ภาพรวมขบวนองค์กรการเงินชุมชน จากประสบการณ์ในพื้นที่(พระอาจารย์สุบิน ปณีโต)ตอนแรก


หลวงพ่อพุทธทาสย้ำหนักหนาเรื่องนี้ว่า ศีลธรรมคือยุวชนของโลก ก่อนที่จะสิ้นลม ท่านบอกว่าศีลธรรมไม่กลับมาโลกาวินาศ ถ้าเราช่วยทำให้ศีลธรรมนี้ระบาด โลกทาสย่อมร่มเย็น
ขอเจริญในธรรมทุก ๆ คน ทุก ๆ ท่าน ผู้จัดการขบวนการ ตลอดจนผู้เข้าร่วม ซึ่งเราก็ทำเรื่องเหล่านี้กันมานาน เรียกว่าเป้าหมาย ถ้าพูดโยงไปถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจ เราก็ทำมาร่วมกว่า 40 กว่าปี แต่แล้วการพัฒนาเราก็อยากจะเห็น สู่การพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน แต่เหมือนกับเราจะสร้างอาคาร เราจะสร้างอาคารเราอยากให้อาคารหลังนี้ยั่งยืน อยู่นาน ๆ ทำอย่างไรถึงจะอยู่ได้นาน สิ่งที่วิศวะต้องออกแบบ ในเรื่องสำคัญที่สุดคือเรื่องฐานราก ค่าข้างบนจะดีเท่าไรก็แล้วแต่ถ้าฐานรากไม่เข้มแข็งเรียกว่าเสาเข็มฐานรากไม่ดี และก็มีโอกาสทรุดมีโอกาสล้มโอกาสแตกพัง ทำอย่างไรถึงเราจะออกแบบให้ฐานรากมันเข้มแข็ง ฐานรากที่เข้มแข็งมันต้องมาจากจากอะไร เพราะว่าจะเกิดแผนพัฒนาเศรษฐกิจแล้วช่วงหลัง พยายามดึงคนออกห่างจากฐานราก เรียกว่า คุณธรรม ฉะนั้นคนจะรู้เรื่องการแข่งขันทางเศรษฐกิจ แข่งขันกันเรื่องทางการเงิน แข่งขันการได้เปรียบ ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้คำว่า เมตตา หรือสงสาร ค่อยถอยลงไป เมตตา กรุณา สงสาร ที่จะช่วยเหลือกัน มันก็จะอยู่ในระบบสังคมนิยม มือใครยาวสาวได้สาวเอา ฉะนั้นใครมีความสามารถดี ใครมีทุนดี ใครมีการศึกษาดี ใครมีพวกดี ก็จะเป็นช่องเป็นโอกาสเข้าถึง ทรัพย์สิน เข้าถึงโอกาสได้เร็วขึ้น เข้มแข็งขึ้น แต่อีกคนประเภทหนึ่งตามไม่ทน ตามไม่ทันก็เริ่มจะทอดทิ้งที่อยู่อาศัย ทอดทิ้งที่ทำมาหากิน ตลอดจนทิ้งครอบครัวทิ้งถิ่นฐาน ทิ้งญาติทิ้งพี่ทิ้งน้อง อันนี้ความอบอุ่น ความรัก ความเอื้ออาทรมันถูกบั่นทอนทำลายลง ในเชิงระบบทางเศรษฐกิจ การเงินต่าง ๆ ที่แข่งขันกัน สิ่งเหล่านี้เป็นตัวบ่อนแห่งการทำลาย ส่วนหนึ่งที่ทำให้สังคมที่ทำให้ไปสู่ความยั่งยืนไม่ได้ และนำไปสู่ความเข้มแข็งได้ยากมาก เพราะในสังคมนับวันจะลำบากมากขึ้น เมื่อมันเป็นอย่างไรนี้ขบวนการที่จะต่อไปจากนี้อีก เกิดขบวนการการศึกษา เพราะการศึกษานั้นกำลังพาให้คนทิ้งถิ่นมากขึ้น ก็จะกลับมาสู่ความยั่งยืนได้ยากลำบากเช่นกัน เพราะการศึกษาไม่ได้มีกระบวนการการจัดการให้กลับไปพยายามวิเคราะห์วิจัยท้องถิ่นของตนเอง ว่าบรรพบุรุษมีชีวิตรอดมาได้อย่างไร และดำรงชีวิตอยู่มาอย่างไรถึงเอาชีวิตรอดมาได้จนถึงปัจจุบัน แล้วเราจะพัฒนาที่บรรพบุรุษอยู่มาให้ดีกว่าเก่าได้อย่างไร เพราะฉะนั้นเราพยายามพัฒนาไปด้วยหลักวิจัย ไปไกลตัวมากขึ้นระบบการศึกษาก็ทำให้ห่างครอบครัวมากเช่นเดียวกัน แล้วก็เลยตำหนิติเตียนไปว่า พ่อแม่หรือปู่ตาย่ายายของเรานี่ไม่ทันสมัย เป็นคนที่ตกรุ่นตกยุกต์ไปเลยทีเดียว และก็ไม่อยากจะมาเสริมเติมแต่ง ในสิ่งที่พ่อแม่พยายามทุ่มเทและส่งให้เรียน มีวิชาความรู้ ก็เลยเข้ากันไม่ค่อยได้ อันนี้ก็เป็นส่วนที่มันโยงใยกันไปมันไม่ใช่เป็นไปโดยเดี่ยว ๆ และรากฐานที่สำคัญที่สุดอีกอันหนึ่งก็คือ คนก็กำลังเหินห่างจากคุณธรรม จริยธรรม หรือศาสนา สิ่งเหล่านี้พอคนขาดคุณธรรมมากขึ้น ความเห็นแก่ตัวก็สูงขึ้น ความเห็นแก่ได้ก็สูงขึ้น ความเอารัดเอาเปรียบก็สูงขึ้น การที่เราจะเห็นระบบความโหดร้ายทางการเงิน ที่กู้ร้อยละ 20 40 อะไรก็แล้วแต่มาจากระบบคุณธรรมไม่มีทั้งหมด เพราะคนที่มีคุณธรรมทำไม่ได้และทำไม่ลงด้วย กระบวนการในทุนก็ถูกกระจายและถูกขยายออกไปด้วย อำนาจแหล่งทุนและก็ไม่จ้างผู้มีอิทธิพลมาครอบงำอีกทีหนึ่ง แล้วก็เกิดการทำร้ายบ้างอะไรบ้าง อันนี้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ว่าคนพอเหินห่างจากฐานคุณธรรม เสียแล้ว ก็พานำปัญหาต่าง ๆ มาอีกมากมาย ที่นำไปสู่และสิ่งที่เราจะพยายามที่จะตามแก้ แก้เท่าไหร่ก็ไม่บรรลุเป้าหมาย ยิ่งแก้ก็ยิ่งห่าง  นับวันเราพยายามแก้ปัญหาทางสังคมก็ทำให้ยิ่งห่างไปเรื่อย ๆ ถ้าเราไม่ให้ความสำคัญ หลวงพ่อพุทธทาสย้ำหนักหนาเรื่องนี้ว่า ศีลธรรมคือยุวชนของโลก ก่อนที่จะสิ้นลม ท่านบอกว่าศีลธรรมไม่กลับมาโลกาวินาศ ถ้าเราช่วยทำให้ศีลธรรมนี้ระบาด โลกทาสย่อมร่มเย็น ฉะนั้นเราให้ GDP มันสูงมาก แต่ไม่ให้ศีลธรรมมันสูงมาก ฉะนั้นเราจะพาไปสู่ความยั่งยืนได้ยากเมื่อ เกิดการแข่งขันกันทางเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว ฉะนั้นความเอื้ออาทรก็ถอดถดลดลงไปดื้อ ๆ เอาละทีนี้มาคุยเรื่องกิจกรรมที่ทำอยู่บ้าง อันนี้ก็เป็นมุมมองที่อาตมาเสนอเรื่องรากฐานมันนะ เรื่องรากฐานนี้สำคัญ เสาเข็มนี้ตอกแล้วตอกอีก ไม่มีเสาเข็มเสาไหนที่ตอกครั้งเดียวแล้วจบ ถ้าอาคารหลังไหนเอาเสาเข็มมาตั้งแล้วเอาปั้นจั่นตอกที่เดียวแล้วหยุดนะ อาตมาว่าอาคารหลังนั้นพังลูกเดียว เราจะเห็นว่าเสาเข็มนี้เราต้องตอกจนเห็นว่ามันไม่ทรุด มันไม่ลงแล้ว ถ้าขึ้นขืนตอกอีกมันหัก จึงจะหยุดตอก รับน้ำหนักไม่เต็มที่ ถ้าคนเราพูดย้ำเรื่องคุณธรรมศีลธรรมกันบ่อย ๆ จนกระทั่งคนไม่กล้าทำบาปทำชั่ว เลิกเอารัดเอาเปรียบกันเมื่อไหร่ วันนั้นและวันอยู่รอดของสังคม ที่จะต้องย้ำ มาวัด ๆ ย้ำ ในชุมชน ชุมชนย้ำ ไปครอบครัวครอบครัวย้ำ ไปโรงเรียน โรงเรียนย้ำ จนกว่าทุกคนจะเกิดความรู้สึก เข้าไปฝังอยู่ในอุปนิสัยให้ได้ อย่างนี้แหละมันจะนำไปสู่ความยั่งยืนและเข้มแข็ง เช่น สมมุติว่าทำเรื่องการเงิน ก็อยากไปสู่ความยั่งยืน ที่จริงถ้าเราไปจับเงินเดี่ยว ๆ จับเงินอย่างเดียว ทำไปทำมามันพร้อมที่จะเกิดความโลภได้ เพราะว่าเงินมันเหมือนกับเอาไฟกับน้ำมันไปไว้ด้วยกัน แต่ถ้ามีใครจัดการให้ดีเอาไฟกับน้ำมันมาไว้ด้วยกันก็กลายเป็นแสงสว่างเป็นตะเกียง แต่ถ้าน้ำมันมันมาก และไฟที่จุดน้อย ๆ มันก็สามารถลุกน้ำมันได้มาก มันไม่ให้แสงสว่างแต่มันจะเผาไหม้ ตัวอื่น ๆ ไปด้วย ตรงนี้เราเรียกว่า เราต้องไปพร้อม ๆ กัน ปัจจุบันเราเรียกว่าบูรณาการ จำเป็นที่จะต้องอาศัยโยงเข้าหากันให้ได้ การพัฒนาเชิงการเงิน ที่นี้เราจะต้องถามว่าการเงินที่เราจะทำนี้เราจะพาเขาไปไหน อาตมาก็ขอพูดเรื่องเป้าหมายนิดหนึ่ง อาตมาก็ลองถามหลายคนและหลายชุมชนที่ไปดูงานที่วัด หลาย ๆ กลุ่ม หลาย ๆ พันคน มากันไปดูที่วัด อาตมาถามว่า โยมตั้งกลุ่มการเงินนี้แล้วโยมจะไปไหนกัน ถ้าโยมจะมาสงขลายังรู้ว่ามาสงขลา โยมออกจากนี้โยมยังรู้ว่าโยมจะไปไหน โยมยังรู้เป้าหมายว่าโยมจะไปไหน แต่ถ้าถามเรื่องการเงินว่าโยมทำแล้วโยมเป้าหมายจะไปไหน อาตมาถาม 10 กลุ่ม 100 กลุ่ม ก็ไม่มีใครตอบว่าจะไปไหน ทำเพื่อไปไหนกัน เรียกว่าทำแล้วไม่รู้ว่าไปไหน เพราะอาตมามีหลักจากพุทธศาสนาถามว่าอย่างนี้ สมัยพุทธกาล ก็มาโยงกันนิดว่าสังคมวันนี้เราจะวิจัยเราจะต้องหาจุดให้ได้ว่าจะไปไหนกัน พระพุทธเจ้าท่านอุปมาเหมือนกับเราทำการเงินนี้ไม่ผิดเลย ท่านบอกว่ามีผู้ชายคนหนึ่งประสงค์จะแต่งงาน แล้วผู้ชายคนนี้ออกจากบ้านไปเพื่อจะไปแต่งงานกับสาว ในขณะที่เดินไปมีคนถามว่า ท่านจะไปแต่งงานนะผู้หญิงคนนั้นบ้านอยู่ที่ไหน ผู้ชายคนนี้ก็ตอบว่าไม่รู้ แล้วถามว่าชื่ออะไร ก็บอกว่าไม่รู้ ดำหรือขาว ก็บอกว่าไม่รู้ พ่อแม่ชื่ออะไรก็ไม่รู้ แล้วอยู่หมู่บ้านไหน ก็บอกไม่รู้ ถามไปทุกคำก็ตอบได้คำเดียวว่าบอกไม่รู้

แล้วโยมลองนึกดูว่าผู้ชายคนนั้นถ้าเป็นบ้านเราเต็มไหม แล้วบอกว่าไม่รู้ โยมว่าสมบูรณ์ไหม จะไปแต่งงานแต่ตอบได้อย่างเดียวคือไม่รู้นะ อันนี้เป็นจุดประกายที่พระพุทธเจ้าท่านฝากไว้ว่า เราจะทำอะไรต้องหาคำถามข้างปลายให้ได้ว่าเรานี้จะไปไหน ถ้าเราหาคำตอบข้างปลายไม่ได้ เราทำไปในลักษณะอย่างนี้เรา บ้าอย่างไรเหตุผลเพราะไม่รู้ว่าเป้าหมายของเรานี้จะไปสิ้นสุดที่ไหน เราเดินทางจากตรงเข้ากรุงเทพ โยมเดินทางจากกรุงเทพฯ เข้าเชียงใหม่ โยมยังรู้ว่าเป้าหมายอยู่ที่เชียงใหม่โยมเดินทางจากกรุงเทพฯ มาสงขลา โยมยังรู้ว่าเป้าหมายคือสงขลา แต่ถ้าโยมออกจากบ้านแล้วถามว่าไปไหนบอกว่าไม่รู้นี่ นอกจากคนจะมองว่าไปไม่ถึงแล้วคนจะมองอีกว่าดีหรือบ้า อันนี้ก็ฝากนะ ยังไม่ได้พูดถึงการเงินแต่พูดถึงเป้าก่อนว่าเราจะพาไปสู่ความยั่งยืนเราช่วยกันมองเป้าก่อน หาเป้าไปที่ไหน ไปหาจุดของมันที่เราอยากเห็น แต่มันยังไม่ถึงแต่เรารู้ว่ามันมีแน่แล้วก็ไปแล้วก็ประสบแน่ จะพากันฟันฝ่าข้างทางอุปสรรค์อย่างไร อันนี้อาตมาก็ฝาก ยังไม่ได้พูดถึงกระบวนการการจัดการแต่ก็พูดถึงฐานและก็เป้า ว่าสูงสุดจะไปไหน ปลายทางเราอยู่ที่ไหนจะไปไหน อย่างไร ก็อยากให้ช่วยกันคิด อีกส่วนหนึ่งก็ช่วยกันมอง เราจะเอาเป้ากี่เป้า กี่ส่วน กี่ส่วนก็ช่วยกันมอง อาตมาก็ขอปรารภ เกริ่น เป็นเชิงธรรมะเล็กน้อย พร้อมกับชวนหาเป้ากันว่าวันนี้เราจะไปสู่จุดหมายปลายทางที่เราทำคืออะไร ที่ไหน อย่างไร แต่ไม่ต้องตอบว่าเมื่อไหร่ ถึงนั้นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ให้มีเป้าไว้ก่อน หาเป้าให้ตรงกันก่อน แล้วก็จะตรงเป้าตามที่เราจะเห็นตามที่เราจะเป็น อยากจะมี เพราะฉะนั้นหมดเวลาอาตมาก็ขอปรารภเพียงแค่นี้

คำสำคัญ (Tags): #ทรงพระเจริญ
หมายเลขบันทึก: 40503เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2006 09:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท