู้ความเข้าใจความหมายและการแบ่งช่วงเวลาของประวัติศาสตร์สมัยใหม่

    2. สามารถวิเคราะห์ปัจจัยภูมิศาสตร์ บทบาทของบุคคลสำคัญและแนวคิดสำคัญที่เป็นพื้นฐาน   นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจของโลกตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองถึงปัจจุบันได้

    3. สามารถวิเคราะห์สาเหตุและเสนอแนวคิดโดยใช้หลักธรรมในศาสนาที่ตนนับถือ เพื่อแก้ปัญหาความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญด้านการเมือง สังคม และเศรษฐกิจของโลกที่มีผลกระทบถึงพัฒนาของมนุษยชาติตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองถึงปัจจุบันได้

   4.  สามารถวิเคราะห์ปัจจัยภูมิศาสตร์ บทบาทของบุคคลสำคัญและแนวคิดสำคัญที่เป็นพื้นฐาน นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจของไทยตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองถึงปัจจุบันได้

  5.  สามารถบอกความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญด้านการเมือง สังคม และเศรษฐกิจของไทยที่มีผลกระทบถึงพัฒนาการของประเทศไทยตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองถึงปัจจุบันได้

  6. มีความรู้ความเข้าใจสาเหตุความขัดแย้งและนโยบายของไทยในการสร้างความร่วมมือกับภูมิภาคต่าง ๆ ด้านการเมือง สังคม และเศรษฐกิจในโลกยุคโลกาภิวัฒน์

  7. มีความรู้ความเข้าใจปัจจัยที่นำไปสู่ปัญหาความเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมและประชากรโลก

8.   ศึกษากรณีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและประชากรและเสนอแนวทางแก้ไขโดยใช้หลักธรรมในศาสนาที่ตนนับถือ   

3. กำหนดการสอนและจุดประสงค์การเรียนรู้ 

สัปดาห์ที่

คาบสอนที่

หัวข้อ/สาระการเรียนรู้

จุดประสงค์การเรียนรู้

1

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  2

 

 

 

 

 3

 

 

 

 

 

 

 

5

 

 

6



7

8

9

1

 

 

 

 

 

 2

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3-4

 

 

 

 

 5-6

 

 

      

 

 

 

     7-8

 

     9-10

 

 

11-12



13-14

 15-16

17-18

 

แนะนำรายวิชา การประเมินผล การจัดกิจกรรม แหล่งเรียนรู้จากเว็บไซด์และห้องสมุด ข้ออตกลงในการเรียนและส่งงาน การประเมินผลก่อนเรียน

 

 

 

 

 

1. ความหมายและการแบ่งช่วงเวลาของประวัติศาสตร์สมัยใหม่ 

  1.1 จุดเปลี่ยนที่นำไปสู่การแบ่งช่วงเวลาของประวัติศาสตร์สมัยใหม่

2. ปัจจัยภูมิศาสตร์ บทบาทและแนวคิดของบุคคลสำคัญที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจของโลกตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงปัจจุบัน 

  2.1 การแบ่งเขตอิทธิพลระหว่างมหาอำนาจ ในสงครามเย็น

     2.1.1  หลักการทรูแมน        

     2.1.2 แผนการมาร์แชล

     2.1.3  การสร้างกำแพงเบอร์ลิน

     2.1.4 องค์การโคมินฟอร์ม โคมินเทอม์  องค์การสนธิสัญญาวอซอร์ และองค์การนาโต

2.2 แนวคิดของบุคคลสำคัญในช่วงสงครามเย็น

    2.2.1 โจเซฟ สตาลิน    ประธานาธิบดีเฮนรี่ เอส ทรูแมน จอห์น เอฟ เคเนดี้     ลินคอน บี จอห์สัน   ริชาร์ด นิกสัน  นิกิต้า  ครุฟชอฟ   ฟิเดล  คาสโต

3. ปัญหาและผลการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญด้านการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ ที่มีผลต่อพัฒนาการของมนุษยชาติตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงปัจจุบัน

 3.1 สงครามเกาหลี 

 3.2 วิกฤตการณ์คิวบา

 3.3 สงครามเวียตนาม

 3.4 กรณีเขมรแดง
3.5 แนวคิดในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ

   3.5.1 จีนคอมมิวนิสต์สมัยหลังสงครามเย็น : แนวคิดของเหมา เจ๋อตง
  - การนำลัทธิคอมมิวนิสต์มาใช้
  - การปฏิวัติวัฒนธรรม

  3.5.2 จีนสมัยเปิดประเทศ : แนวคิดของเติง เสียวผิง 

  - นโยบายสี่ทันสมัย
  - เหตุการณ์จตุรัสเทียน
  อันเหมิน

3.6 การเปลี่ยนแปลงสหภาพ
   โซเวียตก่อนสิ้นสุดสงครามเย็น

  3.6.1  นโยบายเปเรสทรอยกากลาสนอสต( เปิด – ปรับ)

3.6.2 การรวมประเทศเยอรมนี      ( การทำลายกำแพงเบอร์ลิน)

 3.6.3 การขึ้นสู่อำนาจของ
บอลิส   เยลตซินและการล่มสลายของสหภาพโซเวียต

3.6.4 ความขัดแย้งในสาธารณรัฐรัสเซีย : เชสเนียและจอร์เจีย

จุดประสงค์เฉพาะการแนะนำรายวิชา

1.มีความรู้ความเข้าใจความสำคัญของรายวิชาประวัติศาสตร์สมัยใหม่

ก. อธิบายความหมาย ความสำคัญ และขอบเขต สาระวิชาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ได้

ข. บอกความสำคัญและประโยชน์ของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ได้

ค. บอกวิธีการเรียนและข้อตกลงในการเรียนและการประเมินผลได้

จุดประสงค์การเรียนรู้ 

 1.    มีความรู้ความเข้าใจความหมายและการแบ่งช่วงเวลาของประวัติศาสตร์สมัยใหม่ 

  1.1  บอกความหมายและ การแบ่งช่วงเวลาของประวัติศาสตร์สมัยใหม่

  2.    สามารถวิเคราะห์ปัจจัยภูมิศาสตร์ บทบาทของบุคคลสำคัญและแนวคิดสำคัญที่เป็นพื้นฐาน   นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจของโลกตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองถึงปัจจุบันได้ 

 2.1 บอกแนวคิดของบุคคลสำคัญที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในช่วงสงครามเย็น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3.สามารถวิเคราะห์สาเหตุและเสนอแนวคิดโดยใช้หลักธรรมในศาสนาที่ตนนับถือ เพื่อแก้ปัญหาความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญด้านการเมือง สังคม และเศรษฐกิจของโลกที่มีผลกระทบถึงพัฒนาของมนุษยชาติตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองถึงปัจจุบันได้

3.1วิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบของสงครามตัวแทนในภูมิภาคเอเชียและอเมริกาเหนือ

3.2 อธิบายสาเหตุ บทบาท แนวคิดของบุคคลสำคัญในการปฏิวัติวัฒนธรรมและผลทีทำ ให้จีนเปลี่ยนนโยบายสู่ความทันสมัยได้

3.3 บอกความหมายและวิธีการของนโยบายเปเรสทรอยกาและกลาสนอสตได้

3.4 วิเคราะห์สาเหตุการทำลายกำแพงเบอร์ลินและการรวมประเทศเยอรมนีได้

3.5 อธิบายการรล่มสลายของสหภาพโซเวียตได้

3.6  วิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบของความขัดแย้งในยุโรปตะวันออกหลังสหภาพโซเวียตล่มสลายได้

3.7 เปรียบเทียบผลกระทบจากความขัดแย้งในภูมิภาคต่าง ๆ พร้อมทั้งเสนอ แนวคิดในการแก้ปัญหาด้วยหลักธรรมที่ตนนับถือ

   10 

   11

 

   

   12

 

  

13

 

 

  

 14

 

 

  15

  

16 

 

 17 

17-18

 

 18

 

 

 19

 

 

 

 

 

 

20

 

  19-20


21-22



 

 23-24

 

 

25-26

 

 

  

 27-28

 

 

  29-30 

 

   31-32 

 

 33 

34- 35

 

 36

 

 

 37-38

 

 

 

 

 

 

   39-40

  ประเมินผลกลางภาคเรียน

4.  ความขัดแย้งในภูมิภาค
ต่าง ๆ หลังสงครามเย็น

 4.1 การล่มสลายของ ยูโกสลาเวีย

    4.1.1การแยกตัวของดินแดนในยูโกสลาเวีย

4.2 ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มประเทศอาหรับ   – การตั้งประเทศปาเลสไตน์
4.3  ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประเทศอาหรับ (อิรัก – อิหร่าน  อิรัก-คูเวต)
4.4 ความขัดแย้งในอัฟกานิสถาน       

  5.ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ ในช่วงสงครามเย็น

   5.1 ทฤษฎีโดมิโน

  5.2 แนวคิดของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ 

 

 6. ความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจของประเทศไทยช่วง พ.ศ. 2549 - สมัยปัจจุบัน

 6.1  การปฏิวัติ 19 กันยายนพ.ศ. 2549

 6.2 เหตุการณ์ ความขัดแย้งทาง

การเมืองใน พ.ศ. 2553 (ทำ time line)

 6.3 ความขัดแย้งภาคใต้(2549 -

ปัจจุบัน

 6.4 ปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา

7. ความร่วมมือทางด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจระหว่างประเทศไทย  กับประเทศในภูมิภาคเอเชีย

 7.1 การประชุมอาเชียน      พ.ศ.2550 – ปัจจุบัน

 7.2 นโยบายการค้าเสรีและผลกระทบ

7.3 วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลก

8.เทคโนโลยีกับมนุษย์

   8.1 ความหมายของเทคโนโลยี

   8.2 เทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน

   8.3 กฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

   8.4 ผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อ สังคม  สิ่งแวดล้อมปัจจุบัน

 

 9. ปัญหาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพประชากร      

9.1 ภัยพิบัติทางธรรมชาติในปัจจุบัน

  - ปัญหาน้ำท่วม
  - ปัญหาดินถล่ม   

9.2 ปัญหาแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย
9.3 เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและประชากรโดยหลักธรรมในศาสนาที่ตนนับถือ

ประเมินผลปลายภาคเรียน

 

 ผลการเรียนรู้ที่ 1 - 3

3.8 บอกสาเหตุความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางได้

3.9. วิเคราะห์ผลกระทบของความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง

3.10 เสนอทางแก้ไขปัญหาโดยใช้หลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือได้

 

  4. สามารถวิเคราะห์ปัจจัยภูมิศาสตร์ บทบาทของบุคคลสำคัญและแนวคิดสำคัญที่เป็นพื้นฐาน นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจของไทยตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองถึงปัจจุบันได้

  4.1 บอกความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยกับทฤษฏีโดมิโนในสงครามเย็นได้

 4.2 อธิบายบทบาทและแนวคิดของผู้นำประเทศไทยในช่วงสงครามเย็น

5.   สามารถบอกความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญด้านการเมือง สังคม และเศรษฐกิจของไทยที่มีผลกระทบถึงพัฒนาการของประเทศไทยตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองถึงปัจจุบันได้

5.1 รู้-เข้าใจความเปลี่ยนแปลงของ การเมืองและเศรษฐกิจไทยตั้งแต่พ.ศ. 2549 – ปัจจุบัน

 

 

 

 

 

 

6. มีความรู้ความเข้าใจสาเหตุความขัดแย้งและนโยบายของไทยในการสร้างความร่วมมือกับภูมิภาคต่าง ๆ ด้านการเมือง สังคม และเศรษฐกิจในโลกยุคโลกาภิวัฒน์

6.1 อธิบายความร่วมมือของอาเชียนที่มีผลต่อการเมือง สังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทย

6.2 อธิบายผลดีและผลเสียของการทำข้อตกลงเกี่ยวกับเขตการค้าเสรี 

7. มีความเข้าใจปัจจัยที่นำไปสู่ปัญหาความเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม

 7.1 มีความเข้าใจปัจจัยที่นำไปสู่ปัญหาความเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม

7.2 บอกความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีต่อมนุษย์และสังคมโลกปัจจุบันได้

7.3 ยกตัวอย่างเทคโนโลยีที่มีความ สำคัญในโลกปัจจุบันได้

7.4เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของการใช้เทคโนโลยีในปัจจุบัน

8.   ศึกษากรณีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและประชากรและเสนอแนวทางแก้ไขโดยใช้หลักธรรมในศาสนาที่ตนนับถือ    

8.1 บอกสาเหตุปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติได้

8.2 ยกตัวอย่างเหตุการณ์ภัยพิบัติในประเทศไทย

8.3 วิเคราะห์ผลกระทบแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย

 

  ผลการเรียนรู้ที่ 3 – 8

 4.  แผนการประเมินผลการเรียนรู้และการมอบหมายงาน        
การสอนรายวิชาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ รหัสวิชา ส40106 ประจำภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา 2553     ประเมินเป็นอัตราส่วนดังนี้

คะแนนระหว่างภาค : คะแนนปลายภาค  =      70  :  30

คะแนนระหว่างภาค   =  คะแนนสอบก่อนกลางภาค  +  คะแนนสอบกลางภาค  +  คะแนนสอบหลังกลางภาค +คะแนนจิตพิสัย =   15 + 30 +15 + 10

แผนการประเมินผลการเรียน คือ              

4.1  ประเมินจากงานหรือการบ้านที่มอบหมาย  30           คะแนน

4.2  ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน : จิตพิสัย 10 คะแนน

4.3  ประเมินจากการสอบกลางภาค   30   คะแนน

4.4  ประเมินจากการสอบปลายภาค  30    คะแนน                                       รวม                    100      คะแนน

 4.1  ประเมินจากงานหรือการบ้านที่มอบหมาย (30 คะแนน) 

รายการ

รูปแบบของงาน

วันที่

มอบหมาย

กำหนดส่ง

เวลาที่

นักเรียน

ควรใช้(นาที)

คะแนน

1.แบ่งกลุ่มค้นคว้าเหตุการณ์หลังสิ้นสุดสงครามเย็นถึงปัจจุบัน นำเสนอสาระสำคัญ จัดเป็นกิจกรรมเกมทายปัญหา  เน้นของความถูกต้องของสาระ ( 3 คะแนน) การจัดกิจกรรมได้น่าสนใจ  เข้าใจง่าย( 3  คะแนน ) มีคู่มือการจัดกิจกรรมและเฉลยเรียบร้อยพร้อมการอ้างอิงที่ถูกต้อง ( 3 คะแนน ) ตรงเวลาและนำเสนอตามกำหนด ภายในเวลา 15 นาที(1 คะแนน )

งานกลุ่ม

สัปดาห์ที่ 1   
(26–29ต.ค.53 )

26 พ.ย.53

 

  วันละ 10 นาที รวม 3 วัน  30 นาที

10

2. ทำแบบฝึกหัดท้ายคาบเรียน

งานเดียว

สัปดาห์ที่ 3,4

ในคาบที่เรียน

วันละ 5 นาทีรวม10นาที

5

 3. บันทึกข่าว 1 เรื่อง เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่มีผลต่อเศรษฐกิจหรือการเมืองทั่วโลก (2 คะแนน ) แสดงความคิดเห็น ( 2 คะแนน ) ตั้งคำถามปรนัย พร้อมแสดงคำตอบ 1 ข้อ (1 คะแนน ) พิมพ์ด้วยอักษรAngsana New 16 ไม่เกิน 1หน้ากระดาษ A4  นำมาถาม-ตอบในชั้นเรียน

งานคู่

สัปดาห์ที่ 6

(29พ.ย.- 3 ธ.ค.53)

22ธันวาคม

2553

วันละ 5 นาที รวม  2 วัน  10 นาที

5

4.สัมมนากลุ่มกลุ่มละ 4-5 คนกำหนดประเด็นปัญหาค้นคว้าข้อมูลเรื่อง ปัญหาแรงงานต่างด้าวในประเทศไทยนำเสนอประเด็นที่ค้นคว้ากลุ่มละ 10 นาทีผู้ร่วมสัมมนากลุ่มอื่นๆแสดงความคิดเห็นร่วมด้วยไม่น้อยกว่ากลุ่มละ 2 ประเด็นให้แต่ละกลุ่มสรุปผลการสัมมนาลงในกระดาษ A4เกณฑ์การให้คะแนน ความถูกต้องของข้อมูล (5 คะแนน)  สรุปประเด็น (3 คะแนน)  มีส่วนร่วมการสัมมนา (2 คะแนน)

งานกลุ่ม

สัปดาห์ที่ 9

(20-24ธ.ค. 53)

24มกราคม2554

สัปดาห์ละ

30  นาที

10

4.2  ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน : จิตพิสัย (10 คะแนน)

                 การประเมินพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนรายวิชา ส40106  ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553    ได้กำหนดหัวข้อการประเมินได้ดังแสดงในตารางข้างล่าง

หัวข้อการประเมิน

ผลการประเมิน

ดีเยี่ยม

(5)

ดีมาก

(4)

ดี

(3)

ปานกลาง

(2)

ต้องปรับปรุง

(1)

การตรงต่อเวลา

1 เข้าชั้นเรียนตรงเวลา

2 ส่งงานตรงเวลา

 

 

 

 

 

ความซื่อสัตย์

3 ทำงานด้วยความสุจริต

4.ปฏิบัติตามระเบียบ กฎ ข้อบังคับของโรงเรียนอย่างเคร่งครัด

 

 

 

 

 

ความรับผิดชอบ

5 เอาใจใส่งานที่ได้รับมอบหมายเต็มความสามารถ

 

 

 

 

 

มารยาทดี

6.  พูดจาสุภาพ กริยาอ่อนน้อม

 

 

 

 

 

 

4.3   ประเมินจากการสอบกลางภาค (30 คะแนน)

กำหนดสอบกลางภาคระหว่างวันที่ 25 -29 .ธ.ค. 53 เวลาที่ใช้ในการสอบ 60 นาที เนื้อหาสาระการเรียนรู้ และลักษณะข้อสอบที่ใช้ในการสอบกลางภาคมีรายละเอียดดังนี้

หัวข้อ/เนื้อหาที่ใช้ในการสอบ

ลักษณะและจำนวนข้อสอบ

คะแนน

1. ความหมายการแบ่งช่วงเวลาของประวัติศาสตร์สมัยใหม่

-    ปรนัยเลือกตอบ 1 ข้อ

0.5

2.  ปัจจัยภูมิศาสตร์ บทบาทและแนวคิดของบุคคลสำคัญที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจของโลกตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงปัจจุบัน

-    ปรนัยเลือกตอบ 5 ข้อ

2.5

3. ปัญหาและผลการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญด้านการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ ที่มีผลต่อพัฒนาการของมนุษยชาติตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงปัจจุบัน

 3.1 สงครามเกาหลี 

 3.2 วิกฤตการณ์คิวบา

 3.3 สงครามเวียดนาม

3.4    กรณีเขมรแดง

- ปรนัยเลือกตอบ 6 ข้อ

3
10

 

 

 

 3.5 แนวคิดในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ

   3.5.1 จีนคอมมิวนิสต์สมัยหลังสงครามเย็น : แนวคิดของเหมา เจ๋อตง
  - การนำลัทธิคอมมิวนิสต์มาใช้
  - การปฏิวัติวัฒนธรรม

  3.5.2 จีนสมัยเปิดประเทศ : แนวคิดของ   
เติงเสียวผิง 

  - นโยบายสี่ทันสมัย
  - เหตุการณ์จัตุรัสเทียนอันเหมิน

-     ปรนัยเลือกตอบ 3 ข้อ

- อัตนัย 1 ข้อ (บรรยาย)

1.5

10

3.6 การเปลี่ยนแปลงสหภาพโซเวียตก่อนสิ้นสุดสงครามเย็น

-     ปรนัยเลือกตอบ 5 ข้อ

 

2.5

 

รวม

30

  4.4.  ประเมินจากการสอบปลายภาค   (30 คะแนน)

กำหนดสอบปลายภาคระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์- 4 มีนาคม 2554   เวลาที่ใช้ในการสอบ  60 นาที  หัวข้อ/เนื้อหา และลักษณะข้อสอบมีรายละเอียดดังตาราง

หัวข้อ/เนื้อหาที่ใช้ในการสอบ

ลักษณะและจำนวนข้อสอบ

คะแนน

4.  ความขัดแย้งในภูมิภาค
ต่าง ๆ หลังสงครามเย็น 4.1 การล่มสลายของ ยูโกสลาเวีย

-    ปรนัยเลือกตอบ 2 ข้อ

1

4.2 ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มประเทศอาหรับ   – การตั้งประเทศปาเลสไตน์
4.3  ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประเทศอาหรับ (อิรัก – อิหร่าน  อิรัก-คูเวต)
4.4 ความขัดแย้งในอัฟกานิสถาน       

-    ปรนัยเลือกตอบ   4  ข้อ

-    อัตนัย (บรรยาย)  1 ข้อ             

2

10

5.ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ ในช่วงสงครามเย็น

-    ปรนัยเลือกตอบ 2 ข้อ

1

6. ความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทยช่วง พ.ศ. 2549 - สมัยปัจจุบัน

-     ปรนัยเลือกตอบ 5 ข้อ

 

2.5

 

7. ความร่วมมือทางด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจระหว่างประเทศไทย  กับประเทศในภูมิภาคเอเชีย

-     ปรนัยเลือกตอบ 3 ข้อ

 

1.5

 

8.เทคโนโลยีกับมนุษย์ 

-     ปรนัยเลือกตอบ 2 ข้อ

1

9. ปัญหาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพประชากร 

        

-     ปรนัยชนิดเลือกตอบ     2 ข้อ

-     อัตนัย (บรรยาย)    1 ข้อ            

1

10

รวม

30

 สื่อการเรียนการสอน

  1. Websites เช่น http://www.questia.com และ http://www.answers.com
  2. Gilbert,Martin. (2000). Challenge to Civilization : A History  of The Twentieth Century 1952-1999. London : HarperCollins  Publishers.
  3. ชวลีย์ ณ ถลาง. (2545). เหตุการณ์ปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
  4. วิมลวรรณ  ภัทโรดม. (2540). ยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :          ศักดิโสภาการพิมพ์.
  5. ยาสึโกะ  นะอิโต. (2536). 4 ปีนรกในเขมร. กรุงเทพฯ: ผีเสื้อ.
  6. JUNG  CHANG. จิตราภรณ์  ตันรัตนกุล แปล.(2523). หงส์ป่า.กรุงเทพฯ:พิมพ์ครั้งที่ 5,นานมีบุ๊คส์
  7. วิดีทัศน์ “สงครามเวียตนาม”    “สงครามอ่าวเปอร์เซีย”   “ ทุ่งสังหาร”  “การสร้างกำแพงเบอร์ลิน”
  8. แผนที่ประวัติศาสตร์ยุโรป

 

หมายเลขบันทึก: 405337เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2010 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เปิดเทอมสองแล้วคุณครูคงเตรียมพร้อมแล้วนะคะ

เป็นกำลังใจให้คนที่ตั้งใจทำงานค่ะ

ทางนี้ฝนตกมากหรือเปล่า???

ขอบคุณมากค่ะ เกิดมาเป็นครู ก็ต้องเตรียมการสอน และสอนอย่างไรให้นักเรียนเป็นคนดีใช่ไหมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท