เทคนิคการเขียนรายงานวิจัย (ตอนที่ 4)


เทคนิคการเขียนรายงานวิจัย (ตอนที่ 4)

       ประเด็นสุดท้ายที่เราจะกล่าวถึงในเทคนิคการเขียนรายงานวิจัย คือ การเขียนสรุปผล  การเขียนอภิปรายผล และการเขียนข้อเสนอแนะ ค่ะ 

การเขียนการสรุปผล 

  1. สรุปผลตามวัตถุประสงค์การวิจัย  โดยแยกตามวัตถุประสงค์
  2. นำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล มาสรุปอย่างย่อ ๆ
  3. การสรุปอาจเป็นความเรียงต่อ ๆ กันไป หรือ จะสรุปเป็นหัวข้อก็ได้  

 

การเขียนการอภิปรายผล

       การอภิปรายผล เป็นการกล่าวผลวิจัย และแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม มีหลักการเขียน ดังนี้

       1. อภิปรายผลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย  โดยแยกตามวัตถุประสงค์

       2. นำเอาผลการวิเคราะห์ข้อมูลมากล่าวถึง  และแสดงความเห็นเพิ่มเติม  พร้อมทั้งระบุให้เห็นว่าผลการวิจัยมีความสัมพันธ์ หรือสอดคล้อง/ไม่สอดคล้อง กับทฤษฎี หลักการ และงานวิจัยใดบ้าง  เพราะอะไร   แสดงเหตุผลประกอบ

 

เคล็ดลับในการอภิปรายผล   การอภิปรายผลแบ่งเป็น  3  ส่วน

        ส่วนที่ 1  คือ  ผลการวิเคราะห์ข้อมูล  เมื่อนำมาเขียนไม่ต้องเขียนคำว่า

                           “จากตาราง  1 พบว่า…”  หรือ นำผลการสรุปผลมาเขียนนั่นเอง

        ส่วนที่ 2  คือ  แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม ในส่วนนี้ผู้วิจัยจะต้องแสดงความคิด 

                           เห็นเพิ่มเติม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข้อดีของการวิจัยนั้น ในส่วนนี้

                           ถ้าผู้วิจัยไม่รู้ว่าจะเขียนอะไรลงไปให้นำประโยชน์ของนวัตกรรม

                           นั้น ๆ มาเขียนโดยสรุปเป็นแนวความคิดของผู้วิจัยเอง  และไม่

                           ต้องอ้างอิง

        ส่วนที่ 3  คือ  ทฤษฏีหรืองานวิจัยที่สอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับการวิจัยของ

                           ตนเอง

                           ถ้าเป็นงานวิจัยเชิงทดลอง  งานวิจัยที่จะนำมาเสนอควรเป็น

                           งานวิจัยที่มีตัวแปรต้น และตัวแปรตามเหมือนกัน แต่ถ้าไม่มี

                           งานวิจัยดังกล่าวก็ควรเป็นงานวิจัยที่มีตัวแปรต้นเหมือนกัน

                           ส่วนงานวิจัยเชิงสำรวจ งานวิจัยที่จะนำเสนอต้องเป็นงานวิจัย

                           ที่มีตัวแปรที่ศึกษาเหมือนกัน

 

การเขียนข้อเสนอแนะ

      หลักการเขียนข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการวิจัยไปใช้

             ให้เสนอแนะว่าใคร  หน่วยงานใด ควรจะดำเนินการอะไรต่อไป  ข้อเสนอแนะต้องเป็นข้อเสนอที่ได้จากการวิจัย ไม่ใช่ข้อเสนอแนะในเชิงทฤษฏี ที่ไม่ได้มาจากข้อค้นพบในการวิจัย  และต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่วิจัย

       หลักการเขียนข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในครั้งต่อไป

              เป็นการนำเสนอว่า ถ้าจะมีการวิจัยต่อไป  ควรคำนึงถึงอะไรบ้าง หรือควรทำเรื่องอะไรบ้าง หรือ ควรจะเพิ่มตัวแปรอะไรบ้าง  ควรปรับปรุงวิธีดำเนินการอย่างไร      เครื่องมือในการวิจัยควรใช้แบบไหน 

       เป็นอย่างไรบ้างค่ะ สำหรับเทคนิคการเขียนรายงานวิจัย  หวังว่าการเขียนรายงานวิจัยคงจะไม่ใช่ยาขม  หรืออุปสรรคในการทำวิจัยต่อไปนะค่ะ 

 

อ้างอิง

รัตนะ บัวสนธ์. (2551).  ปรัชญาวิจัย (Philosophy of Research). กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

 

 

หมายเลขบันทึก: 399470เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2010 16:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 16:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท