ตัวอย่างงานวิจัย สารสนเทศ


รายงานผลการเรียนผ่านโทรศัพท์มือถือ

รายงานผลการวิจัย 

ระบบสารสนเทศรายงานผลการเรียนผ่านโทรศัพท์มือถือ 

 ของ

 

นฤพนธ์  พนาวงศ์  และ  

ถิรภัทร  มีสำราญ 

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 

 

 

โดย 

อัณณ์ชญาน์  สีตะระโส 

นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต 

สาขาบริหารการศึกษา 

 

 

 

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 

การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ 

มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ศูนย์บัณฑิตศึกษาสระบุรี

 ชื่อเรื่อง                  ระบบสารสนเทศรายงานผลการเรียนผ่านโทรศัพท์มือถือ

ผู้ศึกษาค้นคว้า         นฤพนธ์  พนาวงศ์ และ ถิรภัทร  มีสำราญ 

อาจารย์ผู้ควบคุม         -

ปริญญา                     -

สาขาวิชา              คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 

ปีการศึกษา            2549

 

บทคัดย่อ 

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อสร้างระบบสารสนเทศรายงานผลการเรียนผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยใช้เทคโนโลยีจาวา การพัฒนาระบบบนโทรศัพท์มือถือและโปรแกรมสำหรับป้อนผลการเรียนสำหรับอาจารย์ นักศึกษาจะต้องใช้บริการรายงานผลการเรียนผ่านโทรศัพท์มือถือและติดตั้งโปรแกรมลงในมือถือที่รองรับการทำงานของจาวา การวิจัยครั้งนี้จะใช้นักศึกษาและอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

                จากการทดลองระบบรายงานผลการเรียนผ่านโทรศัพท์มือถือ พบว่าระบบสารสนเทศสามารถรายงานผลการเรียนผ่านโทรศัพท์มือถือได้ นักศึกษาสามารถติดต่อขอดูผลการเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลาที่มีสัญญาณโทรศัพท์มือถือ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ใดๆ  ทั้งสิ้น

 

 บทที่ 1

 

 

บทนำ 

 

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 

 

                ในยุคแห่งสังคมข่าวสาร เทคโนโลยีด้านการสื่อสารเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ทั้งด้านการสื่อสาร การแลกเปลี่ยนข้อมูล ความบันเทิง ซึ่งสามารถทำได้สะดวก รวดเร็ว รวมทั้งการทำธุรกรรมด้านการเงิน เช่น การโอนเงิน การชำระค่าสินค้า เป็นต้น โทรศัพท์มือถือบางรุ่นสามารถเขียนโปรแกรมเพื่อใช้ทางธุรกิจและด้านการศึกษาได้อีกด้วย นับว่าโทรศัพท์มือถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่คนส่วนมากมีใช้กัน

                ปัจจุบัน การรายงานผลการเรียนของมหวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์เป็นระบบกระดาษ และรายงานผ่านอินเตอร์เนต ซึ่งอาจเกิดปัญหากระดาษหาย  นักศึกษาไม่แจ้งผลการเรียนให้ผู้ปกครอง ทำให้ผู้ปกครองไม่ทราบผลการเรียน

                คณะผู้วิจัยได้เสนอโครงงานการรายงานผลการเรียนทางโทรศัพท์มือถือ เพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา ผู้ปกครองและอาจารย์  และให้สอดคล้องกับภารกิจและยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

 วัตถุประสงค์ของการวิจัย

 

 เพื่อสร้างระบบสารสนเทศรายงานผลการเรียนผ่านโทรศัพท์มือถือ

 ขอบเขตการวิจัย

 

                 ขอบเขตของงานวิจัยประกอบด้วยประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

                1. การวิจัยนี้ใช้ข้อมูลผลการเรียนของนักศึกษาในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์เท่านั้น

                2. ระบบสารสนเทศรายงานผลการเรียนผ่านโทรทัศน์มือถือแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ

                   2.1 ส่วนบริการผ่านระบบอินเตอร์เนต

  2.1.1 ระบบสมาชิกสำหรับอาจารย์และนักศึกษาที่จะของใช้บริการรายงานผลการ   เรียนผ่านโทรศัพท์มือถือ

                             2.1.2 พัฒนาเป็น Application โดยใช้เทคโนโลยีจาวา

                    2.2 ส่วนบริการผ่านโทรศัพท์มือถือ

                          2.2.1  รายงานผลการเรียนผ่านระบบ SMS ไปยังโทรศัพท์มือถือที่ลงทะเบียนขอใช้บริการ

                           2.2.2  ระบบสารสนเทศสำหรับเรียกดูและรับผลการเรียน เป็นโปรดกรมที่ติดตั้งลงบนโทรศัพท์มือถือที่รองรับระบบจาวา

                        2.2.3  บริการระบบสารสนเทศสำหรับนักศึกษา ผู้ปกครอง และ อาจารย์ใรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

                3. ซอฟท์แวร์ที่ใช้สร้างระบบในงานวิจัยประกอบด้วย

                  3.1 ระบบปฏิบัติการ Window XP

                  3.2 ซอฟท์แวร์ Open Source ได้แก่

                         3.2.1 ตัวแปรภาษา

                         3.2.2 ระบบการจัดการฐานข้อมูล

                         3.2.3 ออกแบบรายงานใช้ report,  Jasper Report

                         3.2.4 จาวาเทคโนโลยีอืน ๆ ได้แก่ JAVA  XML , JAVA Security, KDBC (Java Satabase Connection), J2ME, J2EE

 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

 

 ได้ระบบสารสนเทศรายงานผลการเรียนผ่านโทรศัพท์มือถือ

  1. เป็นการส่งเสริมกิจกรกรรมระหว่างผู้ปกครองกับมหาวืทยาลัย ในการร่วมมือดูแลผลการเรียน
  2. ทำให้นักศึกษาได้รับผลการเรียนสะดวก รวดเร็วขึ้น
  3. ทำให้ผู้ปกครองทราบผลการเรียนได้สะดวก รวดเร็ว บุตรหลานไม่สามารถปกปิดผลการเรียนได้

 นิยามศัพท์เฉพาะ

 

                 ระบบสารสนเทศ หมายถึง ระบบสารสนเทศรายงานผลการเรียนผ่านโทรศัพท์มือถือ

                Web Application  หมายถึง โปรแกรมที่ทำงานบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เนต

                เทคโนโลยีจาวา หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้ภาษาจาวาเป็นตัวกำหนดการทำงาน

              ประสิทธิภาพ หมายถึง ความสามารถของการทำงานของระบบ ประกอบด้วยความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ สามารถใช้งานง่าย ทำงานได้รวดเร็ว และลดขั้นตอนการทำงานได้

Open Source หมายถึงซอฟท์แวร์ที่เปิดเผยรหัสชุดคำสั่งต้นฉบับให้สาธารณชนนำไปใช้งานได้โดยไม่คิดมูลค่า และเปิดโอกาสให้นักเขียนโปรแกรมนำซอฟท์แวร์ไปสร้างระบบงานตามความต้องการได้

 

 

บทที่ 2 

 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

 ประวัติจาวา

 

                 เริ่มต้นจาก บริษัทซันไมโครซิสเต็ม มีทีมงาน 13 คน ได้พัฒนาอุปกรณ์ควบคุมสัญญาณภาพดาวเทียม ในระบบเคเบิลทีวี ภายใต้โครงการ “The Green Project” ภาษาที่ใช้ออกแบบมาโดยเฉพาะ และได้ตั้งชื่อภาษาว่าโอ๊ค (Oak) แต่มีปัญหาเร่าองการจดสิทธิบัตร จึงเปลี่ยนชื่อเป็น จาวา ตามชื่อเมล็ดกาแฟ ที่ใช้ดื่ม

                ภายหลังอุปกรณ์ควบคุมสัญญญาณทีวีไม่ประสบผลสำเร็จ จึงได่นำโปรแกรมจาวาไปเผยแพร่บนอินเตอร์เนต  พ้อมออกชุดพัฒนาให้โปรแกรมเมอร์ ดาว์นโหลดเพื่อนำไปใช้ได้ฟรี

  ในยุคนั้น อินเตอร์เนตมีลักษณะเป็นตัวอักษรปกติ  แต่หลังจากโปรแกรมจาวา ซึ่งทำงานได้บน Hot Javva  เรียกโปรแกรมว่า Java Applet ทำให้ข้อมูลมีทั้ง แสดงเป็นภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ทำให้นักพัฒนาเริ่มให้ความสนใจตัวภาษาเป็นอย่างมาก มีการดาวน์โหลดชุดพัฒนาเพื่อใช้งานเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก

 เขียนครั้งเดียวใช้ได้ทุกที่ (Write Once, Run Anywhere)

          เขียนขึ้นครั้งเดียวใช้งานได้ทุกที่ เป็นนิยามของโปรแกรมที่สร้างขึ้นจากภาษาจาวา โดยทางบริษัท ซันไมโครซิสเท็มได้วางลักษณะไว้ว่า หากโปรแกรมเมอร์เลือกใช้ภาษาจาวาในการปฏิบัติงานแล้ว สามารถใช้งานได้ในทุกระบบ สำหรับภาษาอื่น เมื่อโปรแกรมเมอร์ใช้งานในระบบปฏิบัติการใดก็ตาม เมื่อนำไปใช้บนระบบอื่นต้องมีการแก้ไข ปรับปรุงจึงจะใช้งานได้

         โปรแกรมที่สร้างจากภาษาจาวา ทางบริษัท ซันไมโครซิสเท็ม เรียกทั้งหมดว่า จาวาแพลตฟอร์ม ( Java Platform ) ปัจจุบัน จาวาแพลตฟอร์มไม่ใช่เป็นแค่คอมพิวเตอร์ แต่ยังรวมถึงPDA  โทรศัพท์มือถือ หุ้นยนต์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น  ตู้เย็น  เครื่องปรับอากาศ  หากสิ่งดังกล่าวสามารถทำงานโปรแกรมจาวาได้

  จาวาแพลตฟอร์ม

 

           จาวาแพลตฟอร์ม คือคีย์ที่ทำให้เกิดการทำงานแบบ Write Once, Run Anywhere เนื่องจากทุระบบที่ต้องการใช้งานโปรแกรมจาวาจะต้องมีกลไกทำงานย่อยที่เรียกว่า จาวาเวอร์ชวลแมชชิน (Java Virtual Machine ) เรียกว่า JVM

โปรแกรมภาษาจาวา คือโปรแกรมที่ได้จากภาษาจาวาที่ผ่านการคอมไฟล์แล้ว การคอมไฟล์ภาษาจาวาจะได้ภาษากลางที่เรียกว่าไบต์โค้ต  JVM ทำหน้าที่แปลงไบต์โค้ตเป็นภาษาเครื่องสำหรับระบบปฏิบัติการนั้น ๆ เช่น เมื่อโปรแกรมนำมาใช้งานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ JVM ทำหน้าที่แปลงไบต์โค้ตเป็นภาษาเครื่องสำหรับระบบปฏิบัติการวินโดวส์  หาก ไบต์โค้ตเดียวกันนำมาใช้งานบนระบบปบัติการลีนุกซ์  JVM จะทำหน้าที่แปลงไบต์โค้ตเป็นภาษาเครื่องสำหรับระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ ดังนั้น ไบต์โค้ตมักจะถูกเรียกเป็นภาษากลางที่สามารถนำไปใช้งานได้ในทุกระบบผ่านทาง  JVM

 เทคโนโลยีจาวาที่ใช้ในงานวิจัย

 

 1.  Java Serviet

 Serviet  เป็น Server Side Application ภาษที่ใช้เป็นจาวา และเป็นลักษณะ Platform inderpendence ซึ่งช่วยให้เราพัฒนาระบบใช้ Environmental อะไรก็ได้ ซึ่งโดยทั่วไปนิยมใช้ Window  Environmental โดยจะนำโปรแกรมที่เขียนแล้วมารัน Unic Environment เพื่อความเสถียรของข้อมูล

2.    Jave Server Pages ( JSP)

     Jave Server Pages ( JSP)  เป็น Web-scriping เทคโนโลยีที่ง่ายต่อการพัฒนากับโปรเจคใหญ่ ๆ ตลอดจนสามารถนำส่วนประกอบต่าง ๆ กลับมาใช้ได้อีก จุดเด่นที่สำคัญของ Jave Server Pages  คือ สามารถทำงานได้โดยไม่ขึ้นกับผู้ผลิตซอฟท์แวร์รายใดรายหนึ่ง สามารถใช้ได้กับแพลตฟอร์มใดก็ได้
3.    Java Micro Edition

 

 บทที่ 3

 

 วิธีดำเนินงานวิจัย

 

                         การวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา ( Research and Fevelopment) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบสารสนเทศการรายงานผลการเรียนผ่านโทรศัพท์มือถือ ให้บริการสำหรับอาจารย์ นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ สำหรับเก็บข้อมูลผลการเรียนของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และส่งผลการเรียน ไปยังนักศึกษาตามรายละเอียดที่ส่งเข้ามา

 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

 

                         เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ปรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ในการเขียนโปรแกรม เครื่องให้บริการระบบรายงานผลการเรียน   คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และซอฟท์แวร์ต่าง ๆ ที่นำมาสร้างระบบมีดังนี้

  1. ฮาร์ดแวร์รายละเอียดดังนี้

1.1       CPU Intel Pentium IV

1.2       RAM ใช้  512 MB

1.3       HardDisk 80 GB

1.4       Monitor Super VGA 1.6 million color display

1.5       CD RON Drive 48x speed

1.6       Flash Memory 128 MB

1.7       Laser Printer and Inkjet  Printer

  1. ซอฟท์แวร์ประกอบด้วย

2.1       ใช้ Windows XP  เป็นระบบปฏิบัติการ

2.2       ซอฟท์แวร์Open Source มีดังนี้

2.3       ต้วแปลภาษา(Compiler) ใช้Java

2.4       ระบบการจัดการข้อมูลใช้ MySQL

2.5       จาวาเทคโนโลยีอื่น ๆ ได้แก่ JAVA XML, JAVA Security. JDBC ,J2ME

 

 วิธีการดำเนินงานวิจัย

 

                 วิธีการดำเนินการวิจัยใช้เทคนิคการวิเคราะห์และออกแบบระบบเชิงโครงสร้าง  เรียกว่า วงจรการพัฒนาระบบ(System Development Life Cycle: SDLC) เพื่อให้การวางแผนและการจัดการกระบวนการในการพัฒนาระบบอย่างมีขั้นตอน โดยแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้

  1. การวางแผนระบบงาน ( System Planning)  

       การวางแผนระบบ หรือที่เรียกว่า ความต้องการของระบบ ( System Request)   ซึ่งจะอธิบายปัญหาหรือความต้องการในการเปลี่ยนแปลงระบบจากระบบเก่ามาเป็นระบบใหม่ มีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดคุณสมบัติและขอบเขตของปัญหาอย่างชัดเจน โดยวิธีการสำรวจเบื้องต้น ซึ่งมีขั้นตอนย่อย 6 อย่างดังนี้

1.1       การทำความเข้าใจกับปัญหาหรือความจำเป็นของปัญหา

             ศึกษาปัญหาของระบบงานเดิมของข้อมูลการรายงานผลการเรียน โดยทำการรวบรวมข้อมูลจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์/

1.2     การกำหนดขอบเขตของระบบงานและข้อจำกัด

            ทำการศึกษาข้อมูลภายในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์เท่านั้น

1.3       การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมด และหาความต้องการของระบบในการนำไปวิเคราะห์ระบบ ซึ่งได้เก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ภายในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

1.4       กำหนดประโยชน์ที่จะได้รับจากระบบ

            ประโยชน์ที่จะได้รับจากระบบ คือ ได้ระบบรายงานผลการเรียนผ่านโทรศัพท์มือถือ

1.5       ประมาณค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการดำเนินงาน

         วางแผนการประมาณค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการดำเนินงาน ดังนี้

 

รายละเอียดการดำเนินงาน

2548

2549

ก.ย.

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

ม.ค.

ก.พ.

มี.ค.

เม.ย

พ.ค.

1.System Planning

/

 

 

 

 

 

 

 

 

2. .System analysis

 

/

 

 

 

 

 

 

 

3. .System Design

 

 

/

/

 

 

 

 

 

4. .System Implement

 

 

 

 

/

/

/

 

 

5. .System Operatiom and Support

 

 

 

 

 

 

 

/

/

ตารางที่   1   แสดงระยะเวลาในการดำเนินงานวิจัย

1.6       การนำเสนอผลของการสำรวจความต้องการเบื้องต้น

จัดทำเอกสารเพื่อนำเสนอ โครงการวิจัยประกอบการขอทุนอุดหนุนวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

  1. การวิเคราะห์ระบบ(System analysis)

การวิเคราะห์ระบบมีจุดมุ่งหมายเพื่อความเข้าใจความต้องการของระบบ และการสร้างแบบจำลองเชิงตรรกะของระบบใหม่ดังนี้

2.1 สร้างแบบจำลองความต้องการ

การสร้างแบบจำลอง มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายกิจกรรมในขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบและผลลัพธ์ที่ได้ในขั้นสุดท้าย การทำแบบจำลอง้ป๋นวิธีสร้างภาพกราฟฟิกแต่ไม่ใช่ภาษาเทคนิค เพื่อสื่อความหมายให้เห็นขั้นตอนต่าง ๆของการพัฒนาระบบงาน

 2.2 แบบจำลองของข้อมูลและการประมวลผล

แบบจำลองของข้อมูลและการประมวลผล ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงวัตถุ เป็นการอธิบายระบบในเรื่องข้อมูลนำเข้า ข้อมูลนำออก และกระบวนการ โดยนำเสนอต้นแบบของข้อมูลและกระบวนการ เพื่อแสดงวิธีการเปลี่ยนรูปข้อมูลทั่วไป เป็นข้อมูลสารสนเทศ

  1. การออกแบบระบบ.(System Design)

การออกแบบระบบ เป็นการสร้างแบบพิมพ์เขียวของระบบความต้องการในเอกสารความต้องการระบบ การออกแบบมี 3 อย่าง ดังนี้

     3.1 การออกแบบส่วนนำเข้า  Input Design

 วัตถุประสงค์การออกแบบส่วนนำเข้าคือ เลือกวิธีการนำเข้าและป้อนข้อมูลที่เหมาะสม  ออกแบบหน้าจกให้สวยงาม ใช้การตรวจสอบควงามถูกต้อง ลดความผิดพลาดของข้อมูล และใช้การควบคุมข้อมูลการนำเข้าอย่างมีประสิทธิภาพ

    3.2  การออกแบบส่วนนำออก Output Design

 การออกแบบส่วนนำข้อมูลออก ควรพิจารณาว่าข้อมูลออกมีจุดมุ่งหมายอย่างไร  นำไปใช้งานอย่างไร มีประเด็นเรื่องความลับและความปลอดภัยหรือไม่

     3.3 การออกแบบฐานข้อมูล (Data Sesign)

     การออกแบบฐานข้อมูลให้มีความยืดหยุ่น สนับสนุนการเข้าถึงข้อมูล การมีส่วนร่วมในข้อมูลระหว่างกลุ่มผู้ใช้ การทำให้เกิดมาตรฐาน ควบคุมความซ้ำซ้อน มีความปลอดภัยและ     มีประสิทธิภาพ มีความเป็นอิสระของข้อมูล รวมทั้งความสารถในการสำรองและกู้ข้อมูลคืนได้

  1. การทำให้ระบบเกิดผล (System implement)

                        การทำให้ระบบเกิดผลเป็นระบบใหม่จะถูกสร้างขึ้นโดยมีขั้นตอนดังนี้

4.1       การเขียนโปรแกรม (Coding)

4.2       การทดสอบ (system testing)

4.3       การจัดทำเอกสาร (Pogram documentation)

4.4       การติดตั้งระบบ  system installation

 

  1. การปฏิบัติงานและสนับสนุนโปรแกรม (System Operatiom and Support)

 ในช่วงของการปฏิบัติงานและสนับสนุนระบบ ผู้วิจัยต้องทำหน้าที่ดูแลรักษาและเสริมสร้างระบบ แก้ไขข้อผิดพลาดและปรับเปลี่ยนตามสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ระบบใช้งานได้มากที่สุด มีความน่าเชื่อถือ สามารถบำรุงรักษาได้

 

 

 

บทที่ 4 

 

สรุปการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ 

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อสร้างระบบสารสนเทศรายงานผลการเรียน           ผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งให้บริการอาจารย์และนักศึกษาภายในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์  โดยมีเครื่องมือในการวิจัย ดังนี้

  1. ฮาร์ดแวร์หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ในการเขียนโปรแกรม และเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้สำหรับทดสอบการทำงานของระบบ
  2. ซอฟท์แวร์ที่ใช้สร้างระบบในงานวิจัย ประกอบด้วย ระบบปฏิบัติการใช้ Windows ซอฟท์แวร์ Open Source  ได้แก่ Compiler ใช้ Java  ระบบจัดการฐานข้อมูลใช้ MySQL และ Java เทคโนโลยีอื่น ๆ
  3. โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน Java Technology

          สรุปวิธีดำเนินการวิจัยใช้เทคนิคการวิเคราะห์และออกแบบระบบเชิงวัตถุ เรียกว่า วงจรการพัฒนาระบบ (System Developmant Life Cycle : SDLC) เพื่อให้การวางแผนและกระบวนการในการพัฒนาระบบอย่างมีขั้นตอน โดยดำเนินการดังนี้

  1. การเก็บรวบรวมข้อมูล

       การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อหาข้อมูลทั้งหมดและความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งประกอบด้วยการวิเคราะห์และรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง อกสารที่สำคัญได้แก่ เอกสารส่งผล            การเรียนของนักศึกษา แบบการรายงานต่าง ๆ ที่จะแสดงออกทางโทรศัพท์มือถือ

 2. การวิเคราะห์ระบบ

การวิเคราะห์ระบบ มีจุดมุ่งหมายเพื่อความเข้าใจความต้องการของระบบ และการสร้างแบบจำลองเชิงตรรกะของระบบใหม่ ได้แก่ กี่สร้างแบบจำลองความต้องการ แบบจำลองของข้อมูลและการประมวลผล

3. การออกแบบระบบ

การวิเคราะห์ระบบ เป็นการสร้างแบบพิมพ์เขียวของระบบตามความต้องการในเอกสาร ระหว่างการออกแบบต้องกำหนดสิ่งที่จำเป็นได้แก่ การออกแบบข้อมูลนำเข้า                   การออกแบบส่วนข้อมูลนำออก มีการใช้เครื่องมือสร้างต้นแบบ การกำหนดขนาดของข้อมูลนำออกให้เหมาะสมกับหน้าจอโทรศัพท์มือถือ

 4. การทำให้ระบบเกิดผล

การทำให้ระบบเกิดผลเป็นระบบงานใหม่จะถูกสร้างขึ้นโดยมีขั้นตอน ได้แก่การเขียนโปรแกรม การทดสอบโปรแกรม การทำคู่มือระบบ และ การนำระบบไปติดตั้งให้กับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นครสวรรค์ การติดตั้งประกอบด้วย 2 สาวน คือ ส่วนของวงการให้บริการข้อมูล ติดตั้งเพิ่มลงในคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการอินเตอร์เนตของ  ให้กับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นครสวรรค์  สำหรับส่วนร้องขอบริการเรียกดูผลการเรียน ติดตั้งลงในโทรศัพท์มือถือ โดยเลือกติดตั้งกับเคราองที่รองรับ GPRS สนับสนุนการใช้งานจาวา และได้กระทำหับเครือข่ายที่แตกต่างกัน ประกอบด้วย AIS DTAC และ True Move

 สรุปผล

 

             ผลของระบบรายงานผลการเรียนผ่านโทรศัพท์มือถือ พบว่า ระบบที่ได้เป็นซอฟท์แวร์ที่สามารถทำการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลการเรียนของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และสามารถออกรายงานผลผ่านโทรศัพท์มือถือได้ สามารถใช้งานได้กับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือหลัก 3 บริษัท ประกอบด้วย AIS DTAC และ              True Move โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการบริการและไม่จำกัดครั้งการใช้งาน

 การอภิปรายผล

 

 จากการวิจัยพบว่า ผลการสร้างระบบ คือ ได้ซอฟท์แวร์ติดตั้งสำหรับรายงานผลการเรียนผ่านโทรศัพท์มือถือ ของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาระบบ ที่เป็นดังนี้เนื่องจาก หลักการดังกล่าวได้รับการยอมรับและเป็นมาตรฐานของการสร้างระบบ อีกทั้งระบบ   ที่เลือกใช้นั้น มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย ในเครื่องโทรศัพท์มือถือที่มีใช้กันอยู่ทั่วไป

 ข้อเสนอแนะ

 

 

1. อาจารย์หรือเจ้าหน้าที่ที่ป้อนข้อมูลผลการเรียน ควรมีความรู้พื้นฐานการใช้งานคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เนตเป็นอย่างดี

2. อาจารย์หรือนักศึกษาที่ต้องการได้ข้อมูลผลการเรียนผ่านโทรศัพท์มือถือ ควรใช้โทรศัพท์มือถือที่รองรับเทคโนโลยีจาวา

3.  ควรพัฒนาให้สามารถใช้งานได้ทั้งมหาวิทยาลัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เอกสารอ้างอิง 

 

กิตตมา  เจริญหิรัญ. 2546 . การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ท้อป.

วศิน  เพิ่มทรัพย์ และวิโรจน์  ชัยมูล. 2548.  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ  : โปรวิชั่น

ทรงเกียรติ  ภาวดี.2546. เก่ง  J2ME ให้ครบสูตร. กรุงเทพฯ  : วิตตี้

สาธิต  ชัยวิวัฒน์ตระกูล. 2545 . เก่ง  J2ME ให้ครบสูตร. กรุงเทพฯ  : วิตตี้

หมายเลขบันทึก: 398008เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2010 23:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ่านงานวิจัยนี้แล้วทำให้เข้าใจอรัยมากขึ้นทันทีเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท