พลิกฟื้นชุมชน/ท้องถิ่นสู้ยาเสพติด


แนวทางพลิกฟื้นชุมชนท้องถิ่นสู้ยาเสพติดยั่งยืน

ภาพรวมชุมชนท้องถิ่น  

          ชาวบ้านเป็นกังวลเรื่องการทำมาหากิน (ในเมืองเรื่องที่อยู่อาศัย  เศรษฐกิจนอกระบบ  ขณะที่ในชนบทปัญหาการเกษตร ภัยธรรมชาติ)   และปัญหายาเสพติด   นักการเมืองเข้มข้นลงหาเสียงชุมชน หน่วยราชการเรียกชาวบ้านประชุมทำกิจกรรม  ชักชวนปรองดองแต่ยังไม่บูรณาการแก้ปัญหาพื้นฐานชาวบ้าน

ปัญหายาเสพติด  - ยาเสพติดระบาดเพิ่มรุนแรงทั้งในเมือง-ชนบท   กิจกรรมการแก้ปัญหาย่ำอยู่กับที่ ชาวบ้าน/กำนันผู้ใหญ่บ้านยังมองไม่เห็นทางชนะ เริ่มท้อแท้                                               

องค์กรประชาชนขยายตัว

         ดัวยการสนับสนุนของหน่วยงานทำให้เกิดองค์กรองค์กรชุมชนในรูปแบบต่าง ๆ มากขึ้น   เช่น  กรรมการหมู่บ้าน  กองทุนสุขภาพ   สภาองค์กรชุมชน    กลุ่มกิจกรรมเฉพาะเรื่อง    องค์กรประชาชนส่วนใหญ่มองปัญหาเฉพาะหน้า  การสร้างสรรค์มีข้อจำกัดทำตามหน่วยราชการที่ให้เงินลงไป  ขาดบูรณาการกิจกรรม

กิจกรรมในชุมชน

          เงินโครงการประชานิยมรัฐบาลลงหมู่บ้าน (ล่าสุดนายกรัฐมนตรีจะให้ตำบลละแสน)  จัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล (รัฐกลางให้คนละ 40 บาทต่อปี ท้องถิ่นสมทบ) ครบทุกตำบลใน 2 ปี   จัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลได้ราวหนึ่งในสาม

บทบาทหน่วยงาน

        หน่วยงานจากส่วนกลางทำงานไม่ประสานกัน ต่างคนต่างทำ   จัดตั้งชาวบ้านเป็นเครือข่ายขึ้นตรงหน่วยงาน   

         องค์กรปกครองท้องถิ่นราวร้อยละ 20  ส่งเสริมการบูรณาการและสร้างความเข้มแข็งชุมชน  ร่วมมือกันได้กับกำนันผู้ใหญ่บ้าน     ร้อยละ 50 ทำกิจกรรมแบบราชการส่วนกลาง  ร้อยละ 30  เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาขอชาวบ้าน   องค์กรปกครองท้องถิ่นรวมตัวเป็น “สมาพันธ์องค์กรปกครองท้องถิ่น” ต้องการเป็นอิสระ  เรียกร้องกระจายอำนาจ  ค้านกฎหมายที่จะให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอควบคุมมากเกินรัฐธรรมนูญกำหนด

กิจกรรมส่งเสริมความเข้มแข็งชุมชน

       ให้กำลังใจ และสนับสนุนการทำงานของแกนนำชุมชน  ทำงานเพื่อสาธารณะ  และ “รักษาวิถีชีวิตปกติ” ไว้ให้ได้ 

แนวทางส่งเสริมชุมชนสู้ยาเสพติด

1)อบรมให้ชาวบ้านรู้ทันขบวนการยาเสพติด  2)สนับสนุนเท่าที่จำเป็นเพื่อให้ชาวบ้านจัดตั้งองค์กรสู้ยาเสพติด “ที่เป็นธรรมชาติ” พร้อมสู้ระยะยาว บนพื้นฐานการพึ่งตนเอง   3)สนับสนุน บูรณาการแก้ปัญหายาเสพติดเข้าแผนองค์กรปกครองท้องถิ่น

 

 4) มูลนิธิภูมิพลังชุมชนไทย (มภท.) และ  ป.ป.ส. เป็นแกนนำ ร่วมชุมชน กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน - ตำรวจ – ท้องถิ่น   พัฒนาองค์ความรู้วิชาการในการต่อสู้ยาเสพติดที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมและบริบทพื้นที่            

หมายเลขบันทึก: 404252เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2010 18:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:10 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับท่านสมพงษ์

มภท ภาคใต้ตอนล่าง คุ้นชินกันร่วมกิจกรรมมาหลายครั้ง

แต่พื้นที่เทศบาลปากพะยูนที่ผมขับเคลื่อนงาน ยังไม่ได้ร่วมงานเรื่องยาเสพติด

ยาเสพติดเป็นเรื่องใหญ่ที่คน โดยเฉพาะราชการ ไม่อยากพูด...ทำแบบราชการ เหมือนเดินถอยหลัง...แต่ก็ไม่เปิดให้ชาวบ้านรับผิดชอบ ... องค์กรปกครองทัองถิ่นยังไม่ค่อยมีบทบาท เพราะหน่วยงานส่วนกลางยังไม่เปิดโอกาส ... และท้องถิ่นจำนวนมาก ก็ไม่อยากยุ่งเรื่องนี้ .... จึงเป็นภาระที่ประชาชนต้องสู้เอง  ...

อยากเรียนรู้ร่วมกันเพื่อ "ก้าวทะลุกรอบ"  ติดต่อทางอีเมล์ก็สะดวกดี   .. ขอให้กำลังใจ

สมพงษ์ [email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท