แมงลัก: สมุนไพรอันตรายต่องานวิชาการ


เมื่อเข้าใจ ใช้ถูกต้อง ตรงความหมาย ก็จะปลอดโรค “แมงลัก” กันถ้วนหน้า

แมงลัก: สมุนไพรอันตรายต่องานวิชาการ

เป็นงงล่ะสิ อันตรายของ “แมงลัก” นี้หมายถึง การลักขโมยไอเดียของใครมาแล้วทำให้คนอื่นเข้าใจว่าเป็นของตัวเอง การป้องกันตัวเราไม่ให้เป็น “แมงลัก” คือ เรียนรู้และทำความเข้าใจความคิด (ผลงาน) ของผู้อื่นแล้วต่อยอดจากปัญญาของเรา   ในอีกด้านหนึ่งก็ทำให้ความรู้แตกยอดผลิดอกออกผลเป็นประโยชน์ต่อสังคม

เดิมลิขสิทธิ์หรือความเป็นเจ้าของสิทธิในผลงานมี 2 แบบตรงข้ามกันคือ แบบที่ผู้สร้างสรรค์เป็นเจ้าของสิทธิทุกอย่างตามกฎหมายลิขสิทธิ์ไม่ว่าจะเป็นการเผยแพร่ในที่สาธารณะ ทำซ้ำ สร้างผลงานต่อเนื่อง และผลตอบแทนจากงาน คือ Copy right (C) หรือ All rights reserve ซึ่งจะพบเห็นในงานเชิงพาณิชย์   อีกแบบคือ No right reserve เป็นของ “สาธารณะ” สามารถนำไปใช้หรือพัฒนาโดยไม่ต้องขออนุญาตเช่น ข้อเท็จจริงตามธรรมชาติ  งานที่เคยมีสิทธิ์แต่เจ้าของเสียชีวิตแล้วเกิน 50 ปี  หาเจ้าของไม่พบ  หรือผู้สร้างไม่ต้องการให้เป็นงานที่มีลิขสิทธิ์  ที่ตัวเองชอบยกตัวอย่างคือ สูตรคูณหรือ Pythagorean Table ซึ่งคิดค้นโดย Pythagoras ชาวกรีซ ถ้าเราร่วมสมัยกันคงจำได้ว่าเวลาเลือกซื้อสมุดสมัยเรียนประถมมักพลิกดูด้านหลังว่ามีสูตรคูณหรือเปล่า แน่นอนว่าต้องสมุดลายไทย  ทุกวันนี้สมุดลายไทยยังคงเอกลักษณ์มีสูตรคูณที่ปกหลัง   สูตรคูณนี้เป็นสมบัติของมนุษยชาติไปแล้ว จนหลายคนไม่รู้ว่าใครเป็นคนคิดค้น  

แต่สิทธิในผลงานแบบหลังนี้ไม่พอเสียแล้วในโลก KM จึงเกิด สัญญาอนุญาต Creative commons (CC) ขึ้นมาเพื่อการเผยแพร่ผลงานทั้ง on line หรือ off line ที่ไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์แต่ต้องทำตามเงื่อนไขที่เจ้าของผลงานกำหนด  ถ้าผิดเงื่อนไข เจ้าของผลงานสามารถแจ้งความเอาผิดตามกฎหมายได้  สามารถแบ่งประเภทของ CC ได้ดังนี้

  • Attribution (BY) สามารถคัดลอก เผยแพร่ แสดง โดยดัดแปลงหรือพัฒนาต่อยอดได้ แต่ต้องระบุที่มาว่า ต้นฉบับเดิมมาจากแหล่งใด มีใครเป็นเจ้าของผลงาน  ที่เราอ้างอิงผลงานวิชาการของท่านใดมาแล้วใส่ที่มาในเอกสารอ้างอิงคือ ข้อนี้นั่นเอง
  • No derivative works (ND) สามารถคัดลอก เผยแพร่ แต่ดัดแปลงแก้ไขไม่ได้  ต้องคงต้นฉบับเดิมไว้  ตัวอย่างข้อนี้พบในการศึกษาเชิงคุณภาพที่ quote ข้อความหรือคำพูดของใครมา ภายในเครื่องหมาย “…. “
  • Non commercial (NC) สามารถคัดลอก เผยแพร่ และดัดแปลงแก้ไขได้   แต่ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า
  • Share alike (SA) ใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกันคือ คัดลอก เผยแพร่ และดัดแปลงแก้ไขได้   แต่ผลงานที่ได้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกัน (จึงใช้ร่วมกับ ND ไม่ได้) เพื่อให้ Creative commons แพร่หลาย 

ท่านอาจสังเกตว่า Blog R2R for Oral Health นี้ใช้ CC: BY-NC-SA แปลว่า สามารถคัดลอก/เผยแพร่/แสดงจะดัดแปลงหรือพัฒนาต่อยอดได้แต่ต้องแสดงที่มา (BY) ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า (NC) และผลงานที่ได้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกัน (SA) 

เมื่อเข้าใจ ใช้ถูกต้อง ตรงความหมาย ก็จะปลอดโรค “แมงลัก” กันถ้วนหน้าค่ะ

ที่มา: ดัดแปลงจาก ครีเอทีฟคอมมอนส์. วารสารฉลาดซื้อ 2553; 17(112-113):34-36.

หมายเลขบันทึก: 397850เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2010 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 17:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีครับ
  • แมงลักมีแยะมากครับ ในวงการทำผลงานทางวิชาการของ ครู

เป็นไปได้ว่า อาจมีทุกวงการ แต่ถ้าช่วยกันบอกช่วยกันปรับ คนรุ่นใหม่อาจช่วยลดปัญหานี้ได้ค่ะ

แมงลัก จะได้ไว้ทำแกงหรือแกล้มขนมจีน แค่นั้นพอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท