Agriculture for Better Living and Global Economy


เกษตรกรที่ทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก จะใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในระบบการเพาะปลูก ส่วนเกษตรผู้สูงอายุจะหาเลี้ยงชีพจากเกษตรแบบยังชีพ

Agriculture for Better Living and Global Economy

เรื่องของสถานการณ์โลกปัจจุบัน

  • มีประชากร 6,866 ล้านคน
  • ประชากรมีอายุ 60+ = 605 ล้านคน
  • อายุขัยเฉลี่ย 65.8 ปี
  • มีคนว่างงาน 190 ล้านคน (อัตราว่างงาน 6.1%)    

คาดการณ์อีก 15-20 ปีข้างหน้า

  • คาดว่ามีประชากรประมาณ 7,600 ล้านคน (ปี 2020) (9,000 ล้าน ปี 2050)
  • ประชากรมีอายุ 60+ = 1,200 ล้านคน (ปี 2025)

เรื่องของสถานการณ์ไทยปัจจุบัน

  • มีประชากร 64 ล้านคน
  • อายุขัยเฉลี่ย 72.5 ปี
  • สัดส่วนวัยทำงาน : ผู้สูงวัย 6.3 : 1
  • อัตราการเพิ่มประชากร 0.63% (เดิม 3.1% ปี 1960)
  • อัตราว่างงาน 2.1%

คาดการณ์อีก 15-20 ปีข้างหน้า

  • มีประชากร  69 ล้านคน (ปี 2020)
  • สัดส่วนวัยทำงาน : ผู้สูงวัย 3.3 : 1 (ปี 2020)

ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนเกษตรกรชาวไร่ชาวนาลดลงเรื่อย ๆ ในขณะที่อายุเฉลี่ยของผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรมากขึ้น 

สิ่งที่จะเกิดขึ้นแน่นอน

  • ขาดแคลนพลังงานอย่างรุนแรง
  • การแย่งชิงน้ำ และปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง
  • ความสามารถในการเข้าถึงอาหาร และยารักษาโรค
  • การถือครองที่ดิน ที่ไม่เป็นธรรม
  • คนตกงานในสาขาที่มีการผลิตจำนวนมาก
  • ความไม่เท่าเทียมกันในสังคม

     ปัญหาของประเทศไทยในปัจจุบัน คือ คนไทยทำอาชีพเกษตรกรน้อยลง และทำให้มีอายุเฉลี่ยของคนที่ทำการเกษตรเพิ่มขึ้น เราต้องพยายามลดอายุเฉลี่ยของเกษตรกรให้น้อยลงให้ได้ ทำให้ต้องตระหนักถึงแนวทางในการพัฒนาด้านการเกษตร ซึ่งมีลักษณะที่เป็นฟาร์มมากขึ้น มีการใช้เครื่องจักรกลแทนแรงงานคน  ประชาชนจึงหันไปประกอบอาชีพอื่น

“เกษตรกรที่ทำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก จะใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในระบบการเพาะปลูก ส่วนเกษตรผู้สูงอายุจะหาเลี้ยงชีพจากเกษตรแบบยังชีพ” (อัมมาร  สยามวาลาม, 2547)

     สำหรับสภาพทั่วไปทางการเกษตรของไทย พบว่า ปัญหาการถือครองที่ดินยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการเสื่อมถอยของอาชีพเกษตร  การเกษตรกรรมในปัจจุบันมุ่งเน้นการผลิตเป็นหลัก แต่ผลผลิตต่อพื้นที่ยังมีน้อย ซ้ำต้นทุนการผลิตยังสวนทางกับมูลค่าผลผลิตที่ได้  ซึ่ต่อไปขนาดพื้นที่ต่อคนจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากมีการใช้เครื่องจักรกลเพิ่มมากขึ้น

     สำหรับในด้านการวิจัย พบว่า อัตราส่วนนักวิจัยไทยต่ำ ดังนั้นประเทศไทยคงต้องเร่งพัฒนานักวิจัยเพิ่มมากขึ้นทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ

      การส่งออกผลผลิตเกษตรของไทยในปัจจุบันเองยังต้องมีการพัฒนา เนื่องจากโดยส่วนใหญ่แล้วการส่งออกผลผลิตที่แปรรูปจะได้เปรียบและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้มากกว่า  แต่ต้องคำนึงถึงคุณภาพและความปลอดภัยด้วย

 

ข้อมูลจากการบรรยายของ รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ วันที่ 9 กันยายน 2553

หมายเลขบันทึก: 401551เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2010 10:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท