126. การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "การบริหารการศึกษา"


      เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2553 ผู้เขียนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม "โครงการสัมมนาเชิงปฎิบัติการ" ของสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย เป็นการตัวกันเข้าร่วมกิจกรรมของ...นักศึกษาสาขาบริหารการศึกษา ทั้งในระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป. บัณฑิต), ระดับการศึกษามหาบัณฑิต (ป. โท), และระดับดุษฎีบัณฑิต (ป.เอก) มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย ทั้งศูนย์ฯ จังหวัดเลย และศูนย์ฯ จังหวัดขอนแก่น โดยพร้อมเพรียงกัน  ณ ห้องประชุมชั้น 2 ศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย อำเภอเมือง จังหวัดเลย
       กิจกรรมโครงการสัมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มี วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนานักศึกษาในด้านการบริหารการศึกษา โดยมุ่งเน้นให้มีความรู้ก้าวนำทางการบริหารการศึกษา ตลอดจนสามารถสร้างและแสวงหาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาการปฏิรูปการศึกษา โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง...
      กำหนดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ  มีรายละเอียดโดยสรุป ดังนี้
  • 08.00-08.30 น. นักศึกษาลงทะเบีน (ค่าลงทะเบีนคนละ 200-)
  • 08.30-09.00 น. พิธีเปิดการสัมมนา โดย  อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย  ผศ.สนิท เหลืองบุตรนาค
  • 09.00-09.30 น. พิธีไหว้ครู 
  • 09.30-12.15 น. บรรยายพิเศษ "การปฏิรูปการศึกษาไทยในทศวรรษที่ 2 : ปัจจัยเงื่อนไขสู่ความสำเร็จ"  โดย  ศาสตราจารย์  ดร.ธีระ รุญเจริญ
  • 13.00-17.00 น. ศึกษาดูงานการจัดการศึกษาของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยเลย และศึกษาความเป็นอยู่และวัฒนธรรมชุมชนในบริบท อำเภอเชียงคาน
  • 18.00-21.00 น. ร่วมงาน "สังสรรค์น้อง-พี่ บริหารการศึกษา" 
   >>>
     พร้อมนี้...ขออนุญาตนำภาพกิจกรรมบางส่วนมาฝากคะ

พิธีไหว้ครู


การบรรยายพิเศษ "การปฏิรูปการศึกษาไทยในทศวรรษที่ 2 : ปัจจัยเงื่อนไขสู่ความสำเร็จ"  โดย  ศาสตราจารย์  ดร.ธีระ รุญเจริญ


การศึกษาดูงานการจัดการศึกษาของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยเลย


การศึกษาความเป็นอยู่และวัฒนธรรมชุมชนในบริบท  อำเภอเชียงคาน (แก่งคุดคู้, บ้านเจ้าคำ)

- - - - - - - - - - - - - -

     จากกิจกรรมดังกล่าว ผู้เขียนขอเล่ารายละเอียดที่น่าสนใจ 2 กิจกรรม เพิ่มเติม คือ
     1. การบรรยายพิเศษ "การปฏิรูปการศึกษาไทยในทศวรรษที่ 2 : ปัจจัยเงื่อนไขสู่ความสำเร็จ" โดย ศาสตราจารย์ ดร.ธีระ รุญเจริญ ...ผู้เขียนขอสรุปสาระสำคัญที่พอจับใจความได้พอสังเขป ดังนี้...
        การปฏิรูปการศึกษารอบสอง (2552-2561)
        มีการศึกษาผลของการปฏิรูปการศึกษาในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งพบปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ปัญหาคุณภาพ, ปัญหาการผลิตและการพัฒนครู, ปัญหาประสิทธิภาพการบริหารและจัดการศึกษา, ปัญหาโอกาสทางการศึกษาระดับต่างๆ, ปัญหาความไม่พร้อมของท้องถิ่นในการจัดการศึกษา, ปัญหาการขาดแคลนกำลังคนในระดับกลาง, ปัญหาการด้อยประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณ, ปัญหาการใช้ ICT น้อย, และการไม่สามารถบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งก่อให้เกิดผลในการปฏิบัติเชิงโครงสร้างมากกว่าคุณภาพจากที่กำหนดไว้
         ทั้งนี้  จากการศึกษาวิจัยฯ ดังกล่าว ได้มีการจัดทำข้อเสนอแนะในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ดังนี้คือ
          1) เน้นการพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้
              การพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้ของการจัดการศึกษาไทยจะต้องเน้นการเชื่อมโยง สู่ระบบอื่นๆ เป็นสหวิทยาการมากขึ้น เน้นการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีทักษะการคิด มีคุณธรรมนำความรู้ มีการสนับสนุนให่เกิดการเรีนรู้อย่างเหมาะสม เต็มศักยภาพ รวมทั้งส่งเสริมให้มีปัจัจัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ทั้ง ครู ผู้ปกครอง ชุมชน รวมทั้งสื่อมวลชนอีกด้วย
          2) ส่งเสริมให้คนไทยเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ
              การจดการศึกษาที่มุ่งเน้นให้คนไทยสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ภายในปี 2561 ให้เน้นคุณภาพ 3 ประการ คือ
              (1) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและการเรียนรู้
              (2) ได้รับโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้เพิ่มขึ้น
              (3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
      กรอบการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2
          ให้มีการปฏิรูปการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ทั้ง 3 ด้าน คือ
              (1) ปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ
              (2) เพิ่มโอกาสทางการศึกษา
              (3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา
          ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาคนไทยให้มีคุณภาพ โดยพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้เกิดคุณลักษณะ 4 ใหม่ คือ
              - พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ ให้มีคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียน สามารเรียนรู้ด้วยตนเองและแสวงหาความรุ้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ริเริ่มสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะ มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม สามารถทำงานเป็นกลุ่ม มีศีลธรรม คุณธรรมที่ดีงาม
              - พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ โดย การพัฒนาระบบผลิตครู คณาจารย์และบคลากรทางการศึกษา และพัฒนาครูและบคลากรทางการศึกษาที่มีอยู่ให้มีคุณภาพมากขึ้น
              - พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ ให้สถานศึกษาบริหารจัดการอย่างอิสระ การกำกับดูแลสถานศึกษาให้มีคุณภาพ ตลอดจนการสรรหาแต่งตั้งและประเมินเป็นไปอย่างโปร่งใสปราศจากอิทธิพลจากภายนอก รวมทั้งการกำหนดขนาดของสถานศึกษา การใช้ ICT ที่สำคัญที่สุด คือการจัดสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา ให้มีความเหมาะสมต่อการเรียนรู้
              - พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ เน้นการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกคน ทุกฝ่าย ทุกภาคส่วน มีระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล เป็นต้น
     2. การศึกษาดูงานการจัดการศึกษาของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยเลย และศึกษาความเป็นอยู่และวัฒนธรรมชุมชนในบริบท อำเภอเชียงคาน ...ผู้เขียนขอสรุปสาระสำคัญของกิจกรรมพอสังเขป ดังนี้...
        โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย เป็นกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์ที่จัดตั้งขึ้นจากวัตถุประสงค์ของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสนองพระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ที่ทรงมุ่งมั่นจะส่งเสริมคุณภาพชีวิต ในด้านความเป็นอยู่และการศึกษาของเยาวชน โดยเฉพาะเยาวชนที่อยู่ห่างไกล ปัจจุบันเป็นโรงเรียนที่อยู่ในแผนและยุทธศาสตร์ สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ แลเทคโนโลยี โดยจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น - ตอนปลาย ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2537 เปิดรับนักเรียนครั้งแรก ในปีการศึกษา 2538 และเป็นโรงเรียนประเภทสหศึกษา ทั้งประจำ และ ไป-กลับ  
        จุดเน้นแนวทางการจัดการศึกษาของโรงเรียน
            1. เร่งรัด คุณภาพการเรียนการสอน โดยพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ให้ได้มาตรฐานโดยนำเทคโนโลยี มาใช้ในการดำเนินงานและเน้นการประเมินสภาพจริงอย่างเป็นระบบ
            2. เสริม สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง อย่างหลากหลายต่อเนื่อง และพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนการสอน
            3. เสริมสร้างวินัย คุณธรรม จริยธรรม อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะความรับผิดชอบ และค่านิยมที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตไทย
            4. ป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติด
            5. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนเป็น “คนดี คนเก่ง” ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม ได้ร่วมคิด ร่วมทำ จนเกิดนิสัยรักการเรียนรู้
หมายเลขบันทึก: 399947เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2010 17:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • สวัสดีค่ะ
  • แถวบ้านป้าแดง ก็ชอบส่งลูกๆไปเรียนโรงเรียนจุฬาภรณ์ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท