ข้อบกพร่อง : แนวทางปรับปรุงการเขียนสารบัญ


ข้อบกพร่อง : แนวทางปรับปรุงการเขียนสารบัญ

       การเขียนสารบัญ อาจเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยไม่น่ามีข้อบกพร่องแต่เท่าที่พบมีข้อบกพร่องได้หลายประการ  ซึ่งแม้จะมีผลเสียไม่มากก็ควรจะปรับปรุง เพราะใช้เพียงความละเอียด ความรอบคอบ ก็ปรับปรุงได้ ข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงมี 4 ประการ ดังนี้

        -  ข้อบกพร่องที่พบ

           สาระในสารบัญไม่ครบตามหัวข้อเนื้อหาในเล่มทำให้ผู้อ่านไม่เห็นภาพรวมทั้งหมดของรายงาน หรือเข้าใจผิดว่าไม่มีเนื้อหานั้น

         -  แนวทางปรับปรุง

            ตรวจสาระในสารบัญและในเล่มให้ครบถ้วนตรงกัน  เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพรวมของเนื้อหาได้

         -  ข้อบกพร่องที่พบ

            ชื่อหัวข้อต่าง ๆ ของหัวข้อในเล่มกับหัวข้อ ในสารบัญไม่ตรงกัน เช่น มีคำว่า “การ” “ใน” “ของ” ต่างกัน ซึ่งเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ทำให้ผู้อ่านเห็นว่าผู้วิจัยขาดความรอบคอบ

         -  แนวทางปรับปรุง

            ตรวจหัวข้อให้ตรงกันทุกแห่ง เช่น “แบบวิจัย” กับ “แบบการวิจัย” “การวิจัยชั้นเรียน” กับ “การวิจัยในชั้นเรียน” “ประสิทธิผลองค์การ” กับ “ประสิทธิผลขององค์การ” และ “วัตถุประสงค์การวิจัย” กับ “วัตถุประสงค์ของการวิจัย” เป็นต้น ยกเว้นส่วนที่เป็นเนื้อหาในข้อความอาจมีการใช้คำต่างกันไปบ้าง เช่น “และ” กับ “หรือ” หรือตัดคำบางคำออกบ้างตามความเหมาะสมแต่ถ้าเป็นหัวข้อเนื้อหากับสาระในสารบัญควรให้ตรงกัน เพื่อแสดงถึงความรอบคอบของผู้วิจัย

         -  ข้อบกพร่องที่พบ

             ไม่มีเลขหน้า / เลขหน้าไม่ตรง ทำให้เสียเวลาค้นหา

          - แนวทางปรับปรุง

            ตรวจและใส่เลขหน้าทุกหัวข้อในสารบัญโดยเฉพาะหัวข้อบรรณานุกรมหรือภาคผนวก / ตรวจเลขหน้าในสารบัญและในเล่มให้ตรงกัน โดยเฉพาะเมื่อมีการปรับแก้ภายในเล่มอาจจะทำให้เลขหน้าเปลี่ยน จึงต้องเปลี่ยนเลขหน้าในสารบัญด้วยเสมอ เพื่อให้ผู้อ่านศึกษาได้อย่างรวดเร็ว

          -  ข้อบกพร่องที่พบ

             หัวข้อหลักในสารบัญบางหัวข้อมีหัวข้อรอง แต่บางหัวข้อไม่มีหัวข้อรองปะปนกันทำให้ไม่เป็นระบบเดียวกัน

           -  แนวทางปรับปรุง

              ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งถ้ากรณีที่หัวข้อหลักไม่มีหัวข้อรองก็ควรเหมือนกันทั้งหมด  หรือถ้าเป็นหัวข้อหลักที่มีหัวข้อรองก็ควรมีเหมือนกันทุกหัวข้อ เพื่อให้เป็นระบบเดียวกัน ดังตัวอย่าง

              (ผิด)  บทที่ 2       เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                                       แนวคิดเกี่ยวกับการอ่าน

                                       ความหมายของการอ่าน

                                       ความสำคัญของการอ่าน

                                       วิธีการสอนอ่าน

                                       สื่อการสอน

                                       งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                                       งานวิจัยในประเทศ

                                       งานวิจัยต่างประเทศ

                (ถูก)  กรณีไม่เสนอหัวข้อรอง

                บทที่  2  เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                             การอ่าน

                                สื่อการสอน

                                งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                (ถูก)  กรณีเสนอหัวข้อรอง

                บทที่  2  เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                            การอ่าน

                                  ความหมายของการอ่าน

                                  ความสำคัญของการอ่าน

                                  วิธีสอนการอ่าน

                            สื่อการสอน

                                   ความหมายของสื่อการสอน

                                   ประเภทของสื่อการสอน

                                    ประโยชน์ของสื่อการสอน

                            งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                                    งานวิจัยในประเทศ

                                    งานวิจัยต่างประเทศ

            -  ข้อบกพร่องที่พบ

                หัวข้อรอง  พิมพ์ในแนวตรงกันกับหัวข้อหลัก ทำให้ไม่ทราบหรืออ่านยากว่าหัวข้อใดเป็นหัวข้อหลัก หัวข้อรอง

           -  แนวทางปรับปรุง

               หัวข้อรองพิมพ์เยื้องไปทางขวาเพื่อแสดงถึงลำดับชั้นของเนื้อหา ดังตัวอย่าง

          (ผิด) บทที่  2   เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                               แนวคิดเกี่ยวกับการอ่าน

                               ความหมายของการอ่าน

                               ความสำคัญของการอ่าน

                               วิธีการสอนอ่าน

                               ความหมายของสื่อการสอน

                               ประเภทของสื่อการสอน

                               ประโยชน์ของสื่อการสอน

                               งานวิจัยในประเทศ

                               งานวิจัยต่างประเทศ

               (ถูก)  บทที่  2  เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                                    การอ่าน

                                          ความหมายของการอ่าน

                                          ความสำคัญของการอ่าน

                                          วิธีสอนการอ่าน

                                    สื่อการสอน

                                           ความหมายของสื่อการสอน

                                            ประเภทของสื่อการสอน

                                            ประโยชน์ของสื่อการสอน

                                    งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                                             งานวิจัยในประเทศ

                                             งานวิจัยต่างประเทศ

 

เอกสารอ้างอิง
พิสณุ  ฟองศรี (2551).  108 ข้อบกพร่อง : แนวทางปรับปรุงการเขียนงานวิจัยและวิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ. เพชรรุ่งการพิมพ์ จำกัด.

 

หมายเลขบันทึก: 402035เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2010 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท