พระอธิการโชคชัย
พระอธิการ พระอธิการโชคชัย โชคชัย เอี่ยมยัง

กล้วยไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ สวนป่า ป่าไม้ ธรรมชาติและธรรมะ


สวนสวัสดี Sawasdee Garden

สวนสวัสดี (Sawasdee Garden) ยินดีต้อนรับ ทุกท่านเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างควมรู้ การปลูกต้นไม้คือการปลูกจิตสำนึก สาธารณะประโยชน์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน จากรุ่น...สู่รุ่น แบบธรรมดา ธรรมชาติ เห็น จำ คิด รู้ แล้วลงที่....???

 

หมายเลขบันทึก: 399208เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2010 16:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (44)
  • สวนสวัสดีชื่อเพราะจัง แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจว่าหมายถึงอะไร สวนนี้อยู่ในวัดใช่ไหมครับ

 

กราบ นมัสการ พระอธิการโชคชัย เอี่ยมยัง

มีดอกกล้วยไม้วัดมาฝากครับ

ของพระลูกวัดเดียวกันครับ

ส่วนอันนี้ของกระผมเองครับ

ไปล่ะครับ

มีของดีๆจะเอามาฝากอีกนะครับ

กราบนมัสการงามๆ ครับผม

ไม่มีอะไรหรอกครับ

แค่คิดถึงก็เลยแวะมาทักทาย

สบายดีไหมครับท่านอาจารย์

ไปล่ะครับ บายครับ

สวนสวัสดี/Sawasdee Garden

  • นามนี้มีที่มา บวกด้วยแรงศรัทธาของพระสงฆ์ ชาวบ้าน คนเฒ่าคนแก่ เด็กและเยาวชน ร่วมด้วยช่วยกันทำอย่างสร้างสรรค์
  • ที่มองเห็นวิกฤติเป็นโอกาส ในการสร้างวัดให้เป็นที่ผักผ่อน ร่มรื่น สะอาด สวยงามแบบธรรมดา ธรรมชาติ
  • สวนสวัสดี ปลูกสร้างอยู่หน้าวัดพรหมพิราม ติดประตูทางเข้าวัด ใครผ่านไปผ่านมาหรือว่าเลี้ยวเข้าวัด เราก็จะสวัสดี โดยมีเด็กมาสคอร์ตสองตัวยืนอยู่ (ไอ้จุก+ไอ้แกะ)

  • เริ่มสะสมและสร้างสรรค์ ปี 2551 ถ่ายภาพโดยพระอธิการโชคชัย ชยวุฑโฒ

สวัสดีท่านSavemynoob

  • ขอบคุณที่เข้ามาพูดคุยและถามความเป็นอยู่... ก็สบายดีตามอัตภาพ
  • งานเยอะและยุ่งไปหน่อยในช่วงนี้ แต่พอเห็นรูปกล้วยไม้ของโยมแล้วหายเหนื่อยไปเลย..สวยม๊ากมากเลยครับ
  • มองแล้วเป็นธรรมชาติดี แถมยังคลาสสิคอีกด้วย กล้วยไม้นี้ท่านได้แต่ใดมา...

     

  • นี้ก็แค่ช้างแดงและน้องแคชทรียาของผมแบบพื้นๆบ้านๆครับ เลี้ยงและดูแลเหมือนลูกศิษย์ก้นกุฏิเลยครับ..ขอบอก

สวัสดีจ้า....เด็กๆๆ

น้องอุ้มรัก...คนที่สองจากซ้าย ตอนนี้โตขึ้นเยอะหลวงลงอุ้มไม่ไหวแล้ว...

กาลเวลาผ่านไป...ชังเร็วเหลือเกิน..สวัสดี

กราบนมัสการครับ พระอธิการโชคชัย ชยวุฑโฒ

 เอาบุญมาฝากครับ

ไปทำบุญที่ชาตะการมาครับ

ไปเที่ยน้ำตกเอารูปกล้วยไม้มาให้ดูด้วยครับ

ไปล่ะครับ

ว่างๆจาแวะมาใหม่นะครับ

บายครับ

 

สวัสดีท่าน Savemynoob

  • ขอบพระคุณท่านที่นำงานบุญใหญ่มาแบ่งปัน หลวงพ่อใหญ่วัดปากรอง สวยงดงามมาก ขออนุโมทนาบุญด้วย...สาธุ
  • น่าอิจฉา นําตก สายนํา และผืนป่าจัง เสือเหลืองเต็มไปหมดเลยครับ

           

  • ฝากไว้ให้คิด .... สวัสดี

เจริญพร โยมสายชล (ครูเบียร์)

การบันทึกผู้คน ชุมชน และสิ่งแวดล้อมชุมชน: (อ้างใน บทบาทพระสงฆ์กับเทคโนโลยีและการเรียนรู้อย่างบูรณาการบนฐานชุมชน เรียนรู้จากประสบการณ์กับพระมหาแล) เครือข่ายการเรียนรู้กับเวทีคนหนองบัวในเว็บไซต์โกทูโน (Gotoknow) บันทึกถ่ายทอดโดย;ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์

  • “ ข้อมูลสังคม สิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญาชาวบ้านทั้งในการทำนา ทำสวน ทำไร่ คือการเรียนรู้ในวิถีชีวิต องค์ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือทำมาหากิน ภาษาท้องถิ่น วัฒนธรรม วิธีคิด และระบบภูมิปัญญาชาวบ้านต่างๆในท้องถิ่น หากได้มีการบันทึกรวบรวม สอดคล้องกับความสามารถเป็นนักวิจัยและรวบรวมข้อมูลไปอย่างเป็นธรรมชาติของพระซึ้งจะต้องทำกิจกรรมกับชาวบ้านมากมายอยู่ตลอดเวลา....”
  • “ บทบาทอันสำคัญ ของพระสงฆ์ในการเป็นผู้รวบรวมข้อมูล ภูมิปัญญาชีวิตและความทรงจำของชุมชน  มีความริเริ่มง่ายๆจากผู้คนรอบตัว การรำลึกความมีอยู่ของคนเก่าแก่ ประสบการณ์ชีวิตของชาวบ้าน การนำเอาชีวิตของผู้เฒ่าผู้แก่ ครูอาจารย์ ผู้นำชุมชน และปัญญาชนชาวบ้านมาย้อนรำลึก สืบทอดให้ผู้คนได้จดจำเป็นทุนความดีงาม รวมทั้งบูรณาการมิติอันเป็นหลักคิด หลักธรรม และอนุสติที่ได้จากชีวิต สั่งสมทีละนิดละหน่อย กระทั่งกลายเป็นคลังข้อมูลชีวิตจิตใจ ของชุมชน....
  • “  ลักษณะดังกล่าวนี้  เข้ามาทดแทนบทบาทในการเป็นศูนย์กลางความเป็นชุมชนของวัดและความเป็นแหล่งสะสมภูมปัญญา วิทยาการ ศิลปะ และองค์ความรู้ต่างๆ สำหรับใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างในอดีตได้อย่างเหมาะสมและงดงามมากทีเดียว ข้อมูลหลายส่วนของชุมชนที่อาจสูญหายไปกับชีวิตของผู้คนแต่ละรุ่น ก็เริ่มมีแนวทางใหม่ๆสำหรับสะสมต่อยอดกันไว้ ด้วยความริเริ่มของผู้ที่พอคิดและร่วมด้วย ช่วยกันทำได้...
  • ขอสรรเสริญพ่อ: ผู้สร้าง ผู้ปลูก

 

  

  • แปลงไม้ดอกไม้ประดับของ นายประเสริฐ เพชรกระจาดและครอบครัว หมู่ที่2 บ้านพรหมพิราม

  • ผลิตผลที่เกิดจากแรงงานภายในครอบครัว

  • การติดตามประเมินผลงานและการให้กำลังใจ โดย : นายสายชล เพชรกระจาด และพระอธิการโชคชัย ชยวุฑโฒ

  • ขอบคุณภาพถ่าย โดย: ครูเบียร์
Ico48

 

  • ขออนุญาตนำรูปมาลงในบล็อกนี้อีกครั้ง เดียวท่านอื่นจะนึกภาพต้นนมวัวไม่ออก

    

                          ผลสีเหลืองสดใส สวยงาม แต่ยังไม่สุกงอม

    

            ผลสีแดงสีสัน สดสวย สุกงอมกินได้ รสชาติแปลกอร่อยดี...ขอบอก  

  •  แหล่งที่พบ: วนอุทยานน้ำตกชาติตระการ อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ถ่ายภาพโดย พระอธิการโชคชัย ชยวุฑโฒ

     

  • ช่วงนี้อากาศเย็นสบาย เชิญชวนเพื่อนพ้องน้องพี่ ไปท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ป่าธรรมชาติ ด้วยกันนะและใครมีอะไรดีๆอย่าลืมนำมาฝากกันบ้างเด้อ....

 

Ico48
ชีวิตคนป่า2518ณ.ชาติตระการ [IP: 125.27.40.7]
04 มกราคม 2554 09:31
#2317056

นมัสการหลวงพี่ครับผมเอาข้อมูลลูกนมวัวมาลงให้ครับ

ผลไม้ป่าส่วนใหญ่จะออกผลช่วงฤดูฝนแล้วถ้ามีผลไม้ป่าออกผลจะส่งข้อมูลไปให้ครับ

ยังมีผลไม้ป่าที่คนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยรู้จักอีกเช่น ลูกมักเพชร,มักคายข้าว,มักไข่เต่า,คอแลน,มะไฟป่าฯลฯ

ชื่อที่เรียก: ต้นนมวัว ชื่ออื่นๆ หมากผีผ่วน,ผีผ่วนนมแมว(ภาษากลาง) นมวัว (พิษณุโลก   กระบี่) พีพวน (อุดร) บุหงาใหญ่(ภาคเหนือ) 

หมวดหมู่ทรัพยากร : ยังไม่ได้ระบุ 

ลักษณะ : นมควายเป็นไม้พุ่มรอเลื้อยมีความสูง 5 เมตร กิ่งอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลแดง ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือ รูปไข่ผิวใบมีขนสีน้ำตาลแดงทั้งสองด้าน กว้าง 2.5-3.5 ซม. ยาว 4.5-10 ซม. ดอกจะออกเป็นกระจุก 2-3 ดอก ที่กิ่งก้าน กลีบดอกสีแดงเข้ม กลิ่นหอม ผลเป็นผลกลุ่ม รูปไข่หรือรูปไข่กลับ เมื่อสุกมีสีแดงสด

การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด

ประโยชน์ : แก่นและราก ต้มดื่ม แก้ไข้ซ้ำ ไข้กลับ เนื่องจากกินของแสลง ราก แก้ผอมแห้งแรงน้อย สำหรับสตรี ที่อยู่ไฟไม่ได้หลังคลอดบุตรและช่วยบำรุงน้ำนม ผล ตำผสมกับน้ำ ทาแก้เม็ดผดผื่นคัน

แหล่งที่พบ : ป่าชุมชนบ้นโนนหินผึ้ง ตำบลดงบัง อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี

ศักยภาพการใช้งาน : รับประธานผล

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Uvaria rufa Bl.

ชื่อวงศ์ : Annonaceae

แหล่งที่มาของข้อมูล : ป่าชุมชนบ้นโนนหินผึ้ง

 

 

Ico48

เจริญพร โยมชีวิตคนป่า2518ณ.ชาติตระการ

ขออนุโมทนา เจริญพรขอบคุณที่นำข้อมูล ต้นนมวัว มาแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้เป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจมากเลยครับ..ร่วมทั้งอาตมาด้วย ขออำนาจบุญบารมีหลวงพ่อใหญ่ ดลบรรดาลให้โยมได้รับตำแหน่งเป็น ผู้ใหญ่บ้าน/ผช.ผู้ใหญ่บ้าน ด้วยเทอญ....สาธุ

 

นมัสการพระคุณเจ้า

อยู่ใกล้ ๆ นี่เอง จะหาโอกาสไปเยี่ยมชม เจ้าค่ะ

Ico48

เจริญพร คุณไม้แปลกป่า

อนุโมทนา ขอบคุณที่เข้ามาให้กำลังใจ และเราต้องสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ สำนึกรักท้องถิ่นร่วมกันได้แน่นอนเลยครับ...เจริญพร

ที่มาภาพ: จาก นสพ.เดลินิวส์ วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เจริญพร คุณโยมคิม นพวรรณ

สวนสวัสดี ยินดีตอนรับ...สาธุ

Ico48
ชีวิตคนป่า2518ณ.ชาติตระการ [IP: 125.27.109.242]
08 มกราคม 2554 11:36
#2322500

หลวงพี่เลี้ยงบอนไซอยากไหมครับ

ดินที่ใช่ปลูกแล้วก็ปุ๋ยใช้สูตรไหนยังไงครับ.

ต้นกล้านมวัว : ที่หัวหน้าโอ ถวายให้มาปลูกที่วัดพรหมพิราม ปลูกและถ่ายภาพโดย โยมประเสริฐ เพชรกระจาด / พระอธิการโชคชัย ชยวุฑโฒ

เมื่อปี พ.ศ. 2551 (ปลูกให้เลื้อยขึ้นต้นประดู่)

เจริญพร ชีวิตคนป่า2518ณ.ชาติตระการ

  • จากประสบการณ์ตรง : การปลูกเลี้ยงบอนไซเป็นงานที่หลายคนบอกว่า "หิน" (ฮืม.. อยากไปหรือเปล่าเนี๊ย)เพราะมิใช่เพียงการรดน้ำใส่ปุ๋ยหรือตัดแต่งกิ่งธรรมดา แต่เป็นงานศิลปะแขนงหนึ่งที่ผู้เลี้ยงต้องใช้จินตนาการ ฝีมือความ ความอดทน สุขุมเยือกเย็น และมีสมาธิอย่างสูง เพราะการจะกดคมมีดหรือกรรไกรลงบนกิ่งก้านแต่ละครั้งผู้เลี้ยงต้องศึกษาอย่างละเอียด และมีความมั่นใจ หากเกิดความผิดพลาดแม้แต่กิ่งเดียว ต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่ากิ่งจะใหญ่เหมือนเดิม
  • ความยากของการทำบอนไซ : อยู่ที่จินตนาการอันลึกซึ้งในการดัดและตัดแต่งให้ต้นไม้ออกมาดูเหมือนธรรมชาติมากที่สุด ทุกขั้นตอนต้องปราณีต บอนไซที่เสร็จสมบูรณ์แบบต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี แต่ถ้าเริ่มเลี้ยงตั้งแต่เพาะเมล็ดอาจต้องใช้เวลาถึง 30 ปี (ผ่านกาลเวลา)
  • บอนไซเป็นศิลปะที่มีชีวิต : นักเล่นบอนไซบางคนบอกว่าบอนไซแต่ละต้นสามารถเล่าเรื่องราวในอดีตของมันได้ บอนไซจึงมีรูปทรงที่หลากหลาย ขณะเดียวกันบอนไซแต่ละต้นยังเป็นเงาสะท้อน”จิตวิญญาณ”ของผู้ปลูกเลี้ยง เพราะบอนไซแต่ละต้นผู้ปลูกเลี้ยงล้วนใส่ความคิดและจิตวิญญาณลงไป
  • พันธุ์ไม้ที่จะนำมาเลี้ยงเป็นบอนไซ : ต้องมีคุณสมบัติ ดั้งนี้
  1. สามารถทำรูปทรงให้ถูกต้องเข้าตำรา และทำการตกแต่งดัดแปลงได้ง่าย
  2. เป็นไม้ที่มีใบเล็ก เพื่อให้ได้สัดส่วนเหมาะสมกับหุ่นหรือทรงต้น
  3. เป็นไม้ที่มีกิ่งเหนียว สามารถจะดัด งอ หรือโค้งได้ตามความต้องการ โดยกิ่งไม่   หักและทิ้งกิ่งง่าย
  4. เป็นพันธุ์ไม้ที่หาง่าย มีอายุยืน ทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดีและคงทนต่อการปลูกเลี้ยงในที่จำกัดได้เป็นเวลานาน
  • เอาพันธุ์ไม้ไปเลย : ดีกว่าครับ ที่นิยมทำมาปลูกเลี้ยงเป็นบอนไซ คือ ตะโก มะสัง ข่อย ไกร ไทร โพธิ์ โมก เฟื่องฟ้า มะขาม ชาฮกเกี้ยน หมากเล็กหมากน้อย เกล็ดปลาหมอ เป็นต้น 
  • การเตรียมดินหรือเครื่องปลูก : ดินที่นิยมนำมาปลูกเลี้ยงบอนไซได้ผลดีได้แก่ ดินขุยไผ่ ดินโคนจอมปลวก หรือดินกลางนา/ดินเหนียว ฯลฯ นำดินมาทุบให้ป่น/ละเอียด  ตากแดดให้แห้งแล้วนำมาผสมปุ๋ยคอก(ขี้วัวเก่าตากแห้ง) และใบก้ามปู (สูตรนี้ใช้ได้นาน 2 ปี เปลี่ยนดินครั้งหนึ่งก็ยังได้) จากประสบการณ์ ไม่เคยใช้สารเคมีหรือฮอร์โมนเลย..ขอบอก
  • แค่นี้คงจะพอเพียง : ก่อนนะครับ...ลองนั่งจินตนาการดูเอาเอง แล้วจะรอดูผลงาน... สาธุ. 

       

      บรรยายภาพ:ภาพซ้ายบอนไซ ต้นข่อยกลางทุ่งนา เลี้ยงมา 4 ปี ของพระอธิการโชคชัย และภาพขวาบอนไซชาฮกเกี้ยน อายุ 3 ปี เป็นของปลัดเล็ก ถ่ายภาพโดย พระอธิการโชคชัย ชยวุฑโฒ เมื่อ ตุลาคม 2553

เรียนท่านอธิการโชคชัยครับ

แหมบล๊อกนี้มีชีวิตชีวาสดในดีจังเลยนะครับ ลดภาวะโลกร้อนได้สบายเลยเยี่ยมๆ
มีคนเขาชมชมว่าท่านโชคทำชีวภาพมือขึ้นหน้าดูเลย เขายอมแพ้ไปตามๆกันแล้ว
ไม่ทราบว่ามีเทคนิตมีเคล็ด(ไม่)ลับอะไรบ้างหนอ เผยแพร่เป็นวิทยาทานบ้างน่าจะดีนะครับ

เรียนท่านพระอาจารย์มหาแลครับ

กราบขอบพระคุณท่าน ที่กรุณาเข้ามาให้ความเห็นและเยี่ยมชม คงจะเป็นเหตุเพราะว่า ความไม่รู้ทำให้ไม่สู่...และ...ความอิจฉาทำให้โลกร้อน อันนี้กระผมก็ไม่ทราบได้ แต่อย่างไรก็อย่างใช้โอกาสนี้/เวทีนี้ รวมรณรงค์ลดภาวะโลกร้อน ด้วยการร่วมกันปลูกต้นไม้ ช่วยโลก...ก็เหมือน...ช่วยเราด้วย

ในส่วนการทำชีวภาพนั้นเทคนิตเคล็ดที่(ไม่)ลับนั้น กระผมใส่ไปอย่างเดียว คือ ใส่ใจ ครับ คราวหน้าถ้ามีโอกาสจะไปสาธิตให้ดูครับ

 

                                              สร้อยสยาม

                          Bauhinia  siamensis  K.  Larsen  &  S.S.  Lars

                                   LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE

          สร้อยสยาม : ได้รับการตั้งชื้อขึ้นเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก  ศาสตราจารย์  Kai  Larsen  และนางสุภีร์  ศักดิ์สุวรรณ  ลาร์เสน  แห่งมหาวิทยาลัยออร์ฮุส  ประเทศเดนมาร์กโดยได้ตีพิมพ์ลงในวารสาร  Natural  History  Bulletin  of  the  Siam  Society  เล่มที่ 50 หน้า 104ค.ศ. 2002  คำระบุชนิด  Siamensis  นั้นตั้งตามประเทศสยาม  ซึ้งเป็นชื่อเดิมของประเทศไทย  ตัวอย่างพันธ์ไม้ต้นแบบหมายเลข  Wongprasert  012-01  เก็บจากป่าเบญจพรรณในเขตอำเภอชาติตระการ  จังหวัดพิษณุโลก  ที่ระดับความสูง 300 เมตรไม้เถา  ทอดยาวได้ถึง 15 ม.  ตามกิ่งก้านเมื่ออ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง  เมื่อแก่เกลี้ยง  ใบเดี่ยว  รูปไข่  กว้าง 4-7.5 ซม.  ยาว 4-7 ซม.  ส่วนปลายใบจักลึก  โคนใบรูปหัวใจ  ขอบเรียบ  แผ่นใบหนา  ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน  เส้นแขนงใบข้างละ 7-10 เส้น  ก้านใบยาว 1-3 ซม.  หูใบรูปไข่กลับ  หือเกือบกลม  เส้นผ่าศูนย์กลาง 6-9 มม.  ช่อดอกห้อยลง  ยาวถึง 80 ซม.  ใบประดับรูปหอก  กว้าง 3-4 มม.  ยาว 10-12 มม.  ก้านดอกย่อยยาว 18-25 ซม.   มีขน 

ใบประดับย่อยรูปแถบ  ยาว 4-5 มม.  กลีบเลี้ยง 5 กลีบ  แยกเป็นกลีบบน 2 กลีบ  กลีบล่าง 3 กลีบ  มีขนสีน้ำตาลแดง  กลีบดอก 5กลีบ  สีชมพูหรือสีชมพูแกมแดง  รูปไข่กลับหัวหรือรูปรี  ปลายกลีบมนกลม  โคนกลีบสอบเรียว

กว้าง 8-10 มม.  ยาว 15-20 มม.  เกสรเพศผู้สมบูรณ์ 3 อัน  ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 15 มม.  อับเรณูรูปไข่แกมรูปขอบขนาน  กว้าง 1-2 มม.  ยาว 3-4 มม.  ผลเป็นฝักแบน  รูปขอบขนาน  กว้าง 2-3 ซม.  ยาว 16-20 ซม.  เมล็ดมี 6-10 เมล็ด

            สร้อยสยามเป็นพืชถิ่นเดียวและเป็นพันธ์ไม้หายากของไทย  พบที่ภาคเหนือขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้ง  ใกล้ลำธารที่ระดับความสูง 250-300 เมตร  ปลูกเป็นไม้ประดับให้ดอกที่สวยงาม           

            หมายเหตุ : ขอบคุณ หัวหน้าโอ เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ ผู้ให้ข้อมูล

 

ในปัจจุบัน สร้อยสยาม (Bauhinia  siamensis  K.  Larsen  &  S.S.  Lars)ได้ถูกนำไปจดลิขสิทธิ์เป็นของชาวต่างชาติไปแล้ว แต่ยังมีถิ่นกำเนิดอยู่ในบ้านเรา...เชิญชวนคนรักษ์ต้นไม้ มาร่วมมือกันอนุรักษ์ พืชพันธ์ พรรณไม้ไทยที่หายากกันเถอะ

กราบนมัสการครับ พระอาจารย์โชคชัย

ไม่มีเวลามาคุยด้วยเลยครับ

สวัสดีปีใหม่ คนัครับ ป๋ม

มีความสุขนะครับอาจารย์

ไปล่ะเด๋วแวะมาใหม่นะครับ

ชีวิตคนป่า2518ณ.ชาติตระการ

D:\กล้องปูใหม่\DSC02796.JPG

กราบนมัสการหลวงพี่ครับ

บล็อกนี้มีสีสันมากเลยครับขอบพระคุณมากเรื่องการปลูกบอนไซลึกซึ้งมากครับมันเป็น

ศิลปะอย่างหนึ่งเลยผมว่าสุดยอดของความอดทน+จินตนาการ

แล้วหลวงพี่ไปอยู่วัดพรหมแล้วหรอครับเมื่อไม่กี่วันนี้ผมก็ไปพิโลกมาโทหาหลวงพี่ไม่ติด

สวนสวัสดีต้นไม้โตมากหรือยังครับแล้วที่โดนถอนทิ้งเอากลับมาปลูกใหม่ยังครับ

เสียดายสร้อยสยามไทยช้าอีกแล้วประเทศอะไรที่เอาไปจดลิขสิทธิ์ญี่ปุ่นอีกหรือป่าวครับ

เด๋วแวะมาคุยอีกครับอยากไปเที่ยวหาครับแต่ยังไม่ค่อยว่างครับ.

 

เจริญพร โยมชีวิตคนป่า2518ณ.ชาติตระการ และสวัสดีทุกท่าน

  • เจิญพรขอบคุณที่ยังรักกันอยู่...(รักษ์โลกสีเขียวจ้า..)
  • และหายเงียบกันไปเลยนะ ทั้งโยมชีวิตคนป่า หัวหน้าโอ หัวหน้าอ๊อด หัวหน้าสมควร ฯลฯ (กึดฮ๊อดหลายเด๊อ) ฮาๆๆๆ
  • ส่วนตัวอาตมายังทำงานวิจัยอยู่ที่ อ. วังทอง จำวัด ณ. วัดศรีโสภณ วัดพรหมพิราม หนึ่งเดือนก็จะไปเยี่ยมสักครั้ง ต้นไม้ที่ปลูกไว้ปัจจุบันเหลือไว้แค่เพียงความทรงจำและรูปถ่ายที่เก็บไว้ดู
  • เราจงมาช่วยกัน สร้างพื้นที่สีเขียวกันเถอะครับ รณรงค์ลดความร้อนโลก
  • สงกรานต์ปีนี้ อาตมาอาจจะไปเที่ยวอีก.. เจริญพร

    

    อธิบายภาพ: วนอุทยานน้ำตกชาติตระการ อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ภาพซ้ายมือมองเห็นน้ำตกชั้นที่ 3-4 บันทึกภาพโดยพระอธิการโชคชัย และซ้ายมือเป็นภาพน้ำตกชั้นที่ 1  บันทึกภาพโดย ชีวิตคนป่า 2518 ณ. ชาติตระการ แหมฝีมือขั้นเทพทั้งคู่ ดูแล้วครายร้อนได้ดีมากขอบอก

พระประธาน: หลวงพ่อพุทธรัตนชยมงคล (หลวงพ่อใหญ่) ประดิษฐานอยู่ ณ. วัดปากรอง ตำบลชาติตระการ อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก

ชีวิตคนป่า2518ณ.น้ำตกชาติตระการ

-นมัสการหลวงพี่ อาตมาก็ไม่มีอะไรครับหลวงพี่มีแต่คลาดแคลนทุนทรัพย์ในการสร้างน้ำหมักชีวภาพอุ้ย.พูดผิดหลวงพี่หน.อ็อดบอกนะล้อเล่นนะครับ

แต่เรื่องขาดแคลนคลาดแคลนจีงๆนะครับตอนนี้เปลี่ยนเป็นน้ำใสแล้วตอนนี้อยู่กับหน.อ็อดครับ หน.โอก็มาที่บ้านทุกเย็นครับหน.โอต้องมาคุยกับซี7นะครับ(พ่อผมนะครับ)

ตอนนี้ที่วัดจะสร้างศาลากันใหม่ครับฝากหลวงพี่ช่วยบอกบุญญาติโยมร่วมสร้างศาลากันด้วยครับ. หน.อ็อดบอกเศษตังหลวงพี่สักหมื่นสองหมื่นเพื่อร่วมสร้างศาลาวัดปากรองได้ไหมครับขอบคุณล่วงหน้าครับ. สีกาแม่เอแม่ก้อยโยมแม่และคนอื่นๆ(อยู่ที่บ้านตอนนี้หลายคนครับ)ฝากความคิดถึงครับเด๋วแวะมาใหม่ครับ.

ชีวิตคนป่า2518ณ.ชาติตระการ

หลวงพี่ทิดน้อยสึกแล้วนะครับไปหาสาวยังไม่กลับบ้านเลย

สงสัยตั้งรกรากอยู่ลำปางแล้วมั่งครับ

เจริญพรโยมชีวิตคนป่า 2518 ณ.ชาติตระการและชาวสวนทุกท่าน

  • ก่อนอื่นต้องขออภัยที่ต้องทิ้งเว็บเพื่อไปดูแลวัด(พรหมพิราม) เกือบ 2 อาทิตย์ พึ่งจะกลับมาวัดศรีโสภณ คิดถึงทุกๆ ท่านเช่นเดียวกัน
  • ช่วงนี้อาตมาสุขภาพไม่ค่อยดี โรคภัยเบียดเบียน ล่าสุดผ่าตัดฟันครุตออกและเป็นความดันโลหิตสูง (กำลังทดลองฉันนำ้หมักอยู่ได้ผลอย่างไรแล้วจะบอกต่อ)
  • ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงมาก ฝากดูแลสุขภาพกันด้วย...มีโอกาสจะขึ้นไปเยี่ยม
  • เจริญสุข สวัสดี... 
พระมหาแล อาสโย(ขำสุข)

งานปิดทองฝังลูกนิมิตรวัดสวนร่วมบารมีเสร็จเรียบร้อยหรือยังครับ
งานตรงกับแผ่นดินไหวพอดีเลย และมีฝนตกมากด้วย บรรยากาศเป็นอย่างไรบ้างครับ
ขออภัยด้วยที่ไม่เข้าระบบ

เรียนท่านพระอาจารย์มหาแล

ขออภัยที่ไม่ได้บอกบุญงานปิดทองฝังลูกนิมิตร ณ. วัดสวนร่มบารมี ล่วงหน้ากะว่าจะชวนไปทำบุญด้วย แต่เห็นอากาศเปลี่ยนแปลงมีฝนตกติดต่อกัน 3 วัน 3 คืน เลยครับ งานผ่านไปด้วยดี พิธีตัดลูกนิมิตร เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมามีพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระมหาโกศล (พระครูภาวนาวิสุทธิคุณ) เจ้าอาวาสวัดทัพคล้อ จ. พิจิตร มาเป็นองค์ประธาน พร้อมด้วยคณะศรัทธา ญาติโยมมากันทั่วสารทิศ นาน ๆ ที่จะได้เห็นบรรยากาศงานวัดแบบนี้ สวยเหมือนสวรรค์บนดินเลยครับ และดีใจที่มีโอกาสกลับบ้านเก่า ที่ได้ร่วมสร้างกันมาในยุคบุกเบิกจนถึงปัจจุบัน 

ตอนนี้หลวงพ่อเ็ล็ก(พระครูโฆษิตธรรมสุนทร) เจ้าอาวาสวัดสวนร่มบารมี ได้เป็นพระอุปชาแล้วนะ ได้บวชพระฉลองโบถ์ใหม่เลยขอรับ และขณะนี้ก็จัดงานปริวาสกรรมต่ออีก 9 วัน 9 คืน เพราะถือว่าเป็นงานประจำปี ในช่วงเดือนมีีนาคมพอดี หลวงพ่อเล็กบอกว่าจัดงานใหญ่และสวยงามดีแล้วก็เลยทำต่อ แต่สงสารลูกพระจังเดินงานจนขาแทบจะพันกันไปเลย...

เสียดายที่ยังไม่มีรูปมาฝาก เอาไว้คราวหน้าจะนำมาลงให้ดูนะครับ...นมัสการครับ

 

 

            กล้วยไม้ : เป็นไม้ดอกในกลุ่มพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ( monocotyledonus ) วงศ์ออร์คิเดซิอี

( Orchidaceae ) หรือเรียกกันทั่วๆไปว่า  วงศ์กล้วยไม้  เป็นพืชที่มีอายุยืนนานหลายปี  จำพวกไม่มีเนื้อไม้  (perennial herb)  และมีจำนวนมากที่สุดในบรรดาไม้ดอกด้วยกัน   ตามรายงานระบุไว้ประมาณ19,000 ชนิด  ทั้งนี้หมายถึงชนิดที่อยู่ตามธรรมชาติ(ไม่นับรวมลูกผสมหรือที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์อีกมากมายหลายเท่า   ซึ่งนับวันจะมีพวกที่ไม่ใช่พันธุ์แท้เหล่านี้เพิ่มไปไม่มีที่สิ้นสุด)

          กล้วยไม้นั้นพบได้ในถิ่นอาศัยแบบต่างๆ  ตั้งแต่บริเวณที่มีน้ำแข็งปกคลุมเกือบตลอดปีไปจนถึงเขตร้อนในป่าทุกประเภท  ในเขตหนาวและอบอุ่นมักจะพบกล้วยไม้ประเภทที่ขึ้นตามพื้นดินที่มีการเจริญเติบโตให้เห็นเฉพาะฤดูกาล  แต่ในเขตร้อนจะพบกล้วยไม้ที่ดำรงชีวิตอยู่ได้หลายรูปแบบ  ทั้งกล้วยไม้ดิน   กล้วยไม้อิงอาศัย   และกล้วยไม้ที่เจริญเติบโตอาศัยซากอินทรียวัตถุ    นอกจากกล้วยไม้จะสามารถดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมต่างๆ กันดังกล่าวแล้ว  ยังอาจนับได้ว่า   กล้วยไม้เป็นพืชมหัศจรรย์ในด้านความหลากหลายของรูปลักษณ์ของ   ราก   ต้น   ใบ   ดอก   และผล   ในเรื่องขนาด   มีตั้งแต่ขนาดใหญ่เกือบเท่าต้นอ้อย   เช่น   ว่านเพชรหึง   หรือต้นยาวได้เป็นสิบกว่าเมตร   เช่น   เถาวานิลลา   ( Vanill  spp )   หรือขนานโตกว่าหัวไม้ขีดไฟเล็กน้อย   เช่น   พวกสิงโตบางชนิด   ยิ่งในเรื่องความสวยงามแปลกประหลาดของดอกด้วยแล้ว     คงจะมีพรรณไม้อื่นเทียบได้ยาก   จึงไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า   ทำไมใครๆก็รู้จักกล้วยไม้และรู้จักกันมานาน   ดังปรากฏในวรรณคดีต่างๆ

         คนไทยเริ่มตื่นตัวและสนใจนำกล้วยไม้มาปลูกเป็นไม้ประดับกันอย่างจริงจังในรัชสมัยของสมเด็จพระปิยะมหาราช   และนับเป็นจุดเริ่มแรกของการศึกษาเกี่ยวกับกล้วยไม้    ดังปรากฏในตำราเล่นกล้วยไม้ฉบับแรก   พิมพ์เมื่อพ.ศ.2460  (พิมพ์ครั้งที่สองพ.ศ.2502)   เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จเจ้าฟ้า   กรมพระนครสวรรค์วรพินิต   และอาจกล่าวได้ว่าเป็นตำราที่ให้ความรู้ทางพฤกษศาสตร์ฉบับแรกของไทย  ในตำราเล่มนี้  สมเด็จเจ้าฟ้า  กรมพระนครสวรรค์วรพินิต   ทรงจำแนกผู้สนใจแสวงหากล้วยไม้มาสะสมเพาะปลูกเลี้ยงเป็น 3 จำพวก  คือ   ผู้สนใจศึกษาทางพฤกษศาสตร์  พวกค้าขายกล้วยไม้  และพวกที่ปลูกเลี้ยงไว้ชม   หรือเรียกว่าเป็นพวกเล่นกล้วยไม้   ซึ่งปัจจุบันนี้ต้องเพิ่มจำพวกที่  4  คือ   ผู้ที่สนใจปรับปรุงพันธุ์และผสมพันธุ์กล้วยไม้   ในบรรดา  4  จำพวกนี้   ผู้ที่สนใจทางพฤกษศาสตร์ดูจะมีจำนวนน้อยที่สุดทั้งๆที่ประเทศไทยเป็นแหล่งกำเนิดของพันธุ์กล้วยไม้มากกว่า  1,000  ชนิด    หลายชนิดพบเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น    หลายชนิดมีปริมาณในธรรมชาติลดลงอย่างน่าเป็นห่วง    และอาจมีหลายชนิดสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้วก็เป็นได้   แต่ไม่ว่าจะเป็นผู้ใด   อยู่ในกลุ่มใด   โดยมากเมื่อได้ทำความรู้จักกับกล้วยไม้แล้ว    มักจะเพิ่มพูนความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ  ซึ่งก็ดูเหมือนว่าจะหาที่สิ้นสุดได้ยาก

        นอกจากกล้วยไม้ชนิดพันธุ์ที่พบตามธรรมชาติมากมายแล้ว   ยังมีพันธุ์ที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ใหม่    มีลักษณะแปลก ๆ  บานทนยิ่งขึ้นหรือสวยงามยิ่งขึ้นเพิ่มเติมมากอีกเป็นจำนวนมากตลอดเวลาอย่างไม่มีขีดจำกัด    ทำให้กล้วยไม้ที่เรารู้จักกันเป็นสวนใหญ่นอกจากจะเป็นกล้วยไม้ไม่ใช่พันธุ์ท้องถิ่นแล้ว   ยังเป็นพันธุ์ที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์อีกด้วย   เช่น   พวกหวายต่าง ๆ   และคัทลียา  เป็นต้น     ถ้าเป็นกล้วยไม้ท้องถิ่นของไทยก็จะรู้จักกันเฉพาะพวกที่มีดอกดกสวยงามเด่นสะดุดตา   เช่น  เอื้องผึ้ง   เอื้องคำ   เอื้องสาย   ฟ้ามุ่ย   ช้างกระ  ฯลฯ  ส่วนกล้วยไม้อื่น ๆ อีกมากมายเป็นที่รู้จักกันในวงแคบเฉพาะกลุ่มที่สนใจศึกษาเท่านั้น   อย่างไรก็ตาม   ส่วนใหญ่เมื่อได้รู้จักดอกกล้วยไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งแล้ว  โดยทั่ว ๆ ไปเมื่อเห็นพืชพวกกล้วยไม้อื่น ๆ มักจะบอกได้ทันทีว่าพืชนั้นคือกล้วยไม้    ทั้งนี้เพราะดอกหรือต้นของกล้วยไม้ส่วนใหญ่มีลักษณะเฉพาะตัวเป็นเครื่องชี้บอก 

ปัจจุบันกล้วยไม้ป่ามีจำนวนลดน้อยลงและบางชนิดก็ใกล้สูญพันธุ์ไปจากป่าธรรมชาติแล้วด้วยการถูกทำลายแหล่งที่อยู่และนำออกจากป่าเป็นจำนวนมาก 

โปรดจงช่วยกันอนุรักษ์กล้วยไม้ป่าให้คงอยู่กับธรรมชาติตราบนานเท่านานด้วยการไม้ซื้อหาและทำลายธรรมชาติ    (เอกสารอ้างอิงข้อมูลชื่อและข้อความจากหนังสือกล้วยไม้เมืองไทยของรส.ดร.อบฉันท์  ไทยทอง)

 ราก:                                                 

          รากของกล้วยไม้อาจจะเกิดเฉพาะที่โคนต้นหรือตามข้อ  มีขนาดและจำนวนต่างกันตามชนิด   บางพวกส่วนของรากนอกจากจะทำหน้าที่ยึดเกาะแล้ว   ในกล้วยไม้หลายชนิดยังช่วยในการสังเคราะห์แสงด้วย  เช่น   พวกพญาไร้ใบ (Chiloschista  spp )  มีรากที่เจริญดีมาก  มีสีเขียว   เป็นส่วนที่เห็นได้ชัดที่สุด   กล้วยไม้อื่น ๆ   พวกหวายและช้างต่าง ๆ เฉพาะส่วนปลายของรากที่เกิดใหม่เท่านั้นที่มีสีเขียวช่วยสังเคราะห์แสง   แต่ถ้าเป็นกล้วยไม้ดินหลายชิด   ส่วนของรากจะพอกออกเป็นรากสะสมอาหาร  ( tuberous  root )  นอกจากนั้นรากกล้วยไม้ยังมีเนื้อเยื่อคล้อย ๆ ฟองน้ำล้อมรอบเนื้อเยื้อลำเลียงตรงกลาง  ส่วนที่คล้ายฟองน้ำนี้มีส่วนช่วยในการเก็บความชื้นได้อีกด้วย

 ใบ:

           ใบกล้วยไม้มีความหลากหลายมากเช่นกัน  หลายชนิดใบลดรูป  ไม่เจริญ  ได้แก่  พวกพญาไร้ใบ  ส่วนพญาที่มีใบ  ยังแยกได้เป็นพวกที่ไม่ทิ้งใบและพวกที่ทิ้งใบ  พวกทิ้งใบมักจะมีแผ่นใบบาง   พวกที่ไม่ทิ้งใบ   มีทั้งพวกใบกลมคล้ายต้นใบแผ่เป็นแผ่นแบน  พวกหลังนี้แผ่นใบมักจะหนาค่อนข้างอวบน้ำและแข็ง   หรือถ้าแผ่นใบไม่หนาก็จะเหนียว  ผิวใบมักจะมันส่วนขนาดของใบก็เช่นกัน   พวกที่มีใบขนาดใหญ่มาก  ได้แก่  พวกวานิลลา  โดยเฉพาะชนิดที่พบในประเทศไทย  ที่เรียกพลูช้าง(Vanilla  siamensis  Rolfe)  มีใบใหญ่     รูปรี   ยาวได้ถึง  30  ซม.  และกว้างประมาณ 410 ซม.  บางพวกใบเล็กมาก   ได้แก่   Podochilus  microphyllus  Lindl.  ซึ่งใบเป็นแทบเล็ก ๆ  ยาว 5-6 มม.

 

ผลหรือฝัก  และเมล็ด :

         กล้วยไม้เป็นพันธุ์ไม้ที่แต่ละผลหรือฝักมีขนาด   ลักษณะรูปร่างต่าง ๆ กัน   เมื่อแก่เต็มที่แตกตามแนวยาว 3 แนว  ภายในมีเมล็ดที่มีขนาดเล็กมาก  ลักษณะเป็นผงละเอียดจำนวนมากบางชนิดอาจมีถึงล้านเมล็ด   และยังมีเมล็ดที่ภายในไม่มีอาหารสะสม   ใบเลี้ยง  (cotyledon)  ไม่เจริญอีกด้วย  ในธรรมชาติเมล็ดจำนวนมากมายเหล่านี้มีโอกาสงอกเจริญเป็นต้นใหม่ได้ไม่มากนัก   เมล็ดที่งอกและเจริญเติบโตได้นั้นต้องตกในที่ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมและมีพวกไมคอไรซา (mycorhiza) อยู่ด้วย  ราพวกนี้จะมีเส้นใยเจริญเข้าไปในเมล็ด  ทั้งราและเมล็ด   หรือต้นอ่อนของกล้วยไม้จะอยู่ด้วยกันแบบพึ่งอาศัยซึ่งกันและกัน    นอกจากนั้นส่วนใหญ่ภายในฝักกล้วยไม้ยังมี spring  hairs  ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นยาว ๆ  สีขาวหรือนวลหรือน้ำตาลอ่อนแทรกปะปนกับเมล็ด   การเคลื่อนไหวของเส้นยาวเหล่านี้  เมื่อความชื้นเปลี่ยนช่วยทำให้เมล็ดกระจายออกไปจากฝักได้ดียิ่งขึ้น

 

ต้น :

          ต้นของกล้วยไม้มีความแตกต่างกันหลายแบบ  เช่น  กลุ่มหนึ่งมีลักษณะเด่นเฉพาะที่เป็นที่รู้จักกันดี  คือ  พวกที่มีลำต้นป่องพองคล้ายผลกล้วย   ที่เรียกกันว่าลำลูกกล้วย  หรือหัวเทียม  ( pseudobulb )  หรือหัว  แต่ยังมีกล้วยไม้อื่น ๆ  อีกมากมายที่มีลักษณะของต้นแตกต่างไปจากนี้   ซึ่งมักจะมีส่วนของต้นที่เป็นตัวหลัก   มีลักษณะกลมยาวเป็นเส้นค่อนข้างเล็ก   แต่มักจะแข็งแรงและเหนียว   ซึ่งเรียกกันว่าเหง้า  ( rhizome ) เหง้าของกล้วยไม้จะทอดไปตามเปลือกไม้มีรากสั้น ๆ ยึดเกาะ  และจากเหง้านี้มีลำต้นอีกส่วนหนึ่งซึ่งมักจะมีลักษณะที่ต่างไปจากเหง้าเดิม  เช่น  เป็นลำยาว   ดังที่พบในพวกเอื้องสายต่าง ๆ ( Dendrobium  spp.)  ลำของกล้วยไม้บางชนิดโคนพองกว่าส่วนปลาย  บางชนิดหัวท้ายเรียว  ตรงกลางป่องเล็กน้อย  ส่วนพวกที่มีหัวเทียม   ส่วนที่เป็นหัวก็จะมีลักษณะต่าง ๆ กัน  เช่น  ทรงกระบอก  รูปกระสวย  รูปหยดน้ำหรือคล้ายผลชมพู่  บางชนิดค่อนข้างกลม  กลมแป้น  เป็นต้น   ถ้าเป็นพวกกล้วยไม้ดินส่วนหัวมักจะอยู่บนดินหรือกึ่งใต้ดิน    และบางชนิดอาจมีส่วนโคนของกาบใบคลุม   ลำต้นที่เป็นลำหรือมีลักษณะคล้ายหัวนี้    ทำหน้าที่เก็บน้ำและอาหารสะสม   ทั้งนี้เนื่องจากกล้วยไม้ส่วนใหญ่เป็นพืชทนแล้ง    มีชีวิตรอดได้โดยขาดน้ำติดต่อกันเป็นเวลานานหลายเดือนกล้วยไม้บางชนิดมองไม่เห็นลำต้น    เนื่องจากมีขนาดเล็กและมีใบปกคลุมตลอด   หรือมีขนาดสั้นและเล็กมาก   บางชนิดลำต้นลดขนาดลงมาก   แต่มีส่วนรากเจริญได้ดี   เช่น   พวกพญาไร้ใบและบางชนิดลำต้นใต้ดินป่องพอง ( tuber )  ทำหน้าที่สะสมอาหาร   กล้วยไม้ที่ต้นยาวมาก   ได้แก่  พวกวานิลลา  (  Vanilla   spp. )    ซึ่งอาจยาวได้  10  เมตร  และที่ต้นสูงได้มาก  ได้แก่  พวกหวายแดง  (Renanthera  spp. )แต่เมื่อพิจารณาถึงขนาดโดยรวมแล้ว   ว่าเพชรหึงน่าจะเป็นกล้วยไม้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด   คือสูงหรือยาวได้ถึง 3 เมตร  และใบยาว 25-50 ซม.

            นอกจากนั้นกล้วยไม้หลายชนิดยังมีกลิ่นที่กลายเป็นต้นเล็ก ๆ ที่พร้อมจะหลุดร่วงไปเจริญเป็นต้นใหม่ได้   เป็นการเพิ่มจำนวนต้นให้มากขึ้นได้อีกวิธีหนึ่ง   นอกจากแตกหน่อขยายขนาดของกอ

            นี้คือประวัติความเป็นมาของกล้วยไม้ป่าของประเทศไทยที่พอจะรวบรวมได้....

 

 

 

 

ชีวิตคนป่า2518ณ.น้ำตกชาติตระการ

-นมัสการหลวงพี่ที่นี่ฝนตกหนักมากหนาวมากๆพึ่งจะหยุดตกมาวันสองวันนี่เองครับ

หยุดตกก็ร้อนเลยอากาศแปรปวนไม่อยากออกไปไหนกันเลย

-ที่วัดตั้งเสาศาลากันแล้วนะครับคนแยอะเหมือนกันไม่รู้ลงรูปยังไงไม่งั้นผมจะลงรูปให้ดูครับ

ต้นไทรงามใหญ่โตร่มดีจังครับ

มีต้นไม้มากๆยิงดีครับ

จะได้เอาไว้ให้เด็กๆฝึกสมาธิสติกันมากๆ

เจริญพรโยมชีวิตคนป่า

ขออนุโมทนาบุญที่ญาติโยมทั้งหลาย ได้ร่วมกันสร้างบุญ สร้างศาลาการเปรียญวัดปากรอง ผลที่ได้ออกมานั้นก็เป็น เป็นกุศล ตามกำลังศรัทธา "บุญพาท่านมา... กุศลตามท่านไป "

ระหว่างวันที่ 1- 10 เมษายน 2554 อาตมามีงานอบรมสามเณรภาคฤดูร้อน ที่วัดซำรัง อ. เนินมะปราง เสร็จสิ้นภาระกิจแล้วก็จะเข้าที่ วัดปากรอง อ. ชาติตระการ ต่อเนื่องเลยโยมชีวิตคนป่า.. สาธุ.

เจริญพรคุณโยมโสภณ เปียสนิท

อนุโมทนาขอบคุณ ที่กรุณาเข้ามาเยี่ยมชมและให้ดอกไม้เป็นกำลังใจ (วัดกับเว็บ ถ้าไม่เข้ามันก็ร้าง) 

ร่มไทรที่โยมเห็นนั้นเป็นประโยชน์มากเลยครับ มีสองต้นคู่กัน นอกจากเด็กนักเรียน เยาวชน เข้ามาฝึกสมาธิแล้ว ญาติโยม ชาวบ้านยังใช้เป็นที่พักร้อนในช่วงมีงานฌาปนกิจอีกด้วยเรียกว่าเต็นท์ประรัมพิธีไม่มีคนนั่งเลย อาตมาเน้นงานปลูกต้นไม้มาก มีสูตรอยู่ว่า ปลูกไม้ 3 ด. คือ 1. ปลูกเอาไว้ดู 2. ปลูกเอาไว้ดม 3. ปลูกเอาไว้แดก (ภาษาคนโบราณน่ะ) เรามาช่วยกันรณรงค์ปลูกต้นไม้กันมาก ๆ น่ะคุณโยม... เจริญพร. 

กราบนมัสการท่านอธิการค่ะ

แวะมาอ่านและชื่นชม ' WAT 'ที่มีความเป็นธรรมชาติมาก จาก ' WWW.' ค่ะ

 

เจริญพรโยม ดร.พจนา แย้มนัยนา

Ico48เจริญพรขอบคุณที่กรุณาเข้่ามาเยี่ยมชม วัดบ้านนอก ชุมชนเล็ก ๆ ที่กำลังสร้างสรรค์พื้นที่แห่งคุณธรรม ....ธรรมดา-ธรรมชาติ

เจริญสุข..สวัสดี. 

ชีวิตคนป่า2518ณ.น้ำตกชาติตระการ

-นมัสการครับหลวงพี่หมู่บ้านจะเลือกตั้งผญบ. วันที่ 31 เม.ย 54 นี้ครับ

ไม่รู้ว่าใครจะได้แล้วจะรายงานอีกทีครับ.

ชีวิตคนป่า2518ณ.น้ำตกชาติตระการ

-นมัสการครับหลวงพี่ได้ผญบ.คนใหม่แล้วนะครับ

-พ่อแจ็คเบอร์2ชนะการเลือกตั้งได้160คะแนน

-รองมาเบอร์4ได้120คะแนน

ส่งผลให้ผมได้เป็นผช.ผญบ.แล้วครับ

เดี๋ยวต้องขอคำแนะนำจากหลวงพี่บ้างนะครับ.สวัสดีครับ

Ico48
ชีวิตคนป่า2518ณ.น้ำตกชาติตระการ [IP: 119.31.95.214] 
25 เมษายน 2554 16:10 
#2422273

เจริญพรคุณโยมชีวิตคนป่า

อาตมากำลังจัดเวที/บันทึกใหม่ ชื่อว่า"ลานบุญ ลานธรรม ลานปัญญา" เวทีคนบ้านปากรอง เพื่อที่จะใช้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชุมชนคนบ้านปากรอง โดยเฉพาะเลยดีมัยครับ เจริญพร.

เจริญพรคุณโยมจันทน์รักษ์

อาตมาภาพขออนุโมทนาขอบคุณที่คุณโยมกรุณาเข้ามาเยี่ยมชมและให้กำลังใจบทบาทพระสงฆ์ที่ทำงานตอบแทนสังคมและชุมชน

ธรรมะ คือ ธรรมชาติ: ร่ม แม้ไร้ชีวิต ไร้ความคิด ไร้จิตใจ ไม่ว่าร่มกระดาษราคาถูก ร่มผ้าแพรที่งดงาม มันก็ต่างทำหน้าที่ของมันเหมือนกันหมด คือ ปกป้องผู้ใช้มัน จากลมร้อน แดดและฝน... ลองหันมาดูตัวของเราเองบ้าง เราเคยเป็นร่มให้ใครบ้างหรือไม่? การปกป้องผู้อื่น ไม่จำเป็นต้องเข้าไปคุ้มครองดูแลเขา เพียงแต่ รู้จักเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ มีมิตรไมตรี ทำให้เขาสดชื่น ท่านก็คือ ร่มในใจ ได้แล้ว...(ชาวสวน) 

วันนี้ วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 และ เป็นวันพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

เป็นวันสำคัญ อีกวันหนึ่งของชาวนา/ชาวเกษตรกร ที่เริ่มปลูกมลิตพันธิ์ดีในพื้นที่ของตัวเอง

เมื่อปีที่แล้วจำได้ว่า ปลูกต้นไม้ 3 ต้น ชื่อว่า จำปา จำปี และจำปูน

อธิบายภาพ: ต้นจำปา 

อธิบายภาพ: ส่วนต้นจำปูนนั้นตายไปนานแล้ว(เสียดายมาก) 


ช้างชนช้าง..จากสวนสวัสดี โดยพระอธิการโชคชัย

อากาศบ้านเราเปลียนแปลงบ่อย เดียวร้อน เดียวหนาว เดียวฝนตก ไม่ว่าคน สัตว์ พืช พันธ์ไม้ ต้องปรับสภาพตัวเองเพื่อความอยู่รอด..เช่น กล้วยไม้ป่าตระกูลช้าง 2 ต้นนี้ รอมาสองปีแล้วกว่าจะออกดอกให้เชยชม..(ช่วงระยะเวลาออกดอกเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท