เปิดหน้าเปิดหลัง


สภาพปัจจุบัน

            ห้องผ่าตัดนอกจากการให้บริการผ่าตัดแล้วยังให้บริการส่องตรวจพิเศษร่วมด้วย ในปี 52 มีผู้ป่วยมารับบริการส่องตรวจทางเดินอาหารส่วนปลาย 178 รายและส่องตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ 240 ราย(ชาย 160 ราย หญิง 52 ราย) การบริการที่ผู้ป่วยได้รับมีดังนี้

ผู้ป่วยที่ส่องตรวจทางเดินอาหารส่วนปลายก่อนการส่องตรวจผู้ป่วยจะถูกเตรียมความพร้อมก่อนการส่องตรวจโดยจะต้องถอดกางเกงออกนอนตะแคงเปิดก้นมีผ้าขวางปิดร่างกายทางด้านหน้าไว้ ด้านหลังบริเวณก้นจะถูกเปิดออกเพื่อรอการตรวจจากแพทย์ แพทย์สอดใส่เครื่องมือทางทวารหนัก  ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองถูกเปิดเผยร่างกายทั้งก้นและขา

ส่วนผู้ป่วยที่ส่องตรวจทางเดินปัสสาวะก่อนทำการตรวจจะต้องเปลี่ยนผ้าที่สวมใส่มาเป็นผ้าถุงทั้งผู้ป่วยชายและหญิง ผู้ป่วยชายเมื่อต้องถูกใส่ผ้าถุงจะรู้สึกไม่อยากใส่แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ เมื่อเปลี่ยนผ้าเรียบร้อยแล้ว ผู้ป่วยจะต้องนอนบนเตียงขาหยั่งซึ่งก่อนจะนอนจะต้องดึงผ้าขึ้นมาอยู่ในระดับเอวและล้มตัวนอนวางขานบนขาหยั่ง(ผู้ป่วยที่ส่องตรวจทางเดินปัสสาวะจะต้องอยู่ในท่านอนบนขาหยั่ง) ผู้ป่วยจะถูกเปิดเผยร่างกายส่วนล่าง การดำเนินการช่วยเหลือ พยาบาลจะใช้ผ้าขวางปิดพาดไว้ให้

การวิเคราะห์สาเหตุ

              ผู้ป่วยต้องถูกเปิดเผยร่างกายเนื่องจากขาดอุปกรณ์ / วิธีที่จะเปิดเผยร่างกายผู้ป่วยเฉพาะที่ การคำนึงถึงสิทธิผู้ป่วย ใจเขาใจเรา เกิดความไม่พึงพอใจมีข้อเสนอแนะจากผู้ป่วยชายที่ต้องใส่ผ้าถุง

การวางแผนและดำเนินการแก้ไข / ปรับปรุง

                ระยะแรก ดำเนินการปรับปรุงในผู้ป่วยที่มาส่องตรวจทางเดินอาหารส่วนปลาย โดยคิดวิธีเปิดเผยเฉพาะส่วนที่ต้องการตรวจเท่านั้น จึงนำกางเกงเก่ามาดัดแปลงตัดบริเวณก้นและเย็บผ้าอีกชิ้นมาเย็บปิดไว้เมื่อแพทย์มาตรวจก็จะเปิดเฉพาะผ้าที่เย็บปิดไว้ ผู้ป่วยก็จะไม่ถูกเปิดเผยในส่วนอื่นๆที่ไม่ต้องการเปิดเผย ซึ่งเป็นกางเกงเปิดหลัง

                ระยะพัฒนา ผู้ป่วยที่ส่องตรวจทางเดินอาหารได้รับการปกปิดร่างกายและเปิดเผยเท่าที่จำเป็นแต่ผู้ป่วยที่ต้องตรวจทางเดินปัสสาวะยังมิได้ดำเนินการแก้ไข จึงคิดวิธีดัดแปลงควรจะมีกางเกงที่สามารถเปิดด้านหน้าได้ด้วยและเพื่อความสะดวกและประหยัดกางเกงควรจะใส่ได้ทั้งด้านหน้าด้านหลัง จึงพัฒนากางเกงมาให้ใส่ได้ 2 ด้าน (เปิดด้านหน้าได้ด้วย)

ผลลัพธ์ / การวิเคราะห์ผลการจัดทำเป็นมาตรฐานงาน

                ผู้ป่วยไม่ต้องเปิดเผยร่างกายในส่วนที่ไม่จำเป็น ไม่ต้องรู้สึกอับอาย กางเกงนี้สามารถใส่ได้ 2 ด้านและนำไปใส่ในผู้ป่วยที่ตรวจทางนรีเวชในห้องผ่าตัด

                ไม่มีข้อเสนอแนะ  ผู้ใช้บริการพึงพอใจจากการใช้กางเกงทุกราย (20 ราย)

ประโยชน์ต่อตนเอง / หน่วยงาน / ลูกค้า

                ผู้ป่วยไม่ต้องเปิดเผยร่างกายในส่วนที่ไม่จำเป็น

                หน่วยงานได้ให้บริการที่ตอบสนองสิทธิ

หมายเลขบันทึก: 404060เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2010 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 11:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท