การกีดกันคนพิการออกจากอาชีพ (วิชาชีพกฎหมาย)


การกีดกันจะเกิดขึ้นเพราะความรู้ชุดหนึ่งที่ใช้แบ่งแยก ความเป็นอื่น

การกีดกันคนพิการออกจากอาชีพมีมานานในสังคมไทย
แต่ก็มีวิชาชีพที่ก้าวหน้าให้สิทธิ์คนพิการได้ทำงาน ทำให้
คนพิการได้เปล่งศักยภาพเพื่อรับใช้สังคม อย่างทบวงมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับ รศ.วิริยะ นามศิริพงษ์พันธ์เข้าำทำงาน
ทำให้ท่านผู้นี้ที่เป็นผู้พิการทางด้านสายตา ได้รับใช้สังคมมาจนถึง
ทุกวันนี้ รศ.วิริยะ นามศิริพงษ์พันธ์ ได้บรรยายเกี่ยวกับวิชากฎหมาย

ในอีกมิติหนึ่งของการประกอบวิชาชีพทางด้านกฎหมายได้มีทนายความ
ที่พิการด้านการเคลื่อนไหว เขาเป็นโปลิโอและมีอาชีพเดิมเป็นทนายความ
ต่อมาได้สมัครคัดเลือกเป็นอัยการผู้ช่วยในปี 2544 แต่ได้รับการปฏิเสธ
เพราะผิดกฎหมายพระราชบัญญัติอัยการที่บัญญัติคำว่ากายไม่เหมาะสม
เขาได้ต่อสู้โดยยื่นหนังสือให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาวินิจฉัยว่า
กฎหมายฉบับนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ได้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ 12 ต่อ 3 เสียง ว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญ

เขาไม่ยอมแพ้และเรื่องต่าง ๆ นั้นเกี่ยวข้องกับกฎหมายที่เป็นวิชาชีพที่เขา
ร่ำเรียนมา และเขากำลังถูกกระทำ เขาจึงยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ศาลปกครอง
จึงพิพากษาว่า ผู้ฟ้องรูปกายพิการ เป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการปฏิบัติหน้าที่
เขาจึงได้อุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด และมีคำพากษาออกมาว่า ให้เพิืกถอน
มติของอัยการทีไม่ให้เขาสมัคร ให้เขาสมัครเข้าแข่งขันเป็นอัยการผู้ช่วยได้
และได้อธิบายว่า การที่กายเขาพิการนั้นไม่ได้พิการจนไม่ปฏิบัิติวิชาชีพได้
ดังที่จะได้เห็นเขาได้ปฏิบัติวิชาชีพเช่นเดียวกับอัยการคือเป็นทนายความ
เป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม เป็นการใช้ดุลวินิจฉัยที่ไม่ชอบ และทนายผู้นี้
ก็ได้รับสิทธิ์ในการสอบคัดเลือกเป็นทนายแผ่นดิหรืออัยการได้

การกีดกันนั้นไม่จำกัดแค่คนพิการ มักจะเป็นเรื่องความแตกต่างระหว่างเพศ
เชื้อชาติ ผิวสี และอคติต่าง ๆ กฎหมายเป็นความรู้ส่วนหนึ่งที่มีส่วนกีดกันผู้ที่มี
ความเป็นอื่นนี้ เมื่อย้อนไปหลาย ๆ ปีมาก ๆ การจำกัดสิทธิเช่นนี้ถือเป็นปกติ
มาก ๆ โดยเฉพาะผู้ที่จะเรียนวิชาชีพครู  แต่ปัจจุบันได้มีการให้สิทธิ์ตามกฎหมาย
ไปบ้างแต่ไม่หมด ซึ่งก็จำเป็นจะต้องร่วมกันทำให้เกิดความเป็นธรรมให้ได้ 

หมายเลขบันทึก: 397546เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2010 23:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ความพิการนั้น ไม่อาจกีดกันสิทธิในการเป็นพลเมืองได้ สมองและความสามารถคือสิ่งยิ่งใหญ่ที่พิสูจน์มาแล้วมากมายในบรรดาคนพิการทั้งหลายสร้างผลงานดีดีเหล่านั้นไว้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท