ทางสองแพร่งของ Internet: ปัญญา หรือ อบายมุข


เราจะใช้ให้เป็นประโยชน์ก็ได้ ใช้เล่นๆให้สิ้นเปลืองทรัพยากรไปเฉยๆ หรือ ใช้เป็นสิ่งเสพติดก็ได้

ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PERSONAL COMPUTER) เพียงประมาณยี่สิบกว่าปีมานี้ ได้มีการวิวัฒนาการอย่างรวดเร็วมาก จนมาถึงยุคอินเตอร์เน็ต

ที่ทำให้ทุกบ้าน “จำเป็น” ต้องมีไว้แบบแทบจะเรียกได้ว่าเป็น ความจำเป็นพื้นฐาน สำหรับชีวิตที่ทันสมัยไปเลย

ผมก็ลองเดินตามแบบอนุรักษ์นิยม ระวังตัวหน่อยๆ

แบบไม่วิ่งตาม แต่แอบดู และไม่ต่อต้าน แต่พยายามเรียนรู้ในทุกมุมที่สัมผัสได้

ก็พบว่าระบบอินเตอร์เน็ตนี้ เป็นเสมือนดาบสองคมจริงๆ

  • เราจะใช้ให้เป็นประโยชน์ก็ได้
  • ใช้เล่นๆให้สิ้นเปลืองทรัพยากรไปเฉยๆ หรือ
  • ใช้เป็นสิ่งเสพติดก็ได้

ในทางสร้างสรรค์ ระบบอินเตอร์เน็ต

  • ช่วยทำให้นักธุรกิจบางคน ร่ำรวยจากการคิดค่าบริการ การโฆษณา และการค้าได้กว้างไกลและรวดเร็ว
  • ทำให้คนสามารถพัฒนาสังคมแบบใหม่ได้โดยแทบไม่ต้องเดินทางไปไหน รู้จักกัน รู้นิสัยใจคอโดยไม่ต้องเห็นหน้า หรือพูดคุยกันมาก่อน
  • ทำให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ได้กว้างไกล
  • ทำให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและข่าวสารได้รวดเร็ว
  • ฯลฯ

แต่ ก็มีข้อด้อย ที่ควรระวังเป็นอย่างยิ่ง เพราะ ระบบอินเตอร์เน็ต

  • ทำให้คนใช้เวลากับเรื่องไร้สาระ
  • เป็นช่องทางของมิจฉาชีพ หลอกลวง ต้มตุ๋น สารพัดรูปแบบ
  • จนกระทั่งเป็นแหล่งมอมเมา อบายมุข การเล่นเกม และการพนันสารพัดรูปแบบ ที่คนมีความรู้เหนือกว่า จะนำมาล่อหลอกคนขาดสติ ด้อยปัญญา

จากการตามไปดูห่างๆ ในหลายๆเรื่อง

ผมรู้สึกว่ามีอัตราความสำเร็จที่ดีมากในเชิงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แต่ก็น่าเสียดายมากที่คนจำนวนหนึ่งยังไม่ค่อยเห็นคุณค่าของทรัพยากรของโลกที่ทุ่มเทให้กับเรื่องนี้

ยังมีการใช้แบบเล่นๆ ไร้สาระ แบบไม่มีแก่นสารอะไร เสมือนหนึ่ง “ของฟรีอยู่แล้ว ใช้อย่างไรก็ได้” หรือ “เรื่องของข้า คนอื่นไม่เกี่ยว” ไม่ค่อยพิจารณาว่าอะไรมีหรือไม่มีประโยชน์ หรือจะใช้อย่างมีประโยชน์ได้อย่างไร

และอีกกลุ่มหนึ่งที่สาหัสกว่า คือใช้เป็น “อบายมุข” เสพติดงอมแงม ทำแค่สนองกิเลสตัณหาของตัวเอง แบบไม่มีใครได้ประโยชน์ จะมีก็เฉพาะเจ้าของธุรกิจที่กอบโกยผลประโยชน์จากระบบอินเตอร์เน็ต

จากการตามดูห่างๆ ทำให้ผมมีเวลาทบทวน มีสติพอที่จะรู้ และเข้าใจว่า เราจะใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่า

เพราะ ในความเป็นจริงนั้น ไม่มีของฟรีในโลก ไม่มีอะไรได้มาโดยไม่ลงทุน

เราจึงควรยั้งคิดหาวิธีที่จะใช้ประโยชน์สูงสุด

ที่ผมใช้ในปัจจุบัน ก็คือ

  • ใช้เป็นเวทีหาเพื่อน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในทุกด้านที่เป็นประโยชน์
  • ใช้เก็บความคิด ความรู้ ความเข้าใจ และรวบรวมข้อมูลและความรู้ที่มี
  • ใช้เป็นเวทีเผยแพร่แนวคิด และวิธีการทำงาน และการดำรงชีวิตที่ค้นพบจากประสบการณ์ของตนเอง
  • ใช้เป็นเวทีพัฒนาความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาชีวิต และคุณภาพชีวิต
  • ใช้เป็นเวทีประเมินนิสัยใจคอ ความคิด และคุณภาพที่แสดงออกมาของคนในสังคม

ที่ทำให้ผมรู้จักคนมากมายและรวดเร็ว ทั้งในเชิงความรู้และนิสัยใจคอ แบบใช้เวลาและทรัพยากรน้อยมาก

แต่ผมมองย้อนกลับไปหาสังคมใหญ่ ผมยังรู้สึกว่า

นอกจากจะใช้ระบบอินเตอร์เน็ตไม่ค่อยคุ้มค่าแล้ว บางคนยังตกเป็นเหยื่อของระบบ จนกระทั่งเข้าไปติดกับดักในเชิง “อบายมุข” อีกมากมาย

ที่อย่างน้อยเราควรกลับมาพิจารณาตัวเองเป็นระยะๆ

และถ้ามีโอกาสดีอีกหน่อย ก็น่าจะช่วยกัน “กระตุก” ไม่ให้สังคม และ “เด็กๆ” หลงทางไปกับสิ่งไร้สาระ ที่มากับกับระบบอินเตอร์เน็ต

ก็แค่บ่นมาดังๆ ด้วยความเป็นห่วงครับ

หมายเลขบันทึก: 401129เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2010 07:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สวัสดีครับอาจารย์

ผมรู้สึกว่ามีอัตราความสำเร็จที่ดีมากในเชิงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แต่ก็น่าเสียดายมากที่คนจำนวนหนึ่งยังไม่ค่อยเห็นคุณค่าของทรัพยากรของโลกที่ทุ่มเทให้กับเรื่องนี้

แหะ แหะ โดนเทศน์แต่เช้า

จะพยายามหนีให้ห่างจากคนจำนวนหนึ่งที่อาจารย์พูดถึงครับ

สวัสดีค่ะ

เป็นบันทึกที่อ่านแล้วต้องยิ้ม พยักหน้า และยกนิ้วโป้งให้ค่ะ

มีคำถามซึ่งคนไม่มีรากก็ถามตัวเองอยู่เช่นกัน...

ขอบคุณข้อคิดดี ๆ และขอลิงก์ไปเผื่อท่านอื่น ๆ นะคะ

(^___^)

The disadvantage you mention is only part of them.

And weak points of TH citizen is they have tendency to sum together the disadvantage.

So, the total results for TH citizen come out to be negative.

If TH do not have internet then TH will go more further than this.

regards,

zxc555

ผมใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลและเรียนรู้จากสมาชิกครับ ใช้หาเครือข่ายด้วย พบว่าได้เครือข่ายมีขนาดใหญ่มาก

สวัสดีครับอาจารย์

ผมอยากจะเปรียบเทียบกับสื่ออื่นๆ ที่เราเคยเห็นเคยคิดว่าเป็นของใหม่อย่างทีวี หรือแม้แต่หนังสือตั้งแต่ครั้งเก่าก่อน พอมีอะไรใหม่ๆ คนที่อนุรักษ์นิยมก็จะตื่นตระหนกว่าเป็นสิ่งไม่ดี หนังสือการ์ตูนหนังสือไร้สาระก็เยอะ เขาก็เอาไปเผาทำลายกัน ทีวีก็เป็นบ่อเกิดของปัญหามากมาย เด็กผู้ใหญ่ใช้เวลาน่าทีวี สุดท้ายพอทุกบ้านมีทีวี ชุมชนก็อ่อนแอลง ทุกคนก็เอาแต่อยู่บ้านจ้องจอสี่เหลี่ยม

สิ่งที่อาจารย์กล่าวถึงเกี่ยวกับอิตเตอร์เน็ตก็คล้ายกับอดีต เกมออนไลน์ก็ทำให้ผู้ใหญ่หลายคนตระหนกตกใจว่าทำให้เด็กๆ ใจแตก ติดกันจนไม่เป็นอันเรียน สื่อลามกในอินเตอร์เน็ตก็หาดูง่ายเหลือเกิน จะไปโทษใครคนหนึ่งก็ไม่ได้ เพราะมันมากันเป็นระบบ ทั้งผู้ประกอบการร้านเน็ตคาเฟ่ที่ไม่มีจริยธรรม ผู้ปกครองที่ไม่เอาใจใส่ดูแล (เพราะต้องทำมาหาเลี้ยงครอบครัว) นโยบายภาครัฐที่ตามไม่ทันเทคโนโลยี ฯลฯ

ผมก็มาช่วยบ่น ถ้าวันใดคิดหาทางทำดีผ่านอินเตอร์เน็ตได้แล้วจะมาเล่าสู่กันฟังบ้างครับ

สวัสดีครับ

ครับ

แล้วเรากำลังทำอะไรกันอยู่ครับ

ผมคิดว่าความคิดอย่างที่เราคิดนี้น่าจะมีมานานแล้ว แต่สังคมเราก็ "วิวัฒนาการ" ไปเรื่อยๆ แบบที่ว่า "ไม่มีอะไร" จะทำให้ดีขึ้นได้

หรือว่า เราเอง (ที่คิดแบบนี้) เป็นสิ่ง "ผิดปกติ" ของสังคม

และ (หรือว่า) เราคือสิ่งที่สังคมทั่วไปเขาไม่ต้องการ

ชักสงสัยเหมือนกัน

น่าคิดครับ

I think the Internet is another 'new' sense (or sensory organ) that we have to learn to use 'properly'.

Like mobile phone and television (in facts mobility and audio+vision sensing over the Internet neuron networks) will be the way (some of us and) our children will see and connect to 'the world'. We can agree that many modern technologies extend our (common 6) senses from just areas around us to all far corners of the world. This is a very powerful larger-than-life extension. It empowers those who can use it in many ways. But this 'power' can corrupt and be misused.

With this extended sense, we can 'learn' to 'look after ourselves and family' where-so-ever we are. We will learn to reduce transportation of materials (like food, water and utensils) and mass production of wastes.

BTW, I see 'English' as another tool for communication (or sensing) for a global village (society). We will see 'global and remote' services (health, education, arts and literature), global and remote management (farming, water allocation, mining, marketing and transportation), ... the world wide network of natural and infrastructural systems will be 'sensed' and 'managed' through the Internet.  

QUOTE :

"BTW, I see 'English' as another tool for communication (or sensing) for a global village (society). We will see 'global and remote' services (health, education, arts and literature), global and remote management (farming, water allocation, mining, marketing and transportation), ... the world wide network of natural and infrastructural systems will be 'sensed' and 'managed' through the Internet. "

REPLY:

Agree !!!

It will be better if this G2K blog prefer to use Eng as a first priority language.

Even I got F in Eng 111 during I am a student in KU BS in 1972 and now my project was refused simply because it was written in "BAD ENGLISH and grammatically WRONG" but I still prefer written in English. That made some people hate me much and mis-understand my writing. However, I don't care about it.

regards,

zxc555

QUOTE:

ผมคิดว่าความคิดอย่างที่เราคิดนี้น่าจะมีมานานแล้ว แต่สังคมเราก็ "วิวัฒนาการ" ไปเรื่อยๆ แบบที่ว่า "ไม่มีอะไร" จะทำให้ดีขึ้นได้

REPLY:

YES! that is 100% fitted into "Reverse Threshold Model Theory (RTMT)"

After one limiting factors was destroyed then it always exist the 2nd limiting factor to control the model.

Not sure most persons can understand my words.

We win speed of communication and but now most are slave of internet 55555.

And it has bad effects to the world more than good effects.

Regards,

zxc555

QUOTE:

"สิ่งที่อาจารย์กล่าวถึงเกี่ยวกับอิตเตอร์เน็ตก็คล้ายกับอดีต เกมออนไลน์ก็ทำให้ผู้ใหญ่หลายคนตระหนกตกใจว่าทำให้เด็กๆ ใจแตก ติดกันจนไม่เป็นอันเรียน สื่อลามกในอินเตอร์เน็ตก็หาดูง่ายเหลือเกิน จะไปโทษใครคนหนึ่งก็ไม่ได้ เพราะมันมากันเป็นระบบ ทั้งผู้ประกอบการร้านเน็ตคาเฟ่ที่ไม่มีจริยธรรม ผู้ปกครองที่ไม่เอาใจใส่ดูแล (เพราะต้องทำมาหาเลี้ยงครอบครัว) นโยบายภาครัฐที่ตามไม่ทันเทคโนโลยี ฯลฯ"

EXACTLY!!

That is part of bad parts of internet.

If no internet then life will be much more easier to live.

Most persons now are simply internet slave but they never accept it.

This problems exist because we allow "mong klai^ , chai kab, muk ngai' and phai' tum'" persons to rule our world. It was simply our own fault. Simply "KUM" of us done by ourselves. 55555.

Regards,

zxc555

นั่นนะซิครับ

ผมยังสงสัยอยู่ดี ว่าคนส่วนน้อยที่ยังมองเห็นทางรอดของสังคม จะมีโอกาสช่วยสังคมได้หรือไม่

หรือเราจะใช้ Mojority rules ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะตายกันไปข้างหนึ่ง แล้วจึงจะกลับมาคิดใหม่ ทำใหม่

ตอนนี้ไม่ว่าเรื่องอะไร เราคิดใหม่ แต่ทำเหมือนเดิม แบบน้ำไหลลงที่ต่ำตลอดเวลา

เมื่อไหร่จะถึงวันน้ำเป็นไอ ไหลขึ้นที่สูงลงมาทดแทน หรือเพิ่มคาเฉลี่ยสิ่งดีๆ ให้สังคม ให้เรามีทางพัฒนาในทางที่ดีเพิ่มขึ้นบ้าง

แม้ชาติหน้ามีผมก็ยังไม่คิดว่าจะเห็นครับ แต่ก็ยังทำแบบไม่ท้อครับ

ขอบคุณมากครับที่มาร่วมแสดงความเห็นในประเด็นลึกๆ ที่หาเพื่อนยากแบบนี้ครับ

นานๆจะลงลึกสักที กลัวเพื่อนหนีหมดครับ

สวัสดีครับ

อยากคิดเก่งเหมือนครูครับ

ไม่มีใครคิดได้ตั้งแต่เกิด

ทุกอย่างพัฒนาได้ ถ้าอยากทำครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท