น้ำหมักอินทรีย์บำบัดน้ำเสีย( EM บำบัดน้ำเสีย)


กลุ่มงานสิ่งแวดล้อมจังหวัด สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดชัยนาท โทร 056 411013 056 413040

       

       เมื่อกล่าวถึงน้ำหมักชีวภาพ จะเข้าใจและได้รับทราบกันมากในแวดวงการเกษตร โดยได้นำเสนอในบทความต่างของChudchainat ในหลายๆ ตอนจากเกษตรกรผู้นำความรู้มาใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิตและอนุรักษ์ธรรมชาติ  แต่สำหรับด้านสิ่งแวดล้อมผุ้เขียนเองได้รับทราบจากอาจารย์แจ๊ค ผุ้ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญอีกผู้หนึ่งในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดชัยนาทและเป้นวิทยากรสร้างสรรค์บุคคลากรจากชุมชนต่างๆ ในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม ได้ให้ข้อคิดกับผู้เขียนว่า น้ำเสียจากชุมชน  บ้านเรือน  ของเรา สามารถบำบัดได้ ด้วยเทคโนโลยี อย่างง่าย และสามารถทำใช้ได้เอง ต้นทุนต่ำ และช่วยลดปริมาณขยะได้ด้วย  ตัวอย่างเช่น การใช้น้ำหมักอินทรีย์บำบัดน้ำเสีย  ดังนั้นมาทราบรายละเอียดได้ครับ

    น้ำหมักอินทรีย์บำบัดน้ำเสีย คือ น้ำหมักอินทรีย์บำบัดน้ำเสีย คือ การนำจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ มาใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสีย ในส่วนของ EM ย่อมาจาก Effective Microorganisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ

วัสดุและอุปกรณ์ในการทำน้ำหมักอินทรีย์

1.หัวเชื้อ EM

2.กากน้ำตาล

3.เศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ และอื่นๆ

4.ถัง /ตะกร้า หรือขวดน้ำดื่ม

    (กรณีใช้น้ำซาวข้าว)

วิธีทำน้ำหมักอินทรีย์

สูตรที่ 1  :  น้ำหมักอินทรีย์จากเศษอาหาร เศษผัก

1. นำเศษอาหาร หรือ เศษผัก หรือ เปลือกผลไม้ประมาณ 3 กิโลกรัม มาหันเป็นชิ้นย่อยๆ

2. ใช้กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม  หัวเชื้อ EM  100-150   ซี.ซี. ( 1 ขวดน้ำดื่มชูกำลัง )และน้ำ คลุกเคล้าให้เข้ากัน

3. ปิดฝาถังให้สนิทกันแมลงไปวางไข่ ประมาณ 10-14วัน

4. เปิดฝาถังเติมน้ำ 3 ลิตร ปิดฝาไว้อีก 1 วัน ก็สามารถนำไปใช้ได้

5. เมื่อใช้ไปน้ำหมักจุลินทรีย์  1 ลิตร   ให้เติมน้ำสะอาดเพิ่มไป 1 ลิตร

สูตรที่ 2  :  น้ำหมักอินทรีย์จากน้ำซาวข้าว

  1. นำน้ำซาวข้าว ประมาณ 1 ลิตร ใส่ลงในขวดน้ำพลาสติกดื่มที่ใช้แล้ว หรือขวดแก้ว
  2. เติมกากน้ำตาล 0.3 กิโลกรัม 
  3. เติมหัวเชื้อ EM  30 ซี.ซี. ( 1 ส่วน 4 ขวดเอ็มร้อย )
  4. ปิดฝาขวดและเขย่าให้เข้ากันทั่วขวด
  5. ทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน โดยคลายฝาขวดเพื่อระบายแก๊สที่เกิดขึ้นทุกวัน
  6. นำน้ำหมักไปใช้ประโยชน์
  7. ใช้น้ำหมักฯจนหมดขวดแล้วนำขวดไปใช้ทำน้ำหมักอินทรีย์ ต่อไปได้อีก

วิธีใช้น้ำหมักอินทรีย์บำบัดน้ำเสียในครัวเรือน

  • ราดลงโถส้วม ทุก 2 สัปดาห์ ครั้งละ 500 ซีซี  ช่วยย่อยสลายกากอุจจาระ ทำให้ส้วมไม่มีกลิ่นและเต็มช้าลง
  •  ผสมน้ำในอัตราส่วน 1:1  ใช้ล้างห้องน้ำ แทนน้ำยาขัดห้องน้ำ ช่วยดับกลิ่น และลดค่าใช้จ่าย
  •  ราดลงท่อระบายน้ำ รางระบายน้ำ และอ่างล้างจาน ช่วยบำบัดน้ำเสีย และลดกลิ่นเหม็น
  •  ผสมน้ำในอัตราส่วน 1:5 (น้ำ 5 ส่วน)  ใช้ฉีดพ่นป้องกันกลิ่นเหม็นและแมลงวันได้

 กลุ่มงานสิ่งแวดล้อมจังหวัด

สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดชัยนาท

โทร 056 411013   056 413040

 

คำสำคัญ (Tags): #น้ำหมักชีวภาพ
หมายเลขบันทึก: 401427เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2010 17:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอเรียนถามเพิ่มเติมว่า เราราดน้ำลงโถส้วมแบบนั้นทำให้กลายสภาพเป็นปุ๋ยคุณภาพดีกว่าเดิมหรือเปล่าครับ

เรียน คุณพี่ โสภณ เปียสนิท

ขอบพระคุณมากครับที่มาให้กำลังใจ ห้องส้วมเราไม่นำมาทำเป็นปุ๋ยครับ เพราะกลัวคนเห็นจะรังเกียจ แต่ก็น่าเสียดายนะ ถ้าใช้ทำเป็นปุ๋ยจะเยี่ยมทีเดียว เช่น มีผู้กล่าวถึงจำนวนมากว่ามีชาวต่างชาติประเทศหนึ่ง จะทำเป็นบ่อส่วมและนั่งถ่าย เพื่อตักไปรดผักงามดีเชียว ยิ่งถ้าได้น้ำหมักชีวภาพแล้วจะประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์สำหรับพืช กรณีโถส่วมติดกับแม่น้ำดีกว่าจะปล่อยน้ำซึมที่ไม่ผ่านการย่อยสลายที่ดีลงสู่แม่น้ำลำคลอง ครับ

■ราดลงโถส้วม ทุก 2 สัปดาห์ ครั้งละ 500 ซีซี ช่วยย่อยสลายกากอุจจาระ ทำให้ส้วมไม่มีกลิ่นและเต็มช้าลง

■ ผสมน้ำในอัตราส่วน 1:1 ใช้ล้างห้องน้ำ แทนน้ำยาขัดห้องน้ำ ช่วยดับกลิ่น และลดค่าใช้จ่าย

■ ราดลงท่อระบายน้ำ รางระบายน้ำ และอ่างล้างจาน ช่วยบำบัดน้ำเสีย และลดกลิ่นเหม็น

■ ผสมน้ำในอัตราส่วน 1:5 (น้ำ 5 ส่วน) ใช้ฉีดพ่นป้องกันกลิ่นเหม็นและแมลงวันได้

สัมพันธ์ เภาหว่าง

เห็นด้วยกับการแก้ปัญหา เพราะแหล่งน้ำเป็นทรัพยากรที่ทุกๆคนร่วมกันใช้ ถ้าปล่อยให้น้ำเน่าเสียประชาชนก็เกิดความเดือดร้อน และการที่ทุกๆคนบำบัดน้ำเสียจากชุมชน บ้านเรือน ที่อยู่อาศัยของตนเองก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นการรักษาทรัพยากรน้ำให้มีใช้ได้นาน และช่วยให้ชุมชน บ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ของตนเองน่าอยู่มากขึ้น

กิตติธัช ประเสริฐทรัพย์

สูตรที่ 1 นี้น้ำเปล่าใช้ประมาณเท่าไรครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท