แผนเฝ้าระวังคนจากหวัดนก ระดับ 2


การสำรวจประชากรสัตว์ปีกและค้นหาสัตว์ปีกป่วยตาย เป็นสิ่งสำคํญที่จะต้องทำ

 

การจัดการความรู้เพื่อการซ้อมแผนเตรียมความพร้อมรับการระบาดของโรคไข้หวัดนกของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชัยนาท โดยมีหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมจำนวนมาก หมอโอ๋(นายกันตภณ  ปภากรเกตุรัตน์ นายสัตวแพทย์ชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาสุขภาพสัตว์ ) ได้ส่งประเด็นสำคัญแผนเตรียมความพร้อมสำหรับการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันการระบาดในคน   ระดับปกติตามแผนเฝ้าระวัง และระดับ  2  ดังนี้

1. สำรวจจัดทำฐานข้อมูลสัตว์ปีกในพื้นที่เข้าระบบสารสนเทศ ให้เป็นปัจจุบัน

2. การประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อต่างๆ และถึงระดับครัวเรือนโดยเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอและตำบล ได้แก่ หน่วยงานสาธารณสุขอำเภอ เกษตรอำเภอ ปศุสัตว์อำเภอ ปกครองอำเภอ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจัดสัปดาห์ทำความสะอาดพื้นที่เลี้ยงสัตว์ปีก  โดยจัดคาราวานสกัดการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดนก  ปีละ 4 ครั้ง  ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล

3.  การสำรวจประชากรสัตว์ปีกและค้นหาสัตว์ปีกป่วยตาย

         3.1  สร้างเครือข่ายไข้หวัดนกประจำหมู่บ้านๆ ละ 2 คน 

         3.2  เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอร่วมกับอาสาปศุสัตว์หรือเครือข่ายไข้หวัดนก  สถานีอนามัยทุกแห่ง และอสม.  เป็นผู้สำรวจ

4.  การพ่นยาฆ่าเชื้อ โดยพ่นอย่างน้อยเดือนละ 1-2 ครั้ง  ครอบคลุมทุกพื้นที่

5.  การเก็บตัวอย่างส่งตรวจห้องปฏิบัติการ  ครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อค้นหาโรค

6.  การตั้งจุดตรวจสัตว์  เพื่อควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีก        

7. การเตรียมความพร้อมทีมทำลายสัตว์ป่วยหรือพาหะของโรค

     7.1  เตรียมความพร้อมของบุคลากรโดยจัดตั้งทีมทำลายสัตว์ปีกป่วยตาย 

     7.2  เตรียมวัสดุ  อุปกรณ์  และยานพาหนะ

            -  น้ำยาฆ่าเชื้อเชื้อ                     1,000   ลิตร

            -  ถุงมือ                                       40  กล่อง

            -  ชุดทำลายเชื้อโรค  รวมทั้ง  แว่นตา  รองเท้าบู๊ท ผ้าปิดจมูก      50  ชุด

            -  อุปกรณ์ในการ เก็บตัวอย่าง  รวมทั้งอาหารเลี้ยงเชื้อ              500  หลอด

            -  เครื่องพ่นยา                                    8  เครื่อง

            -  รถยนต์                                           8  คัน                               

          -  รถแบ็คโฮขุด                                     3   คัน

     7.3  การจัดเวรประจำศูนย์ไข้หวัดนกและเวรสารวัตรทุกวัน

     7.4  จัดเตรียมสถานที่ฝังและผู้ประกอบการรถแบ็คโฮ 

      7.5  กรณีสถานที่ทำลายและสถานที่ฝังอยู่ต่างพื้นที่กัน กำหนดมาตรการการควบคุมการเคลื่อนย้ายจากจุดทำลายมายังสถานที่ฝัง ดังนี้

            -  ใช้ถุงดำ/ภาชนะที่สามารถบรรจุซากสัตว์ปีกได้มิดชิดพร้อมพ่นยาฆ่าเชื้อ

            -  รถที่ใช้บรรทุกซากสัตว์ปีกต้องพ่นยาฆ่าเชื้อและการบรรทุกซากต้องเป็นแบบมิดชิดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดทางอากาศและสิ่งคัดหลั่งที่รั่วซึม

            -  เส้นทางการเคลื่อนย้ายจากจุดทำลายไปยังสถานที่ฝังต้องเป็นเส้นทางที่ไม่ผ่านแหล่งชุมชนหรือแหล่งที่มีการเลี้ยงสัตว์ปีก

8. จัดทำมาตรฐานสนามชนไก่

9.  การปรับเปลี่ยนระบบการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งให้เข้าสู่ฟาร์มหรือโรงเรือน

10. การปรับระบบการเลี้ยงไก่หลังบ้าน

11. กำหนดพื้นที่เสี่ยง / จัดระบบเฝ้าระวังในนกธรรมชาติ

การเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันการระบาดในคน

1. จัดเตรียมคลังเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น   ตามมาตรฐานขั้นต่ำ

2. ฝึกทักษะการใช้ PPE แก่บุคลากรในสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ

3. จัดเตรียมประสานช่องทางในการสำรอง PPE/วัคซีน/เวชภัณฑ์โดยจัดทำทะเบียนรายชื่อ

     เครือข่ายทุกระดับ ทั้งภาครัฐและเอกชน

4. ควบคุมกำกับผู้ดูแลระบบ VMI  ในโรงพยาบาล

5.วางแผนประชาสัมพันธ์การจัดทำหน้ากากอนามัยในครัวเรือน

6. จัดหาและตรวจสอบอุปกรณ์ช่วยชีวิต เช่น เครื่องช่วยหายใจ ให้  มีความพร้อมใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ

7. กำหนดหน้าที่/มอบหมายภารกิจ รับผิดชอบการเบิก-จ่าย/คุม  stock / จัดส่งและพาหนะ

8. จัดเตรียมความพร้อมของวัสดุ   อุปกรณ์สำหรับ PHER TEAM

9. กำหนดแนวทางการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์/เวชภัณฑ์ ในสถานการณ์ที่มีการระบาดใหญ่

10. ทบทวนแนวทางการคัดกรอง /ชันสูตร

11. ทบทวนแนวทาง IC

12. ทบทวนแนวทางการดูแลรักษา     การให้ยาต้านไวรัส   การส่งต่อ

13. ฉีดวัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่ แก่บุคลากรแพทย์ พยาบาล จนท. ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง

15. เตรียมความพร้อม สอ. ในเรื่องการคัดกรองผู้ป่วย

16. อบรมให้ความรู้แก่ อสม. ในการช่วยคัดกรองผู้ป่วยในพื้นที่

17. เฝ้าระวังในชุมชน ผู้ป่วยมีอาการสงสัยไข้หวัดใหญ่ , ปอดอักเสบ

18.เฝ้าระวังผู้ที่เข้ามาในพื้นที่ (จากพื้นที่เสี่ยง) ที่เข้ามาในหมู่บ้าน

19.เฝ้าระวังในโรงพยาบาล คัดกรองผู้ป่วยที่มีอาการเข้าตามนิยามไข้หวัดใหญ่ – ปอดอักเสบ

การเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันการระบาดในสัตว์ปีก

 1.  สอบสวนโรคเบื้องต้น

       -  จัดทีมควบคุมโรคไข้หวัดนกเข้าไปสอบสวนโรค  ณ. จุดเกิดเหตุ และรอบจุดเกิดเหตุ

       -  หากตรวจดูเบื้องต้นด้วยอาการและวิการว่าไม่ใช่โรคไข้หวัดนก  ให้ตรวจสอบหาสาเหตุอื่นโดยส่งตัวอย่างตรวจ  ณ  สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์

        -  ตรวจดูเบื้องต้นว่าใช่หรือสงสัยให้รายงานเบื้องต้นกับหน่วยงาน/กระทรวงที่เกี่ยวข้อง เช่น เช่น  

            กระทรวงสาธารณสุข   กระทรวงมหาดไทย  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น   กระทรวง                             

 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แล้วสอบสวนโรค และประกาศเขตโรคระบาด

 หรือสงสัยว่าเป็นโรคระบาด

2.  ทำลายสัตว์ปีก  ในกรณีพบสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติตามนิยามโรคไข้หวัดนก

            -  สัตว์ปีกในฟาร์มที่เป็นโรค  โดยถ้าฟาร์มสัตว์ปีกนั้นมีหลายโรงเรือน  ภายในฟาร์มให้ทำลายสัตว์ปีกหมดทั้งฟาร์ม

           - ฟาร์มอื่นๆ ที่มีเหตุอันเป็นได้ว่า สัตว์ได้รับเชื้อโรคไข้หวัดนก

           -  ดำเนินการทำลายสัตว์ปีกโดยเร็วที่สุดไม่เกิน 12 ชั่วโมง

3.  ทำลายเชื้อโรค

ทำลายเชื้อโรคในฟาร์มที่เกิดโรคหรือควบคุมให้เกษตรกรดำเนินการทำลายเชื้อโรค ดังนี้ยานพาหนะ  ใช้เครื่องฉีดแรงดันสูงทำความสะอาดยานพาหนะที่ใช้บรรทุกสัตว์ปีก   พ่นยาฆ่าเชื้อบนรถและล้อรถให้ทั่วทุกซอกทุกมุมด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆในโรงเรือน  แช่ล้างและขัดวัสดุอุปกรณ์ในน้ำผงซักฟอกเพื่อขจัดคราบไขมันและสิ่งสกปรกอื่นๆ  แช่อุปกรณ์ต่างๆในน้ำยาฆ่าเชื้อโรค  โรงเรือน  ล้างและขจัดคราบไขมันหรือสิ่งสกปรกออกโดยใช้น้ำผงซักฟอก  ฉีดพ่นบริเวณโรงเรือนและรอบโรงเรือนทุกวันเช้า-เย็นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค  ถาดไข่  แช่ถาดไข่ในน้ำยาฆ่าเชื้อเป็นระยะเวลานาน  10-30  นาที  รมควันถาดไข่ในห้องแบบปิดหรือใช้ผ้าพลาสติกคลุม  ไข่บริโภคใช้วิธีจุ่มไข่ในน้ำยาฆ่าเชื้อกลุ่มไฮโปโคลไรท์  20  ppm. ในส่วนของไข่ฟักใช้วิธีรมควันอีกทั้งติดตามการทำลายเชื้อโรคในพื้นที่เสี่ยงต่อโรคระบาด เช่น พื้นที่เขตติดต่อจังหวัดใกล้เคียง  พื้นที่แหล่งนกธรรมชาติอาศัย  พื้นที่เคยพบโรคระบาดในสัตว์ปีก 

4. เตรียมความพร้อมวัสดุ  อุปกรณ์  และน้ำยาฆ่าเชื้อ  เพิ่มจากปกติ  2  เท่า

5. ชดเชยความเสียหายของเกษตรกรจากการทำลายสัตว์ปีก  

6. ควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์

7. การประชาสัมพันธ์  จัดทำข่าวสารที่เป็นปัจจุบันให้ข้อมูลแก่สาธารณชน /ประสานความร่วมมือ  กับสื่อมวลชน การแถลงข่าว / เผยแพร่ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชน และสื่อมวลชน

8. จัดทีมสอบสวนโรคระบาด ติดตามและประเมินผล

 สรุปประเด็นการระบาดของโรคไข้หวัดนกในคน ระดับ 2

ต้องทำการ ติดตามสถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกและในคน ประสานข้อมูลการเฝ้าระวังโรคในสัตว์ปีก เพื่อเชื่อมโยงสถานการณ์ในคน  วิเคราะห์สถานการณ์และแจ้งเตือนผ่านศูนย์ปฏิบัติการ  Warroom  หรือ website  ทบทวนระบบรายงาน/ขั้นตอน เมื่อพบผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดนกหรือไข้หวัดใหญ่ที่เป็น cluster ของสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ  แจ้งแนวทางการคัดกรอง/วินิจฉัยโรคไข้หวัดนก/ไข้หวัดใหญ่ระบาดใหญ่ เตรียมความพร้อมทีมเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรค (SRRT) ทุกระดับ จัดเตรียมเวชภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ป้องกัน สำรองเพียงพอ  การบริหารระบบคงคลัง (VMI) ใน รพ. ทุกแห่ง ให้เป็นปัจจุบันทุกเดือน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในบุคลากรกลุ่มเสี่ยง พัฒนาศักยภาพบุคลากรแพทย์ อบรมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่อาสาสมัคร และ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อทุกช่องทาง

คำสำคัญ (Tags): #แผน#ไข้หวัดนก
หมายเลขบันทึก: 401368เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2010 12:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 10:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ดีมากเลยค่ะ แฮะๆ

ดีค่ะทำงานร่วมกันดี

เตรียมความพร้อมดีมากครับ

อ่านแล้วได้ความรู้เพิ่มขึ้น

ดีมากครับแต่รถแม็คโครน้อยไปหน่อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท