ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ กับ หลุมพราง (pitfall)


ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจเพื่อประมาณการจำนวนผู้ใช้สารเสพติด

 

คำถามที่น่าพิจารณา คือ ผลวิจัยระบุออกมาได้อย่างไรว่า คนที่พักอาศัยในกรุงเทพ   มหานคร และเคยใช้สารเสพติดชนิดใดชนิดหนึ่งตลอดช่วงชีวิตที่ผ่านมามีมากถึงเกือบหกแสนคน  ทั้ง ๆ ที่เก็บข้อมูลสำรวจมาจากตัวอย่างทั้งสิ้น 2,452 ตัวอย่างเท่านั้น

 

        คำตอบ คือ ผลประมาณการที่ค้นพบทำได้ก็เพราะอาศัยหลักการวิจัยทางสังคมศาสตร์และหลักสถิติที่มีขั้นตอนต่าง ๆ ที่สำคัญหลายขั้นตอน โดยต้องสัมพันธ์ต่อกันทั้งหมดเป็นแบบ "ข่ายใยแมงมุม"

 

      ได้แก่ การตั้งหัวข้อเรื่องวิจัย  การทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  การตั้งวัตถุประสงค์  การสร้างกรอบแนวคิดตัวแปร  คำถามวิจัย  สมมติฐาน  การสร้างเครื่องมือวัด หรือแบบสอบถาม  การทดสอบแบบสอบถาม  การนิยามกลุ่มประชากรเป้าหมาย  การกำหนดขนาดตัวอย่าง  กระบวนการเลือกตัวอย่าง  การเก็บรวบรวมข้อมูล  และการใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประมาณการ

 

      โดยทั่วไป  ยังคงมีความเข้าใจที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนในกลุ่มนักวิชาการหลายท่านในประเทศไทยว่า ยิ่งจำนวนตัวอย่างมากเท่าไหร่  ยิ่งจะทำให้มีความแม่นยำของข้อมูลผลสำรวจมากขึ้นตามไปด้วย

 

       ความเข้าใจคลาดเคลื่อนและมองกระบวนการสำรวจที่แคบเกินไปเช่นนี้  เคยเกิดขึ้นใน สหรัฐอเมริกา  เมื่อประมาณ 70 ปีที่ผ่านมา คือ ในปี ค.ศ.1936 หรือ พ.ศ. 2479 ซึ่งมีสำนกโพลล์แห่งหนึ่งได้ลองสำรวจกับ ตัวอย่างประชาชนนับเป็นล้านตัวอย่าง ทั่วประเทศ แต่ละเลยกระบวนการเลือกตัวอย่างที่คำนึงถึงความเป็นไปได้ในการถูกเลือก 

 

      เพราะใช้วิธีส่งแบบสอบถามไปตามนิตยสาร ให้ประชาชนโทรศัพท์เข้ามาบ้าง  สัมภาษณ์ตามสะดวกกับคนที่เดินไปเดินมาตามป้ายรถเมล์  ตามทางเดิน  ร้านค้า  ที่สาธารณะอื่น ๆ และการส่งแบบสอบถามกลับมาทางไปไปรษณีย์ตามแต่การเสนอตัวเข้ามาตอบของประชาชนเอง  ส่งผลทำให้ได้ข้อมูลกลับมาเป็นล้านตัวอย่าง แต่ผลวิจัยที่ผิดพลาดผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงอย่างมากมาย

 

      ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งที่ค้นพบเป็นความผิดพลาดและ หลุมพราง (pitfall) ขนาดใหญ่ในกลุ่มนักวิจัยเชิงสำรวจของประทศไทย คือ การใช้สูตรกำหนดขนาดตัวอย่างสำเร็จรูปจาก Yamane หรือ Morgan ที่มักจะอ้างกันบ่อย ๆ ว่า ด้วยช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ความคลาดเคลื่อนบวก  ลบ  ร้อยละ 5 ขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมจะประมาณ 400 ตัวอย่าง

   

     ซึ่งเป็นความเข้าใจและหลักปฏิบัติที่ไม่ครบถ้วนและไม่ได้ลงไปในรายละเอียดของที่มาของจำนวนตัวอย่างจากสูตรดังกล่าว เพราะหากพิจารณาแล้วจะพบว่า สูตรตัวอย่างดังกล่าวนั้น เป็นสูตรที่เหมาะสมกับการเลือกตัวอย่างแบบชั้นเดียว  แต่ในการวิจัยเชิงสำรวจที่ประเทศไทยกับประชากรเป้าหมายขนาดใหญ่ มักจะใช้การเลือกตัวอย่างมากกว่าหนึ่งชั้น 

 

    ดังนั้น  การอ้างอิงสูตรกำหนดขนาดตัวอย่างข้างต้นเพียงอย่างเดียว  จึงเป็นการตกหลุมพรางซ้ำแล้วซ้ำอีกของนักวิจัยเชิงสำรวจในประเทศไทย

 

    นักวิจัยเชิงสำรวจ จำเป็นต้องตระหนักว่า การกำหนดขนาดตัวอย่างต้องสัมพันธ์กับการกระบวนการเลือกตัวอย่างที่เป็นหัวใจสำคัญในระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ เพราะถ้าใช้การเลือกตัวอย่างที่ไม่คำนึงความเป็นไปได้ในการถูกเลือก (Non-Probability sample selection)

 

     การกำหนดขนาดตัวอย่างเท่าใดก็ตาม หรืออาศัยสูตรใด ๆ กจะทำให้ผลวิจัยที่ค้นพบก็จะเป็นเพียงแค่ "การคาดเดา (guesstimate) " เท่านั้น ไม่มีหลักจะเปิดช่องให้สามารถนำไปประมาณการจำนวน และไม่สามารถกล่าวอ้างช่วงความเชื่อมั่นและความคลาดเคลื่อนจากการเลือกตัวอย่างได้.

 

(เรียบเรียงจากบทความ ของ ดร.นพดล  กรรณิกา ในการประชุมสัมมนานักวิชาการด้านการแพร์ระบาดยาเสพติดในประเทศไทย ครั้งที่ 6 วันที่ 15-17 มิถุนายน 2552 ณ โรงแรมเจริญธานี ปริ้นเซส จังหวัดขอนแก่น)

   

 

**********

หมายเลขบันทึก: 404494เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2010 15:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 12:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะคุณหมอ ยินดีที่กลับมาเขียนบันทึกดีๆ กันอีก ขอบคุณค่ะ

ดีครับมีประโยชน์มาก เป็นกำลังใจให้ด้วยคนครับ

ÄÄÄÄÄ.....มาตามหลุมพราง...ได้ยินว่าน้ำท่วม...มีคนตายแล้วสิบคน...(ข่าวนอกประเทศ)...คุณทิมดาบเป็นอย่างไรบ้าง..ชาวบ้านช่วยตัวเองได้ไหม..สาหัสสากัล..กันมากน้อยเท่าใด....(ได้ยินว่าบางประเทศเกิด..อหิวา..ระบาด..เนื่องจากอุทกภัยโดยเฉพาะเรื่องน้ำท่วม)ของเรามีการป้องกันหรือไม่...(เราคงต้องเข้มแข็งและช่วยตนเองกันต่อไป....สวัสดีค่ะ..และขอให้ทุกคนปลอดภัยจากการเจ็บไข้เจ้าค่ะ...ยายธี

  • สวัสดีค่ะ
  • บุษราแวะมาฟังข่าวความก้าวหน้าเรื่องน้ำท่วม ตอนนี้คงเข้าสู่สภาวะปกติแล้วใช่มั้ยค่ะ
  • เป็นกำลังใจให้กันค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                              

สวัสดีค่ะ

ไม่ทราบว่าสถานการณ์น้ำท่วมเป็นอย่างไรบ้างคะ

มาถามข่าว และมาขอบคุณค่ะ

ที่หยิบหนังสือ " ชวนลูกวาดรูป " ออกจากร้านขายหนังสือน่ะค่ะ

^_^

สวัสดีจร้า... น้องหมอ

พี่กลับมาแล้วจร้า.. คิดถึงน้องหมอคนดีนะจ๊ะ...

ยังเหงาๆ อยู่เหมือนเดิม เพราะลูกๆ กลับไปเรียนกันแล้ว...

แต่ช่วงเวลาปิดเทอมอันน้อยนิด เราตักตวงความสุขจากการเที่ยวพักผ่อนไว้เยอะเลย..

เขียนเล่าสู่กันฟังด้วยนะจ๊ะ....

คิดถึงอยู่เสมอจร้า...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท