สังคมสงเคราะห์กับแนวคิดหลักฐานเชิงประจักษ์


 

 

          ห่างหายจากการเขียนบล็อกไปหลายเดือนคราวนี้มีแรงขยับจากการเป็นวิทยากรให้กับสมาคมนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ไทย เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2553 ณ   สวนสายน้ำ อัมพวา จ.สมุทรสงคราม พี่น้องเพื่อนพ้องมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน 30   ชีวิต กลุ่มเล็กที่อบอุ่นเป็นกันเอง

           เป็นวิทยากรช่วงบ่ายบรรยากาศชวนนอนในศาลาริมสวนลิ้นจี่   แถมหัวข้อก็พื้นๆเป็นการทบทวนแนวคิด   ทฤษฏี  หลักการและเทคนิคในการปกิบัติงานสังคมสงเคราะห์แล้วจะดึงดูดความสนใจให้มีการแลกเปลี่ยนกันมากกว่าชวนกันนอนได้ยังไงนะเป็นโจทย์ใหญ่ แถมกลุ่มเพื่อนพ้องน้องพี่นั้นมีทั้งผู้มากประสบการณ์ 20 ปี up และน้องน้อยเพิ่งทำงานได้ 3 เดือน จะใช้เทคนิคอะไรให้มีการแลกเปลี่ยนกัน และต้องไม่ชวนกันหลับตากับบรรยากาศชวนฝันและสายฝนพรำ    นึกถึงศิลปะเพื่อศิลปะที่ได้เรียนรู้มาและใช้กับเด็กๆบ้างแล้วก็สนุกดีเอามาใช้กับผู้ใหญ่บ้างก็น่าจะดี

          ผลปรากฏว่าเพลินกับการค้นหาจินตนาการจากรอยขีดบนกระดาษแล้วคว้าสีมาแต่งแต้มเสร็จแล้วก็เล่าเรื่องประสบการณ์ในการเป็นนักสังคมสงเคราะห์โดยเชื่มโยงกับรูป ว้าว ทั้งหลักการ แนวคิด เทคนิคในการทำงานพรั่งพรูออกมาแลกเปลี่ยนกันเพียบ แต่มีอยู่เรื่องหนึงที่ไม่ออกมาก็เลยถือโอกาสบรรยายแบบชวนคุยเรื่องแนวคิดหลักฐานเชิงประจักษ์(Evidence Based Practice )กับงานสังคมสงเคราะห์ ดังนี้

- แนวคิดหลักฐานเชิงประจักษ์ต้นคิดมาจากแวดวงการรักษาพยาบาลและการดูแลสุขภาพ

- แนวคิดหลักฐานเชิงประจักษ์รอการประยุกต์ใช้จากนักสังคมสงเคราะห์ให้มีความชัดเจนและเป็นรูปแบบมากขึ้น

- ความหมาย: การปฏิบัติงานตามหลักฐานเชิงประจักษ์คือการกำหนดวิธีการช่วยเหลือที่เหมาะสมกับประเด็นสถานการณ์ปัญหาของผู้ใช้บริการโดยการทบทวนหลักฐาน/งานวิจัย/การปฏิบัติการที่เป็นเลิศในขณะนั้นร่วมกับความเชี่ยวชาญของผู้ให้บริการและค่านิยม ความคาดหวังความพอใจของผู้ใช้บริการ

 ขั้นตอนการปฏิบัติตามแนวคิดหลักฐานเชิงประจักษ์

1. กำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการ ( แก้ไข/ป้องกัน/ประเมิน/ช่วยเหลือฯลฯ)

2. สืบค้นงานวิจัย

3.สังเคราะห์หลักฐานที่ดีที่สุด

4. นำหลักฐานที่ดีที่สุดมาบูรณาการกับประสบการณ์ของผู้ให้บริการ ค่านิยม จุดแข็งของผู้ใช้บริการและสถานการณ์แวดล้อม  แล้วมาทำเป็นแนวปฏิบัติ

5.ประเมินประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน หาข้อเด่นข้อด้อยที่ต้องพัฒนาต่อไป

6. รวบผลการดำเนินงานแล้วนำไปแลกเปลี่ยน หรือเผยแพร่ต่อ

        หลายท่านสนใจและคิดว่าเราจะทำงานแบบใช้คุณประจักษ์อย่างไรดี เราอยากมีที่รวบรวม best practice มีงานวิจัยที่จะนำเอามาเป็นหลักฐานและอ้างอิงเพื่อพัฒนาการทำงานอย่างต่อเนื่อง จึงขอใช้เวปของสมาคมนักสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยเป็นที่ผ่องถ่ายความรู้กัน แล้วก็ gotoknow.orgนี้ก็เป็นชุมชนที่เราได้แลกเปลี่ยนกัน หวังว่าคงได้พบกันที่นี่นะค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 401431เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2010 17:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:31 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบพระคุณ อาจารย์คะ ที่ให้ความรู้ดีดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท